เอแบคโพลล์: สำรวจการออมของประชาชนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554

ข่าวผลสำรวจ Friday April 22, 2011 11:44 —เอแบคโพลล์

ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ และนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยา ลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, ABAC — SIMBA) โดยการสนับสนุนของธนาคารกรุงศรีฯ เพื่อการวิจัย เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจการออม ของประชาชนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 กรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภคระดับครัวเรือนใน 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,632 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 22 เมษายน 2554 และสามารถติดต่อดาวน์โหลดข้อมูลไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ ที่ www.abacpolldata.au.edu

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 ไม่มีเงินเก็บออม ในขณะที่เพียงร้อยละ 29.2 เท่านั้นที่มีเงินเก็บออม และที่น่าสนใจคือ ผู้ชายกลับมี สัดส่วนของคนที่เก็บออมเงินมากกว่าหญิงคือร้อยละ 32.1 ต่อร้อยละ 27.5 ในขณะที่ผู้หญิงร้อยละ 72.5 ไม่มีเงินเก็บออม แต่ผู้ชายร้อยละ 67.9 ไม่มี เงินเก็บออม

เมื่อจำแนกตามรายได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 94.7 มีรายได้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่เพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้นมีรายได้เกิน 35,000 บาทต่อเดือน และเมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการออมเงินจำแนกตามรายได้แล้วพบว่า คนที่มีรายได้สูงกว่า 35,000 บาทต่อเดือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.4 ของคนที่มีรายได้ระหว่าง 35,001 — 75,000 บาท และร้อยละ 53.6 ของกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 75,000 บาทต่อเดือนมีการเก็บออมเงิน ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มคนรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.7 ไม่มีเงินเก็บออม

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่ในทุกช่วงอายุ ไม่มีเงินเก็บออม และเมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า มีเพียงอาชีพเดียวคือ ผู้ ประกอบการหรือเจ้าของกิจการที่เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.6 มีเงินเก็บออม แต่อาชีพอื่นๆ ทุกสาขาอาชีพในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่ไม่มีเงินเก็บออม ที่ น่าสนใจคือ กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 39.4 กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 37.5 ลูกจ้างผู้ประกอบการร้อยละ 37.1 ที่มีเงิน เก็บออม ตามลำดับ

เมื่อถามกลุ่มคนที่มีการเก็บออมเงินถึงช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้วคือ มกราคม — มีนาคมของปีก่อน พบว่า จำนวนมากหรือ ร้อยละ 44.2 ระบุว่าเก็บออมเท่าเดิม มีถึงร้อยละ 40.2 ระบุเก็บออมน้อยลง และมีเพียงร้อยละ 15.6 เท่านั้นที่มีการเก็บออมมากขึ้น และที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มคนที่มีการเก็บออม พบว่า คนที่มีรายได้สูงยังคงมีเงินเก็บออมเพิ่มสูง โดยกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 75,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 21.4 ระบุมี การเก็บออมเพิ่มขึ้นในขณะที่ในกลุ่มคนรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือนมีอยู่ร้อยละ 14.8 เท่านั้น

เมื่อมองไปยังอนาคตคืออีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า กลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 75,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนของคนที่คิดว่าจะสามารถ เก็บออมได้เหมือนเดิมร้อยละ 50.0 และเก็บออมได้เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าทุกกลุ่มรายได้คือร้อยละ 28.6 ในขณะที่คนมีรายได้ระหว่าง 15,001 — 35,000 บาท และคนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 34.8 และร้อยละ 33.5 จะเก็บออมได้น้อยลง ตามลำดับ

ดร.อุดม กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้เป็นการตอกย้ำให้เห็นภาพเดิมๆ ของสภาวะเศรษฐกิจรายได้และพฤติกรรมการออมของประชาชนในทุก รัฐบาลที่ผ่านมาว่า คนที่มีรายได้สูงยังคงเป็นคนกลุ่มน้อย แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และไม่มีเงินเก็บออม เนื่องจากภาระค่า ใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และเมื่อพิจารณาการคาดการณ์ของประชาชนจากการสำรวจครั้งนี้ยิ่งพบว่า คนที่มีรายได้สูงก็จะยิ่งมีการเก็บออมเงินมากขึ้น ไปอีก แต่คนที่มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ยังคงมีการเก็บออมเท่าเดิมและมีทิศทางว่าจะเก็บออมลดน้อยลงไปอีกด้วย ทางออกคือ แนวนโยบายของรัฐบาลจำ เป็นต้องชัดเจนและทำให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นที่จะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมการเก็บออมมากขึ้น ผ่านการนำหลัก เศรษฐกิจพอเพียงที่มีหัวใจของการเก็บออมมาสนับสนุนส่งเสริมอย่างครบวงจรในวิถีชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ใช่กลุ่มนักลงทุนหรือผู้ประกอบการ เป็นเพียงกลุ่มอาชีพเดียวที่มีพฤติกรรมการเก็บออมสูงสุด ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะมียุทธศาสตร์ที่ “โดนใจ” ประชาชนมากพอจะทำ ให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง” ทำให้ทุกกลุ่มอาชีพมีสัดส่วนของการเก็บออมเพิ่มมากขึ้น

