ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับนายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภา
เยาวชนกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง เยาวชนคิดอย่างไรต่อ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศและปัญหาทุจริตคอรัปชั่น: กรณีศึกษา
เยาวชนอายุ 17-19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,269 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 14-16
มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เยาวชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่มีเพียงร้อยละ 39.5 ที่ติดตามทุกวันหรือ
เกือบทุกวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความหมายของรัฐธรรมนูญ พบว่า เยาวชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.2 ระบุยังไม่ทราบความหมายของรัฐ
ธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 51.8 ระบุว่าทราบ
โดย 5 อันดับแรกของความหมายรัฐธรรมนูญที่เยาวชนระบุมา พบว่า ร้อยละ 55.0 ระบุเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รอง
ลงมา คือ ร้อยละ 10.7 ระบุเป็นกฎระเบียบในเรื่องสิทธิหน้าที่ของประชาชน ร้อยละ 8.4 ระบุเป็นกฎเกณฑ์และข้อบังคับสำหรับประชาชนในการปฏิบัติ
ตัวในสังคมร้อยละ 6.9 ระบุเป็นกฎหมายของประเทศที่ทุกคนยอมรับ และร้อยละ 6.1 ระบุเป็นแม่บทของกฎหมายของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 เห็นว่าจำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนลงประชามติ ในขณะที่ร้อย
ละ 12.8 เห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 16.0 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ เยาวชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.8 พอใจต่อบทบาทของเยาวชนในการมีส่วนร่วมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เพราะได้เปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 9.6 ไม่พอใจ เพราะไม่ได้ให้
โอกาสเยาวชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ได้สนใจเยาวชนอย่างจริงจัง เป็นต้น และร้อยละ 41.6 ไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.0 พบว่ามีข่าวความขัดแย้งกันระหว่างผู้ใหญ่ในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยร้อยละ 39.0
ระบุเห็นมีแต่ข่าวความขัดแย้งมากกว่าข่าวความร่วมมือ และร้อยละ 34.0 พบเห็นทั้งข่าวความขัดแย้งและความร่วมมือกัน ในขณะที่ร้อยละ 13.5 ระบุมี
ข่าวความช่วยเหลือร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าข่าวความขัดแย้ง และร้อยละ 13.5 ไม่ทราบข่าวอะไรเลย ที่น่าพิจารณาคือ
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 รู้สึกเบื่อหน่ายกับเรื่องการเมือง ในขณะที่ร้อยละ
26.6 ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
นอกจากนี้ เยาวชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.8 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญเลย โดยกลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลว่า ไม่น่าสนใจ ไม่มีเวลา
ไม่เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิต ไม่รู้จะอ่านจากที่ไหน และไม่เข้าใจถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 46.6 เคยอ่านบ้างบางส่วน และเพียง
ร้อยละ 3.6 เคยอ่านทั้งฉบับ
อย่างไรก็ตาม เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 กลับเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าจะเจริญก้าวหน้า
มีแนวโน้มดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 36.5 คิดว่าจะย่ำอยู่กับที่ ไม่ดีขึ้น ไม่แย่ลง และมีเพียงร้อยละ 4.4 คิดว่าจะถอยหลังเข้าคลอง มีแต่แย่ลง
เมื่อสอบถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันลงประชามติของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ จะตัดสินใจอย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 ระบุ
ตั้งใจจะลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะ อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว อยากให้จบๆ เรื่องการเมืองโดยเร็ว อยากมีส่วนร่วม บางคนถึงกับ
บอกตอนนี้รู้สึกอึดอัดมากแต่ก็ไม่อยากให้ประเทศวุ่นวาย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุว่าจะไม่ลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะ ยังไม่รู้
สาระสำคัญอะไรเลย ไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาล และประเด็นต่างๆ ยังไม่ชัดเจน เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นของเยาวชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในประเด็นต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9 เชื่อมั่นว่า จะเป็นรัฐ
ธรรมนูญที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม แต่ร้อยละ 29.2 ไม่เชื่อมั่นและร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น
ร้อยละ 47.9 เชื่อมั่นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนไทยอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่ร้อยละ 37.1 ไม่เชื่อมั่นและร้อยละ
