ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลง
ประชามติ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,979 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 26 เมษายน — 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ เมื่อให้ระบุความหมายของรัฐธรรมนูญ พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุว่าทราบ และให้ความหมายได้ถูกต้อง เช่น กฎหมายแม่บท / กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / ข้อกำหนดในเรื่อง
สิทธิหน้าที่ของประชาชน สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2550 ซึ่งพบตัวอย่างที่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญเพียงร้อย
ละ 32.1
เมื่อสำรวจการทราบความหมายของการประชามติ พบว่าตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 50.9 ระบุว่าไม่ทราบความหมาย
ในขณะที่ร้อยละ 40.0 ระบุว่าทราบ และให้ความหมายได้ถูกต้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของประชาชนว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับสิ่งที่รัฐเสนอ / การ
แสดงถึงเสียงของประชาชนโดยตรงตามระบอบประชาธิปไตย / การลงความเห็นเพื่อแสดงความต้องการของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศใน
ประเด็นต่างๆ และร้อยละ 9.1 ระบุว่าทราบ แต่ให้ความหมายไม่ถูกต้อง เช่น การเลือกตั้ง / การลงนามในข้อตกลง / การระดมความคิด
เห็น สำหรับกระบวนการพิจารณาลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 55.1 เห็นว่าควรพิจารณาเป็นรายประเด็น ในขณะ
ที่ร้อยละ 24.5 เห็นว่าควรพิจารณาทีเดียวทั้งฉบับ และร้อยละ 20.4 ไม่มีความเห็น
สำหรับข่าวเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสอบถามว่าเป็นข่าวในเชิงสร้างสรรค์ประเทศ หรือข่าวในทางทำลาย พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 34.9 เห็นว่า พอๆ กัน รองลงมาคือ ร้อยละ 24.5 เห็นว่าสร้างสรรค์มากกว่า และร้อยละ 13.2 เห็นว่าทำลายมากกว่า ตามลำดับ โดยมี
ตัวอย่างอีกร้อยละ 27.4 ที่ไม่มีความเห็น และยังพบอีกว่าตัวอย่างร้อยละ 34.5 ไม่เชื่อมั่นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี
2540 โดยมีตัวอย่างร้อยละ 20.5 ที่เชื่อมั่นว่าจะดีกว่า แต่ยังมีตัวอย่างอีกมาก หรือร้อยละ 45.0 ที่ไม่มีความเห็น สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ร่างรัฐธรรมนูญว่าจะผ่านการยอมรับจากประชาชนในการลงประชามติได้หรือไม่นั้น พบว่าสัดส่วนของความคิดเห็นมีความใกล้เคียงกันมาก คือ ตัวอย่าง
ร้อยละ 24.2 คิดว่าน่าจะผ่านการยอมรับ และร้อยละ 22.4 คิดว่าน่าจะไม่ผ่านการยอมรับ แต่ยังมีตัวอย่างอีกเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 53.4
ระบุไม่แน่ใจ
ดร.นพดลกล่าวต่อว่า หากจัดให้มีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ จะพบตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 46.6 ระบุว่า
ไม่ไปใช้สิทธิ โดยให้เหตุผลว่า ไม่อยากยุ่ง / เบื่อ / ไม่พอใจการรัฐประหาร / ไม่อยากมีส่วนร่วม / ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร / ไม่มั่นใจรัฐบาล
ใหม่ / จะลงประชามติหรือไม่ก็ไม่มีผลอะไร ในทางตรงข้ามตัวอย่างร้อยละ 34.7 ระบุว่าไป โดยให้เหตุผลว่า ควรมีส่วนร่วมในการร่างรัฐ
ธรรมนูญ / อยากเห็นประชาธิปไตย / เป็นหน้าที่คนไทย / รักษาสิทธิของตนเอง / อยากเห็นประเทศมั่นคง / มีความสำคัญต่อประเทศ / อยากเห็น
ความสงบบ้านเมืองมีกติกาที่ชัดเจน และตัวอย่างร้อยละ 18.7 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ โดยให้เหตุผลว่า ต้องดูสถานการณ์ก่อน / ยังไม่เห็นความ
สำคัญ ทั้งนี้เฉพาะตัวอย่างที่จะไปลงประชามติ พบว่ามีสัดส่วนกว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 77.9 ที่ระบุว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าต้อง