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 62.6 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 37.4 เป็นเพศชาย

          ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุพบว่า          ร้อยละ 13.0 ระบุอายุ 18-24 ปี

ร้อยละ 27.4 อายุ 25-35 ปี

ร้อยละ 27.1อายุ 36-45 ปี

ร้อยละ 32.5 ระบุอายุ 46-60 ปี

                                  ตัวอย่าง          ร้อยละ 78.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 20.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 0.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 38.6 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ส่วนตัว

ร้อยละ 16.0 ระบุรับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน

ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง

ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นพนักงานบริษัท

ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ

ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 3.6 ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 2.9 ระบุเป็นลูกจ้างโรงงาน/สถานประกอบการ

ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน

ร้อยละ 1.0 ระบุเป็นทหาร/ตำรวจ

และร้อยละ 0.1 ระบุอื่นๆ

          ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่า        ร้อยละ 94.7 ระบุรายได้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน

ในขณะที่ร้อยละ 5.3 ระบุรายได้มากกว่า 35,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมีการออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามเพศ
ลำดับที่          การออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา        ชาย           หญิง          ภาพรวม
1          เก็บออม                              32.1          27.5          29.2
2          ไม่มีเงินเก็บออม                        67.9          72.5          70.8
          รวมทั้งสิ้น                             100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมีการออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามรายได้
ลำดับที่          การออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา     น้อยกว่า 15,000    15,001-35,000     35,001-75,000     มากกว่า 75,000
1          เก็บออม                                24.3            39.9               55.4            53.6
2          ไม่มีเงินเก็บออม                          75.7            60.1               44.6            46.4
          รวมทั้งสิ้น                               100.0           100.0              100.0           100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมีการออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่          การออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา     18 — 30 ปี     31 — 46 ปี     มากกว่า 46 ปี
1          เก็บออม                              29.9          34.2          22.1
2          ไม่มีเงินเก็บออม                        70.1          65.8          77.9
          รวมทั้งสิ้น                             100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมีการออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามอาชีพ
ลำดับที่     การออมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา  ข้าราชการพลเรือน/  ลูกจ้างโรงงาน/   พนักงานบริษัท   ค้าขายอิสระ/    ผู้ประกอบการ/      นักเรียน/   ผู้ใช้แรงงาน/   แม่บ้าน/      ว่างงาน  เกษตรกร/
                                      รัฐวิสาหกิจ       สถานประกอบการ                 ส่วนตัว    เจ้าของกิจการ(มีลูกจ้าง)  นักศึกษา    รับจ้างทั่วไป  พ่อบ้าน/เกษียณ           ประมง
1     เก็บออม                             37.5           37.1           39.4        32.3          51.6            26.8        20.5       17.9        10.2     19.1
2     ไม่มีเงินเก็บออม                       62.5           62.9           60.6        67.7          48.4            73.2        79.5       82.1        89.8     80.9
     รวมทั้งสิ้น                            100.0          100.0          100.0       100.0         100.0           100.0       100.0      100.0       100.0    100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมแต่ละเดือนในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน มกราคม — มีนาคมของปี 53 จำแนกตามเพศ (เฉพาะ คนเก็บออม)
ลำดับที่          การออมแต่ละเดือนในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมกราคม — มีนาคมของปี 53      ภาพรวม
1          เพิ่มขึ้น                                                                       15.6
2          เท่าเดิม                                                                      44.2
3          ลดลง                                                                        40.2
          รวมทั้งสิ้น                                                                     100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมแต่ละเดือนในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน มกราคม —   มีนาคมของปี 53  จำแนกตามรายได้ (เฉพาะ คนเก็บออม)
ลำดับที่          การออมแต่ละเดือนในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมกราคม—มีนาคมของปี 53   น้อยกว่า15,000   15,001-35,000   35,001-75,000   มากกว่า75,000
1          เพิ่มขึ้น                                                                     14.8          16.4            17.8            21.4
2          เท่าเดิม                                                                    46.5          40.3            41.1            42.9
3          ลดลง                                                                      38.7          43.3            41.1            35.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                   100.0         100.0           100.0           100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมในแต่ละเดือนในอีก 3 เดือนข้างหน้า จำแนกตามรายได้
ลำดับที่          การออมแต่ละเดือนในอีก 3 เดือนข้างหน้า   น้อยกว่า 15,000    15,001-35,000    35,001-75,000   มากกว่า 75,000    ภาพรวม
1          เพิ่มขึ้น                                      21.0             20.9             12.5            28.6          20.4
2          เท่าเดิม                                     45.5             44.3             55.4            50.0          46.1
3          ลดลง                                       33.5             34.8             32.1            21.4          33.5
          รวมทั้งสิ้น                                   100.0             100.0            100.0           100.0         100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