ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (The ABAC Social Innovation in
Management and Business Analysis, Graduate School of Business, Assumption University) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิด
เผยผลสำรวจเรื่อง “ความตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน: กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ” โดยสอบถามหัวหน้า
ครัวเรือน (ผู้ที่มีรายได้หลักในครอบครัว หรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของครอบครัว) จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,428 ตัวอย่าง ระยะ
เวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-13 กุมภาพันธ์ 2550 โดยมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
1. ตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนเกือบร้อยละ 80 ที่มีการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้โดยมีการใช้จ่ายเงินไม่แตกต่างจาก
ปี 2549
ตัวอย่างร้อยละ 79.7 ระบุว่าจะมีการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ร้อยละ 20.3 ไม่มีการใช้จ่ายเงิน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึง
ความตั้งใจในการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีนของปีนี้ เปรียบเทียบกับปีที่แล้วนั้นพบว่า มีตัวอย่างไม่ถึง 1 ใน 3 ที่ระบุว่าจะใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2549 ที่ผ่านมา โดยพบว่าตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าจะใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ไม่แตกต่าง
จากปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างถึง 1 ใน 3 ที่ระบุว่ามีการใช้จ่ายเงินในเรื่องการท่องเที่ยว (ทั้งในและต่างประเทศ) และ
การใช้จ่ายเงินในเรื่องของการทานอาหารนอกบ้าน ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2549
2. ผลไม้ และไก่ ยังเป็นสินค้าที่นิยมซื้อเพื่อเซ่นไหว้ ทั้งนี้โดยตลาดสดเป็นแหล่งที่คนไทยเชื้อสายจีนนิยมไปซื้อของเซ่นไหว้มากที่สุด
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงของเซ่นไหว้ที่นิยมซื้อนั้น ร้อยละ 67.8 ระบุซื้อผลไม้ รองลงมาคือร้อยละ 61.7 ระบุซื้อไก่ ร้อยละ 54.5
ระบุซื้อขนมเทียน/ขนมเข่ง ร้อยละ 51.8 ระบุซื้อธูป เทียน กระดาษเงิน กระดาษทอง ร้อยละ 42.3 ระบุซื้อเป็ด และร้อยละ 26.7 ระบุซื้อหัว
หมู ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงแหล่งที่จะซื้อของไหว้นั้นพบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 ระบุซื้อที่ตลาดสดใกล้บ้าน ร้อยละ 8.0 ระบุซื้อที่ห้างไฮ
เปอร์มาร์ท (คาร์ฟูร์ โลตัส บิ๊กซี) และร้อยละ 5.7 ระบุซื้อที่ห้างสรรพสินค้า (เช่น เดอะมอลล์ เซ็นทรัล) ตามลำดับ
3. ตัวอย่างกว่า 2 ใน 3 ที่มีการจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีนที่จะมาถึง ทั้งนี้โดยเงินสดเป็นอั่งเปาที่จัดเตรียมไว้มากที่สุด
ตัวอย่างร้อยละ 66.7 ของคนไทยเชื้อสายจีนระบุว่าได้จัดเตรียมอั่งเปาสำหรับวันตรุษจีน ขณะที่ร้อยละ 33.3 ไม่ได้จัดเตรียมไว้ ทั้ง
นี้โดยตัวอย่างระบุว่า สิ่งที่จัดเตรียมไว้คือ เงินสด (ร้อยละ 91.2) รองลงมาคือ จัดเตรียมทั้งเงินสดและทองคำ (ร้อยละ 7.0) และทองคำ
(ร้อยละ 1.8)
4. วงเงินสะพัดช่วงเทศกาลตรุษจีน 3.5 หมื่นล้าน แต่เป็นเงินเสี่ยงโชคประมาณ 6.7 พันล้านบาท เหลือวงเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
จริง 2.8 หมื่นล้านบาท
จากการประมาณการทางสถิติของครัวเรือนทั่วประเทศกว่า 19 ล้านครัวเรือน พบว่าจะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีนทั่วประเทศ
34,478,505,400 บาท โดยพบว่าคนกรุงเทพมหานครลดลงจาก 6,288,292,894 บาท ในปีที่แล้ว เหลือ 5,282,635,137 บาทในปีนี้ เหตุเพราะ
ความไม่ชัดเจน วิตกกังวล และไม่เชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจเกิดขึ้นในหมู่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ จะมี
วงเงินสะพัดที่เกิดการเสี่ยงโชคทั่วประเทศ เช่น เล่นหวย เล่นไพ่ เล่นทายพนันอื่นๆ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนประมาณ 6,726,584,180 บาท จึงเหลือ
วงเงินที่สะพัดเกี่ยวกับงานตรุษจีนจริงประมาณ 27,751,921,220 บาท
5. ตัวอย่างคนไทยเชื้อสายจีนยังไม่เชื่อมั่นว่าปีนี้จะเป็นปีหมูทอง
