เนื่องในโอกาสวันครอบครัววันที่ 14 เมษายน 2554 นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บทบาทของ “พ่อ” ในวันครอบครัว กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 — 30 ปี ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,320 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 5 — 10 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่ถูกศึกษาจำนวนมากหรือร้อยละ 40.7 ระบุว่าสนิทกับแม่มากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 12.1 สนิทกับพ่อมากกว่า แต่ร้อยละ 47.2 สนิทกับทั้งพ่อและแม่พอๆ กัน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 ระบุว่า “พ่อ” ไม่ทราบว่าลูกของตนเองมีความน่าประทับใจอะไรบ้าง และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.1 ระบุว่า “พ่อ” ไม่ทราบว่าลูกของตนเองมีสิ่งที่ไม่น่าประทับใจอะไรบ้าง
ที่น่าเป็นห่วงคือ สิ่งที่ไม่น่าประทับใจมากที่สุดในพฤติกรรมของพ่อ พบว่า เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.7 ระบุเป็นเรื่องที่ว่า พ่อดื่มเหล้า เที่ยวเตร่ ติดอบายมุข รองลงมาคือร้อยละ 38.0 ระบุอารมณ์รุนแรง หงุดหงิด ขี้โมโห เอาแต่ใจ ร้อยละ 6.5 ระบุ เจ้าชู้ ติดผู้หญิง มีภรรยาน้อย ร้อยละ 5.9 ระบุไม่มีเวลาให้กับครอบครัว ทำงานมากเกินไป กลับบ้านล่าช้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นิสัยที่ดีที่สุดของ “พ่อ” ในอุดมคติของสังคมไทย ได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุ เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นเสาหลักของครอบครัว รองลงมาหรือร้อยละ 24.5 ระบุ มีเวลาให้กับครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของภรรยา ร้อยละ 4.4 ระบุเป็นที่ปรึกษา เอาใจใส่ลูก ร้อยละ 2.0 ระบุไม่เจ้าชู้ ไม่สูบบุหรี่ไม่กินเหล้า ไม่เล่นการพนัน และร้อยละ 1.2 ไม่ทะเลาะกับแม่ต่อหน้าลูกๆ ไม่เป็นคนโมโหร้าย รู้จักให้อภัย รู้จักผ่อนปรน ตามลำดับ
ส่วนนิสัยที่ “แย่ที่สุด” ของพ่อในสังคมไทยที่รับรู้มา ได้แก่ ร้อยละ 46.9 ติดการพนัน ดื่มเหล้า เที่ยวเตร่ เจ้าชู้ รองลงมาคือร้อยละ 21.5 ไม่ส่งเสียเลี้ยงดูครอบครัว ไม่มีความรับผิดชอบ ร้อยละ 16.9 ใช้ความรุนแรงกับคนในครอบครัว โมโหร้าย ใช้อารมณ์ ร้อยละ 9.7 เห็นแก่ความสุขตัวเองไม่คิดถึงคนในครอบครัว เห็นแก่ตัว ร้อยละ 3.2 ระบุ ไม่ช่วยทำให้ลูกรู้จักคุณค่าของตนเอง และร้อยละ 1.8 ระบุข่มขืนล่วงละเมิดลูกของตัวเอง ตามลำดับ
สำหรับสิ่งที่ต้องการจะทำเพื่อลูกมากที่สุด ถ้าหากตัวเองเป็น “พ่อ” พบว่า ร้อยละ 46.7 ระบุให้ความเอาใจใส่ ให้ความรักดูแล ให้ความอบอุ่นแก่ลูก รองลงมาคือ ร้อยละ 22.5 ระบุเลี้ยงดูอบรม สั่งสอน ให้คำแนะนำ ให้ความรู้แก่ลูก ร้อยละ 11.5 ระบุ ให้โอกาส ให้อนาคตที่ดีต่อลูก ร้อยละ 9.9 ระบุ ไปเที่ยววันหยุด มีเวลาให้กับลูก ร้อยละ 5.0 ระบุ เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับลูก และ ร้อยละ 4.4 ให้ความเข้าใจระหว่างกัน เข้าใจลูก ตามลำดับ
