ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ทัศนคติต่อการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18-60 ปีใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ นครนายก ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ยะลา สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 3,807 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในช่วง 1— 25 มีนาคม 2554 ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 16.6 ยังคงเห็นด้วย แต่เมื่อถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดที่ท่านพักอาศัย พบว่า มีเพียงร้อยละ 10.5 เท่านั้นที่เห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.5 ไม่เห็นด้วย
เมื่อจำแนกตามพื้นที่พักอาศัย พบว่า ส่วนใหญ่ของทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย โดยสำรวจพบว่า ประชาชนที่มีกลุ่มคนไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ คนกรุงเทพมหานครที่มีอยู่มากสุดถึงร้อยละ 95.2 รองลงไปคือ คนในภาคใต้ร้อยละ 91.5 คนในภาคกลางร้อยละ 91.1 คนในภาคเหนือร้อยละ 90.0 และคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 85.8 ที่ไม่เห็นด้วยต่อการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่จังหวัดของตนที่พักอาศัยอยู่ขณะนี้ โดยผลสำรวจครั้งนี้จะนำไปให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.abacpolldata.au.edu
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.4 เป็นชาย
ร้อยละ 50.6 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.3 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 86.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 12.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 30.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 5.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.3 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.2 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 46.6 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.4 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.4 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.3 5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ลำดับที่ ทางเลือก ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 16.6 2 ไม่เห็นด้วย 83.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในจังหวัดที่พักอาศัย ลำดับที่ ทางเลือก ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 10.5 2 ไม่เห็นด้วย 89.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย จำแนกตามพื้นที่พักอาศัย ลำดับที่ ทางเลือก ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล 1 เห็นด้วย 18.1 15.7 2 ไม่เห็นด้วย 81.9 84.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในจังหวัดที่พักอาศัย จำแนกตามพื้นที่พักอาศัย ลำดับที่ ทางเลือก ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล 1 เห็นด้วย 11.4 10.6 2 ไม่เห็นด้วย 88.6 89.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย จำแนกตามพื้นที่พักอาศัย ลำดับที่ ทางเลือก ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก/เหนือ ภาคใต้ กทม. 1 เห็นด้วย 17.4 14.5 19.3 14.3 13.5 2 ไม่เห็นด้วย 82.6 85.5 80.7 85.7 86.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในจังหวัดที่พักอาศัย จำแนกตามพื้นที่พักอาศัย ลำดับที่ ทางเลือก ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก/เหนือ ภาคใต้ กทม. 1 เห็นด้วย 10.0 8.9 14.2 8.5 4.8 2 ไม่เห็นด้วย 90.0 91.1 85.8 91.5 95.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--