เอแบคโพลล์: ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ “การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน”

ข่าวผลสำรวจ Thursday March 15, 2007 11:53 —เอแบคโพลล์

          ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของ
ประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,467
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึงคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ใน 5 อันดับแรก พบว่า ร้อยละ
39.7 ระบุนึกถึงคนบ้า รองลงมา คือ ร้อยละ 20.0 ระบุนึกถึงคนไม่เต็มบาท/คนไม่ครบ/คนไม่สมประกอบ ร้อยละ 11.4 ระบุนึกถึงความน่ากลัว/กลัว
จะมาทำร้าย ร้อยละ 9.6 ระบุนึกถึงในแง่ที่ไม่ดี/แง่ลบ และร้อยละ 8.3 ระบุนึกถึงคนที่จิตไม่ปกติ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับผลสำรวจในครั้งที่ผ่าน
มา (ธันวาคม 49) พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
เมื่อสอบถามถึงแง่มุมที่เคยรับรู้เรื่องราวของคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) จากการรับรู้ผ่านสื่อต่างๆ หรือคนรอบข้าง พบว่า ร้อยละ 3.9
ระบุรับรู้ในแง่ที่ดีมากกว่า อีกร้อยละ 43.9 ระบุรับรู้ในแง่ที่ไม่ดีมากกว่า และที่เหลือร้อยละ 52.2 ระบุรับรู้ทั้งแง่ที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน แต่เมื่อสอบถาม
กลุ่มตัวอย่างถึงมุมมองโดยส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องราวของคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) พบว่า ร้อยละ 10.3 ระบุมองในแง่ที่ดีมากกว่า อีกร้อยละ 36.5
ระบุมองในแง่ที่ไม่ดีมากกว่า และที่เหลือร้อยละ 53.2 ระบุมองทั้งแง่ที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับผลสำรวจในครั้งที่ผ่านมา
(ธันวาคม 49) พบว่า การรับรู้ผ่านสื่อต่างๆ หรือคนรอบข้าง และมุมมองโดยส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในแง่ที่ไม่ดีมี
เพิ่มมากขึ้น
ประเด็นต่อมา คณะผู้วิจัยได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) พบว่า ร้อยละ 1.5 ระบุรู้เป็น
อย่างดี ร้อยละ 7.4 ระบุรู้ค่อนข้างดี ร้อยละ 46.2 ระบุรู้บ้างไม่รู้บ้าง ร้อยละ 35.0 ระบุรู้เพียงเล็กน้อย และร้อยละ 9.9 ระบุไม่รู้เลย
ส่วนสาเหตุของโรคจิต (การป่วยทางจิต) ที่กลุ่มตัวอย่างได้ระบุมา ใน 10 อันดับแรกนั้น ได้แก่ 1) ความเครียด (ร้อยละ 79.1) 2)
ความผิดปกติในสมอง (ร้อยละ 53.2) 3) การติดยาเสพติด (ร้อยละ 52.8) 4) เหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ถูกข่มขืน อุบัติเหตุ คนใกล้ชิดเสียชีวิต
(ร้อยละ 51.7) 5) การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย (ร้อยละ 45.4) 6) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี (ร้อยละ 45.4) 7) โรคทางสมอง (ร้อย
ละ 36.6) 8) การเลี้ยงดูที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 35.3) 9) ความไม่เข้าใจจากคนในสังคม (ร้อยละ 27.9) และ 10) กรรมพันธุ์ (ร้อย
ละ 26.9)
ส่วนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ
80 ขึ้นไป) ระบุ “เห็นด้วย” ต่อประเด็นดังต่อไปนี้ 1) โรคจิต (การป่วยทางจิต) สามารถรักษาให้หายได้ 2) คนทั่วๆ ไปก็สามารถมีปัญหาทาง
สุขภาพจิตได้ 3) คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) เป็นคนธรรมดาเหมือนเราๆ 4) คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับโอกาสในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน
สังคม 5) คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับการเอาใจใส่จากสังคม ไม่ใช่การรังเกียจ 6) คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) มีสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน
สังคมได้อย่างปกติสุข และ 7) การไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาทางจิตเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน
และประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ที่กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่ง ระบุ “ไม่เห็นด้วย” ได้แก่ 1) ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคน
อันตรายและดุร้าย 2) ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด และ 3) ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น
ประเด็นต่อมาซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ คือ ความกังวลใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ที่ “ไม่ปรากฏอาการทำร้ายผู้
อื่น” และ ที่ “ปรากฏอาการอาจจะทำร้ายผู้อื่น” ในประเด็นต่างๆ พบว่า ในแง่ของการอยู่อาศัยร่วมกับผู้ป่วยฯ นั้น กลุ่มตัวอย่างที่ระบุรู้สึกกังวล-ค่อน
ข้างกังวล มีประมาณร้อยละ 60 ขึ้นไป ส่วนในแง่ของการต้องทำกิจกรรมประจำวันร่วมกับผู้ป่วยฯ เช่น เรียน/ทำงาน รับประทานอาหาร ทำกิจกรรม
ต่างๆ ร่วมกันนั้น กลุ่มตัวอย่างที่ระบุรู้สึกกังวล-ค่อนข้างกังวลจะมีน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบความกังวลใจที่มีต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทาง
จิต) ระหว่าง ผู้ป่วยที่ “ไม่ปรากฏอาการทำร้ายผู้อื่น” กับ ที่ “ปรากฏอาการอาจจะทำร้ายผู้อื่น” พบว่า กลุ่มตัวอย่างรู้สึกกังวลต่อผู้ป่วย ที่ “ปรากฏ
อาการอาจจะทำร้ายผู้อื่น” มากกว่า
ส่วนปัจจัยที่จะช่วยให้คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยได้รับการเอาใจใส่ดีขึ้น เรียงตามลำดับ มีดังนี้ 1) ความรักความอบอุ่นใน
ครอบครัว (ร้อยละ 83.6) 2) การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม (ร้อยละ 68.3) 3) ความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยใน
การรักษา (ร้อยละ 68.0) 4) สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด (ร้อยละ 59.1) 5) การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
(ร้อยละ 56.4) 6) การให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม (ร้อยละ 51.9) 7) ส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เช่น ธรรมะ หลัก
ศาสนา (ร้อยละ 43.4) 8) การเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก (ร้อยละ 42.1) และ 9) ความร่วมมือจากสื่อมวลชน ในการนำ
เสนอภาพลักษณ์ของคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ตามความเป็นจริง ไม่น่ากลัวเกินจริง (ร้อยละ 34.0)
ประเด็นของความเหมาะสมในการที่แพทย์นำอาการป่วยของผู้ป่วยทางจิตมากล่าวในที่สาธารณะนั้น พบว่า ร้อยละ 21.2 ระบุเหมาะสม
อีกร้อยละ 63.1 ระบุไม่เหมาะสม ที่เหลือร้อยละ 15.7 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยทางจิตในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 87.3 ระบุยังไม่เพียง
พอ ที่เหลือร้อยละ 12.7 ระบุเพียงพอแล้ว
ส่วนความคิดเห็นต่อการที่โรงพยาบาลต่างๆ ควรมีป้ายเตือนแพทย์และพยาบาลว่า “ห้ามพูดถึงอาการของผู้ป่วยในที่แจ้งหรือที่สาธารณะที่
บุคคลอื่นๆ จะได้ยิน” นั้น พบว่า ร้อยละ 43.1 ระบุเห็นด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ เป็นการปกป้องสิทธิของผู้ป่วย เป็น
จรรยาบรรณของแพทย์ เป็นความลับระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย เป็นต้น อีกร้อยละ 12.7 ระบุไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ แพทย์
มีจรรยาบรรณอยู่แล้ว แพทย์และพยาบาลน่าจะมีสิทธิพูดถึงอาการของผู้ป่วยได้ เป็นต้น ที่เหลือร้อยละ 44.2 ไม่มีความเห็น
และเมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการที่สังคมไทยควรมีกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วยทางจิตที่เข้มงวดนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 79.2
ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 7.4 ระบุไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 13.4 ไม่มีความเห็น
และในประเด็นสุดท้าย คณะผู้วิจัยได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ใน
สังคมไทยให้ดีขึ้น ใน 10 อันดับแรก มีดังนี้ 1) ให้แพทย์เอาใจใส่ผู้ป่วยมากขึ้น 2) การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม 3) ความร่วมมือ
ระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา 4) ให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มีงบประมาณอย่างพอเพียง 5) ความรักความอบอุ่นในครอบ
ครัว 6) การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 7) มีสถานบำบัดมากขึ้น 8) สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด 9) ความร่วมมือจาก
สื่อฯ ในการเสนอภาพลักษณ์ของคนโรคจิตตามความเป็นจริง และ 10) การเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก / ไม่ดูถูกเหยียดหยาม
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อสำรวจปัจจัยและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ให้ดีขึ้น
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสิทธิของคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในประเด็นต่างๆ
5. เพื่อเปรียบเทียบผลสำรวจระหว่างการสำรวจครั้งที่ 1 (ธ.ค. 49) กับครั้งที่ 2 (มี.ค. 50) ในประเด็นต่างๆ
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการ
รับรู้และทัศนคติที่มีต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,467 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 7.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 0.4 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 1.6 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง “คนโรคจิต” (ผู้ป่วยทางจิต)
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง “คนโรคจิต” (ผู้ป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 คนบ้า 44.4 39.7
2 ความน่ากลัว / กลัวจะมาทำร้าย 15.2 11.4
3 คนไม่เต็มบาท / คนไม่ครบ / คนไม่สมประกอบ / คนสติไม่ค่อยจะดี 14.0 20.0
4 คนที่จิตไม่ปกติ 11.4 8.3
5 ความผิดปกติทางสมอง 4.0 4.1
