ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธาน
สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “คนบันเทิง-คนการเมืองในทรรศนะของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปี
ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,500 คน ระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2550
จากการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 93.7 ติดตามข่าวสารทุก
สัปดาห์ ร้อยละ 3.1 ระบุติดตามข่าวสารน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 3.2 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงคนในวงการบันเทิงที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างร้อยละ 17.5 ระบุแอน ทองประสม รองลงมา
ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ ร้อยละ 9.0 ระบุพัชราภา ไชยเชื้อ ร้อยละ 8.0 ระบุสุวนันท์ คงยิ่ง และร้อยละ 7.8 ระบุ
วรนุช วงศ์สวรรค์ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม คนในวงการบันเทิงที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังมากที่สุด ร้อยละ 68.1 ระบุโชติรส สุริยะวงศ์ (เอมมี่) รองลงมาร้อยละ
15.1 ระบุ ต้องรัก อัศวรัตน์ร้อยละ 5.9 ระบุ อมิตา ทาทายัง ร้อยละ 4.8 ระบุบงกช คงมาลัย (ตั๊ก) และร้อยละ 4.7 ระบุ พัชราภา ไชย
เชื้อ ตามลำดับ
ทางด้านนักการเมือง ที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ รองลงมา
ร้อยละ 21.3 ระบุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 14.6 ระบุพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ร้อยละ 13.9 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และร้อยละ
10.2 ระบุนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ตามลำดับ
แต่ในทางตรงกันข้าม นักการเมืองที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังมากที่สุด พบว่าตัวอย่างร้อยละ 61.7 ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองลง
มาร้อยละ 9.9 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 6.5 ระบุพลเอกสนธิ บุญยารัตกลิน ร้อยละ 5.9 ระบุพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และร้อยละ
5.3 ระบุ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคนในวงการบันเทิงกับนักการเมือง ที่มีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความ
รู้สึก (ผิดหวัง) ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 64.7 เห็นว่านักการเมืองทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 7.8
เห็นว่าคนในวงการบันเทิงมีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า และร้อยละ 18.9 เห็นว่าพอๆ กัน
นอกจากนี้ตัวอย่างยังได้แสดงความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของคนในวงการบันเทิงที่อยากขอให้เลิกกระทำ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 55.5 อยาก
ให้เลิกพฤติกรรมแต่งตัวไม่เหมาะสม โป๊เปลือย รองลงมาร้อยละ 12.9 อยากให้เลิกเที่ยวกลางคืน และร้อยละ 10.8 อยากให้เลิกพฤติกรรมในเรื่อง
ชู้สาว การเปลี่ยนคู่ ตามลำดับ
ส่วนพฤติกรรมของนักการเมืองที่อยากขอให้เลิกกระทำ มีดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 52.5 อยากให้เลิกการทุจริต คอรัปชั่น รองลงมาร้อย
ละ 8.3 อยากให้เลิกการทะเลาะกัน ความไม่สามัคคี และร้อยละ 7.2 อยากให้เลิกหลอกลวงประชาชน ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาถึงกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาช่วยงานรัฐบาลเพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวต่างชาติเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างร้อยละ 65.0 เห็นด้วย/ค่อนข้างเห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ต่างชาติให้การยอมรับ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ผล
งานที่ผ่านมาดี การวางตัวเหมาะสม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 14.5 ไม่ค่อยเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ความรู้
ความสามารถยังไม่เพียงพอ เคยอยู่พรรคไทยรักไทยมาก่อน มีการคอรัปชั่นมากเกินไป และร้อยละ 20.5 ไม่มีความเห็น
และบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ที่จะทำให้สังคมสงบสุข ตัวอย่างร้อยละ 22.9 เห็นว่า พล.อ. สุรยุทธ์ จุลา
นนท์ มีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป รองลงมาร้อยละ 20.2 เห็นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และร้อยละ 18.8 เห็นว่า พ.ต.