15.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 46.6 เชื่อมั่นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง แต่ร้อยละ 39.1 ไม่เชื่อมั่นและ
ร้อยละ 14.3 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 38.9 เชื่อมั่นว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถนำไปใช้ได้ยาวนาน ไม่ต้องแก้ไขหลายครั้ง แต่ร้อยละ 46.5 ไม่
เชื่อมั่น ร้อยละ 14.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึง ความเห็นของเยาวชนต่ออนาคตการเมืองการปกครองไทยที่ควรจะเป็น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.8 เห็นว่าควร
เพิ่มบทบาทของผู้นำชุมชน หมู่บ้านในการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ 85.1 เห็นว่าควรมีกฎหมายให้ชุมชนเข้มแข็งดูแลตนเองได้ ร้อย
ละ 81.2 เห็นว่าแต่ละจังหวัดควรมีสิทธิเสนอกฎหมายเพื่อประชาชนในพื้นที่ได้ แต่ไม่ขัดกับความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ 63.8 เห็นว่าควรลดบทบาท
ของบรรดารัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีให้เป็นเพียงผู้สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนและดูแลความมั่นคงของประเทศเท่านั้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เยาวชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.5 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 35.8 เชื่อมั่น และร้อยละ 15.7 ไม่มีความ
เห็น เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการพิจารณกฎหมายด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง พบว่า กฎหมายที่
เยาวชนไม่เชื่อมั่นมากกว่าเชื่อมั่นมีดังนี้ ร้อยละ 50.7 ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุมโฆษณาเบ็ดเสร็จ 24 ฃั่วโมง ร้อยละ
39.6 เชื่อมั่น และร้อยละ 9.7 ไม่มีความเห็น สำหรับกฎหมายขจัดแหล่งอบายมุข สถานที่เสี่ยงต่อการทำลายคุณภาพเยาวชนไทย ร้อยละ 55.6 ไม่
เชื่อมั่น ร้อยละ 33.3 เชื่อมั่น ร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น กฎหมายยึดทรัพย์กลุ่มที่วิ่งเต้นล็อบบี้ เพื่อผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง พบว่า ส่วนใหญ่
ร้อยละ 58.3 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 27.8 เชื่อมั่นและร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ กฎหมายขจัดต้นตอการทุจริตคอรัปชั่น พบว่าร้อยละ
53.9 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 36.9 เชื่อมั่น และร้อยละ 9.2 ไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เมื่อศึกษาความโน้มเอียงทางความคิดเห็นของเยาวชนต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงเวลาทำงานของรัฐบาลชุด
ปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกินกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป มีดังนี้ ร้อยละ 70.9 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยว่า การติด
สินบนหาหลักฐานเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 65.0 เห็นว่า การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง ร้อยละ 66.5 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็น
ด้วยว่า เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด ร้อยละ 62.0 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยว่า ผู้ที่จ่ายสินบนมักไม่มีความผิดหรือรอดพ้นจาก
ความผิดได้ง่าย และร้อยละ 40.5 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้
คล้ายๆ กับผลสำรวจที่เคยสอบถามประชาชนทั่วไป ที่พบว่า รัฐธรรมนูญยังเป็นเรื่องที่ถูกมองว่าไกลตัวประชาชน ส่งผลให้เกิดขบวนการฉีกรัฐธรรมนูญได้
โดยไม่มีการขัดขืนจากมวลชนมากเท่าใดนัก ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาดีที่ผู้ใหญ่ในสังคมต้องช่วยกันมอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้กับประชาชนและชี้ให้เห็นว่า
ต่อไปนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ประชาชนจะอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า พวกเราเยาวชนกำลังรู้สึกว่าไม่
ค่อยมีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่าไหร่นัก จึงคิดว่าผู้ใหญ่ในสังคมน่าจะทำให้พวกเราเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญใกล้ตัว อ่านเข้าใจ
ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป และเปิดโอกาสมากขึ้นให้พวกเราได้ศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียของรัฐธรรมนูญฉบับร่างนี้ ถ้าเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่าต่อ
เยาวชนและประชาชนทั่วไป พวกเราก็พร้อมที่จะลงประชามติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อให้ประเทศสามารถพัฒนาต่อไปได้ พวกเราไม่อยากเห็น
ความวุ่นวายในสังคมอีกต่อไปแล้ว
ในขณะที่ นางสาวปุณทรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เลขานุการสภาเยาวชนกรุงเทพฯ กล่าวว่า แต่สิ่งที่พวก