6 คนบ้ากาม / คนลามก / คนที่มีพฤติกรรมลวนลามทางเพศ 3.8 1.9
7 คนแปลกๆ / ไม่เหมือนคนอื่นๆ 2.9 1.7
8 คิดถึงในแง่ที่ไม่ดี / แง่ลบ 1.8 9.6
9 คนที่ชอบเดินแก้ผ้า / พูดคนเดียว / เดินเหม่อลอย 1.5 3.1
10 คนปัญญาอ่อน 1.0 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแง่มุมที่เคยรับรู้เรื่องราวของคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) จากสื่อต่างๆ หรือคนรอบข้าง
ลำดับที่ แง่มุมเกี่ยวกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
เคยรับรู้จากสื่อฯและคนรอบข้าง มุมมองโดยส่วนตัว
ธ.ค. 49 มี.ค. 50 ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 ในแง่ที่ดีมากกว่า 9.8 3.9 16.2 10.3
2 ในแง่ที่ไม่ดีมากกว่า 37.7 43.9 28.6 36.5
3 ทั้งแง่ที่ดีและไม่ดี พอๆ กัน 52.5 52.2 55.2 53.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิต (การป่วยทางจิต)
ลำดับที่ ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิต (การป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 รู้เป็นอย่างดี 1.3 1.5
2 รู้ค่อนข้างดี 6.7 7.4
3 รู้บ้างไม่รู้บ้าง 38.5 46.2
4 รู้เพียงเล็กน้อย 35.1 35.0
5 ไม่รู้เลย 18.4 9.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุของโรคจิต (การป่วยทางจิต) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของโรคจิต (การป่วยทางจิต) ค่าร้อยละ
ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 ความเครียด 80.8 79.1
2 เหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ถูกข่มขืน อุบัติเหตุ คนใกล้ชิดเสียชีวิต 55.9 51.7
3 การติดยาเสพติด 53.8 52.8
4 ความผิดปกติภายในสมอง 52.3 53.2
5 การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย 50.9 45.4
6 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี 43.1 45.4
7 โรคทางสมอง 37.0 36.6
8 การเลี้ยงดูที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม 34.3 35.3
9 กรรมพันธุ์ 27.9 26.9
10 ความไม่เข้าใจจากคนในสังคม 27.2 27.9
11 ความยากจน 25.5 22.8
12 สารเคมีในสมองไม่สมดุล 13.2 15.7
13 การติดเชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์ 11.4 10.2
14 ถูกผีสิงหรือพระเจ้าลงโทษ 3.9 4.6
15 ไม่ทราบ 2.4 1.8
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต)
ที่ ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ความคิดเห็น
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
ธ.ค. 49 มี.ค. 50 ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 โรคจิต (การป่วยทางจิต) สามารถรักษาให้หายได้ 87.5 90.3 5.6 5.5
2 คนทั่วๆ ไปก็สามารถมีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ 92.3 94.5 4.3 3.7
3 คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) เป็นคนธรรมดาเหมือนเราๆ 80.5 79.2 12.9 16.1
4 คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับโอกาสในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม 82.3 80.0 10.4 12.8
5 คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ควรได้รับการเอาใจใส่จากสังคม ไม่ใช่การรังเกียจ 89.8 91.5 4.1 4.5
6 คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) มีสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข 78.4 76.8 13.6 14.5
7 ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนอันตรายและดุร้าย 35.8 33.0 48.0 51.9
8 ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด 22.5 16.1 62.4 70.8
9 ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเป็นคนขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น 30.3 24.3 54.1 57.9
10 การไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาทางจิตเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน 87.9 88.1 6.4 6.6
*** ไม่ได้นำเสนอค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “ไม่มีความเห็น” ลงไปในตารางด้วย ***
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความกังวลใจต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ที่ “ไม่ปรากฏอาการทำร้ายผู้อื่น” ในประเด็นต่างๆ
ที่ ประเด็นเฉพาะสำหรับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต)ที่ “ไม่ปรากฏอาการทำร้ายผู้อื่น” ระดับความกังวลใจ
กังวล-ค่อนข้างกังวล ไม่ค่อยกังวล-ไม่กังวล
ธ.ค. 49 มี.ค. 50 ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนเดียวกันกับคุณ 54.4 57.2 45.6 42.8
2 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านของคุณ 56.7 60.6 43.3 39.4
3 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ติดกับบ้านของคุณ 63.5 66.8 36.5 33.2
4 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ร่วมกับคุณในบ้านเดียวกัน 66.6 69.2 33.4 30.8
5 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ร่วมกับคุณในห้องเดียวกัน 71.5 73.8 28.5 26.2
