ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis :ABAC SIMBA) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ผลงานรัฐบาล ความนิยมต่อ
นายกรัฐมนตรี และการเลือกตั้งใหม่ ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,019
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 20 — 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ซึ่งพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 ติดตามข่าวการเมืองใน
ช่วง 30 วันที่ผ่านมาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
เมื่อสอบถามตัวอย่างประชาชนถึงความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล พบว่า อันดับแรก ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.3 พอใจ
การติดตามตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทักษิณ รองลงมาคือร้อยละ 60.8 พอใจการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย ร้อยละ 55.1
พอใจการส่งเสริมให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ร้อยละ 52.4 พอใจการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ร้อยละ 51.6 พอใจการให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัด
ทำร่างรัฐธรรมนูญทุกระดับ ร้อยละ 51.0 พอใจการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 42.7 พอใจการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้วยสันติวิธี ร้อยละ 33.8 พอใจการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 32.2 พอใจการสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การทำ
งานของรัฐบาลสองอันดับสุดท้ายที่ประชาชนพอใจน้อยที่สุด ได้แก่การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการและนักการเมืองท้องถิ่น มีเพียงร้อยละ
28.5 และการจัดระเบียบสังคม เช่น ปัญหาสถานบันเทิงในย่านสถานศึกษาและที่พักอาศัยของประชาชน การมั่วสุมของเยาวชน เป็นต้น มีเพียงร้อยละ
21.6 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวม ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 64.9 ยังเห็นควรให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลา
นนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่เคยประกาศไว้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 10.7 เห็นว่าไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 24.4 ไม่มี
ความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่าในท่ามกลางกระแสข่าวการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทักษิณขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ความเชื่อ
ถือศรัทธาของประชาชนที่ถูกศึกษาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ปีนี้ คือร้อยละ 48.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ กับร้อยละ 45.4 ในเดือนมิถุนายน ในขณะที่ความเชื่อถือศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ลดลงจากร้อยละ
21.6 เหลือร้อยละ 15.4 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 64.3 คิดว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 35.7 ไม่คิดว่าปีนี้จะ
มีการเลือกตั้ง ซึ่งในกลุ่มที่คิดว่าจะมีการเลือกตั้งปีนี้เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.9 คิดว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ร้อยละ 21.7 คิดว่าเป็นเดือน
พฤศจิกายน และร้อยละ 14.5 คิดว่าเป็นเดือนตุลาคม ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. ที่จะ
จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มสมาชิกพรรคไทยรักไทยและกลุ่มที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคใดเลย กล่าวคือเมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า ร้อยละ
32.5 ไม่ค่อยเชื่อมั่น และร้อยละ 13.6 ไม่เชื่อมั่นใน กกต. ในขณะที่มีร้อยละ 20.7 ที่ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 12.0 เชื่อมั่น ทั้งนี้ร้อยละ
21.2 ไม่มีความเห็น และเมื่อจำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น พบว่า ร้อยละ 31.5 และร้อยละ 24.2 ของสมาชิกพรรคไทยรักไทย
ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นใน กกต. ในขณะที่ร้อยละ 33.1 และร้อยละ 12.9 ของผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่น
อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนของคนที่เชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ คือร้อยละ 24.1
และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 13.8
คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 17.2 คิดว่าจะซื้อสิทธิขายเสียงลดลง และร้อยละ 5.2 คิดว่าจะไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงเลย
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้การเลือกตั้งปลอดจากการซื้อสิทธิขายเสียง โดยให้สามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบ
ว่า ร้อยละ 22.2 ขอให้เพิ่มโทษเด็ดขาด อาทิ จำคุก ประจานออกทีวี ร้อยละ 21.1 ขอให้ กกต. และตำรวจควบคุมอย่างเข้มงวด ร้อยละ 20.2
ขอให้รณรงค์การเลือกตั้งให้ใสสะอาดและให้ความรู้แก่ประชาชน ร้อยละ 19.0 ขอให้ปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่เด็กและเยาวชน บรรจุไว้ในหลักสูตรการ
ศึกษา ร้อยละ 10.8 ขอให้คณะทำงานลงพื้นที่แทรกซึมในหมู่บ้านชุมชนก่อนการเลือกตั้งประมาณ 1-2 เดือน/จัดตั้งองค์กรพิเศษเข้าไปอยู่กับชาวบ้าน
เป็นต้น ร้อยละ 7.6 ระบุประชาชนต้องไม่รับเงิน ร้อยละ 6.9 ระบุถ้าเจอซื้อเสียงตัดสิทธิการเมืองทันที ในขณะที่ร้อยละ 6.6 เสนอให้เปิดสายด่วน
ร้องเรียนปัญหาทุจริตการเลือกตั้ง เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงความวุ่นวายต่างๆ หลังการเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายเหมือนเดิมจนถึง
วุ่นวายมากขึ้น มีร้อยละ 33.4 คิดว่าจะวุ่นวายน้อยลง โดยมีเพียงร้อยละ 9.0 เท่านั้นคิดว่าจะสงบเรียบร้อย
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ระบุสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติเพื่อให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขคือความจงรักภักดี
รองลงมาคือร้อยละ 56.9 ระบุให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน สามัคคีกัน ร้อยละ 53.7 ระบุให้ยึดมั่นในคุณธรรมและกฎแห่งกรรม ร้อยละ 44.1 ระบุ
สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา รับฟังความเห็นผู้อื่น ร้อยละ 42.9 ระบุให้ยึดมั่นเคารพกฎหมาย กติกาของสังคม ร้อยละ
36.8 ระบุเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดสิทธิกัน ร้อยละ 35.3 ระบุให้ตั้งใจทำประโยชน์ส่วนรวม ร้อยละ 18.4 ระบุทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ร้อย
ละ 16.1 ไม่คดโกง และร้อยละ 15.2 ให้ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญหลายประการ เช่น การทำงานด้านการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวกับ
รัฐบาลทักษิณ และการส่งเสริมระบบคุณธรรมของรัฐบาล ทำให้ประชาชนพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล และประชาชนส่วนใหญ่ยังให้โอกาสรัฐบาลทำ
งานจนครบวาระตามที่เคยประกาศไว้ อย่างไรก็ตามปัญหาใกล้ตัวที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด และการจัด
ระเบียบสังคมนั้นยังไม่เป็นที่ปรากฏว่ารัฐบาลทำงานได้ถูกใจประชาชน จึงส่งผลให้คะแนนนิยมต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ มีแนวโน้มลดลง ดังนั้นรัฐบาลต้อง
เอาใจใส่ในปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวของประชาชนให้มากขึ้น เพราะถึงแม้ว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลควรตระหนัก
ว่า ความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สาธารณชนเกิดพลังร่วมขับเคลื่อนตอบรับนโยบายของรัฐบาล ในขณะที่ ข่าวการตรวจ
สอบปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณ และการชุมนุมประท้วง เพื่อขับไล่รัฐบาลและ คมช. กลับกลายเป็นประเด็นที่ทำให้ความนิยมของ
ประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ลดลงอย่างชัดเจน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ภารกิจของรัฐบาลและกลไกของรัฐต่อไปที่น่าพิจารณาคือการทำให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีจิตสำนึกร่วมสร้าง
อนาคตทางการเมืองของสังคมไทยใหม่ ผ่านการเลือกตั้งและการบริหารจัดการอารมณ์ของสาธารณชนให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้โดยอาศัย นโยบายอยู่ดีมี
สุขแท้จริง การส่งเสริมบรรยากาศที่ดีของคนในชุมชน การจัดระเบียบสังคม เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างทุนทางสังคมทำให้กลุ่มพลังเงียบมีโอกาส
พูดมีส่วนร่วมแก้ปัญหาของชุมชนและประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบและประเมินเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติราชการในชุมชน
โดยตรง ปัจจัยเหล่านี้น่าจะทำให้สังคมไทยมีความสงบสุขอย่างยั่งยืน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อรัฐบาลในการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนและให้โอกาสรัฐบาลในการทำงาน และการเลือกตั้งใหม่
4. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลงานรัฐบาล
ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี และการเลือกตั้งใหม่ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชน ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้ง
สิ้น 3,019 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 20 — 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่
พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา หนองคาย สงขลา สุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,019 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่
ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 28.7 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 6.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 18.7 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.7 ระบุเกษตรกรและรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 15.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.6 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.0 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.9 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 31.1 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทืระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 45.2
2 ติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ 16.9
3 ติดตาม 1-2 วัน/สัปดาห์ 17.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.9
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อรัฐบาลในการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ
ลำดับที่ การดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ ค่าร้อยละ
1 การติดตามตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทักษิณ 64.3
2 การส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย 60.8
3 การส่งเสริมให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง 55.1
4 การส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง 52.4
5 การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ 51.6
6 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 51.0
7 แก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี 42.7
8 การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 33.8
9 การสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 32.2
10 แก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ และนักการเมืองท้องถิ่น 28.5
11 การจัดระเบียบสังคม เช่น ปัญหาสถานบันเทิงในย่านสถานศึกษา
และที่พักอาศัยของประชาชน การมั่วสุมของเยาวชน เป็นต้น 21.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ ตามที่ประกาศไว้
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้ ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 64.9
2 ไม่ควรให้โอกาส 10.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 24.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบกับ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 45.4
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 15.4
3 ไม่มีความเห็น 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ได้ภายในปีนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้ง* 64.3
2 คิดว่าปีหน้าถึงจะได้เลือกตั้ง 35.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
* เฉพาะตัวอย่างที่คิดว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้ง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเดือนที่คิดจะมีการเลือกตั้งในปีนี้
เดือนกรกฎาคม ร้อยละ 4.1
เดือนสิงหาคม ร้อยละ 6.1
เดือนกันยายน ร้อยละ 4.7
เดือนตุลาคม ร้อยละ 14.5
เดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 21.7
เดือนธันวาคม ร้อยละ 48.9
รวมทั้งสิ้น ร้อยละ 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) ที่จะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ความเชื่อมั่น พรรค พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิก รวมทั้งสิ้น
ไทยรักไทย พรรคใด
1. เชื่อมั่น 7.4 24.1 16 11.9 12
2. ค่อนข้างเชื่อมั่น 13.4 24.1 32 21.2 20.7
3. ไม่ค่อยเชื่อมั่น 31.5 29.6 16 33.1 32.5
4. ไม่เชื่อมั่น 24.2 3.7 8 12.9 13.6
5. ไม่มีความเห็น 23.5 18.5 28 20.9 21.2
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการซื้อสิทธิขายเสียงที่อาจเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ซื้อสิทธิขายเสียงเพิ่มขึ้น 13.8
2 ซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม 63.8
3 ซื้อสิทธิขายเสียงลดลง 17.2
4 ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะเพื่อให้การเลือกตั้งปลอดจากการซื้อสิทธิขายเสียง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 เพิ่มบทลงโทษให้เด็ดขาด อาทิ จำคุก ประจานออกทีวี 22.2
2 กกต. และตำรวจควรควบคุมอย่างเข้มงวด 21.1
3 รณรงค์การเลือกตั้งที่ใสสะอาด / ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 20.2