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความเชื่อมั่นว่าปีนี้จะเป็นหมูทองหรือปีแห่งความเจริญรุ่งเรืองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 47.9 ระบุไม่เชื่อมั่นว่าจะเป็นปีหมูทอง ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ระบุเชื่อมั่น และร้อยละ 19.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความวิตกกังวลว่าจะมีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นพบว่า ประชาชนที่ไม่วิตก
กังวลคิดเป็นร้อยละ 41.0 ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าคนที่วิตกกังวลซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28.3 อย่างไรก็ตามประชาชนก็ยังต้องการให้รัฐบาลและ คมช.มี
มาตรการป้องกันไว้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยร้อยละ 54.2 ระบุต้องการให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ตรวจตราให้มากขึ้น ร้อย
ละ 22.6 ระบุต้องการให้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น ร้อยละ 12.2 ระบุเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างหนัก
ร้อยละ 7.8 ระบุทำงานประสานกันทุกฝ่าย/ลดอคติในการทำงาน และร้อยละ 7.1 ระบุตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจให้มากขึ้น ตามลำดับ
ดร.อภิชาติ อินทรวิศิษฎ์ กรรมการบริหารศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยและคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ยัง
คงยึดมั่นในประเพณี และทำในวิถีทางที่เป็น “ธรรมเนียมสืบทอดกันมา” เช่น ซื้อของสดจากตลาดสด ตามที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติ ส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์จาก
การจับจ่ายในตลาดสดกลายเป็นความกลมเกลียวกันในชุมชน ความเข้มแข็งของวัฒนธรรม ไมตรีจิต และทุนทางสังคม ซึ่งไม่เกิดขึ้นให้เห็นบ่อยนัก
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การแสดงความกตัญญู และการตอบแทนผู้ใหญ่ยังไม่ปรากฎให้เห็นชัดเจนในผลสำรวจครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจ
แสดงให้เห็นว่าการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องส่วนตัวและสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น การท่องเที่ยว ทานอาหารนอกบ้าน หรือการสมาคมต่างๆ มีความแตกต่างลด
ลงอย่างชัดเจน จนอาจกล่าวได้ว่าผู้บริโภคระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย “เพื่อตัวเอง” ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นตระหนักในนโยบายเศรษฐกิจ
พอเพียง ทั้งนี้การเที่ยวน้อยลงหรือสังสรรค์นอกบ้านน้อยลงอาจเกิดจากความหวาดระแวงความไม่ปลอดภัยอยู่บ้าง” ดร.อภิชาติ กล่าว
ดร.นพดล ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า บรรยากาศทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจในขณะนี้ยังอยู่ใน
เกณฑ์ปกติที่พอรับได้เพราะประชาชนที่ถูกศึกษายังมีความตั้งใจที่จะจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่มีบางส่วนที่วิตกกังวลและไม่เชื่อมั่น ซึ่งเป็น
เรื่องปัญหาชีวิตประจำวันและการรับรู้ข่าวสารของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาล รัฐบาลจึงจำเป็นต้องทำงานทั้งสองทางไม่ใช่เพียงแค่การประชา
สัมพันธ์เพียงอย่างเดียว การที่ประชาชนติดภาพของความรวดเร็วฉับไวในการทำงานของรัฐบาลที่แล้วจึงกำลังกลายเป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ถ้า
รัฐบาลเร่งทำงานให้หนักขึ้นและฉับไว การประมาณการวงเงินที่จะสะพัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในอีกสองเดือนข้างหน้าที่เกี่ยวข้องกับคนไทยส่วนใหญ่
ของประเทศไม่ใช่เฉพาะคนไทยเชื้อสายจีนเท่านั้น ก็น่าจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนในช่วงเทศกาลตรุษจีน
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงเทศกาลตรุษจีน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เรื่อง “ความตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน : กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาในการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 — 13 กุมภาพันธ์ 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือน ใน 14 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก
แพร่ ชลบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ยโสธร สกลนคร บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,428 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่างร้อยละ 51.2 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.8 เป็นเพศหญิง ทั้งนี้ร้อยละ 15.1 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 28.0 อายุ
