ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประสบการณ์บนท้องถนนของคนขับรถในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และความคิดเห็นต่อมารยาทในการจราจร กรณีศึกษาตัวอย่างคนขับรถในเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการในช่วง 10 มีนาคม — 8 เมษายน 2554
คนขับรถส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.8 ระบุพฤติกรรม “ยอดแย่” มากที่สุดของคนขับรถได้แก่ ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ปาดซ้าย ปาดขวา ประมาท หวาดเสียว รองลงมาอันดับที่สอง หรือร้อยละ 76.2 ได้แก่ ขับรถย้อนศร อันดับที่สาม หรือร้อยละ 67.4 ได้แก่ ขับรถบนไหล่ทาง อันดับที่สี่หรือร้อยละ 65.2 ขับรถมาทีหลัง แต่แซงคิว และอันดับที่ห้า หรือร้อยละ 59.1 ได้แก่ ขับรถใจแคบ แล้งน้ำใจ ตามลำดับ
ส่วนพฤติกรรม “ยอดเยี่ยม” ของคนขับรถที่เคยพบเห็น พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 80.2 ได้แก่ เคารพกฎจราจร อันดับที่สอง หรือร้อยละ 46.3 ได้แก่ จอดรถให้ เด็ก คนชรา คนพิการข้ามถนน อันดับที่สามหรือร้อยละ 44.9 ได้แก่ ขับรถดีมีน้ำใจ อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 43.0 ได้แก่ ให้สัญญาณไฟ เตือนอุบัติเหตุให้คันอื่น และอันดับที่ห้าหรือร้อยละ 30.2 ได้แก่ จอดรถช่วยเหลือคนอื่น ตามลำดับ
เมื่อถามความคิดเห็นต่อมาตรการควบคุมพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดี พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 เห็นด้วยกับการใช้ภาพถ่าย รถที่ทำผิดกฎจราจร ส่งค่าปรับถึงบ้านเจ้าของรถ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 เห็นด้วยกับการเพิ่มค่าปรับ เป็นงบพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่นชุมชนที่เกิดการกระทำผิดขึ้น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.9 เห็นด้วยกับการขับรถเมื่อถึงทางแยก สลับกันไป ไม่ต้องแย่งกัน ตามลำดับ
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า สัดส่วนของคนขับรถที่เคยพบพฤติกรรมยอดแย่มีจำนวนที่สูงกว่า คนขับรถที่เคยเจอพฤติกรรมยอดเยี่ยมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความมีน้ำใจให้กันบนท้องถนน ที่มักไม่ค่อยเจอ และที่น่าพิจารณาคือ การใช้ภาพถ่ายรถคันที่ทำผิดกฎจราจรเข้าระบบคอมพิวเตอร์ แล้วส่งค่าปรับถึงบ้านของเจ้าของรถ และน่าจะเพิ่มหมวดค่าปรับเข้าไปคือ คนที่ทำผิดกฎจราจรพื้นที่ใด ต้องจ่ายเงินบำรุงพัฒนาการศึกษาให้กับท้องถิ่นหรือชุมชนนั้นๆ โดยมาตรการทำนองนี้น่าจะช่วยลดอุบัติเหตุและการทำผิดกฎจราจร และช่วยเพิ่มงบประมาณการพัฒนาคุณภาพของคนและการศึกษาในระดับชุมชนของประเทศโดยรวม นอกจากนี้ มีการแจกแจงให้ชัดในใบเสร็จรับเงินค่าปรับว่า เงินที่ประชาชนจ่ายให้นั้นนำไปใช้อะไรบ้าง เพื่อลดความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชน เช่น ใช้ในภารกิจของตำรวจ ใช้บำรุงพัฒนาการศึกษาของชุมชน ใช้พัฒนาท้องถิ่น ใช้ซ่อมบำรุงสภาพถนน และงานธุรการ เป็นต้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 84.8 เป็นชาย ร้อยละ 15.2 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 40.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 14.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 59.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 15.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 36.6 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 24.1 ระบุรับจ้าง ร้อยละ 17.8 ระบุค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 10.1 ระบุรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.6 ระบุนักศึกษา และร้อยละ 4.8 ระบุอาชีพอื่นๆ
ลำดับที่ พฤติกรรม “ยอดแย่” ของคนขับรถในรูปแบบต่างๆ ที่เคยเจอ ค่าร้อยละ 1 ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ปาดซ้าย ปาดขวา ประมาท หวาดเสียว 78.8 2 ย้อนศร 76.2 3 ขับรถบนไหล่ทาง 67.4 4 มาทีหลัง แซงคิว 65.2 5 ใจแคบ แล้งน้ำใจ 59.1 ตารางที่ 2 แสดงจัด 5 อันดับพฤติกรรม “ยอดเยี่ยม” ของคนขับรถในรูปแบบต่างๆ ที่เคยเจอในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ลำดับที่ พฤติกรรม “ยอดเยี่ยม” ของคนขับรถในรูปแบบต่างๆ ที่เคยเจอ ค่าร้อยละ 1 เคารพกฎจราจร 80.2 2 จอดรถให้ เด็ก คนชรา คนพิการข้ามถนน 46.3 3 ขับรถดีมีน้ำใจ 44.9 4 ให้สัญญาณไฟ เตือนอุบัติเหตุให้คันอื่น 43.0 5 จอดรถช่วยเหลือคนอื่น 30.2 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ มาตรการควบคุมพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดีต่อไปนี้ ลำดับที่ มาตรการควบคุมพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดี เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย 1 ใช้การถ่ายรูปรถที่ทำผิดกฎจราจร ส่งค่าปรับถึงบ้านเจ้าของรถ 81.4 18.6 2 เพิ่มเงินค่าปรับ เป็นงบพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่นที่เกิดการทำผิดขึ้น 79.5 20.5 3 เมื่อถึงทางแยก สลับกันไป ไม่ต้องแย่งกัน 66.9 33.1
--เอแบคโพลล์--