4 ปลูกจิตสำนึกที่ดี ไม่ให้ซื้อสิทธิขายเสียง/อบรมเด็กและเยาวชน/สอนนักเรียน บรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษา 19.0
5 ให้คณะทำงานลงพื้นที่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ก่อนการเลือกตั้ง 1-2 เดือน / แทรกซึมในหมู่ชาวบ้าน /
จัดตั้งองค์กรพิเศษเข้าไปอยู่กับชาวบ้าน 10.8
6 ประชาชนต้องร่วมมือกันไม่รับเงิน หรือผลประโยชน์ใดๆ 7.6
7 หากเจอการซื้อเสียง ให้ลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองทันที 6.9
8 ตรวจสอบประวัติผู้สมัครอย่างละเอียด 4.8
9 จับหัวคะแนนที่แจกเงิน 4.4
10 ห้ามหาเสียงก่อนการเลือกตั้งซักระยะ 2.3
11 อื่นๆ อาทิ ห้าม ส.ส. ใช้งบประมาณมากเกินไป / ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และกกต.สาบานตน /
เปิดสายด่วนให้ร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้ง / พัฒนาเศรษฐกิจ ให้ประชาชนไม่ยากจน 6.6
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการจะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองหลังการเลือกตั้งครั้งใหม่
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1. วุ่นวายมากขึ้น 7.9 23.3 13.9 13.6
2. วุ่นวายเหมือนเดิม 35.6 43.3 45.4 44.0
3. วุ่นวายน้อยลง 41.1 30.0 32.4 33.4
4. สงบเรียบร้อย 15.4 3.4 8.3 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติ เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติ เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ค่าร้อยละ
1 ความจงรักภักดี 61.8
2 ให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน/สามัคคีกัน 56.9
3 ให้ยึดมั่นในคุณธรรมและกฎแห่งกรรม 53.7
4 สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน/เอาใจเขามาใส่ใจเรา/รับฟังความเห็นผู้อื่น 44.1
5 ยึดมั่นเคารพกฎหมาย กติกาของสังคม 42.9
6 เคารพในสิทธิของผู้อื่นๆ /ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 36.8
7 ตั้งใจทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม/ไม่เห็นแก่ตัว 35.3
8 ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด 18.4
9 มีความซื่อสัตย์/ไม่คดโกง 16.1
10 ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 15.2
11 อื่นๆ อาทิ มีความยุติธรรม/ไม่ขายสิทธิ เป็นต้น 7.2
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis :ABAC SIMBA) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ผลงานรัฐบาล ความนิยมต่อ
นายกรัฐมนตรี และการเลือกตั้งใหม่ ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,019
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 20 — 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ซึ่งพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 ติดตามข่าวการเมืองใน
ช่วง 30 วันที่ผ่านมาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
เมื่อสอบถามตัวอย่างประชาชนถึงความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล พบว่า อันดับแรก ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.3 พอใจ
การติดตามตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทักษิณ รองลงมาคือร้อยละ 60.8 พอใจการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย ร้อยละ 55.1
พอใจการส่งเสริมให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ร้อยละ 52.4 พอใจการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ร้อยละ 51.6 พอใจการให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัด
ทำร่างรัฐธรรมนูญทุกระดับ ร้อยละ 51.0 พอใจการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 42.7 พอใจการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้วยสันติวิธี ร้อยละ 33.8 พอใจการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 32.2 พอใจการสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การทำ
งานของรัฐบาลสองอันดับสุดท้ายที่ประชาชนพอใจน้อยที่สุด ได้แก่การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการและนักการเมืองท้องถิ่น มีเพียงร้อยละ
28.5 และการจัดระเบียบสังคม เช่น ปัญหาสถานบันเทิงในย่านสถานศึกษาและที่พักอาศัยของประชาชน การมั่วสุมของเยาวชน เป็นต้น มีเพียงร้อยละ
21.6 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวม ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 64.9 ยังเห็นควรให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลา
นนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่เคยประกาศไว้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 10.7 เห็นว่าไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 24.4 ไม่มี
ความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่าในท่ามกลางกระแสข่าวการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทักษิณขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ความเชื่อ
ถือศรัทธาของประชาชนที่ถูกศึกษาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ปีนี้ คือร้อยละ 48.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ กับร้อยละ 45.4 ในเดือนมิถุนายน ในขณะที่ความเชื่อถือศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ลดลงจากร้อยละ
21.6 เหลือร้อยละ 15.4 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 64.3 คิดว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 35.7 ไม่คิดว่าปีนี้จะ
มีการเลือกตั้ง ซึ่งในกลุ่มที่คิดว่าจะมีการเลือกตั้งปีนี้เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.9 คิดว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ร้อยละ 21.7 คิดว่าเป็นเดือน
พฤศจิกายน และร้อยละ 14.5 คิดว่าเป็นเดือนตุลาคม ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. ที่จะ
จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มสมาชิกพรรคไทยรักไทยและกลุ่มที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคใดเลย กล่าวคือเมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า ร้อยละ
32.5 ไม่ค่อยเชื่อมั่น และร้อยละ 13.6 ไม่เชื่อมั่นใน กกต. ในขณะที่มีร้อยละ 20.7 ที่ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 12.0 เชื่อมั่น ทั้งนี้ร้อยละ
21.2 ไม่มีความเห็น และเมื่อจำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น พบว่า ร้อยละ 31.5 และร้อยละ 24.2 ของสมาชิกพรรคไทยรักไทย
ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นใน กกต. ในขณะที่ร้อยละ 33.1 และร้อยละ 12.9 ของผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่น
อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนของคนที่เชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ คือร้อยละ 24.1
และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 13.8
คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 17.2 คิดว่าจะซื้อสิทธิขายเสียงลดลง และร้อยละ 5.2 คิดว่าจะไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงเลย
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้การเลือกตั้งปลอดจากการซื้อสิทธิขายเสียง โดยให้สามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบ
ว่า ร้อยละ 22.2 ขอให้เพิ่มโทษเด็ดขาด อาทิ จำคุก ประจานออกทีวี ร้อยละ 21.1 ขอให้ กกต. และตำรวจควบคุมอย่างเข้มงวด ร้อยละ 20.2
ขอให้รณรงค์การเลือกตั้งให้ใสสะอาดและให้ความรู้แก่ประชาชน ร้อยละ 19.0 ขอให้ปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่เด็กและเยาวชน บรรจุไว้ในหลักสูตรการ
ศึกษา ร้อยละ 10.8 ขอให้คณะทำงานลงพื้นที่แทรกซึมในหมู่บ้านชุมชนก่อนการเลือกตั้งประมาณ 1-2 เดือน/จัดตั้งองค์กรพิเศษเข้าไปอยู่กับชาวบ้าน
เป็นต้น ร้อยละ 7.6 ระบุประชาชนต้องไม่รับเงิน ร้อยละ 6.9 ระบุถ้าเจอซื้อเสียงตัดสิทธิการเมืองทันที ในขณะที่ร้อยละ 6.6 เสนอให้เปิดสายด่วน
ร้องเรียนปัญหาทุจริตการเลือกตั้ง เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงความวุ่นวายต่างๆ หลังการเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายเหมือนเดิมจนถึง
วุ่นวายมากขึ้น มีร้อยละ 33.4 คิดว่าจะวุ่นวายน้อยลง โดยมีเพียงร้อยละ 9.0 เท่านั้นคิดว่าจะสงบเรียบร้อย
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ระบุสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติเพื่อให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขคือความจงรักภักดี
รองลงมาคือร้อยละ 56.9 ระบุให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน สามัคคีกัน ร้อยละ 53.7 ระบุให้ยึดมั่นในคุณธรรมและกฎแห่งกรรม ร้อยละ 44.1 ระบุ
สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา รับฟังความเห็นผู้อื่น ร้อยละ 42.9 ระบุให้ยึดมั่นเคารพกฎหมาย กติกาของสังคม ร้อยละ
36.8 ระบุเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดสิทธิกัน ร้อยละ 35.3 ระบุให้ตั้งใจทำประโยชน์ส่วนรวม ร้อยละ 18.4 ระบุทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ร้อย
ละ 16.1 ไม่คดโกง และร้อยละ 15.2 ให้ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญหลายประการ เช่น การทำงานด้านการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวกับ
รัฐบาลทักษิณ และการส่งเสริมระบบคุณธรรมของรัฐบาล ทำให้ประชาชนพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล และประชาชนส่วนใหญ่ยังให้โอกาสรัฐบาลทำ