เราเป็นห่วงคือ การทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่บางกลุ่มอาจไม่ทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง การวิ่งเต้นล็อบบี้ให้
ออกกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนยังคงมีปรากฏให้พวกเรารับรู้รับทราบมาโดยตลอดแม้จะอยู่ในช่วงเวลาของการปฏิรูปการปกครองก็ตาม จึง
อยากให้บรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือและพวกเราเจอก็สามารถยกมือไหว้ด้วยความสนิทใจ ได้มีความกล้าหาญที่จะออก
กฎหมายเพื่อประโยชน์และคุณภาพของเด็กและเยาวชนรุ่นหลังด้วย
นายอรุณฉัตร กล่าวเสริมว่า พวกเราจับอารมณ์ความรู้สึกของเยาวชนได้ว่ากำลังเกิดวิกฤติศรัทธาในการแก้ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นของผู้ใหญ่
ซึ่งเยาวชนให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันหมดว่า รัฐบาลชุดนี้ถึงแม้ดูว่ามีคุณธรรมสูงในการบริหารประเทศ แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องคอรัปชั่นอยู่ในเกือบ
ทุกเรื่องเหมือนเดิม จนเยาวชนกรุงเทพฯ บางส่วนมองไปว่าเรื่องคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาเป็นที่ยอมรับได้ไปแล้ว
“เยาวชนคืออนาคตของชาติ นี้คือคำพูดที่ฟังติดหูตลอดมาตั้งแต่ผมจำความได้ แต่ผู้ใหญ่ก็อย่าลืมว่า ผู้ใหญ่ก็คืออนาคตของเยาวชน เช่นกัน
ดังนั้นถ้าผู้ใหญ่ยังไม่ยอมปรับปรุงตัวเอง เลิกทุจริตคอรัปชั่น ต่อให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดในโลกขึ้นมา ปัญหาต่างๆก็ยังคงไม่สามารถแก้ไขได้
เหมือนเดิม และอนาคตเยาวชนซึ่งมองไม่เห็นแบบอย่างที่ดีก็คงต้องเจริญรอยตามผู้ใหญ่ที่เคยทำไว้ ประเทศชาติก็จะไม่มีวันเจริญได้” ประธานสภา
กรุงเทพมหานคร กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของเยาวชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เยาวชนคิดอย่างไรต่อ การร่างรัฐ
ธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศและปัญหาทุจริตคอรัปชั่น : กรณีศึกษาเยาวชนอายุ 17-19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2550 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้า
หมาย คือ เยาวชนอายุ 17-19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลาย
ชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,269 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 82.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
และร้อยละ 7.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 83.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 39.5
2 3-4 วัน 20.9
3 1-2 วัน 21.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.9
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การทราบความหมายรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ 51.8
2 ไม่ทราบ 48.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” ตามความคิดของตน (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ทราบความหมาย)
ลำดับที่ ความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” ตามความคิดของตน ค่าร้อยละ
1 กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 55.0
2 กฎระเบียบในเรื่องสิทธิหน้าที่ของประชาชน 10.7
3 กฎเกณฑ์และข้อบังคับสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตัวในสังคม 8.4
4 กฎหมายของประเทศที่ทุกคนยอมรับ 6.9
5 แม่บทของกฎหมายของประเทศไทย 6.1
6 ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 5.3
7 กฎหมายที่ใช้บริหารบ้านเมือง 2.3
8 กฎหมายที่ประชาชนทุกคนร่วมกันร่าง 2.3
9 ข้อบัญญัติที่มีไว้ให้ประชาชน 1.5
10 การปกครอง 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจำเป็นในการที่จะให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนวันลงประชามติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 71.2
2 ไม่จำเป็น 12.8
3 ไม่มีความเห็น 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทของเยาวชนในการมีส่วนร่วมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ลำดับที่ ความพึงพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
เป็นความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ เป็นต้น 48.8
2 ไม่พอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่ได้ให้โอกาสเยาวชนมีส่วนร่วม
ไม่ได้สนใจเยาวชนอย่างจริงจัง เป็นต้น 9.6
3 ไม่มีความเห็น 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทิศทางของข่าวสารเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับในปัจจุบัน
ลำดับที่ ทิศทางของข่าวสารเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มีแต่ข่าวความขัดแย้งมากกว่าข่าวการร่วมมือกันในการร่างรัฐธรรมนูญที่ดีให้กับประชาชน 39.0
2 มีข่าวการช่วยเหลือร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าข่าวความขัดแย้ง 13.5
3 มีทั้งข่าวความขัดแย้งและข่าวความร่วมมือกัน 34.0
4 ไม่ทราบข่าวอะไรเลย 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ
1 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.4
2 ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ค่าร้อยละ
1 เคยอ่านทั้งฉบับ 3.6
2 เคยอ่านบางส่วน 46.6
3 ไม่เคยอ่านเลย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่สนใจ ไม่มีเวลา
ไม่เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิต ไม่รู้จะอ่านจากที่ใด ไม่เข้าใจถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 49.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค่าร้อยละ
1 เจริญก้าวหน้า มีแนวโน้มดีขึ้น 59.1
2 ย่ำอยู่กับที่ ไม่ดีขึ้น ไม่แย่ลง 36.5
3 ถอยหลังเข้าคลอง มีแต่แย่ลง 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากวันนี้เป็นวันลงมติ
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะ อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว อยากให้จบๆ เรื่องการเมืองโดยเร็ว
อยากมีส่วนร่วม บางคนถึงกับบอกตอนนี้รู้สึกอึดอัดมากแต่ก็ไม่อยากให้ประเทศวุ่นวาย เป็นต้น 71.4
2 ลงมติไม่ยอมรับ โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ยังไม่รู้สาระสำคัญ ไม่เชื่อมั่นในรัฐบาล
ประเด็นยังไม่ชัดเจน เป็นต้น 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในประเด็นต่างๆ
ลำดับที่ ประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง รวม
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1 รัฐธรรมนูญที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม 56.9 29.2 13.9 100.0
2 เป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 47.9 37.1 15.0 100.0
3 เป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง 46.6 39.1 14.3 100.0
4 เป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถนำไปใช้ได้ยาวนาน ไม่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง 38.9 46.5 14.6 100.0
5 อื่นๆ เช่น เป็นรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนมากขึ้น เป็นต้น 35.3 23.5 41.2 100.0
ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลักษณะการเมืองการปกครองของประเทศไทยในอนาคต
ลำดับที่ การเมืองการปกครองของประเทศไทยในอนาคต ความคิดเห็นของตัวอย่าง รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ควรเพิ่มบทบาทของผู้นำชุมชน หมู่บ้านให้ดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ 85.8 7.1 7.1 100.0
2 ควรมีกฎหมายให้ชุมชนเข้มแข็ง ดูแลตนเองได้ 85.1 8.9 6.0 100.0
3 แต่ละจังหวัดควรมีสิทธิเสนอกฎหมายเพื่อประชาชนในพื้นที่ได้
แต่ไม่ขัดกับความมั่นคงของประเทศ 81.2 9.6 9.2 100.0
4 ควรลดบทบาทของบรรดารัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีให้เป็นเพียงผู้สนับสนุน
ความเข้มแข็งของชุมชนและดูแลความมั่นคงของประเทศเท่านั้น 63.8 22.7 13.5 100.0
ตารางที่ 13 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสามารถพิจารณากฎหมาย
ให้กับประชาชนโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 35.8
2 ไม่เชื่อมั่น 48.5
3 ไม่มีความเห็น 15.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการพิจารณา
กฎหมายด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
ลำดับที่ กฎหมายด้านต่างๆ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง รวม
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1 กฎหมายควบคุมการขับขี่รถยนต์ และการจำกัดความเร็ว 46.2 41.2 12.6 100.0
2 กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/คุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เบ็ดเสร็จตลอด 24 ชั่วโมง 39.6 50.7 9.7 100.0
3 กฎหมายเพิ่มโทษเอาผิดขบวนการก่อการร้าย 39.4 47.2 13.4 100.0
4 กฎหมายเพิ่มโทษเอาผิดผู้สร้างมลพิษสิ่งแวดล้อม 39.2 47.5 13.3 100.0
5 กฎหมายขจัดต้นตอการทุจริตคอรัปชั่น 36.9 53.9 9.2 100.0
6 กฎหมายขจัดแหล่งอบายมุข/สถานที่เสี่ยงต่อการทำงายคุณภาพอนาคตเยาวชนไทย 33.3 55.6 11.1 100.0
7 กฎหมายยึดทรัพย์กลุ่มที่ล็อบบี้/วิ่งเต้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง 27.8 58.3 13.9 100.0
ตารางที่ 15 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ในช่วงเวลาทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ประเด็นต่างๆ ในช่วงเวลาทำงาน ความคิดเห็นของตัวอย่าง รวม
ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เห็นด้วย ค่อนข้างเห็นด้วย ไม่ค่อยเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. การติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก 50.1 20.8 9.2 9.4 10.5 100.0
2. การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง 46.0 19.0 11.4 11.9 11.7 100.0
3. เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด 45.2 21.3 11.0 12.2 10.3 100.0
4. ผู้ที่จ่ายติดสินบน มักไม่มีความผิด หรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย 44.0 18.0 12.5 13.2 12.3 100.0
5. การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คุณยอมรับได้ 24.1 16.4 17.3 26.0 16.2 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เยาวชนกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง เยาวชนคิดอย่างไรต่อ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศและปัญหาทุจริตคอรัปชั่น: กรณีศึกษา
เยาวชนอายุ 17-19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,269 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 14-16
มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เยาวชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่มีเพียงร้อยละ 39.5 ที่ติดตามทุกวันหรือ
เกือบทุกวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความหมายของรัฐธรรมนูญ พบว่า เยาวชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.2 ระบุยังไม่ทราบความหมายของรัฐ
ธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 51.8 ระบุว่าทราบ
โดย 5 อันดับแรกของความหมายรัฐธรรมนูญที่เยาวชนระบุมา พบว่า ร้อยละ 55.0 ระบุเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รอง
ลงมา คือ ร้อยละ 10.7 ระบุเป็นกฎระเบียบในเรื่องสิทธิหน้าที่ของประชาชน ร้อยละ 8.4 ระบุเป็นกฎเกณฑ์และข้อบังคับสำหรับประชาชนในการปฏิบัติ
ตัวในสังคมร้อยละ 6.9 ระบุเป็นกฎหมายของประเทศที่ทุกคนยอมรับ และร้อยละ 6.1 ระบุเป็นแม่บทของกฎหมายของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 เห็นว่าจำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนลงประชามติ ในขณะที่ร้อย
ละ 12.8 เห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 16.0 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ เยาวชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.8 พอใจต่อบทบาทของเยาวชนในการมีส่วนร่วมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เพราะได้เปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 9.6 ไม่พอใจ เพราะไม่ได้ให้
โอกาสเยาวชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ได้สนใจเยาวชนอย่างจริงจัง เป็นต้น และร้อยละ 41.6 ไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.0 พบว่ามีข่าวความขัดแย้งกันระหว่างผู้ใหญ่ในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยร้อยละ 39.0
ระบุเห็นมีแต่ข่าวความขัดแย้งมากกว่าข่าวความร่วมมือ และร้อยละ 34.0 พบเห็นทั้งข่าวความขัดแย้งและความร่วมมือกัน ในขณะที่ร้อยละ 13.5 ระบุมี
ข่าวความช่วยเหลือร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าข่าวความขัดแย้ง และร้อยละ 13.5 ไม่ทราบข่าวอะไรเลย ที่น่าพิจารณาคือ
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 รู้สึกเบื่อหน่ายกับเรื่องการเมือง ในขณะที่ร้อยละ
26.6 ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
นอกจากนี้ เยาวชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.8 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญเลย โดยกลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลว่า ไม่น่าสนใจ ไม่มีเวลา
ไม่เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิต ไม่รู้จะอ่านจากที่ไหน และไม่เข้าใจถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 46.6 เคยอ่านบ้างบางส่วน และเพียง
ร้อยละ 3.6 เคยอ่านทั้งฉบับ
อย่างไรก็ตาม เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 กลับเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าจะเจริญก้าวหน้า
มีแนวโน้มดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 36.5 คิดว่าจะย่ำอยู่กับที่ ไม่ดีขึ้น ไม่แย่ลง และมีเพียงร้อยละ 4.4 คิดว่าจะถอยหลังเข้าคลอง มีแต่แย่ลง
เมื่อสอบถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันลงประชามติของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ จะตัดสินใจอย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 ระบุ
ตั้งใจจะลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะ อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว อยากให้จบๆ เรื่องการเมืองโดยเร็ว อยากมีส่วนร่วม บางคนถึงกับ
บอกตอนนี้รู้สึกอึดอัดมากแต่ก็ไม่อยากให้ประเทศวุ่นวาย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุว่าจะไม่ลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะ ยังไม่รู้
สาระสำคัญอะไรเลย ไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาล และประเด็นต่างๆ ยังไม่ชัดเจน เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นของเยาวชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในประเด็นต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9 เชื่อมั่นว่า จะเป็นรัฐ
ธรรมนูญที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม แต่ร้อยละ 29.2 ไม่เชื่อมั่นและร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น
ร้อยละ 47.9 เชื่อมั่นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนไทยอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่ร้อยละ 37.1 ไม่เชื่อมั่นและร้อยละ