ท.ทักษิณ ชินวัตร ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงกรณีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีความขัดแย้งกับรัฐบาล ตัวอย่างร้อยละ 39.8 เห็นว่าไม่ค่อยขัดแย้ง/ไม่ขัด
แย้งเลย ในขณะที่ร้อยละ 27.9 เห็นว่าขัดแย้งมาก/ค่อนข้างมาก และร้อยละ 32.3 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าพิจารณาหลายประการ เพราะเด็กและเยาวชนจำนวนมากอาจจะถูกชักจูงและลอก
เลียนแบบพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดีได้ง่าย เพราะดารานักร้องนักแสดงและนักการเมืองเป็นตัวแบบและบุคคลสาธารณะของสังคม การประพฤติปฏิบัติมัก
ปรากฏให้ประชาชนเห็นผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำย่อมส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป
“ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ดารานักร้องนักแสดงที่ประชาชนชื่นชอบอยู่เป็นจำนวนมากจึงต้องไม่ประพฤติปฏิบัติให้ประชาชนรู้สึกผิด
หวัง แต่สำหรับนักการเมืองถูกสาธารณชนมองว่ามีพฤติกรรมที่ทำให้ประชาชนผิดหวังมากกว่าคนบันเทิงในการสำรวจครั้งนี้ เพราะการประพฤติตัวที่ไม่
เหมาะสมของดารานักแสดงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลสังคมมักจะให้อภัยได้ แต่นักการเมืองที่ทำผิดส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นที่ส่ง
ผลเสียหายต่อตัวเองและประเทศชาติโดยรวม” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อนักการเมืองครั้งนี้ที่น่าสนใจคือ คนที่ประชาชนมองว่าน่าจะเหมาะกับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีและจะทำให้สังคมสงบสุข ซึ่งจำนวนประชาชนที่สนับสนุนไม่แตกต่างกันนักคือประมาณร้อยละ 20 ต่อคน ได้แก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แสดงให้เห็นอะไรบางอย่างที่คอการเมืองสามารถวิเคราะห์ได้คือ กระแสข่าวทุจริตคอรัปชั่นทำให้คน
กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทักษิณและกลุ่มพลังเงียบรวมตัวกันได้ และทำให้คนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลทักษิณลดลงไปบางส่วน แต่คนที่
สนับสนุนรัฐบาลทักษิณจากผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ทำทั่วประเทศและครั้งนี้ยังคงเหนียวแน่นประมาณ 1 ใน 5 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีพลังพอสมควร รัฐบาลจึงต้อง
เร่งทำงานแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพราะการประชาสัมพันธ์ผลงานสร้างภาพและโจมตีรัฐบาลทักษิณเพียงอย่างเดียวจะยิ่งไป
สร้างความเจ็บแค้นในหมู่ประชาชนจำนวนมากที่กระจายอยู่เกือบทุกภูมิภาคของประเทศ
“นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลคือ รัฐบาลและคมช. ควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่าเป็นเนื้อ
เดียวกันก่อนที่จะเรียกร้องให้ประชาชนทั่วไปมีความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่แตกแยก เพราะขณะนี้มีประชาชนเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่เห็นว่ารัฐบาลและ
คมช. ไม่ขัดแย้งกันเลย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ก่อนที่ประชาชนจะเสื่อมความเชื่อมั่นศรัทธาต่อรัฐบาลไปมากกว่านี้จนรัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐอาจทำอะไรได้
ยากลำบาก เพราะตัวเลขที่ประชาชนสนับสนุนนายกรัฐมนตรีเหลือไม่ถึงครึ่ง ถือว่าอยู่เกณฑ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะพูดอะไรจะทำอะไร
จะมีแรงเสียดทานพอสมควร ดังนั้น รัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง
ชาติ (สนช.) น่าจะเร่งทำงานให้หนักแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชนมากกว่าอดีตถึง 5 เท่าและสร้างระบบสังคมให้ประชาชนสามัญชนและเด็ก
เยาวชนที่เป็นลูกหลานในอนาคตได้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ควรมีกฎหมายที่สามารถเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่นเพียงแค่มีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการ
จัดซื้อจัดจ้างหรือมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่กันจนเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน เพื่อไม่ให้เป็นข้ออ้างของทหารก่อ
การยึดอำนาจรัฐบาลกลายเป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายได้อีกต่อไปฃ
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่ออกสื่อ
บ่อจึงทำให้มีผลกระทบต่อค่านิยมและพฤติกรรมของคนในสังคมสูง เข้ามาเพื่อกอบโกยเพื่อตนเองและพวกพ้องทำให้เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่ไม่อยาก
ทำงานทำการเมืองเพราะมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรกไปแล้ว เช่น เรื่องการทุจริตคอรัปชั่น การใส่ร้ายป้ายสี การใช้อำนาจมืดและอิทธิพล ซึ่ง