งานจนครบวาระตามที่เคยประกาศไว้ อย่างไรก็ตามปัญหาใกล้ตัวที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด และการจัด
ระเบียบสังคมนั้นยังไม่เป็นที่ปรากฏว่ารัฐบาลทำงานได้ถูกใจประชาชน จึงส่งผลให้คะแนนนิยมต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ มีแนวโน้มลดลง ดังนั้นรัฐบาลต้อง
เอาใจใส่ในปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวของประชาชนให้มากขึ้น เพราะถึงแม้ว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลควรตระหนัก
ว่า ความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สาธารณชนเกิดพลังร่วมขับเคลื่อนตอบรับนโยบายของรัฐบาล ในขณะที่ ข่าวการตรวจ
สอบปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณ และการชุมนุมประท้วง เพื่อขับไล่รัฐบาลและ คมช. กลับกลายเป็นประเด็นที่ทำให้ความนิยมของ
ประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ลดลงอย่างชัดเจน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ภารกิจของรัฐบาลและกลไกของรัฐต่อไปที่น่าพิจารณาคือการทำให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีจิตสำนึกร่วมสร้าง
อนาคตทางการเมืองของสังคมไทยใหม่ ผ่านการเลือกตั้งและการบริหารจัดการอารมณ์ของสาธารณชนให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้โดยอาศัย นโยบายอยู่ดีมี
สุขแท้จริง การส่งเสริมบรรยากาศที่ดีของคนในชุมชน การจัดระเบียบสังคม เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างทุนทางสังคมทำให้กลุ่มพลังเงียบมีโอกาส
พูดมีส่วนร่วมแก้ปัญหาของชุมชนและประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบและประเมินเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติราชการในชุมชน
โดยตรง ปัจจัยเหล่านี้น่าจะทำให้สังคมไทยมีความสงบสุขอย่างยั่งยืน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อรัฐบาลในการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนและให้โอกาสรัฐบาลในการทำงาน และการเลือกตั้งใหม่
4. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลงานรัฐบาล
ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี และการเลือกตั้งใหม่ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชน ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้ง
สิ้น 3,019 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 20 — 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่
พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา หนองคาย สงขลา สุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,019 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่
ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 28.7 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 6.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 18.7 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.7 ระบุเกษตรกรและรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 15.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.6 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.0 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.9 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 31.1 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทืระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 45.2
2 ติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ 16.9
3 ติดตาม 1-2 วัน/สัปดาห์ 17.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.9
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อรัฐบาลในการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ
ลำดับที่ การดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ ค่าร้อยละ
1 การติดตามตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทักษิณ 64.3
2 การส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย 60.8
3 การส่งเสริมให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง 55.1
4 การส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง 52.4
5 การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ 51.6
6 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 51.0
7 แก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี 42.7
8 การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 33.8
9 การสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 32.2
10 แก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ และนักการเมืองท้องถิ่น 28.5
11 การจัดระเบียบสังคม เช่น ปัญหาสถานบันเทิงในย่านสถานศึกษา
และที่พักอาศัยของประชาชน การมั่วสุมของเยาวชน เป็นต้น 21.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ ตามที่ประกาศไว้