30-39 ปี ร้อยละ 27.4 อายุ 40-49 ปี และร้อยละ 29.5 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
เมื่อพิจารณาอาชีพประจำของหัวหน้าครัวเรือนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 35.0 ระบุ
อาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.6 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 6.0 ระบุอาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 8.3 ระบุ
อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ตัวอย่างร้อยละ 81.1 สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 1.6 ระบุ
สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
และเมื่อพิจารณาถึงรายได้ครอบครัวต่อเดือนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.1 ระบุรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 14.3
ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 12.3 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน และ ร้อยละ 33.3 ระบุมากกว่า 20,000 บาทต่อ
เดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน (เฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน)
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 79.7
2 ไม่คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ เปรียบเทียบ
กับช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี 2549 (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน)
ลำดับที่ ความตั้งใจในการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีน เปรียบเทียบกับปี 2549 รวมทั้งสิ้น
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1 ของเซ่นไหว้ 25.2 56.6 18.2 100.0
2 ของที่จะให้ญาติผู้ใหญ่ 21.2 60.6 18.2 100.0
3 อั่งเปา 18.1 63.9 18.0 100.0
4 ท่องเที่ยว (ในและต่างประเทศ) 18.5 43.7 37.8 100.0
5 ทานอาหารนอกบ้าน 13.5 54.4 32.1 100.0
6 การรวมญาติ 14.0 64.5 21.5 100.0
7 ทำบุญ บริจาคทาน 13.6 68.8 17.6 100.0
8 เล่นไพ่ เล่นทายพนันอื่นๆ 14.0 57.9 28.1 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าประมาณการจำนวนเงินที่จะต้องใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีการจับจ่ายในช่วงตรุษจีน
การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
(วงเงินที่ตั้งใจจะใช้จ่ายช่วงตรุษจีน เช่น ของเซ่นไหว้ /อั่งเปา /ท่องเที่ยว และอื่นๆ)
ภาพรวมทั่วประเทศ ปี 2550 เฉพาะกรุงเทพฯ ปี 2549 เฉพาะกรุงเทพฯ ปี 2550
34,478,505,400 บาท 6,288,292,894 บาท 5,282,635,137 บาท
ประมาณการจากครัวเรือนทั่วประเทศ ประมาณการจากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร ประมาณการจากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งสิ้น 19,016,784 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 2,050,411 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 2,091,558 ครัวเรือน
ตารางที่ 4 แสดงค่าประมาณการจำนวนเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
จำนวนเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
(เช่นการเล่นหวย เล่นไพ่ เล่นทายพนันอื่นๆ )
1. เงินที่จะต้องใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีการจับจ่ายในช่วงตรุษจีน ปี 2550 27,751,921,220 บาท
(สองหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยห้าสิบเอ็ดล้าน-
เก้าแสนสองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยยี่สิบบาท)
2. ค่าประมาณการจำนวนเงินสะพัดที่เกิดจากการเสี่ยงโชคทั่วประเทศในช่วงตรุษจีน ปี 2550 6,726,584,180 บาท
(หกพันเจ็ดร้อยยี่หกล้านห้าแสนแปดหมื่น-
สี่พันหนึ่งร้อยแปดสิบบาท)
ประมาณการจากครัวเรือนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 19,016,784 ครัวเรือน
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุของเซ่นไหว้ที่นิยมซื้อ (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของเซ่นไหว้ที่นิยมซื้อ ค่าร้อยละ
1 ผลไม้ 67.8
2 ไก่ 61.7
3 ขนมเทียน ขนมเข่ง 54.5
4 ธูป เทียน กระดาษเงิน กระดาษทอง 51.8
5 เป็ด 42.3
6 หัวหมู 26.7
7 อื่นๆ เนื้อหมู /ขนมสาลี่ /อาหารบำรุงสุขภาพ /ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น 7.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่ซื้อของเซ่นไหว้(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งที่ซื้อของเซ่นไหว้ ค่าร้อยละ