15.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 46.6 เชื่อมั่นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง แต่ร้อยละ 39.1 ไม่เชื่อมั่นและ
ร้อยละ 14.3 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 38.9 เชื่อมั่นว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถนำไปใช้ได้ยาวนาน ไม่ต้องแก้ไขหลายครั้ง แต่ร้อยละ 46.5 ไม่
เชื่อมั่น ร้อยละ 14.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึง ความเห็นของเยาวชนต่ออนาคตการเมืองการปกครองไทยที่ควรจะเป็น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.8 เห็นว่าควร
เพิ่มบทบาทของผู้นำชุมชน หมู่บ้านในการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ 85.1 เห็นว่าควรมีกฎหมายให้ชุมชนเข้มแข็งดูแลตนเองได้ ร้อย
ละ 81.2 เห็นว่าแต่ละจังหวัดควรมีสิทธิเสนอกฎหมายเพื่อประชาชนในพื้นที่ได้ แต่ไม่ขัดกับความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ 63.8 เห็นว่าควรลดบทบาท
ของบรรดารัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีให้เป็นเพียงผู้สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนและดูแลความมั่นคงของประเทศเท่านั้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เยาวชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.5 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 35.8 เชื่อมั่น และร้อยละ 15.7 ไม่มีความ
เห็น เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการพิจารณกฎหมายด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง พบว่า กฎหมายที่
เยาวชนไม่เชื่อมั่นมากกว่าเชื่อมั่นมีดังนี้ ร้อยละ 50.7 ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุมโฆษณาเบ็ดเสร็จ 24 ฃั่วโมง ร้อยละ
39.6 เชื่อมั่น และร้อยละ 9.7 ไม่มีความเห็น สำหรับกฎหมายขจัดแหล่งอบายมุข สถานที่เสี่ยงต่อการทำลายคุณภาพเยาวชนไทย ร้อยละ 55.6 ไม่
เชื่อมั่น ร้อยละ 33.3 เชื่อมั่น ร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น กฎหมายยึดทรัพย์กลุ่มที่วิ่งเต้นล็อบบี้ เพื่อผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง พบว่า ส่วนใหญ่
ร้อยละ 58.3 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 27.8 เชื่อมั่นและร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ กฎหมายขจัดต้นตอการทุจริตคอรัปชั่น พบว่าร้อยละ
53.9 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 36.9 เชื่อมั่น และร้อยละ 9.2 ไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เมื่อศึกษาความโน้มเอียงทางความคิดเห็นของเยาวชนต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงเวลาทำงานของรัฐบาลชุด
ปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกินกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป มีดังนี้ ร้อยละ 70.9 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยว่า การติด
สินบนหาหลักฐานเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 65.0 เห็นว่า การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง ร้อยละ 66.5 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็น
ด้วยว่า เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด ร้อยละ 62.0 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยว่า ผู้ที่จ่ายสินบนมักไม่มีความผิดหรือรอดพ้นจาก
ความผิดได้ง่าย และร้อยละ 40.5 ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้
คล้ายๆ กับผลสำรวจที่เคยสอบถามประชาชนทั่วไป ที่พบว่า รัฐธรรมนูญยังเป็นเรื่องที่ถูกมองว่าไกลตัวประชาชน ส่งผลให้เกิดขบวนการฉีกรัฐธรรมนูญได้
โดยไม่มีการขัดขืนจากมวลชนมากเท่าใดนัก ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาดีที่ผู้ใหญ่ในสังคมต้องช่วยกันมอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้กับประชาชนและชี้ให้เห็นว่า
ต่อไปนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ประชาชนจะอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า พวกเราเยาวชนกำลังรู้สึกว่าไม่
ค่อยมีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่าไหร่นัก จึงคิดว่าผู้ใหญ่ในสังคมน่าจะทำให้พวกเราเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญใกล้ตัว อ่านเข้าใจ
ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป และเปิดโอกาสมากขึ้นให้พวกเราได้ศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียของรัฐธรรมนูญฉบับร่างนี้ ถ้าเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่าต่อ
เยาวชนและประชาชนทั่วไป พวกเราก็พร้อมที่จะลงประชามติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อให้ประเทศสามารถพัฒนาต่อไปได้ พวกเราไม่อยากเห็น
ความวุ่นวายในสังคมอีกต่อไปแล้ว
ในขณะที่ นางสาวปุณทรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เลขานุการสภาเยาวชนกรุงเทพฯ กล่าวว่า แต่สิ่งที่พวก
เราเป็นห่วงคือ การทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่บางกลุ่มอาจไม่ทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง การวิ่งเต้นล็อบบี้ให้
ออกกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนยังคงมีปรากฏให้พวกเรารับรู้รับทราบมาโดยตลอดแม้จะอยู่ในช่วงเวลาของการปฏิรูปการปกครองก็ตาม จึง
อยากให้บรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือและพวกเราเจอก็สามารถยกมือไหว้ด้วยความสนิทใจ ได้มีความกล้าหาญที่จะออก
กฎหมายเพื่อประโยชน์และคุณภาพของเด็กและเยาวชนรุ่นหลังด้วย
นายอรุณฉัตร กล่าวเสริมว่า พวกเราจับอารมณ์ความรู้สึกของเยาวชนได้ว่ากำลังเกิดวิกฤติศรัทธาในการแก้ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นของผู้ใหญ่
ซึ่งเยาวชนให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันหมดว่า รัฐบาลชุดนี้ถึงแม้ดูว่ามีคุณธรรมสูงในการบริหารประเทศ แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องคอรัปชั่นอยู่ในเกือบ
ทุกเรื่องเหมือนเดิม จนเยาวชนกรุงเทพฯ บางส่วนมองไปว่าเรื่องคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาเป็นที่ยอมรับได้ไปแล้ว
“เยาวชนคืออนาคตของชาติ นี้คือคำพูดที่ฟังติดหูตลอดมาตั้งแต่ผมจำความได้ แต่ผู้ใหญ่ก็อย่าลืมว่า ผู้ใหญ่ก็คืออนาคตของเยาวชน เช่นกัน
ดังนั้นถ้าผู้ใหญ่ยังไม่ยอมปรับปรุงตัวเอง เลิกทุจริตคอรัปชั่น ต่อให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดในโลกขึ้นมา ปัญหาต่างๆก็ยังคงไม่สามารถแก้ไขได้
เหมือนเดิม และอนาคตเยาวชนซึ่งมองไม่เห็นแบบอย่างที่ดีก็คงต้องเจริญรอยตามผู้ใหญ่ที่เคยทำไว้ ประเทศชาติก็จะไม่มีวันเจริญได้” ประธานสภา
กรุงเทพมหานคร กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของเยาวชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เยาวชนคิดอย่างไรต่อ การร่างรัฐ
ธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศและปัญหาทุจริตคอรัปชั่น : กรณีศึกษาเยาวชนอายุ 17-19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2550 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้า
หมาย คือ เยาวชนอายุ 17-19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลาย
ชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,269 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 82.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
และร้อยละ 7.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 83.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 39.5
2 3-4 วัน 20.9
3 1-2 วัน 21.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.9
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การทราบความหมายรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ 51.8
2 ไม่ทราบ 48.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” ตามความคิดของตน (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ทราบความหมาย)
ลำดับที่ ความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” ตามความคิดของตน ค่าร้อยละ
1 กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 55.0
2 กฎระเบียบในเรื่องสิทธิหน้าที่ของประชาชน 10.7
3 กฎเกณฑ์และข้อบังคับสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตัวในสังคม 8.4
4 กฎหมายของประเทศที่ทุกคนยอมรับ 6.9
5 แม่บทของกฎหมายของประเทศไทย 6.1
6 ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 5.3
7 กฎหมายที่ใช้บริหารบ้านเมือง 2.3
8 กฎหมายที่ประชาชนทุกคนร่วมกันร่าง 2.3
9 ข้อบัญญัติที่มีไว้ให้ประชาชน 1.5
10 การปกครอง 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจำเป็นในการที่จะให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนวันลงประชามติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 71.2
2 ไม่จำเป็น 12.8
3 ไม่มีความเห็น 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทของเยาวชนในการมีส่วนร่วมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ลำดับที่ ความพึงพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
เป็นความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ เป็นต้น 48.8
2 ไม่พอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่ได้ให้โอกาสเยาวชนมีส่วนร่วม
ไม่ได้สนใจเยาวชนอย่างจริงจัง เป็นต้น 9.6
3 ไม่มีความเห็น 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทิศทางของข่าวสารเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับในปัจจุบัน
ลำดับที่ ทิศทางของข่าวสารเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มีแต่ข่าวความขัดแย้งมากกว่าข่าวการร่วมมือกันในการร่างรัฐธรรมนูญที่ดีให้กับประชาชน 39.0
2 มีข่าวการช่วยเหลือร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าข่าวความขัดแย้ง 13.5
3 มีทั้งข่าวความขัดแย้งและข่าวความร่วมมือกัน 34.0
4 ไม่ทราบข่าวอะไรเลย 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ
1 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.4