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้ ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 64.9
2 ไม่ควรให้โอกาส 10.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 24.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบกับ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 45.4
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 15.4
3 ไม่มีความเห็น 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ได้ภายในปีนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้ง* 64.3
2 คิดว่าปีหน้าถึงจะได้เลือกตั้ง 35.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
* เฉพาะตัวอย่างที่คิดว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้ง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเดือนที่คิดจะมีการเลือกตั้งในปีนี้
เดือนกรกฎาคม ร้อยละ 4.1
เดือนสิงหาคม ร้อยละ 6.1
เดือนกันยายน ร้อยละ 4.7
เดือนตุลาคม ร้อยละ 14.5
เดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 21.7
เดือนธันวาคม ร้อยละ 48.9
รวมทั้งสิ้น ร้อยละ 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) ที่จะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ความเชื่อมั่น พรรค พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิก รวมทั้งสิ้น
ไทยรักไทย พรรคใด
1. เชื่อมั่น 7.4 24.1 16 11.9 12
2. ค่อนข้างเชื่อมั่น 13.4 24.1 32 21.2 20.7
3. ไม่ค่อยเชื่อมั่น 31.5 29.6 16 33.1 32.5
4. ไม่เชื่อมั่น 24.2 3.7 8 12.9 13.6
5. ไม่มีความเห็น 23.5 18.5 28 20.9 21.2
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการซื้อสิทธิขายเสียงที่อาจเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ซื้อสิทธิขายเสียงเพิ่มขึ้น 13.8
2 ซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม 63.8
3 ซื้อสิทธิขายเสียงลดลง 17.2
4 ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะเพื่อให้การเลือกตั้งปลอดจากการซื้อสิทธิขายเสียง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 เพิ่มบทลงโทษให้เด็ดขาด อาทิ จำคุก ประจานออกทีวี 22.2
2 กกต. และตำรวจควรควบคุมอย่างเข้มงวด 21.1
3 รณรงค์การเลือกตั้งที่ใสสะอาด / ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 20.2
4 ปลูกจิตสำนึกที่ดี ไม่ให้ซื้อสิทธิขายเสียง/อบรมเด็กและเยาวชน/สอนนักเรียน บรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษา 19.0
5 ให้คณะทำงานลงพื้นที่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ก่อนการเลือกตั้ง 1-2 เดือน / แทรกซึมในหมู่ชาวบ้าน /
จัดตั้งองค์กรพิเศษเข้าไปอยู่กับชาวบ้าน 10.8
6 ประชาชนต้องร่วมมือกันไม่รับเงิน หรือผลประโยชน์ใดๆ 7.6
7 หากเจอการซื้อเสียง ให้ลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองทันที 6.9
8 ตรวจสอบประวัติผู้สมัครอย่างละเอียด 4.8
9 จับหัวคะแนนที่แจกเงิน 4.4
10 ห้ามหาเสียงก่อนการเลือกตั้งซักระยะ 2.3
11 อื่นๆ อาทิ ห้าม ส.ส. ใช้งบประมาณมากเกินไป / ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และกกต.สาบานตน /
เปิดสายด่วนให้ร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้ง / พัฒนาเศรษฐกิจ ให้ประชาชนไม่ยากจน 6.6
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการจะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองหลังการเลือกตั้งครั้งใหม่
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1. วุ่นวายมากขึ้น 7.9 23.3 13.9 13.6
2. วุ่นวายเหมือนเดิม 35.6 43.3 45.4 44.0
3. วุ่นวายน้อยลง 41.1 30.0 32.4 33.4
4. สงบเรียบร้อย 15.4 3.4 8.3 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติ เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติ เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ค่าร้อยละ
1 ความจงรักภักดี 61.8
2 ให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน/สามัคคีกัน 56.9
3 ให้ยึดมั่นในคุณธรรมและกฎแห่งกรรม 53.7
4 สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน/เอาใจเขามาใส่ใจเรา/รับฟังความเห็นผู้อื่น 44.1
5 ยึดมั่นเคารพกฎหมาย กติกาของสังคม 42.9
6 เคารพในสิทธิของผู้อื่นๆ /ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 36.8
7 ตั้งใจทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม/ไม่เห็นแก่ตัว 35.3
8 ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด 18.4
9 มีความซื่อสัตย์/ไม่คดโกง 16.1
10 ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 15.2
11 อื่นๆ อาทิ มีความยุติธรรม/ไม่ขายสิทธิ เป็นต้น 7.2
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-