สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ดำเนินโครงการสำรวจ
เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการจัดตั้งสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร” เมื่อวันที่ 17— 24 เมษายน 2550 จากจำนวน 1,240 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจประเด็นสำคัญพบว่า
1. ประเมินปัญหาเยาวชนและครอบครัวอยู่ในระดับที่ “รุนแรง”
ผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่ามีตัวอย่างประชาชนร้อยละ 14.1 ประสบปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว อาทิ ปัญหาเรื่องการเงิน ความคิดเห็นที่แตกต่าง และการทะเลาะกันของคนในครอบครัว ร้อยละ 15.7 มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเยาวชน
เมื่อให้ประเมินความรุนแรงของปัญหา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุว่าปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวในขณะนี้อยู่ในระดับรุนแรงมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 37.2 ระบุปานกลาง ร้อยละ 10.1 ระบุน้อย-น้อยที่สุด ส่วนปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเยาวชนมีถึงร้อยละ 74.4 ที่ระบุว่ารุนแรงมาก-มากที่สุด(ร้อยละ 19.5 ระบุรุนแรงปานกลาง และร้อยละ 6.1 ระบุน้อย-น้อยที่สุด)
2. อยากให้เร่งแก้ปัญหา “ยาเสพติด-เพศสัมพันธ์”ของเยาวชน
สำหรับปัญหาพฤติกรรมเกี่ยวกับเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญควรที่จะแก้ไขเร่งด่วนกลุ่มตัวอย่างระบุเรียงตามลำดับดังนี้ อันดับแรกร้อยละ 76.7 ว่าเป็นปัญหาเรื่องการใช้ยาเสพติดมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 69.5 ระบุปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ร้อยละ 55.1 ระบุเยาวชนสูบบุหรี่ ร้อยละ 53.8 ระบุการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และร้อยละ 52.5 ระบุการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ตามลำดับ
3. ต้องรีบจัดการปัจจัยเสี่ยง “สื่อยั่วยุ — การขาดความอบอุ่นในครอบครัว”
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเยาวชนที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้แก้ไขเร่งด่วนมีดังนี้ อันดับแรกร้อยละ 78.0 ปัญหาจากสื่อที่กระตุ้นยั่วยุ (ลามก/รุนแรง) รองลงมาคือร้อยละ 55.0 ปัญหาครอบครัวขาดความอบอุ่น/ไม่เอาใจใส่กัน ร้อยละ 44.7 การทะเลาะวิวาท/ความรุนแรงในครอบครัว ร้อยละ 42.0 แหล่งอบายมุข/สถานเริงรมย์ที่ยั่วยุมอมเมา และร้อยละ 38.0 ระบุวัฒนธรรมการบริโภคเกินขอบเขต ตามลำดับ
4. ผลงานรัฐบาลด้านเยาวชน-ครอบครัว “ไม่ค่อยประทับใจ”
ส่วนในด้านผลงานของรัฐบาลชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาเยาวชนและครอบครัว ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 40.2 ไม่ประทับใจ เนื่องจากเห็นว่าการทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพ ล่าช้า แก้ปัญหาไม่ตรงจุด และทำงานยังไม่เต็มที่ ในขณะที่ร้อยละ 20.5 ระบุว่าประทับใจ เนื่องจากมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องเยาวชนและครอบครัว คุณสมบัติส่วนบุคคลดี และมีความพยายามพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น อีกร้อยละ 39.3 ระบุไม่แน่ใจ
5. รับรู้การรณรงค์แก้ปัญหา - งบประมาณไม่เพียงพอ
ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.5 ระบุว่ารับรู้การรณรงค์แก้ไขปัญหาเยาวชนและครอบครัว อาทิ การแก้ไขปัญหายาเสพติด การณรงค์เรื่องรักครอบครัว และการต่อต้านสื่อลามก ร้อยละ 37.5 ไม่เคยรับรู้ และร้อยละ 41.9 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.9 มีความเห็นว่างบประมาณที่จะนำมาใช้เพื่อการป้องกันปัญหาของเยาวชนและครอบครัวยังมี “ไม่เพียงพอ” ในขณะที่ร้อยละ 10.4 ระบุว่าเพียงพอ และอีกร้อยละ 33.7 ไม่มีความเห็น
6. เห็นด้วยให้จัดตั้ง “สถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว”