1 ตลาดสดใกล้บ้าน 75.9
2 ห้างไฮเปอร์มาร์ท (คาร์ฟูร์ โลตัส บิ๊กซี) 8.0
3 ห้างสรรพสินค้า (เช่น เดอะมอลล์ เซ็นทรัล) 5.7
4 ซุปเปอร์มาร์เก็ต (เช่น ท็อป โฮมเฟรชมาร์ท) 3.6
5 ร้านสะดวกซื้อ (7-eleven แฟมิลี่มาร์ท) 2.1
6 อื่นๆ แหล่งที่เลี้ยงเป็ด/เลี้ยงไก่ /สวนผลไม้/ร้านโชว์ห่วย 6.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีน (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน)
ลำดับที่ การจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 มีการจัดเตรียม 66.7
2 ไม่ได้จัดเตรียม 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ เฉพาะตัวอย่างที่ระบุว่ามีการจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีน สิ่งของที่จัดเตรียม ได้แก่
- เงินสด ร้อยละ 91.2
- ทองคำ ร้อยละ 1.8
- เตรียมทั้งเงินสดและทองคำ ร้อยละ 7.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นของตัวอย่างกรณีปีหมูปีนี้จะเป็นปีหมูทอง (ปีแห่งความเจริญรุ่งเรือง)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 32.9
2 ไม่เชื่อมั่น 47.9
3 ไม่มีความเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลว่าจะมีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่ ความวิตกกังวล ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 28.3
2 ไม่วิตกกังวล 41.0
3 ไม่มีความเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการต่อรัฐบาลและ คมช.ในการสร้างความมั่นใจให้กับ
ประชาชนในการป้องกันเหตุร้ายลอบวางระเบิดในช่วงเทศกาลตรุษจีน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ตรวจตราให้มากขึ้น 54.2
2 เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น 22.6
3 เพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างหนัก 12.2
4 ทำงานประสานกันทุกฝ่าย/ลดอคติในการทำงาน 7.8
5 ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจให้มากขึ้น 7.1
6 อื่นๆ อาทิ ระดมความร่วมมือจากประชาชน/เพิ่มความเข้มในการจัดระเบียบสังคม/
ดำเนินมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่น/สร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชน 7.5
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Management and Business Analysis, Graduate School of Business, Assumption University) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิด
เผยผลสำรวจเรื่อง “ความตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน: กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ” โดยสอบถามหัวหน้า
ครัวเรือน (ผู้ที่มีรายได้หลักในครอบครัว หรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของครอบครัว) จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,428 ตัวอย่าง ระยะ
เวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-13 กุมภาพันธ์ 2550 โดยมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
1. ตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนเกือบร้อยละ 80 ที่มีการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้โดยมีการใช้จ่ายเงินไม่แตกต่างจาก
ปี 2549
ตัวอย่างร้อยละ 79.7 ระบุว่าจะมีการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ร้อยละ 20.3 ไม่มีการใช้จ่ายเงิน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึง
ความตั้งใจในการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีนของปีนี้ เปรียบเทียบกับปีที่แล้วนั้นพบว่า มีตัวอย่างไม่ถึง 1 ใน 3 ที่ระบุว่าจะใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2549 ที่ผ่านมา โดยพบว่าตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าจะใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ไม่แตกต่าง
จากปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างถึง 1 ใน 3 ที่ระบุว่ามีการใช้จ่ายเงินในเรื่องการท่องเที่ยว (ทั้งในและต่างประเทศ) และ
การใช้จ่ายเงินในเรื่องของการทานอาหารนอกบ้าน ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2549
2. ผลไม้ และไก่ ยังเป็นสินค้าที่นิยมซื้อเพื่อเซ่นไหว้ ทั้งนี้โดยตลาดสดเป็นแหล่งที่คนไทยเชื้อสายจีนนิยมไปซื้อของเซ่นไหว้มากที่สุด
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงของเซ่นไหว้ที่นิยมซื้อนั้น ร้อยละ 67.8 ระบุซื้อผลไม้ รองลงมาคือร้อยละ 61.7 ระบุซื้อไก่ ร้อยละ 54.5