นักการเมืองควรเป็นกลุ่มคนที่ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
นางสาวปุณทรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เลขานุการสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นักการเมืองที่
ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีคุณธรรมและความเป็นผู้นำประเทศที่แท้จริง เพราะเมื่อมีอำนาจทางการเมืองในการบริหารประเทศก็มักจะใช้อำนาจเพื่อผล
ประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัว และพวกพ้อง เช่น กรณีปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิทำให้เด็กและเยาวชนรู้เสียใจและผิดหวังต่อการทำงานการเมืองของ
นักการเมืองไทย ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติเสียหาย
นายทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม รองประธานสภาฯ กล่าวว่า ปัจจุบันคนบันเทิงมีพฤติกรรมที่แสดงออกเช่นแต่งตัว
หวาบหวิว มากเกินไป ถ้ามองในแง่การตลาดบันเทิงก็อาจคิดแต่เรื่องจุดขายจนมองข้ามผลกระทบทางสังคม ส่งผลให้เด็กและเยาวชนไทยอาจคิดว่าเมื่อ
ดาราทำได้ทำไมพวกเขาจะทำตามไม่ได้ จึงอยากให้คนในวงการบันเทิงเวลาจะทำตัวให้เด่นดังควรอยู่ในกรอบของจารีตประเพณีไทยที่ดีงาม และ
ปัจจุบันนี้ดารามักไม่ได้ขายความสามารถแต่มุ่งเน้นขายแต่เรื่องความมีรูปร่างหน้าตาที่ดีและความเซ็กซี่เท่านั้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อพฤติกรรมของคนในแวดวงบันเทิง และนักการเมือง
2. เพื่อให้ทราบถึง แนวความคิด และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คนบันเทิง-คนการเมืองในทรรศนะของ
ประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,500 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 39.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 29.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 24.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 9.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 26.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 16.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.6 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพด ๆ
และร้อยละ 1.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวสาร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสาร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 65.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 10.1
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 3.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนในวงการบันเทิงที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 10 อันดับแรก
ลำดับที่ คนในวงการบันเทิงที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 แอน ทองประสม 17.5
2 ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ (เคน) 11.7
3 พัชราภา ไชยเชื้อ (อั้ม) 9.0
4 สุวนันท์ คงยิ่ง (กบ) 8.0
5 วรนุช วงษ์สวรรค์ (นุ่น) 7.8
6 ณัฐวุฒิ สกิดใจ (ป๋อ) 5.2
7 ศรราม เทพพิทักษ์ (หนุ่ม) 5.0
8 พิยดา อัครเศรณี (อ้อม) 4.9
9 ธงไชย แมคอินไตย (เบิร์ด) 4.9
10 เจษฎาภรณ์ ผลดี (ติ๊ก) 4.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนในวงการบันเทิงที่ทำให้ประชาชนรู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 10 อันดับแรก
ลำดับที่ คนในวงการบันเทิงที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 โชติรส สุริยะวงศ์ (เอมมี่) 68.1
2 ต้องรัก อัศวรัตน์ 15.1
3 อมิตา ทาทายัง 5.9
4 บงกช คงมาลัย (ตั๊ก) 4.8
5 พัชราภา ไชยเชื้อ (อั้ม) 4.7
6 ชาคริต แย้มนาม 4.6
7 ปานวาด เหมมณี (เป้ย) 4.2
8 กีรติกร รัตน์กุลธร (น้องนิว) 4.0
9 หยาดทิพย์ ราชปาล (หยาด) 3.4
10 คัทลียา แมคอินทอช (แหม่ม) 2.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่รู้สึกชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
10 อันดับแรก
ลำดับที่ นักการเมืองที่รู้สึกชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 46.6
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 21.3
3 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 14.6
4 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 13.9
5 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 10.2
6 นายชวน หลีกภัย 7.6
7 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 4.1
8 นายบรรหาร ศิลปะอาชา 3.7
9 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 3.0