นอกจากนี้ หากตัวเองเป็น “พ่อ” จะทำอะไรเพื่อภรรยาของตนเองมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ระบุจะเป็นสามีที่ดี ให้ความรักเอาใจใส่ ให้เกียรติ ซื่อสัตย์ รักเดียวใจเดียว รองลงมาคือ ร้อยละ 7.6 ระบุ เอาใจใส่ดูแลไม่ละทิ้งครอบครัว ร้อยละ 6.9 ระบุเลี้ยงดูให้ความสุขสบาย ช่วยทำงาน ให้เงิน และร้อยละ 0.6 ระบุไม่สร้างปัญหา ไม่ทะเลาะกัน ตามลำดับ
นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่าจากข้อมูลการสำรวจบทบาทพ่อในวันครอบครัว โดยภาพรวมยังน่าเป็นห่วงในเรื่องของพ่อที่ได้กระทำให้ลูกๆ เห็น ได้แก่ การพนัน ดื่มเหล้า เที่ยวเตร่ เจ้าชู้ ซึ่งเป็นแบบอย่างไม่ดีที่อาจตกทอดถึงลูกได้ เด็กบางคนจะซึมซับพฤติกรรมของพ่อโดยเฉพาะเด็กผู้ชาย นอกจากนี้ ยังพบว่า ลูกส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าพ่อประทับใจหรือไม่ประทับใจตนเองในเรื่องใดบ้าง ไม่รู้ว่าพ่อมองตนเองอย่างไร ซึ่งอาจเป็นเพราะพ่อยังขาดการสื่อสารความรู้สึกตนเองที่มีต่อลูก ดังนั้นทางออกที่น่าพิจารณาคือ พ่อควรสื่อสารกับลูกและสมาชิกในครอบครัวและพูดถึงความรู้สึกตัวเองที่มีต่อลูกให้มากขึ้น โดยวิธีการสื่อสารที่ดีควรเป็นการสื่อสารเชิงบวกไม่ดุด่าตำหนิติเตียน เพราะการให้เวลากับครอบครัวและการสื่อสารนับเป็นหัวใจสำคัญให้คนในครอบครัวเข้าใจกัน นางฐาณิชชา กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 50.2 เป็นชาย
ร้อยละ 49.8 เป็นหญิง
โดย ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 12 — 15 ปี
ร้อยละ 16.0 อายุระหว่าง 16 — 18 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 19 — 23 ปี
ร้อยละ 14.4 อายุระหว่าง 24 — 26 ปี
และร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 27 — 30 ปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 21.5 การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ลำดับที่ ความสนิทสนมของตัวอย่างที่มีต่อพ่อและแม่ ร้อยละ 1 สนิทกับพ่อมากกว่า 12.1 2 สนิทกับแม่มากกว่า 40.7 3 สนิทกับพ่อและแม่พอๆกัน 47.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละและจำนวนของตัวอย่างระบุ “การรับรู้ความประทับใจที่พ่อมีต่อลูกตนเอง” ลำดับที่ ความประทับใจที่พ่อมีต่อ ลูกตนเอง ร้อยละ 1 ทราบ 32.7 2 ไม่ทราบ 67.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละและจำนวนของตัวอย่างระบุ “การรับรู้ความไม่ประทับใจที่พ่อมีต่อลูกตนเอง” ลำดับที่ ความไม่ประทับใจที่พ่อมีต่อลูก ตนเอง ร้อยละ 1 ทราบ 22.9 2 ไม่ทราบ 77.