ระบุซื้อขนมเทียน/ขนมเข่ง ร้อยละ 51.8 ระบุซื้อธูป เทียน กระดาษเงิน กระดาษทอง ร้อยละ 42.3 ระบุซื้อเป็ด และร้อยละ 26.7 ระบุซื้อหัว
หมู ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงแหล่งที่จะซื้อของไหว้นั้นพบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 ระบุซื้อที่ตลาดสดใกล้บ้าน ร้อยละ 8.0 ระบุซื้อที่ห้างไฮ
เปอร์มาร์ท (คาร์ฟูร์ โลตัส บิ๊กซี) และร้อยละ 5.7 ระบุซื้อที่ห้างสรรพสินค้า (เช่น เดอะมอลล์ เซ็นทรัล) ตามลำดับ
3. ตัวอย่างกว่า 2 ใน 3 ที่มีการจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีนที่จะมาถึง ทั้งนี้โดยเงินสดเป็นอั่งเปาที่จัดเตรียมไว้มากที่สุด
ตัวอย่างร้อยละ 66.7 ของคนไทยเชื้อสายจีนระบุว่าได้จัดเตรียมอั่งเปาสำหรับวันตรุษจีน ขณะที่ร้อยละ 33.3 ไม่ได้จัดเตรียมไว้ ทั้ง
นี้โดยตัวอย่างระบุว่า สิ่งที่จัดเตรียมไว้คือ เงินสด (ร้อยละ 91.2) รองลงมาคือ จัดเตรียมทั้งเงินสดและทองคำ (ร้อยละ 7.0) และทองคำ
(ร้อยละ 1.8)
4. วงเงินสะพัดช่วงเทศกาลตรุษจีน 3.5 หมื่นล้าน แต่เป็นเงินเสี่ยงโชคประมาณ 6.7 พันล้านบาท เหลือวงเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
จริง 2.8 หมื่นล้านบาท
จากการประมาณการทางสถิติของครัวเรือนทั่วประเทศกว่า 19 ล้านครัวเรือน พบว่าจะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีนทั่วประเทศ
34,478,505,400 บาท โดยพบว่าคนกรุงเทพมหานครลดลงจาก 6,288,292,894 บาท ในปีที่แล้ว เหลือ 5,282,635,137 บาทในปีนี้ เหตุเพราะ
ความไม่ชัดเจน วิตกกังวล และไม่เชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจเกิดขึ้นในหมู่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ จะมี
วงเงินสะพัดที่เกิดการเสี่ยงโชคทั่วประเทศ เช่น เล่นหวย เล่นไพ่ เล่นทายพนันอื่นๆ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนประมาณ 6,726,584,180 บาท จึงเหลือ
วงเงินที่สะพัดเกี่ยวกับงานตรุษจีนจริงประมาณ 27,751,921,220 บาท
5. ตัวอย่างคนไทยเชื้อสายจีนยังไม่เชื่อมั่นว่าปีนี้จะเป็นปีหมูทอง
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความเชื่อมั่นว่าปีนี้จะเป็นหมูทองหรือปีแห่งความเจริญรุ่งเรืองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 47.9 ระบุไม่เชื่อมั่นว่าจะเป็นปีหมูทอง ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ระบุเชื่อมั่น และร้อยละ 19.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความวิตกกังวลว่าจะมีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นพบว่า ประชาชนที่ไม่วิตก
กังวลคิดเป็นร้อยละ 41.0 ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าคนที่วิตกกังวลซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28.3 อย่างไรก็ตามประชาชนก็ยังต้องการให้รัฐบาลและ คมช.มี
มาตรการป้องกันไว้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยร้อยละ 54.2 ระบุต้องการให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ตรวจตราให้มากขึ้น ร้อย
ละ 22.6 ระบุต้องการให้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น ร้อยละ 12.2 ระบุเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างหนัก
ร้อยละ 7.8 ระบุทำงานประสานกันทุกฝ่าย/ลดอคติในการทำงาน และร้อยละ 7.1 ระบุตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจให้มากขึ้น ตามลำดับ
ดร.อภิชาติ อินทรวิศิษฎ์ กรรมการบริหารศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยและคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ยัง
คงยึดมั่นในประเพณี และทำในวิถีทางที่เป็น “ธรรมเนียมสืบทอดกันมา” เช่น ซื้อของสดจากตลาดสด ตามที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติ ส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์จาก
การจับจ่ายในตลาดสดกลายเป็นความกลมเกลียวกันในชุมชน ความเข้มแข็งของวัฒนธรรม ไมตรีจิต และทุนทางสังคม ซึ่งไม่เกิดขึ้นให้เห็นบ่อยนัก
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การแสดงความกตัญญู และการตอบแทนผู้ใหญ่ยังไม่ปรากฎให้เห็นชัดเจนในผลสำรวจครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจ
แสดงให้เห็นว่าการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องส่วนตัวและสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น การท่องเที่ยว ทานอาหารนอกบ้าน หรือการสมาคมต่างๆ มีความแตกต่างลด