10 นายจาตุรนต์ ฉายแสง 2.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่รู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 61.7
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 9.9
3 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 6.5
4 พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ 5.9
5 นายเนวิน ชิดชอบ 5.9
6 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 5.3
7 นายบรรหาร ศิลปะอาชา 3.9
8 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 3.6
9 นายจำลอง ศรีเมือง 3.5
10 นายเสนาะ เทียนทอง 3.2
11 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 3.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างคนในวงการบันเทิงกับนักการเมือง
ที่มีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึก (ผิดหวัง)
ลำดับที่ เปรียบเทียบระหว่างคนในวงการบันเทิงกับนักการเมืองที่มีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึก(ผิดหวัง) ค่าร้อยละ
1 คนในวงการบันเทิงมีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า 7.8
2 นักการเมืองทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า 64.7
3 พอๆ กัน 18.9
4 ไม่มีความเห็น 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมของคนในวงการบันเทิงที่อยากขอให้เลิกกระทำ
ลำดับที่ พฤติกรรมของคนในวงการบันเทิงที่อยากขอให้เลิกกระทำ ค่าร้อยละที่ได้ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 แต่งตัวไม่เหมาะสม 55.5
2 เที่ยวกลางคืน 12.9
3 เรื่องชู้สาว การเปลี่ยนคู่ 10.8
4 การมั่วสุมสิ่งเสพติด 6.7
5 การพูดจาไม่สุภาพ 5.3
6 การสร้างภาพ การเสแสร้ง 3.4
7 อื่นๆ เช่น การให้ข่าวที่เป็นเท็จ ความฟุ้งเฟ้อ การทะเลาะวิวาท การสร้างภาพ
การใส่ร้ายป้ายสี การพนัน เป็นต้น 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมของนักการเมืองที่อยากขอให้เลิกกระทำ
ลำดับที่ พฤติกรรมของนักการเมืองที่อยากขอให้เลิกกระทำ ค่าร้อยละที่ได้ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 การทุจริต คอรัปชั่น 52.5
2 การทะเลาะกัน ความไม่สามัคคี 8.3
3 การหลอกลวงประชาชน ความไม่จริงใจ 7.2
4 การใส่ร้ายป้ายสี 6.1
5 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 5.5
6 ความไม่ตั้งใจในการทำงาน 3.5
7 ใช้อำนาจในทางที่ผิด 2.7
8 การแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น 2.1
9 อื่น ๆ อาทิ การแบ่งพรรคแบ่งพวก การซื้อเสียง เอาเปรียบประชาชน การสร้างภาพ
ขายสมบัติชาติ การบริการประเทศที่ไม่มีคุณภาพ การให้ข่าวที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
การวางตัวไม่เหมาะสม คลื่นใต้น้ำ การย้ายพรรค เป็นต้น 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาช่วยงานรัฐบาล
เพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวต่างชาติเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาช่วยงานรัฐบาลเพื่อสร้าง ค่าร้อยละ
ความเข้าใจกับชาวต่างชาติเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
1 เห็นด้วย 52.0
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 13.0
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 5.3
4 ไม่เห็นด้วย 9.2
5 ไม่มีความเห็น 20.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ผู้ที่ระบุว่าเห็นด้วย / ค่อนข้างเห็นด้วยให้เหตุผลสำคัญสำคัญคือ ผู้ที่ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วยให้เหตุผล
- เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ต่างชาติให้การยอมรับ - ความสามารถไม่เพียงพอ
- มีความรู้ความสามารถ - เคยอยู่พรรคไทยรักไทยมาก่อน
- ผลงานดี / มีประสบการณ์การทำงาน - คอรัปชั่นมากเกินไป
- วางตัวเหมาะสม
- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
- คำนึงถึงประเทศชาติ
- เป็นคนดีซื่อสัตย์ สุจริต
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ที่จะทำให้สังคมสงบสุข
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ที่จะทำให้สังคมสงบสุข ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 22.9
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 20.3
3 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 18.8
4 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 17.0
5 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 9.0
6 นายบรรหาร ศิลปะอาชา 7.4
7 อื่นๆ อาทิ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายชวน หลีกภัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
นายจาตุรนค์ ฉายแสง เป็นต้น 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
