ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจเหตุปัจจัยของการใช้ชีวิตแบบ “ไม่” พอเพียงของคนไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18-60 ปี ใน 28 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ลพบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี น่าน เชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ นครพนม สกลนคร อุดรธานี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล ปัตตานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,285 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 1 มีนาคม - 16 เมษายน 2554 ที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อถามประชาชนตรงๆ ว่า คุณใช้ชีวิตแบบพอเพียงหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.2 ตอบว่า ตนเองใช้ชีวิตแบบพอเพียง แต่ผลการวิเคราะห์ในทางสถิติจำนวนคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พบว่า ร้อยละ 21.6 ใช้ชีวิตแบบพอเพียงแท้จริง ในขณะที่ร้อยละ 78.4 ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง โดยมีมูลเหตุปัจจัย 5 อันดับที่ทำให้คนไทยใช้ชีวิตแบบ “ไม่” พอเพียง อันดับแรก หรือร้อยละ 77.0 ได้แก่ หลังซื้อสินค้ามาแล้วพบว่า ตนเองไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก อันดับที่สอง หรือร้อยละ 68.3 ได้แก่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ยัง “เล่นพนัน ซื้อหวย” อันดับที่สาม หรือ ร้อยละ 63.9 ได้แก่ คิดว่า การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ ในขณะที่อันดับที่สี่นี้น่าเป็นห่วง คือร้อยละ 60.5 ได้แก่ คิดว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้ว ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ก็พอยอมรับได้ และอันดับที่ห้า หรือร้อยละ 48.5 ได้แก่ คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ ไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายที่วางไว้
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.0 ระบุว่า ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้ ตนเองจะต้องเดือดร้อนพึ่งพาคนอื่น ในขณะที่ร้อยละ 21.0 ระบุไม่เดือดร้อน
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า เห็นได้ชัดเจนว่า ถ้าถามตรงๆ คนไทยส่วนใหญ่บอกว่าตนเองได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง แต่วิเคราะห์ตามหลักสถิติวิจัย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างแท้จริง และยังเป็น “กลุ่มเสี่ยง” ที่จะทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายด้าน เช่น การพนัน อบายมุข อาชญากรรม ยาเสพติด และการไม่ประพฤติตนตามหลักศีลธรรมและกฎหมายของบ้านเมือง ทางออกคือ ต้องทำให้หลักปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักแห่งชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า และลดเหตุปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่ประชาชน โดยมีการบูรณาการหน่วยงานของรัฐทำยุทธศาสตร์รณรงค์หลักชีวิตพอเพียงแบบครบวงจรของประชาชน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.0 เป็นชาย ร้อยละ 53.0 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 19.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 14.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 6.2 ไม่ระบุระดับการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 35.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 28.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.1 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 5.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.1 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.4 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.5 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 9.6 5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า ตนเองใช้ชีวิตแบบพอเพียง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าตนเองใช้ชีวิตแบบพอเพียงแล้ว 85.2 2 คิดว่าตนเอง ไม่ ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง 14.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าสถิติของจำนวนคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงแท้จริง ลำดับที่ คนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงแท้จริง ค่าร้อยละ 1 ใช้ชีวิตแบบพอเพียงแท้จริง 21.6 2 ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง 78.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดง 5 อันดับเหตุปัจจัยของการใช้ชีวิตแบบ “ไม่” พอเพียง ลำดับที่ เหตุปัจจัยของการใช้ชีวิตแบบ “ไม่” พอเพียง ร้อยละ 1 หลังซื้อสินค้ามาแล้วพบว่า ตนเองไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก 77.0 2 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ยัง “เล่นพนัน ซื้อหวย” 68.3 3 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 63.9 4 คิดว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ก็พอยอมรับได้ 60.5 5 คิดอยากจะซื้ออะไร ก็ซื้อ 48.5 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้จะต้องเดือดร้อนพึ่งพาคนอื่น ลำดับที่ ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้ ค่าร้อยละ 1 เดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่น 79.0 2 ไม่เดือดร้อน 21.0 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--