เอแบคโพลล์: การวางแผนและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ข่าวผลสำรวจ Monday April 11, 2011 10:17 —เอแบคโพลล์

ผศ.ดร. จุฑามาศ วิศาลสิงห์ อาจารย์โครงการบัณฑิตวิทยาลัยด้านการท่องเที่ยว ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง การวางแผนและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 1,509 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 — 10 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา

จากการสอบถามผู้ที่ตั้งใจจะเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.5 ตั้งใจจะเที่ยวในประเทศ โดยมีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้นที่ระบุจะไปต่างประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และออสเตรเลีย เฉพาะตัวอย่างที่ระบุจะเที่ยวในประเทศ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 ตั้งใจจะเที่ยวต่างจังหวัด โดยเฉพาะเชียงใหม่ ชลบุรี อยุธยา ขอนแก่น และอุบลราชธานี ส่วนตัวอย่างอีกร้อยละ 38.3 ตั้งใจจะเล่นสงกรานต์ในพื้นที่กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ที่น่าสนใจคือตัวอย่าง 2 ใน 3 หรือร้อยละ 67.4 ระบุเป็นการกลับไปเที่ยวที่เดิมจากปีที่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 32.6 ระบุไปที่ใหม่

เมื่อถามถึงสถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ทำให้เปลี่ยนแปลงแผนการเดินทางหรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.4 ระบุไม่เปลี่ยน เพราะไม่ตั้งใจจะไปเที่ยวภาคใต้อยู่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 16.9 ไม่เปลี่ยน เพราะยังจะไปเหมือนเดิม โดยมีร้อยละ 13.7 ที่ระบุเปลี่ยน โดยไปภาคอื่นแทน สำหรับผู้ร่วมเที่ยวสงกรานต์ด้วยนั้น พบว่ากว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 76.4 จะไปกับครอบครัว รองลงมาร้อยละ 13.7 จะไปกับเพื่อน และร้อยละ 7.6 จะไปกับแฟน/คนรัก

ด้านการวางแผนค่าใช้จ่าย พบว่าค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์เฉลี่ยอยู่ที่ 6,898.00 บาท และอาจจ่ายมากกว่านั้นได้สูงขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 7,205.11 บาท ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.3 ระบุเป็นค่าใช้จ่ายเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุเพิ่มขึ้น โดยมีเพียงร้อยละ 8.2 ที่ระบุลดลง โดยให้เหตุผลว่าต้องการประหยัด ไม่อยากซื้ออะไรมากมาย / เศรษฐกิจไม่ดี มีรายได้ลดลง ไม่ค่อยมีเงิน / ไม่ได้ไปต่างจังหวัด ส่วนที่มาของเงินที่เตรียมไว้ใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่าส่วนใหญ่ใช้เงินที่มีอยู่ที่บ้าน (ร้อยละ 60.3) และมีไม่น้อยที่ถอนจากธนาคารของตนเอง (ร้อยละ 47.7) แต่ก็มีบ้างเล็กน้อยที่จะยืมจากคนใกล้ชิด (ร้อยละ 1.6) ซึ่ง

ตัวอย่าง 2 ใน 3 หรือร้อยละ 66.4 ระบุว่ารายการที่ต้องจ่ายมากที่สุดในการท่องเที่ยว คือค่าอาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่ร้อยละ 24.7 ระบุค่าเดินทาง เช่น ตั๋วโดยสาร ค่าน้ำมัน ส่วนที่ระบุค่าที่พัก ค่าของที่ระลึก ค่าเข้าชมและกิจกรรมต่างๆ มีเพียงเล็กน้อย

คณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงกิจกรรมที่จะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า 5 อันดับแรก ได้แก่ ทำบุญ (ร้อยละ 56.6) สังสรรค์กับครอบครัว / รวมญาติ เพื่อนฝูง (ร้อยละ 53.2) กลับบ้านต่างจังหวัด (ร้อยละ 42.5) ไหว้พระตามวัดต่างๆ (ร้อยละ 38.0) และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ (ร้อยละ 33.8)

ผศ.ดร.จุฑามาศ กล่าวว่า สงกรานต์ปีนี้ผู้ประกอบการโรงแรมที่พักต่างๆ โดยภาพรวมคงไม่ได้รับประโยชน์มากนัก เพราะคนส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวในลักษณะกลับบ้านเยี่ยมญาติพี่น้อง แต่สินค้าที่จะได้คืออาหารและเครื่องดื่มตามร้านอาหาร หรือร้านสะดวกซื้อในภูมิภาคต่างๆ มากกว่า นอกจากนี้ แม้จะมีภัยพิบัติและเหตุการณ์วิกฤตต่างๆ สถานการณ์การท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์นี้คงไม่เงียบเหงาและจะยังเป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างดี โดยมีการบ่งชี้ว่าจะมีการใช้จ่ายมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าภาคใต้ได้รับผลกระทบแน่นอนเนื่องจากนักท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงที่หมายไปเป็นจังหวัดและภูมิภาคอื่นๆ แทน แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของประเทศยังคงเป็นไปในเชิงบวกเพราะเป็นช่วงเวลาที่คนไทยส่วนใหญ่ยังคงเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากกว่าเดินทางไปต่างประเทศ

          จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า     ตัวอย่าง    ร้อยละ 47.1 เป็นชาย

ร้อยละ 52.9 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 17.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 30.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 79.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 19.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 0.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 21.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 9.0 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 6.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 2.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 2.4 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.3 ระบุรายได้ ไม่เกิน 5,000 บาท