ส่วนในประเด็นเรื่องการจัดตั้ง “สถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว” พบว่าร้อยละ 78.2 ระบุว่าเห็นด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ช่วยแก้ปัญหาสังคม และเห็นว่าจะทำให้ช่วยแนะนำแนวทางป้องกันปัญหาครอบครัวได้ ในขณะที่ร้อยละ 4.4 ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ มีองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับเยาวชนและครอบครัวอยู่แล้ว ส่วนอีกร้อยละ 17.4 ไม่มีความเห็น
7. สนับสนุนให้แบ่งรายได้จาก “บ่อนการพนัน-สถานบันเทิง” มาเป็นทุนทำงาน
สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานของสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.8 — 83.3) เห็นด้วยที่จะให้จัดสรรมาจากแหล่งต่าง ๆ โดยแบ่งจากรายได้บ่อนการพนัน/สนามม้า/มวยมากที่สุด รองลงมาคือเก็บเพิ่มจากภาษีสถานบันเทิง (เช่น ผับ บาร์ คาเฟ่ คาราโอเกะ อาบอบนวด) เก็บเพิ่มจากภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จัดสรรมาจากงบประมาณของรัฐ แบ่งจากรายได้หวย/สลากกินแบ่ง เก็บเพิ่มจากภาษีบุหรี่ เก็บเพิ่มจากภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย (เช่นเครื่องสำอาง น้ำหอม ของใช้แบรนด์เนม) และรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ตามลำดับ
8. อยากให้ “องค์กรภาคประชาชน” เป็นผู้บริหารจัดการ
ส่วนในด้านหน่วยงานที่จะให้เป็นผู้บริหารจัดการสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัวถ้าหากมีการจัดตั้งขึ้นมา กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าองค์กรภาคประชาชนมีความเหมาะสมมากที่สุด(ร้อยละ 67.5 เห็นว่าเหมาะสม (นอกจากนี้คือ ไม่เหมาะสมและไม่มีความเห็น) รองลงมาคือหน่วยงานราชการ(เหมาะสมร้อยละ 60.8) และองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่ (เหมาะสมร้อยละ 58.1) ตามลำดับ
9. ต้องการให้สถาบัน ฯ เน้น “ศึกษาปัญหา-ส่งเสริมกีฬา-หาแนวทางแก้ปัญหาเยาวชน/ครอบครัว”
ด้านบทบาทการทำงานของสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81.0 - 90.3) เห็นด้วยที่จะให้มีบทบาทต่าง ๆ คือ ศึกษารวบรวมปัญหาของเยาวชนและครอบครัว ทั่วประเทศ ส่งเสริมกีฬาสำหรับเยาวชนและครอบครัวอย่างจริงจัง นำเสนอแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาเยาวชนและครอบครัว ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม สนับสนุนให้เยาวชนได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมอย่างทั่วถึง พัฒนาระบบสื่อสารมวลชนให้สร้างสรรค์ต่อเยาวชนและครอบครัว จัดตั้งเครือข่ายหน่วยงาน/บุคคลเพื่อทำงานด้านเยาวชนและครอบครัว ติดตามประเมินผลการดำเนินนโยบายรัฐบาลด้านเยาวชนและครอบครัว จัดตั้งหรือปรับปรุงหน่วยงานด้านเยาวชนและครอบครัวให้เท่าทันสถานการณ์ ควบคุมดูแลธุรกิจที่สร้างความเสื่อมถอยให้เยาวชนและครอบครัว และให้ทุนสนับสนุนการทำงานด้านเยาวชนและครอบครัวแก่หน่วยงานต่าง ๆ
10. ไม่ค่อยเชื่อ รัฐบาลจะจัดตั้งสถาบัน ฯ ได้สำเร็จ
ส่วนความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์จะจัดตั้ง “สถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว” ได้สำเร็จหรือไม่ พบว่าร้อยละ 36.5 เชื่อว่าไม่สำเร็จ เพราะ อายุการทำงานของรัฐบาลน้อย ที่ผ่านมายังไม่เห็นผลงานเป็นรูปธรรม และเห็นว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาน่าจะทำไม่ได้ ในขณะที่ร้อยละ 21.2 เชื่อว่าจะทำได้สำเร็จ เพราะเห็นความตั้งใจจริงในการทำงาน รัฐบาลมีประสบการณ์ และเห็นว่าให้ความสำคัญกับเยาวชน อีกร้อยละ 42.3 ไม่มีความเห็น
ส่วนบุคคลหรือหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างมั่นใจว่าจะผลักดันให้มีสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างมั่นใจกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อมวลชน นายกรัฐมนตรี(พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) สภานิติบัญัติแห่งชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ตามลำดับ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการจัดตั้งสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร” เมื่อวันที่ 17— 24 เมษายน 2550 จากจำนวน 1,240 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจประเด็นสำคัญพบว่า
