เอแบคโพลล์: แนวโน้มความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness หรือ GDH) ของคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนมีนาคม 2554

ข่าวผลสำรวจ Monday April 11, 2011 07:43 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง แนวโน้ม ความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness หรือ GDH) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมีนาคม 2554 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระแก้ว สระบุรี ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ หนอง บัวลำภู กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลาและนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 4,069 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 15 มีนาคม — 9 เมษายน 2554

จากการเปรียบเทียบแนวโน้มความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ หรือค่าเฉลี่ยของ GDH เมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนนพบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นจาก 5.28 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 6.61 ในช่วงเดือนมีนาคม และเป็นค่าเฉลี่ยความสุขมวล รวมที่สูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันคือ 6.18 ในปี 2552 อีกด้วย โดยพบปัจจัยบวกที่สำคัญคือ ความจงรักภักดีของคนในชาติ ที่ 9.24 ความรักความ สัมพันธ์ของคนในครอบครัว ที่ 7.99 สุขภาพกายที่ 7.73 สุขภาพใจที่ 7.71 และวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ 7.42 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบสำคัญที่ฉุด ความสุขมวลรวมของคนไทย ได้แก่ สถานการณ์การเมืองโดยรวมของประเทศ ที่ 4.56 และสถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ 3.45 นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ 5.44 และความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ 5.29 ตามลำดับ

ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 ระบุข่าวปฏิวัติยึดอำนาจส่งผลกระทบต่อความสุขของประชาชน ใน ขณะที่ร้อยละ 65.5 ระบุข่าวภัยพิบัติน้ำท่วมกระทบต่อความสุขของประชาชน และร้อยละ 53.1 ระบุปัญหาอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนกระทบต่อความสุขของประชาชน

เมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ แล้วพบว่า ความสุขมวลรวมของคนกรุงเทพมหานครน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะมี ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมต่ำสุดคือ 6.03 และคนภาคใต้มีความสุขอยู่ที่ 6.11 คนภาคเหนือมีความสุขมวลรวมอยู่ที่ 6.67 คนภาคกลางมีความสุขอยู่ที่ 6.79 และคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขอยู่ที่ 6.91 โดยค้นพบว่า คนกรุงเทพมหานครมีความสุขมวลรวมต่ำกว่าคนในภาคอื่นๆ หลายปัจจัยด้วย กัน เช่น ความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ระบบการศึกษา วัฒนธรรมประเพณี การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ได้ รับ บรรยากาศของคนในชุมชน สุขภาพใจ สุขภาพกาย และความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นต้น ในขณะที่คนในภาคเหนือที่มีความสุขมวลรวมต่ำ กว่าภาคอื่นๆ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนของตนเอง สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ สถานการณ์ทางการเมือง และสถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โดยสรุปคือ คนกรุงเทพมหานครและคนภาคใต้มีความสุขต่ำกว่าคนภาคอื่นๆ

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ งานรื่นเริงเทศกาลสงกรานต์ และช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากความขัดแย้งรุนแรง ของคนในสังคมเป็นปัจจัยบวกที่มีนัยสำคัญต่อความสุขมวลรวมของประชาชน อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยเพิ่มสูงขึ้น กว่าช่วงต้นปีที่สำรวจมา แต่มีหลายปัญหาสำคัญในแต่ละพื้นที่ของประเทศที่ต้องได้รับการแก้ไขแตกต่างกันไปเพื่อเพิ่มความสุขของประชาชนในแต่ละ ภูมิภาค เช่น ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมที่ภาคใต้ ปัญหาปากท้องให้กับคนในภาคเหนือ และปัญหาความไม่เป็นธรรมเลื่อมล้ำทางสังคมให้กับคนกรุงเทพมหา นคร นอกจากนี้ ยังเคยพบว่า ความขัดแย้งที่รุนแรงจนเกิดเหตุเผาบ้านเผาเมืองและประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเป็นตัวฉุดความสุขมวลรวม ของประชาชนทั้งประเทศลงต่ำที่สุด ดังนั้นจึงต้องช่วยกันขับเคลื่อนสังคมให้มีการชุมนุมอย่างสันติตามแนวทางที่สร้างสรรค์ในระบอบประชาธิปไตยอันเป็น ที่ต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศและเร่งแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะเพิ่มความสุขมวลรวมให้กับประชาชนคน ไทยในทุกภูมิภาคได้อย่างแท้จริงต่อไป