2 ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ค่าร้อยละ
1 เคยอ่านทั้งฉบับ 3.6
2 เคยอ่านบางส่วน 46.6
3 ไม่เคยอ่านเลย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่สนใจ ไม่มีเวลา
ไม่เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิต ไม่รู้จะอ่านจากที่ใด ไม่เข้าใจถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 49.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค่าร้อยละ
1 เจริญก้าวหน้า มีแนวโน้มดีขึ้น 59.1
2 ย่ำอยู่กับที่ ไม่ดีขึ้น ไม่แย่ลง 36.5
3 ถอยหลังเข้าคลอง มีแต่แย่ลง 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากวันนี้เป็นวันลงมติ
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะ อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว อยากให้จบๆ เรื่องการเมืองโดยเร็ว
อยากมีส่วนร่วม บางคนถึงกับบอกตอนนี้รู้สึกอึดอัดมากแต่ก็ไม่อยากให้ประเทศวุ่นวาย เป็นต้น 71.4
2 ลงมติไม่ยอมรับ โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ยังไม่รู้สาระสำคัญ ไม่เชื่อมั่นในรัฐบาล
ประเด็นยังไม่ชัดเจน เป็นต้น 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในประเด็นต่างๆ
ลำดับที่ ประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง รวม
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1 รัฐธรรมนูญที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม 56.9 29.2 13.9 100.0
2 เป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 47.9 37.1 15.0 100.0
3 เป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง 46.6 39.1 14.3 100.0
4 เป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถนำไปใช้ได้ยาวนาน ไม่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง 38.9 46.5 14.6 100.0
5 อื่นๆ เช่น เป็นรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนมากขึ้น เป็นต้น 35.3 23.5 41.2 100.0
ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลักษณะการเมืองการปกครองของประเทศไทยในอนาคต
ลำดับที่ การเมืองการปกครองของประเทศไทยในอนาคต ความคิดเห็นของตัวอย่าง รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ควรเพิ่มบทบาทของผู้นำชุมชน หมู่บ้านให้ดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ 85.8 7.1 7.1 100.0
2 ควรมีกฎหมายให้ชุมชนเข้มแข็ง ดูแลตนเองได้ 85.1 8.9 6.0 100.0
3 แต่ละจังหวัดควรมีสิทธิเสนอกฎหมายเพื่อประชาชนในพื้นที่ได้
แต่ไม่ขัดกับความมั่นคงของประเทศ 81.2 9.6 9.2 100.0
4 ควรลดบทบาทของบรรดารัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีให้เป็นเพียงผู้สนับสนุน
ความเข้มแข็งของชุมชนและดูแลความมั่นคงของประเทศเท่านั้น 63.8 22.7 13.5 100.0
ตารางที่ 13 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสามารถพิจารณากฎหมาย
ให้กับประชาชนโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 35.8
2 ไม่เชื่อมั่น 48.5
3 ไม่มีความเห็น 15.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการพิจารณา
กฎหมายด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
ลำดับที่ กฎหมายด้านต่างๆ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง รวม
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1 กฎหมายควบคุมการขับขี่รถยนต์ และการจำกัดความเร็ว 46.2 41.2 12.6 100.0
2 กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/คุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เบ็ดเสร็จตลอด 24 ชั่วโมง 39.6 50.7 9.7 100.0
3 กฎหมายเพิ่มโทษเอาผิดขบวนการก่อการร้าย 39.4 47.2 13.4 100.0
4 กฎหมายเพิ่มโทษเอาผิดผู้สร้างมลพิษสิ่งแวดล้อม 39.2 47.5 13.3 100.0
5 กฎหมายขจัดต้นตอการทุจริตคอรัปชั่น 36.9 53.9 9.2 100.0
6 กฎหมายขจัดแหล่งอบายมุข/สถานที่เสี่ยงต่อการทำงายคุณภาพอนาคตเยาวชนไทย 33.3 55.6 11.1 100.0
7 กฎหมายยึดทรัพย์กลุ่มที่ล็อบบี้/วิ่งเต้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง 27.8 58.3 13.9 100.0
ตารางที่ 15 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ในช่วงเวลาทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ประเด็นต่างๆ ในช่วงเวลาทำงาน ความคิดเห็นของตัวอย่าง รวม
ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เห็นด้วย ค่อนข้างเห็นด้วย ไม่ค่อยเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. การติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก 50.1 20.8 9.2 9.4 10.5 100.0
2. การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง 46.0 19.0 11.4 11.9 11.7 100.0
3. เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด 45.2 21.3 11.0 12.2 10.3 100.0
4. ผู้ที่จ่ายติดสินบน มักไม่มีความผิด หรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย 44.0 18.0 12.5 13.2 12.3 100.0
5. การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คุณยอมรับได้ 24.1 16.4 17.3 26.0 16.2 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-