1. ประเมินปัญหาเยาวชนและครอบครัวอยู่ในระดับที่ “รุนแรง”
ผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่ามีตัวอย่างประชาชนร้อยละ 14.1 ประสบปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว อาทิ ปัญหาเรื่องการเงิน ความคิดเห็นที่แตกต่าง และการทะเลาะกันของคนในครอบครัว ร้อยละ 15.7 มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเยาวชน
เมื่อให้ประเมินความรุนแรงของปัญหา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุว่าปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวในขณะนี้อยู่ในระดับรุนแรงมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 37.2 ระบุปานกลาง ร้อยละ 10.1 ระบุน้อย-น้อยที่สุด ส่วนปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเยาวชนมีถึงร้อยละ 74.4 ที่ระบุว่ารุนแรงมาก-มากที่สุด(ร้อยละ 19.5 ระบุรุนแรงปานกลาง และร้อยละ 6.1 ระบุน้อย-น้อยที่สุด)
2. อยากให้เร่งแก้ปัญหา “ยาเสพติด-เพศสัมพันธ์”ของเยาวชน
สำหรับปัญหาพฤติกรรมเกี่ยวกับเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญควรที่จะแก้ไขเร่งด่วนกลุ่มตัวอย่างระบุเรียงตามลำดับดังนี้ อันดับแรกร้อยละ 76.7 ว่าเป็นปัญหาเรื่องการใช้ยาเสพติดมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 69.5 ระบุปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ร้อยละ 55.1 ระบุเยาวชนสูบบุหรี่ ร้อยละ 53.8 ระบุการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และร้อยละ 52.5 ระบุการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ตามลำดับ
3. ต้องรีบจัดการปัจจัยเสี่ยง “สื่อยั่วยุ — การขาดความอบอุ่นในครอบครัว”
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเยาวชนที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้แก้ไขเร่งด่วนมีดังนี้ อันดับแรกร้อยละ 78.0 ปัญหาจากสื่อที่กระตุ้นยั่วยุ (ลามก/รุนแรง) รองลงมาคือร้อยละ 55.0 ปัญหาครอบครัวขาดความอบอุ่น/ไม่เอาใจใส่กัน ร้อยละ 44.7 การทะเลาะวิวาท/ความรุนแรงในครอบครัว ร้อยละ 42.0 แหล่งอบายมุข/สถานเริงรมย์ที่ยั่วยุมอมเมา และร้อยละ 38.0 ระบุวัฒนธรรมการบริโภคเกินขอบเขต ตามลำดับ
4. ผลงานรัฐบาลด้านเยาวชน-ครอบครัว “ไม่ค่อยประทับใจ”
ส่วนในด้านผลงานของรัฐบาลชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาเยาวชนและครอบครัว ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 40.2 ไม่ประทับใจ เนื่องจากเห็นว่าการทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพ ล่าช้า แก้ปัญหาไม่ตรงจุด และทำงานยังไม่เต็มที่ ในขณะที่ร้อยละ 20.5 ระบุว่าประทับใจ เนื่องจากมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องเยาวชนและครอบครัว คุณสมบัติส่วนบุคคลดี และมีความพยายามพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น อีกร้อยละ 39.3 ระบุไม่แน่ใจ
5. รับรู้การรณรงค์แก้ปัญหา - งบประมาณไม่เพียงพอ
ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.5 ระบุว่ารับรู้การรณรงค์แก้ไขปัญหาเยาวชนและครอบครัว อาทิ การแก้ไขปัญหายาเสพติด การณรงค์เรื่องรักครอบครัว และการต่อต้านสื่อลามก ร้อยละ 37.5 ไม่เคยรับรู้ และร้อยละ 41.9 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.9 มีความเห็นว่างบประมาณที่จะนำมาใช้เพื่อการป้องกันปัญหาของเยาวชนและครอบครัวยังมี “ไม่เพียงพอ” ในขณะที่ร้อยละ 10.4 ระบุว่าเพียงพอ และอีกร้อยละ 33.7 ไม่มีความเห็น
6. เห็นด้วยให้จัดตั้ง “สถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว”