6 ถ้าคุณต้องเรียน/ทำงานร่วมกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในที่เดียวกัน 58.5 61.7 41.5 38.3
7 ถ้าคุณต้องรับประทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกันกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 50.3 49.2 49.7 50.8
8 ถ้าคุณต้องขึ้นรถประจำทางคันเดียวกันกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 50.0 48.5 50.0 51.5
9 ถ้าคุณต้องพูดคุยกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 48.3 46.7 51.7 53.3
10 ถ้าคุณต้องทำกิจกรรมประจำวันอื่นๆ ร่วมกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 52.6 51.8 47.4 48.2
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความกังวลใจต่อคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ที่ “ปรากฏอาการอาจจะทำร้ายผู้อื่น” ในประเด็นต่างๆ
ที่ ประเด็นเฉพาะสำหรับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต)ที่ “ปรากฏอาการอาจจะทำร้ายผู้อื่น” ระดับความกังวลใจ
กังวล-ค่อนข้างกังวล ไม่ค่อยกังวล-ไม่กังวล
ธ.ค. 49 มี.ค. 50 ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนเดียวกันกับคุณ 86.2 84.1 13.8 15.9
2 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านของคุณ 86.1 84.9 13.9 15.1
3 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ติดกับบ้านของคุณ 89.0 87.6 11.0 12.4
4 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ร่วมกับคุณในบ้านเดียวกัน 90.1 88.4 9.9 11.6
5 ถ้ามีคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) อาศัยอยู่ร่วมกับคุณในห้องเดียวกัน 91.7 89.0 8.3 11.0
6 ถ้าคุณต้องเรียน/ทำงานร่วมกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในที่เดียวกัน 84.4 83.2 15.6 16.8
7 ถ้าคุณต้องรับประทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกันกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 81.3 78.2 18.7 21.8
8 ถ้าคุณต้องขึ้นรถประจำทางคันเดียวกันกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 80.0 77.0 20.0 23.0
9 ถ้าคุณต้องพูดคุยกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 79.6 74.9 20.4 25.1
10 ถ้าคุณต้องทำกิจกรรมประจำวันอื่นๆ ร่วมกับคนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) 80.9 79.1 19.1 20.9
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่จะช่วยให้คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยได้รับการเอาใจใส่ดีขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยที่ช่วยให้คนโรคจิต (ผู้ป่วยทางจิต) ในสังคมไทยได้รับการเอาใจใส่ดีขึ้น ค่าร้อยละ
ธ.ค. 49 มี.ค. 50
1 ความรักความอบอุ่นในครอบครัว 85.5 83.6
2 ความร่วมมือระหว่างแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยในการรักษา 70.0 68.0
3 การยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม 69.5 68.3
4 สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบำบัด 66.7 59.1
5 การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 66.3 56.4
6 การให้โอกาสผู้ป่วยทางจิตได้ดำเนินชีวิตปกติในสังคม 58.7 51.9
7 ส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เช่น ธรรมะ หลักศาสนา 48.1 43.4
8 การเปลี่ยนทัศนคติและท่าทีต่อผู้ป่วยทางจิตในทางบวก 42.7 42.1
9 ความร่วมมือจากสื่อมวลชน ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของคนโรคจิต
(ผู้ป่วยทางจิต) ตามความเป็นจริง ไม่น่ากลัวเกินจริง 37.1 34.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมในการที่แพทย์นำอาการป่วยของผู้ป่วยทางจิตมากล่าวในที่สาธารณะ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 21.2
2 ไม่เหมาะสม 63.1
3 ไม่มีความเห็น 15.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยทางจิตในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เพียงพอแล้ว 12.7
2 ยังไม่เพียงพอ 87.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่โรงพยาบาลต่างๆ ควรมีป้ายเตือนแพทย์และ
พยาบาลว่า “ห้ามพูดถึงอาการของผู้ป่วยในที่แจ้งหรือที่สาธารณะที่บุคคลอื่นๆ จะได้ยิน”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ เป็นการปกป้องสิทธิของผู้ป่วย
เป็นจรรยาบรรณของแพทย์ เป็นความลับระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย เป็นต้น 43.1
2 ไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ แพทย์มีจรรยาบรรณอยู่แล้ว
แพทย์และพยาบาลน่าจะมีสิทธิพูดถึงอาการของผู้ป่วยได้ เป็นต้น 12.7
3 ไม่มีความเห็น 44.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่สังคมไทยควรมีกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วยทางจิตที่เข้มงวด
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 79.2
2 ไม่เห็นด้วย 7.4
3 ไม่มีความเห็น 13.4
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