ลงอย่างชัดเจน จนอาจกล่าวได้ว่าผู้บริโภคระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย “เพื่อตัวเอง” ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นตระหนักในนโยบายเศรษฐกิจ
พอเพียง ทั้งนี้การเที่ยวน้อยลงหรือสังสรรค์นอกบ้านน้อยลงอาจเกิดจากความหวาดระแวงความไม่ปลอดภัยอยู่บ้าง” ดร.อภิชาติ กล่าว
ดร.นพดล ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า บรรยากาศทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจในขณะนี้ยังอยู่ใน
เกณฑ์ปกติที่พอรับได้เพราะประชาชนที่ถูกศึกษายังมีความตั้งใจที่จะจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่มีบางส่วนที่วิตกกังวลและไม่เชื่อมั่น ซึ่งเป็น
เรื่องปัญหาชีวิตประจำวันและการรับรู้ข่าวสารของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาล รัฐบาลจึงจำเป็นต้องทำงานทั้งสองทางไม่ใช่เพียงแค่การประชา
สัมพันธ์เพียงอย่างเดียว การที่ประชาชนติดภาพของความรวดเร็วฉับไวในการทำงานของรัฐบาลที่แล้วจึงกำลังกลายเป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ถ้า
รัฐบาลเร่งทำงานให้หนักขึ้นและฉับไว การประมาณการวงเงินที่จะสะพัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในอีกสองเดือนข้างหน้าที่เกี่ยวข้องกับคนไทยส่วนใหญ่
ของประเทศไม่ใช่เฉพาะคนไทยเชื้อสายจีนเท่านั้น ก็น่าจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนในช่วงเทศกาลตรุษจีน
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงเทศกาลตรุษจีน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เรื่อง “ความตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน : กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาในการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 — 13 กุมภาพันธ์ 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือน ใน 14 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก
แพร่ ชลบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ยโสธร สกลนคร บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,428 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่างร้อยละ 51.2 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.8 เป็นเพศหญิง ทั้งนี้ร้อยละ 15.1 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 28.0 อายุ
30-39 ปี ร้อยละ 27.4 อายุ 40-49 ปี และร้อยละ 29.5 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
เมื่อพิจารณาอาชีพประจำของหัวหน้าครัวเรือนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 35.0 ระบุ
อาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.6 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 6.0 ระบุอาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 8.3 ระบุ
อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ตัวอย่างร้อยละ 81.1 สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 1.6 ระบุ
สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
และเมื่อพิจารณาถึงรายได้ครอบครัวต่อเดือนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.1 ระบุรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 14.3
ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 12.3 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน และ ร้อยละ 33.3 ระบุมากกว่า 20,000 บาทต่อ
เดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน (เฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน)
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 79.7
2 ไม่คิดว่าจะใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ เปรียบเทียบ
กับช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี 2549 (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน)
ลำดับที่ ความตั้งใจในการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลตรุษจีน เปรียบเทียบกับปี 2549 รวมทั้งสิ้น
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1 ของเซ่นไหว้ 25.2 56.6 18.2 100.0
2 ของที่จะให้ญาติผู้ใหญ่ 21.2 60.6 18.2 100.0
3 อั่งเปา 18.1 63.9 18.0 100.0
4 ท่องเที่ยว (ในและต่างประเทศ) 18.5 43.7 37.8 100.0
5 ทานอาหารนอกบ้าน 13.5 54.4 32.1 100.0
6 การรวมญาติ 14.0 64.5 21.5 100.0
7 ทำบุญ บริจาคทาน 13.6 68.8 17.6 100.0
8 เล่นไพ่ เล่นทายพนันอื่นๆ 14.0 57.9 28.1 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าประมาณการจำนวนเงินที่จะต้องใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีการจับจ่ายในช่วงตรุษจีน
การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน
(วงเงินที่ตั้งใจจะใช้จ่ายช่วงตรุษจีน เช่น ของเซ่นไหว้ /อั่งเปา /ท่องเที่ยว และอื่นๆ)
ภาพรวมทั่วประเทศ ปี 2550 เฉพาะกรุงเทพฯ ปี 2549 เฉพาะกรุงเทพฯ ปี 2550
34,478,505,400 บาท 6,288,292,894 บาท 5,282,635,137 บาท
ประมาณการจากครัวเรือนทั่วประเทศ ประมาณการจากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร ประมาณการจากครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งสิ้น 19,016,784 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 2,050,411 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 2,091,558 ครัวเรือน
ตารางที่ 4 แสดงค่าประมาณการจำนวนเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
จำนวนเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
(เช่นการเล่นหวย เล่นไพ่ เล่นทายพนันอื่นๆ )
1. เงินที่จะต้องใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีการจับจ่ายในช่วงตรุษจีน ปี 2550 27,751,921,220 บาท
(สองหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยห้าสิบเอ็ดล้าน-
เก้าแสนสองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยยี่สิบบาท)
2. ค่าประมาณการจำนวนเงินสะพัดที่เกิดจากการเสี่ยงโชคทั่วประเทศในช่วงตรุษจีน ปี 2550 6,726,584,180 บาท
(หกพันเจ็ดร้อยยี่หกล้านห้าแสนแปดหมื่น-
สี่พันหนึ่งร้อยแปดสิบบาท)
ประมาณการจากครัวเรือนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 19,016,784 ครัวเรือน
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุของเซ่นไหว้ที่นิยมซื้อ (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของเซ่นไหว้ที่นิยมซื้อ ค่าร้อยละ
1 ผลไม้ 67.8
2 ไก่ 61.7
3 ขนมเทียน ขนมเข่ง 54.5
4 ธูป เทียน กระดาษเงิน กระดาษทอง 51.8
5 เป็ด 42.3
6 หัวหมู 26.7
7 อื่นๆ เนื้อหมู /ขนมสาลี่ /อาหารบำรุงสุขภาพ /ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น 7.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่ซื้อของเซ่นไหว้(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งที่ซื้อของเซ่นไหว้ ค่าร้อยละ
1 ตลาดสดใกล้บ้าน 75.9
2 ห้างไฮเปอร์มาร์ท (คาร์ฟูร์ โลตัส บิ๊กซี) 8.0
3 ห้างสรรพสินค้า (เช่น เดอะมอลล์ เซ็นทรัล) 5.7
4 ซุปเปอร์มาร์เก็ต (เช่น ท็อป โฮมเฟรชมาร์ท) 3.6
5 ร้านสะดวกซื้อ (7-eleven แฟมิลี่มาร์ท) 2.1
6 อื่นๆ แหล่งที่เลี้ยงเป็ด/เลี้ยงไก่ /สวนผลไม้/ร้านโชว์ห่วย 6.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีน (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน)
ลำดับที่ การจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 มีการจัดเตรียม 66.7
2 ไม่ได้จัดเตรียม 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ เฉพาะตัวอย่างที่ระบุว่ามีการจัดเตรียมอั่งเปาในวันตรุษจีน สิ่งของที่จัดเตรียม ได้แก่
- เงินสด ร้อยละ 91.2
- ทองคำ ร้อยละ 1.8
- เตรียมทั้งเงินสดและทองคำ ร้อยละ 7.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นของตัวอย่างกรณีปีหมูปีนี้จะเป็นปีหมูทอง (ปีแห่งความเจริญรุ่งเรือง)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 32.9
2 ไม่เชื่อมั่น 47.9
3 ไม่มีความเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลว่าจะมีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่ ความวิตกกังวล ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 28.3
2 ไม่วิตกกังวล 41.0
3 ไม่มีความเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการต่อรัฐบาลและ คมช.ในการสร้างความมั่นใจให้กับ
ประชาชนในการป้องกันเหตุร้ายลอบวางระเบิดในช่วงเทศกาลตรุษจีน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ตรวจตราให้มากขึ้น 54.2
2 เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น 22.6
3 เพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างหนัก 12.2
4 ทำงานประสานกันทุกฝ่าย/ลดอคติในการทำงาน 7.8
5 ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจให้มากขึ้น 7.1
6 อื่นๆ อาทิ ระดมความร่วมมือจากประชาชน/เพิ่มความเข้มในการจัดระเบียบสังคม/
ดำเนินมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่น/สร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชน 7.5
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-