มีความขัดแย้งกับรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีความขัดแย้งกับรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ขัดแย้งมาก 8.9
2 ค่อนข้างมาก 19.0
3 ไม่ค่อยขัดแย้ง 24.6
4 ไม่ขัดแย้งเลย 15.2
5 ไม่มีความเห็น 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “คนบันเทิง-คนการเมืองในทรรศนะของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปี
ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,500 คน ระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2550
จากการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 93.7 ติดตามข่าวสารทุก
สัปดาห์ ร้อยละ 3.1 ระบุติดตามข่าวสารน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 3.2 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงคนในวงการบันเทิงที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างร้อยละ 17.5 ระบุแอน ทองประสม รองลงมา
ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ ร้อยละ 9.0 ระบุพัชราภา ไชยเชื้อ ร้อยละ 8.0 ระบุสุวนันท์ คงยิ่ง และร้อยละ 7.8 ระบุ
วรนุช วงศ์สวรรค์ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม คนในวงการบันเทิงที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังมากที่สุด ร้อยละ 68.1 ระบุโชติรส สุริยะวงศ์ (เอมมี่) รองลงมาร้อยละ
15.1 ระบุ ต้องรัก อัศวรัตน์ร้อยละ 5.9 ระบุ อมิตา ทาทายัง ร้อยละ 4.8 ระบุบงกช คงมาลัย (ตั๊ก) และร้อยละ 4.7 ระบุ พัชราภา ไชย
เชื้อ ตามลำดับ
ทางด้านนักการเมือง ที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ รองลงมา
ร้อยละ 21.3 ระบุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 14.6 ระบุพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ร้อยละ 13.9 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และร้อยละ
10.2 ระบุนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ตามลำดับ
แต่ในทางตรงกันข้าม นักการเมืองที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังมากที่สุด พบว่าตัวอย่างร้อยละ 61.7 ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองลง
มาร้อยละ 9.9 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 6.5 ระบุพลเอกสนธิ บุญยารัตกลิน ร้อยละ 5.9 ระบุพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และร้อยละ
5.3 ระบุ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคนในวงการบันเทิงกับนักการเมือง ที่มีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความ
รู้สึก (ผิดหวัง) ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 64.7 เห็นว่านักการเมืองทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 7.8
เห็นว่าคนในวงการบันเทิงมีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า และร้อยละ 18.9 เห็นว่าพอๆ กัน
นอกจากนี้ตัวอย่างยังได้แสดงความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของคนในวงการบันเทิงที่อยากขอให้เลิกกระทำ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 55.5 อยาก
ให้เลิกพฤติกรรมแต่งตัวไม่เหมาะสม โป๊เปลือย รองลงมาร้อยละ 12.9 อยากให้เลิกเที่ยวกลางคืน และร้อยละ 10.8 อยากให้เลิกพฤติกรรมในเรื่อง
ชู้สาว การเปลี่ยนคู่ ตามลำดับ
ส่วนพฤติกรรมของนักการเมืองที่อยากขอให้เลิกกระทำ มีดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 52.5 อยากให้เลิกการทุจริต คอรัปชั่น รองลงมาร้อย
ละ 8.3 อยากให้เลิกการทะเลาะกัน ความไม่สามัคคี และร้อยละ 7.2 อยากให้เลิกหลอกลวงประชาชน ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาถึงกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาช่วยงานรัฐบาลเพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวต่างชาติเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างร้อยละ 65.0 เห็นด้วย/ค่อนข้างเห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ต่างชาติให้การยอมรับ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ผล
งานที่ผ่านมาดี การวางตัวเหมาะสม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 14.5 ไม่ค่อยเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ความรู้
ความสามารถยังไม่เพียงพอ เคยอยู่พรรคไทยรักไทยมาก่อน มีการคอรัปชั่นมากเกินไป และร้อยละ 20.5 ไม่มีความเห็น
และบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ที่จะทำให้สังคมสงบสุข ตัวอย่างร้อยละ 22.9 เห็นว่า พล.อ. สุรยุทธ์ จุลา
นนท์ มีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป รองลงมาร้อยละ 20.2 เห็นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และร้อยละ 18.8 เห็นว่า พ.ต.