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “สิ่งที่ไม่ประทับใจในตัวของพ่อ”มากที่สุด ลำดับที่ สิ่งที่ไม่ประทับใจในตัวของพ่อ ร้อยละ 1 ดื่มเหล้า/ เที่ยวเตร่/ ติดอบายมุข 48.7 2 อารมณ์รุนแรง/ หงุดหงิด/ขี้โมโห/เอาแต่ใจ 38.0 3 เจ้าชู้ / ติดผู้หญิง / มีภรรยาน้อย 6.5 4 ไม่มีเวลาให้ครอบครัว / ทำงานมากเกินไป / กลับบ้านล่าช้า 5.9 5 อื่น ๆ เช่น ลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน 0.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “ความคิดเห็นต่อนิสัยที่ดีที่สุดของพ่อในสังคมไทย” ลำดับที่ นิสัยที่ดีที่สุดของผู้ที่เป็นพ่อในอุดมคติของสังคมไทย ร้อยละ 1 เป็นคนดี /เป็นผู้นำที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม / เป็นเสาหลักของครอบครัว 67.9 2 มีเวลาให้กับครอบครัว /รู้จักช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของภรรยา 24.5 3 เป็นที่ปรึกษา /เอาใจใส่ลูก 4.4 4 ไม่เจ้าชู้ / ไม่สูบบุหรี่ไม่กินเหล้า ไม่เล่นการพนัน 2.0 5 ไม่ทะเลาะกับแม่ต่อหน้าลูกๆ/ ไม่เป็นคนโมโหร้าย/รู้จักการให้อภัย /รู้จักผ่อนปรน 1.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “ความคิดเห็นต่อนิสัยที่แย่ที่สุดของพ่อในสังคมไทย” ลำดับที่ นิสัยที่แย่ที่สุดของผู้ที่เป็นพ่อในสังคมไทย ร้อยละ 1 ติดอบายมุข / ดื่มเหล้า /เที่ยวเตร่ /เจ้าชู้ 46.9 2 ไม่ส่งเสียเลี้ยงดูครอบครัว/ ไม่มีความรับผิดชอบ 21.5 3 ใช้ความรุนแรงกับคนในครอบครัว /โมโหร้าย /ใช้อารมณ์ 16.9 4 เห็นแก่ความสุข ตัวเองไม่ค่อยคิดถึงคนในครอบครัว / เห็นแก่ตัว 9.7 5 ไม่ช่วยทำให้ลูกรู้จักคุณค่าของตนเอง 3.2 6 ข่มขืนล่วงละเมิดลูกของตัวเอง 1.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “สิ่งที่ต้องการทำเพื่อลูกมากที่สุดหากเป็นพ่อ” ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการทำเพื่อลูกมากที่สุดหากเป็นพ่อ ร้อยละ 1 ให้ความเอาใจใส่ / ให้ความรักดูแล / ให้ความอบอุ่นและให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก 46.7 2 เลี้ยงดูอบรม สั่งสอน / ให้คำแนะนำ / ให้ความรู้แก่ลูก 22.5 3 ให้โอกาส/ให้อนาคตที่ดีต่อลูก 11.5 4 ไปเที่ยววันหยุด / มีเวลาให้ / มีเวลาอยู่กับลูก 9.9 5 เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับลูก 5.0 6 ให้ความเข้าใจระหว่างกัน / เข้าใจลูก 4.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “สิ่งที่ต้องการทำเพื่อภรรยามากที่สุดหากเป็นพ่อ” ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการทำเพื่อภรรยามากที่สุดหากเป็นพ่อ ร้อยละ 1 เป็นสามีที่ดี/ให้ความรักเอาใจใส่ /ให้เกียรติ /ซื่อสัตย์/ รักเดียวใจเดียว 84.9 2 เอาใจใส่ดูแลไม่ละทิ้งครอบครัว 7.6 3 เลี้ยงดูให้ความสุขสบาย / ช่วยทำงาน / ให้เงิน 6.9 4 ไม่สร้างปัญหา/ไม่ทะเลาะกัน 0.6 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--