ร้อยละ 47.3 ระบุ 5,001-10,000 บาท

ร้อยละ 17.3 ระบุ 10,001-15,000 บาท

ร้อยละ 10.4 ระบุ 15,001-20,000 บาท

และร้อยละ 11.7 ระบุมากกว่า 20,000 บาท ตามลำดับ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศหรือต่างประเทศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่          ความตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศหรือต่างประเทศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์      ค่าร้อยละ
1          ในประเทศ                                                            97.5
2          ต่างประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และออสเตรเลีย                          2.5
          รวมทั้งสิ้น                                                             100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
(เฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ)
ลำดับที่          ความตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์                  ค่าร้อยละ
1          เที่ยวต่างจังหวัด อาทิ เชียงใหม่  ชลบุรี อยุธยา ขอนแก่น และอุบลราชธานี            61.7
2          เที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ/ปริมณฑล                                             38.3
          รวมทั้งสิ้น                                                             100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการกลับไปเที่ยวที่เดิมจากปีที่แล้ว
ลำดับที่          การกลับไปเที่ยวที่เดิมจากปีที่แล้ว          ค่าร้อยละ
1          ใช่                                     67.4
2          ไม่ใช่                                   32.6
          รวมทั้งสิ้น                                100.0

ตารางที่ 4 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแผนการเดินทางจากสถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้
ลำดับที่          การเปลี่ยนแผนการเดินทาง                      ค่าร้อยละ
1          ไม่เปลี่ยน เพราะไม่ตั้งใจจะไปเที่ยวภาคใต้อยู่แล้ว          69.4
2          ไม่เปลี่ยน เพราะยังจะไปเหมือนเดิม                    16.9
3          เปลี่ยน โดยไปภาคอื่นแทน                            13.7
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ตั้งใจจะไปเที่ยวสงกรานต์ด้วย
ลำดับที่          บุคคลที่ตั้งใจจะไปเที่ยวสงกรานต์ด้วย               ค่าร้อยละ
1          ครอบครัว                                        76.4
2          เพื่อน                                           13.7
3          แฟน/คนรัก                                        7.6
4          เพื่อนร่วมงาน/หัวหน้า/ลูกน้อง                          1.8
5          อื่นๆ อาทิ หลาน พี่สาว เป็นต้น                         0.5
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่    ค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับท่องเที่ยว          จำนวนเงินที่เตรียมไว้อย่างน้อย   จำนวนที่จ่ายได้จริงสูงสุด

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

1          น้อยกว่า 2,000 บาท                              28.7                    26.3
2          2,001-5,000 บาท                               33.6                    31.8
3          5,001- 10,000 บาท                             26.3                    26.8
4          10,001-15,000 บาท                              3.5                     6.5
5          15,001-20,000 บาท                              4.6                     4.8
6          มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป                          3.3                     3.8
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0                   100.0
          ค่าเฉลี่ย                                     6,898.00                7,205.11
          ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน                          8,990.449               9,129.584

ตารางที่ 7 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ลำดับที่          การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าใช้จ่าย                            ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                      44.5
2          เท่าเดิม                                                     47.3
3          ลดลง เพราะต้องการประหยัด ไม่อยากซื้ออะไรมากมาย /
           เศรษฐกิจไม่ดี  มีรายได้ลดลง  ไม่ค่อยมีเงิน / ไม่ได้ไปต่างจังหวัด          8.2
           รวมทั้งสิ้น                                                    100.0

ตารางที่ 8 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุที่มาของเงินที่จะใช้ในการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ที่มาของเงินที่จะใช้ในการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์         ค่าร้อยละ
1          ใช้เงินที่มีอยู่ที่บ้าน                                              60.3
2          ถอนจากธนาคารของตนเอง                                       47.7
3          ยืมจากคนใกล้ชิด                                                1.6
4          อื่นๆ อาทิ ลูกหลานออกให้ทั้งหมด มีเงินเก็บต่างหาก                      1.0

ตารางที่ 9 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายการที่น่าจะมีการใช้จ่ายมากที่สุดในการท่องเที่ยว
ลำดับที่          รายการที่น่าจะมีการใช้จ่ายมากที่สุดในการท่องเที่ยว          ค่าร้อยละ
1          ค่าอาหารและเครื่องดื่ม                                    66.4
2          ค่าเดินทาง เช่น ตั๋วโดยสาร ค่าน้ำมัน                         24.7
3          ค่าที่พัก                                                 2.7
4          ค่าของที่ระลึก                                            2.3
5          ค่าเข้าชมและกิจกรรมต่างๆ                                  1.5
6          อื่นๆ อาทิ ของทำบุญ ให้ลูกหลาน ให้พ่อแม่ เป็นต้น                 2.4
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 10 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่จะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          กิจกรรมที่จะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์                               ค่าร้อยละ
1          ทำบุญ                                                             56.6
2          สังสรรค์กับครอบครัว / รวมญาติ เพื่อนฝูง                                  53.2
3          กลับบ้านต่างจังหวัด                                                   42.5
4          ไหว้พระตามวัดต่างๆ                                                  38.0
5          รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่                                                     33.8
6          เล่นน้ำสงกรานต์บนรถปิคอัพ                                             17.8
7          ไปเที่ยวสงกรานต์ตามถนนสายที่ได้รับความนิยม (อาทิ ข้าวสาร ข้าวเหนียว)         14.0
8          อื่นๆ อาทิ ทำกับข้าวทานกับพ่อแม่ เลี้ยงข้าวผู้สูงอายุ พาลูกหลานไปเล่นน้ำ เป็นต้น      0.7

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