ท.ทักษิณ ชินวัตร ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงกรณีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีความขัดแย้งกับรัฐบาล ตัวอย่างร้อยละ 39.8 เห็นว่าไม่ค่อยขัดแย้ง/ไม่ขัด
แย้งเลย ในขณะที่ร้อยละ 27.9 เห็นว่าขัดแย้งมาก/ค่อนข้างมาก และร้อยละ 32.3 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าพิจารณาหลายประการ เพราะเด็กและเยาวชนจำนวนมากอาจจะถูกชักจูงและลอก
เลียนแบบพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดีได้ง่าย เพราะดารานักร้องนักแสดงและนักการเมืองเป็นตัวแบบและบุคคลสาธารณะของสังคม การประพฤติปฏิบัติมัก
ปรากฏให้ประชาชนเห็นผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำย่อมส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป
“ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ดารานักร้องนักแสดงที่ประชาชนชื่นชอบอยู่เป็นจำนวนมากจึงต้องไม่ประพฤติปฏิบัติให้ประชาชนรู้สึกผิด
หวัง แต่สำหรับนักการเมืองถูกสาธารณชนมองว่ามีพฤติกรรมที่ทำให้ประชาชนผิดหวังมากกว่าคนบันเทิงในการสำรวจครั้งนี้ เพราะการประพฤติตัวที่ไม่
เหมาะสมของดารานักแสดงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลสังคมมักจะให้อภัยได้ แต่นักการเมืองที่ทำผิดส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นที่ส่ง
ผลเสียหายต่อตัวเองและประเทศชาติโดยรวม” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อนักการเมืองครั้งนี้ที่น่าสนใจคือ คนที่ประชาชนมองว่าน่าจะเหมาะกับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีและจะทำให้สังคมสงบสุข ซึ่งจำนวนประชาชนที่สนับสนุนไม่แตกต่างกันนักคือประมาณร้อยละ 20 ต่อคน ได้แก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แสดงให้เห็นอะไรบางอย่างที่คอการเมืองสามารถวิเคราะห์ได้คือ กระแสข่าวทุจริตคอรัปชั่นทำให้คน
กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทักษิณและกลุ่มพลังเงียบรวมตัวกันได้ และทำให้คนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลทักษิณลดลงไปบางส่วน แต่คนที่
สนับสนุนรัฐบาลทักษิณจากผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ทำทั่วประเทศและครั้งนี้ยังคงเหนียวแน่นประมาณ 1 ใน 5 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีพลังพอสมควร รัฐบาลจึงต้อง
เร่งทำงานแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพราะการประชาสัมพันธ์ผลงานสร้างภาพและโจมตีรัฐบาลทักษิณเพียงอย่างเดียวจะยิ่งไป
สร้างความเจ็บแค้นในหมู่ประชาชนจำนวนมากที่กระจายอยู่เกือบทุกภูมิภาคของประเทศ
“นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลคือ รัฐบาลและคมช. ควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่าเป็นเนื้อ
เดียวกันก่อนที่จะเรียกร้องให้ประชาชนทั่วไปมีความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่แตกแยก เพราะขณะนี้มีประชาชนเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่เห็นว่ารัฐบาลและ
คมช. ไม่ขัดแย้งกันเลย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ก่อนที่ประชาชนจะเสื่อมความเชื่อมั่นศรัทธาต่อรัฐบาลไปมากกว่านี้จนรัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐอาจทำอะไรได้
ยากลำบาก เพราะตัวเลขที่ประชาชนสนับสนุนนายกรัฐมนตรีเหลือไม่ถึงครึ่ง ถือว่าอยู่เกณฑ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะพูดอะไรจะทำอะไร
จะมีแรงเสียดทานพอสมควร ดังนั้น รัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง
ชาติ (สนช.) น่าจะเร่งทำงานให้หนักแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชนมากกว่าอดีตถึง 5 เท่าและสร้างระบบสังคมให้ประชาชนสามัญชนและเด็ก
เยาวชนที่เป็นลูกหลานในอนาคตได้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ควรมีกฎหมายที่สามารถเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่นเพียงแค่มีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการ
จัดซื้อจัดจ้างหรือมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่กันจนเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน เพื่อไม่ให้เป็นข้ออ้างของทหารก่อ
การยึดอำนาจรัฐบาลกลายเป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายได้อีกต่อไปฃ
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่ออกสื่อ
บ่อจึงทำให้มีผลกระทบต่อค่านิยมและพฤติกรรมของคนในสังคมสูง เข้ามาเพื่อกอบโกยเพื่อตนเองและพวกพ้องทำให้เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่ไม่อยาก
ทำงานทำการเมืองเพราะมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรกไปแล้ว เช่น เรื่องการทุจริตคอรัปชั่น การใส่ร้ายป้ายสี การใช้อำนาจมืดและอิทธิพล ซึ่ง