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.7 เป็นชาย ร้อยละ 50.3 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.2 อายุ น้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อย ละ 20.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 86.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 12.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 41.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 4.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.9 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10

มี.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ต.ค. พ.ย. ม.ค. ก.ค. ก.ย. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. มี.ค.

                            52    52    52    52    52    52    53    53    53    53    53    54    54
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข
มวลรวมของคนไทยภายในประเทศ 6.18   7.15  5.92  7.18  6.83 7.52  6.52  6.77   6.57  5.42  8.37  5.28  6.61
Gross Domestic Happiness)

หมายเหตุ จากฐานข้อมูลรายงานความสุขมวลรวมของคนไทย โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                        ค่าเฉลี่ยความสุข
1          ความจงรักภักดีของคนในชาติ                                     9.24
2          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                           7.99
3          สุขภาพทางกาย                                               7.73
4          สุขภาพทางใจ                                                7.71
5          วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบัน                                   7.42
6          หน้าที่การงาน  อาชีพ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน                             7.31
7          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์             7.22
8          การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ                      7.21
9          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น  การช่วยเหลือกัน            7.16
10          ระบบการศึกษาของประเทศ                                     6.91
11          สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่านเองและครอบครัว                        6.09
12          สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                                    5.44
13          ความเป็นธรรม / ไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ท่านได้รับ                   5.29
14          สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                                 4.56
15          สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้                            3.45
          ความสุขมวลรวม ของคนไทย ประจำเดือนมีนาคม  2554                 6.61

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวและปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสุข
ลำดับที่          ข่าวและปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสุขของประชาชน                ร้อยละ
1          ข่าวปฏิวัติ ยึดอำนาจ                                          74.8
2          ข่าวภัยพิบัติน้ำท่วม                                            65.5
3          ปัญหาอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน       53.1

ตารางที่ 4  แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                   เหนือ    กลาง  ตอ./เหนือ  ใต้    กทม.
  1   ความจงรักภักดีของคนในชาติ                                   9.3     9.5      9    9.1    8.6
  2   บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                         8.4     8.1    8.3      8    7.4
  3   สุขภาพทางกาย                                               8     7.8      8      8    7.2
  4   สุขภาพทางใจ                                                8     7.9      8    7.9    7.1
  5   สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์           7.1     7.3    7.4    7.2    6.9
  6   บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น  การช่วยเหลือกัน          7.4     7.4    7.5    7.2    6.5
  7   การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ                    7.5     7.4    7.5    7.3    6.6
  8   หน้าที่การงาน  อาชีพ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน                           7.2     7.5    7.6    7.4    6.8
  9   วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบัน                                 7.2     7.8    7.8    7.7    6.7
  10  ระบบการศึกษาของประเทศ                                    6.6       7    7.3      7    6.5
  11  สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                                   4.9     5.5    5.7      6    5.2
  12  สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่านเองและครอบครัว                       5.7     6.2    6.4    6.5    5.8
  13  สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                                  4     4.6    4.9    5.1    4.2
  14  ความเป็นธรรม / ไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ท่านได้รับ                  5.1     5.4    5.5    5.7    4.9
  15  สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้                           2.5    3.15    3.6      4    3.7
     ความสุขมวลรวม ของคนไทยประจำเดือนมีนาคม  2554               6.67    6.79    6.91  6.11   6.03

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