ส่วนในประเด็นเรื่องการจัดตั้ง “สถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว” พบว่าร้อยละ 78.2 ระบุว่าเห็นด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ช่วยแก้ปัญหาสังคม และเห็นว่าจะทำให้ช่วยแนะนำแนวทางป้องกันปัญหาครอบครัวได้ ในขณะที่ร้อยละ 4.4 ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ มีองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับเยาวชนและครอบครัวอยู่แล้ว ส่วนอีกร้อยละ 17.4 ไม่มีความเห็น
7. สนับสนุนให้แบ่งรายได้จาก “บ่อนการพนัน-สถานบันเทิง” มาเป็นทุนทำงาน
สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานของสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.8 — 83.3) เห็นด้วยที่จะให้จัดสรรมาจากแหล่งต่าง ๆ โดยแบ่งจากรายได้บ่อนการพนัน/สนามม้า/มวยมากที่สุด รองลงมาคือเก็บเพิ่มจากภาษีสถานบันเทิง (เช่น ผับ บาร์ คาเฟ่ คาราโอเกะ อาบอบนวด) เก็บเพิ่มจากภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จัดสรรมาจากงบประมาณของรัฐ แบ่งจากรายได้หวย/สลากกินแบ่ง เก็บเพิ่มจากภาษีบุหรี่ เก็บเพิ่มจากภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย (เช่นเครื่องสำอาง น้ำหอม ของใช้แบรนด์เนม) และรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ตามลำดับ
8. อยากให้ “องค์กรภาคประชาชน” เป็นผู้บริหารจัดการ
ส่วนในด้านหน่วยงานที่จะให้เป็นผู้บริหารจัดการสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัวถ้าหากมีการจัดตั้งขึ้นมา กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าองค์กรภาคประชาชนมีความเหมาะสมมากที่สุด(ร้อยละ 67.5 เห็นว่าเหมาะสม (นอกจากนี้คือ ไม่เหมาะสมและไม่มีความเห็น) รองลงมาคือหน่วยงานราชการ(เหมาะสมร้อยละ 60.8) และองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่ (เหมาะสมร้อยละ 58.1) ตามลำดับ
9. ต้องการให้สถาบัน ฯ เน้น “ศึกษาปัญหา-ส่งเสริมกีฬา-หาแนวทางแก้ปัญหาเยาวชน/ครอบครัว”
ด้านบทบาทการทำงานของสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81.0 - 90.3) เห็นด้วยที่จะให้มีบทบาทต่าง ๆ คือ ศึกษารวบรวมปัญหาของเยาวชนและครอบครัว ทั่วประเทศ ส่งเสริมกีฬาสำหรับเยาวชนและครอบครัวอย่างจริงจัง นำเสนอแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาเยาวชนและครอบครัว ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม สนับสนุนให้เยาวชนได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมอย่างทั่วถึง พัฒนาระบบสื่อสารมวลชนให้สร้างสรรค์ต่อเยาวชนและครอบครัว จัดตั้งเครือข่ายหน่วยงาน/บุคคลเพื่อทำงานด้านเยาวชนและครอบครัว ติดตามประเมินผลการดำเนินนโยบายรัฐบาลด้านเยาวชนและครอบครัว จัดตั้งหรือปรับปรุงหน่วยงานด้านเยาวชนและครอบครัวให้เท่าทันสถานการณ์ ควบคุมดูแลธุรกิจที่สร้างความเสื่อมถอยให้เยาวชนและครอบครัว และให้ทุนสนับสนุนการทำงานด้านเยาวชนและครอบครัวแก่หน่วยงานต่าง ๆ
10. ไม่ค่อยเชื่อ รัฐบาลจะจัดตั้งสถาบัน ฯ ได้สำเร็จ
ส่วนความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์จะจัดตั้ง “สถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว” ได้สำเร็จหรือไม่ พบว่าร้อยละ 36.5 เชื่อว่าไม่สำเร็จ เพราะ อายุการทำงานของรัฐบาลน้อย ที่ผ่านมายังไม่เห็นผลงานเป็นรูปธรรม และเห็นว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาน่าจะทำไม่ได้ ในขณะที่ร้อยละ 21.2 เชื่อว่าจะทำได้สำเร็จ เพราะเห็นความตั้งใจจริงในการทำงาน รัฐบาลมีประสบการณ์ และเห็นว่าให้ความสำคัญกับเยาวชน อีกร้อยละ 42.3 ไม่มีความเห็น
ส่วนบุคคลหรือหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างมั่นใจว่าจะผลักดันให้มีสถาบันสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อเยาวชนและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างมั่นใจกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อมวลชน นายกรัฐมนตรี(พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) สภานิติบัญัติแห่งชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ตามลำดับ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-