นักการเมืองควรเป็นกลุ่มคนที่ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
นางสาวปุณทรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เลขานุการสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นักการเมืองที่
ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีคุณธรรมและความเป็นผู้นำประเทศที่แท้จริง เพราะเมื่อมีอำนาจทางการเมืองในการบริหารประเทศก็มักจะใช้อำนาจเพื่อผล
ประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัว และพวกพ้อง เช่น กรณีปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิทำให้เด็กและเยาวชนรู้เสียใจและผิดหวังต่อการทำงานการเมืองของ
นักการเมืองไทย ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติเสียหาย
นายทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม รองประธานสภาฯ กล่าวว่า ปัจจุบันคนบันเทิงมีพฤติกรรมที่แสดงออกเช่นแต่งตัว
หวาบหวิว มากเกินไป ถ้ามองในแง่การตลาดบันเทิงก็อาจคิดแต่เรื่องจุดขายจนมองข้ามผลกระทบทางสังคม ส่งผลให้เด็กและเยาวชนไทยอาจคิดว่าเมื่อ
ดาราทำได้ทำไมพวกเขาจะทำตามไม่ได้ จึงอยากให้คนในวงการบันเทิงเวลาจะทำตัวให้เด่นดังควรอยู่ในกรอบของจารีตประเพณีไทยที่ดีงาม และ
ปัจจุบันนี้ดารามักไม่ได้ขายความสามารถแต่มุ่งเน้นขายแต่เรื่องความมีรูปร่างหน้าตาที่ดีและความเซ็กซี่เท่านั้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อพฤติกรรมของคนในแวดวงบันเทิง และนักการเมือง
2. เพื่อให้ทราบถึง แนวความคิด และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คนบันเทิง-คนการเมืองในทรรศนะของ
ประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,500 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 39.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 29.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 24.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 9.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 26.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 16.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.6 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพด ๆ
และร้อยละ 1.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวสาร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสาร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 65.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 10.1
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 3.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนในวงการบันเทิงที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 10 อันดับแรก
ลำดับที่ คนในวงการบันเทิงที่รู้สึกน่าชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 แอน ทองประสม 17.5
2 ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ (เคน) 11.7
3 พัชราภา ไชยเชื้อ (อั้ม) 9.0
4 สุวนันท์ คงยิ่ง (กบ) 8.0
5 วรนุช วงษ์สวรรค์ (นุ่น) 7.8
6 ณัฐวุฒิ สกิดใจ (ป๋อ) 5.2
7 ศรราม เทพพิทักษ์ (หนุ่ม) 5.0
8 พิยดา อัครเศรณี (อ้อม) 4.9
9 ธงไชย แมคอินไตย (เบิร์ด) 4.9
10 เจษฎาภรณ์ ผลดี (ติ๊ก) 4.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนในวงการบันเทิงที่ทำให้ประชาชนรู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 10 อันดับแรก
ลำดับที่ คนในวงการบันเทิงที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 โชติรส สุริยะวงศ์ (เอมมี่) 68.1
2 ต้องรัก อัศวรัตน์ 15.1
3 อมิตา ทาทายัง 5.9
4 บงกช คงมาลัย (ตั๊ก) 4.8
5 พัชราภา ไชยเชื้อ (อั้ม) 4.7
6 ชาคริต แย้มนาม 4.6
7 ปานวาด เหมมณี (เป้ย) 4.2
8 กีรติกร รัตน์กุลธร (น้องนิว) 4.0
9 หยาดทิพย์ ราชปาล (หยาด) 3.4
10 คัทลียา แมคอินทอช (แหม่ม) 2.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่รู้สึกชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
10 อันดับแรก
ลำดับที่ นักการเมืองที่รู้สึกชื่นชมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 46.6
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 21.3
3 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 14.6
4 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 13.9
5 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 10.2
6 นายชวน หลีกภัย 7.6
7 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 4.1
8 นายบรรหาร ศิลปะอาชา 3.7
9 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 3.0
10 นายจาตุรนต์ ฉายแสง 2.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่รู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 61.7
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 9.9
