ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ และนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยา ลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, ABAC — SIMBA) โดยการสนับสนุนของธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด มหาชน เพื่อการวิจัย เปิด เผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจความตั้งใจจะซื้อสินค้าไอทีของผู้บริโภค กรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภคระดับครัวเรือนใน 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และ สงขลา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,632 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 28 เมษายน 2554 และสามารถติดต่อดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ www.abacpolldata.au.edu
เมื่อถามถึงสินค้าด้านไอทีและอิเลคโทรนิค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 มีโทรศัพท์มือถือแบบธรรมดาไว้ใช้ในปัจจุบัน รองลง มาคือ ร้อยละ 30.5 มีคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ร้อยละ 24.2 มีโน๊ตบุ๊ค ร้อยละ 17.5 มีกล้องดิจิตอล คอมแพค โปรซูเมอร์ ร้อยละ 13.1 มีโทรศัพท์ มือถือสมาร์ทโฟน ร้อยละ 4.5 มีกล้องดิจิตอล DSLR และร้อยละ 1.8 มี แท๊ปเลต พีซี Tablet PC เช่น iPad, Galaxy Tab เป็นต้นและเมื่อ จำแนกกลุ่มผู้บริโภคออกตามระดับรายได้ พบว่า คนที่มีรายได้ระหว่าง 15,001 — 35,000 บาท คนที่มีรายได้ระหว่าง 35,001 — 75,000 บาท และคนที่มีรายได้มากกว่า 75,000 บาท มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนไว้ใช้ มากกว่าร้อยละ 20 ขึ้น (ร้อยละ 21.9 26.0 และร้อยละ 30.6 ตาม ลำดับ) ในขณะที่คนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท มีเพียงร้อยละ 9.5 เท่านั้นที่มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนไว้ใช้ นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่มีรายได้สูง ระหว่าง 35,001 — 75,000 บาท และรายได้สูงกว่า 75,000 บาทต่อเดือน ยังมีแท๊ปเลตพีซี เช่น iPad, Galaxy Tab เป็นต้น ร้อยละ 7.0 และร้อยละ 7.7 ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้รายได้ระหว่าง 15,001 — 35,000 บาท มีเพียงร้อยละ 1.0 และ 3.0 เท่านั้นที่มีอุปกรณ์ดังกล่าว
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะซื้อสินค้าไอทีและอิเลคโทรนิคในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า แนวโน้มความตั้งใจของกลุ่มผู้บริโภคต่อ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และแท๊ปเลต พีซี มาแรง โดยมีสัดส่วนผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.1 เป็นร้อยละ 24.9 ในกลุ่มสินค้าโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน และร้อยละ 1.8 เป็นร้อยละ 6.8 ในกลุ่มสินค้าแท๊ปเลต พีซี ตามลำดับ เช่นเดียวกัน โน๊ตบุ๊ค ยังคงเป็นสินค้าที่ครองอันดับหนึ่งในความ ตั้งใจจะซื้อของผู้บริโภคอีก 3 เดือนข้างหน้าคือเพิ่มจากร้อยละ 24.2 ที่มีคนใช้ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 51.5 ของกลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจจะซื้อ
และเมื่อจำแนกตามเพศพบว่า ผู้หญิงตั้งใจจะซื้อโน๊ตบุ๊ค และโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน มากกว่าผู้ชายคือ ร้อยละ 57.1 ต่อ 44.6 และ ร้อยละ 28.8 ต่อร้อยละ 20.0 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า คนที่มีอายุมากตั้งใจจะซื้อโน๊ตบุ๊คมากกว่า ส่วนคนอายุน้อยตั้งใจจะซื้อแท๊ป เลต พีซี เช่น iPad มากกว่า และยังพบด้วยว่า คนอายุน้อยระหว่าง 18 — 30 ปีร้อยละ 34.2 ตั้งใจจะซื้อโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน มากกว่า คน ช่วงอายุ 46 ปีขึ้นไปที่มีอยู่ร้อยละ 10.3 ตั้งใจจะซื้อสินค้าดังกล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 62.6 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 37.4 เป็นเพศชาย