3 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 6.5
4 พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ 5.9
5 นายเนวิน ชิดชอบ 5.9
6 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 5.3
7 นายบรรหาร ศิลปะอาชา 3.9
8 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 3.6
9 นายจำลอง ศรีเมือง 3.5
10 นายเสนาะ เทียนทอง 3.2
11 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 3.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างคนในวงการบันเทิงกับนักการเมือง
ที่มีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึก (ผิดหวัง)
ลำดับที่ เปรียบเทียบระหว่างคนในวงการบันเทิงกับนักการเมืองที่มีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึก(ผิดหวัง) ค่าร้อยละ
1 คนในวงการบันเทิงมีข่าวที่ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า 7.8
2 นักการเมืองทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกมากกว่า 64.7
3 พอๆ กัน 18.9
4 ไม่มีความเห็น 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมของคนในวงการบันเทิงที่อยากขอให้เลิกกระทำ
ลำดับที่ พฤติกรรมของคนในวงการบันเทิงที่อยากขอให้เลิกกระทำ ค่าร้อยละที่ได้ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 แต่งตัวไม่เหมาะสม 55.5
2 เที่ยวกลางคืน 12.9
3 เรื่องชู้สาว การเปลี่ยนคู่ 10.8
4 การมั่วสุมสิ่งเสพติด 6.7
5 การพูดจาไม่สุภาพ 5.3
6 การสร้างภาพ การเสแสร้ง 3.4
7 อื่นๆ เช่น การให้ข่าวที่เป็นเท็จ ความฟุ้งเฟ้อ การทะเลาะวิวาท การสร้างภาพ
การใส่ร้ายป้ายสี การพนัน เป็นต้น 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมของนักการเมืองที่อยากขอให้เลิกกระทำ
ลำดับที่ พฤติกรรมของนักการเมืองที่อยากขอให้เลิกกระทำ ค่าร้อยละที่ได้ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 การทุจริต คอรัปชั่น 52.5
2 การทะเลาะกัน ความไม่สามัคคี 8.3
3 การหลอกลวงประชาชน ความไม่จริงใจ 7.2
4 การใส่ร้ายป้ายสี 6.1
5 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 5.5
6 ความไม่ตั้งใจในการทำงาน 3.5
7 ใช้อำนาจในทางที่ผิด 2.7
8 การแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น 2.1
9 อื่น ๆ อาทิ การแบ่งพรรคแบ่งพวก การซื้อเสียง เอาเปรียบประชาชน การสร้างภาพ
ขายสมบัติชาติ การบริการประเทศที่ไม่มีคุณภาพ การให้ข่าวที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
การวางตัวไม่เหมาะสม คลื่นใต้น้ำ การย้ายพรรค เป็นต้น 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาช่วยงานรัฐบาล
เพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวต่างชาติเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาช่วยงานรัฐบาลเพื่อสร้าง ค่าร้อยละ
ความเข้าใจกับชาวต่างชาติเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง
1 เห็นด้วย 52.0
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 13.0
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 5.3
4 ไม่เห็นด้วย 9.2
5 ไม่มีความเห็น 20.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ผู้ที่ระบุว่าเห็นด้วย / ค่อนข้างเห็นด้วยให้เหตุผลสำคัญสำคัญคือ ผู้ที่ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วยให้เหตุผล
- เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ต่างชาติให้การยอมรับ - ความสามารถไม่เพียงพอ
- มีความรู้ความสามารถ - เคยอยู่พรรคไทยรักไทยมาก่อน
- ผลงานดี / มีประสบการณ์การทำงาน - คอรัปชั่นมากเกินไป
- วางตัวเหมาะสม
- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
- คำนึงถึงประเทศชาติ
- เป็นคนดีซื่อสัตย์ สุจริต
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ที่จะทำให้สังคมสงบสุข
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ที่จะทำให้สังคมสงบสุข ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 22.9
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 20.3
3 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 18.8
4 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 17.0
5 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 9.0
6 นายบรรหาร ศิลปะอาชา 7.4
7 อื่นๆ อาทิ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายชวน หลีกภัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
นายจาตุรนค์ ฉายแสง เป็นต้น 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
มีความขัดแย้งกับรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีความขัดแย้งกับรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ขัดแย้งมาก 8.9
2 ค่อนข้างมาก 19.0
3 ไม่ค่อยขัดแย้ง 24.6
4 ไม่ขัดแย้งเลย 15.2
5 ไม่มีความเห็น 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-