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 13.0 ระบุอายุ 18-24 ปี
ร้อยละ 27.4 อายุ 25-35 ปี
ร้อยละ 27.1อายุ 36-45 ปี
ร้อยละ 32.5 อายุ 46-60 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 20.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 38.6 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ส่วนตัว
ร้อยละ 16.0 ระบุรับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน
ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง
ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นพนักงานบริษัท
ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ
ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.6 ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 2.9 ระบุเป็นลูกจ้างโรงงาน/สถานประกอบการ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน
ร้อยละ 1.0 ระบุเป็นทหาร/ตำรวจ
และร้อยละ 0.1 ระบุอื่นๆ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่า ร้อยละ 94.7 ระบุรายได้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน
ในขณะที่ร้อยละ 5.3 ระบุรายได้มากกว่า 35,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
ลำดับที่ สินค้าด้านไอทีและ อิเลคทรอนิคส์ ร้อยละ 1 โทรศัพท์มือถือธรรมดา 70.9 2 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) 30.5 3 โน๊ตบุ๊ค 24.2 4 กล้องดิจิตอล คอมแพค/โปรซูเมอร์ 17.5 5 โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 13.1 6 กล้องดิจิตอล DSLR 4.5 7 Tablet PC เช่น iPad, Galaxy Tab 1.8 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสินค้าไอทีที่มีใช้ในปัจจุบัน จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน ลำดับที่ สินค้าต่างๆ น้อยกว่า 15,000 บาท 15,001-35,000 บาท 35,001-75,000 บาท มากกว่า 75,000 บาท 1 โน๊ตบุ๊ค 17.5 39.3 54.0 61.5 2 Tablet PC เช่น iPad, Galaxy Tab 1.0 3.0 7.0 7.7 3 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) 25.8 42.7 45.0 50.0 4 โทรศัพท์มือถือธรรมดา 62.6 66.8 73.0 78.5 5 โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 9.5 21.9 26.0 30.8 6 กล้องดิจิตอล คอมแพค/โปรซูเมอร์ 13.1 28.1 35.0 34.6 7 กล้องดิจิตอล DSLR 2.9 7.7 13.0 15.4 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าไอที ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ สินค้าต่างๆ ภาพรวม 1 โน๊ตบุ๊ค 51.5 2 โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 24.9 3 โทรศัพท์มือถือธรรมดา 18.1 4 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) 12.3 5 กล้องดิจิตอล คอมแพค/โปรซูเมอร์ 10.2 6 Tablet PC เช่น iPad, Galaxy Tab 6.8 7 กล้องดิจิตอล DSLR 3.1 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าไอที ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจำแนกตามเพศ ลำดับที่ สินค้าต่างๆ ชาย หญิง 1 โน๊ตบุ๊ค 44.6 57.1 2 Tablet PC เช่น iPad, Galaxy Tab 6.9 6.7 3 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) 16.9 8.6 4 โทรศัพท์มือถือธรรมดา 20.0 16.6 5 โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 20.0 28.8 6 กล้องดิจิตอล คอมแพค/โปรซูเมอร์ 8.5 11.7 7 กล้องดิจิตอล DSLR 4.6 1.8 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าไอที ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจำแนกตามช่วงอายุ ลำดับที่ สินค้าต่างๆ 18-30 ปี 31-46ปี 46 ปีขึ้นไป 1 โน๊ตบุ๊ค 47.4 53.6 65.5 2 Tablet PC เช่น iPad, Galaxy Tab 11.2 2.7 1.9 3 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) 10.5 14.3 13.8 4 โทรศัพท์มือถือธรรมดา 19.1 15.2 24.1 5 โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 34.2 16.1 10.3 6 กล้องดิจิตอล คอมแพค/โปรซูเมอร์ 9.2 12.5 6.9 7 กล้องดิจิตอล DSLR 3.9 0.9 6.9
--เอแบคโพลล์--