การเห็นประชาธิปไตย / จะได้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วๆ / อยากเห็นความสงบสุข / มั่นใจว่าต้องดี / หากไม่ดีค่อยแก้ไขทีหลัง โดยมีตัวอย่างอีกร้อย
ละ 22.1 ที่ระบุว่าจะไม่รับ โดยให้เหตุผลว่าฉบับเก่าดีอยู่แล้ว / ไม่พอใจการบริหารของรัฐบาล / ไม่โปร่งใส / ใช้อำนาจตุลาการมากเกินไป / มี
ปัญหามาก สำหรับเรื่องกำหนดการเลือกตั้ง ตัวอย่างร้อยละ 37.6 เชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ภายในปีนี้ ในขณะที่ตัวอย่างร้อย
ละ 32.9 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 29.5 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้เป็นการศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทุกระดับชั้นส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสาร แต่ผลสำรวจกลับพบว่า ประชาชนครึ่งหนึ่งไม่ทราบความหมายของการลงประชามติว่าคืออะไร แต่ที่
น่าสนใจคือ หลังจากเปรียบเทียบผลสำรวจก่อนหน้านี้กับผลล่าสุด พบว่า ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจความหมายของรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้นภายใน
ระยะเวลาเพียงประมาณหนึ่งเดือนเท่านั้น แสดงว่า การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงในเวลานี้เรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทำให้เกิดการ “เรียนรู้
ทางลัด แบบ Shortcut” ในหมู่ประชาชนสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างมากมาย ภารกิจของสื่อมวลชนและคณะบุคคลในหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับ
รัฐธรรมนูญของประเทศที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านวิกฤตนี้คือ
ประการแรก ต้องช่วยกันเร่งสร้างเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอนคือ การรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การเอาตัวเองเข้า
ไปเกี่ยวข้อง และการปฏิบัติมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำให้ประชาชนเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญให้มากที่สุด
โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องทำให้ประชาชนอีกจำนวนมากมีความรู้ความเข้าใจก่อน และทำให้ประชาชนตระหนักว่ารัฐธรรมนูญสำคัญต่อชีวิตประจำวันอย่าง
แท้จริง
ประการที่สอง ควรนำกรณีศึกษาในอดีตที่จะดึงความสนใจของสาธารณชนมาเสนอเป็นข่าวในช่วงเวลาเด่น เช่น เรื่องเกี่ยวกับสิทธิเสริ
ภาพของประชาชนที่ถูกละเมิด สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน สิทธิหน้าที่ของผู้บริโภค สิทธิหน้าที่ของชุมชน และบทบาทหน้าที่สำคัญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ที่ต้องมีต่อประชาชน โดยทำให้ประชาชนรับรู้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดีกว่าและมีข้อจำกัดอะไรบ้าง เพื่อกระตุ้นให้วิพากษ์วิจารณ์และหาแนวทางออก
ร่วมกัน
ประการที่สามคือ ผู้ที่เป็นตัวการของข่าวหรือ subject ของข่าวควรลดภาพลักษณ์ของความขัดแย้งในสังคม ควรเน้นไปที่การส่ง “ข้อ
ความ” ที่สร้างสรรค์ต่อประเทศผ่านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หนุนเสริมความตั้งใจที่ดีของประชาชน ช่วยกันหาแนวทางเพิ่มจำนวนประชาชนที่ตั้งใจ
จะไปลงประชามติ และการจัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อมในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยผ่านช่วงเวลาวิกฤตขณะนี้ไปให้ได้
ต่อประเด็นข่าวการห้ามทำโพลล์เกี่ยวกับการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ดร.นพดล กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ผู้ที่ต้อง
การออกกฎหมายห้ามดังกล่าวอาจมีเจตนาที่ดีแต่น่าจะพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยว่า กฎหมายดังกล่าวกำลังจะทำให้ชนชั้นนำของสังคมและกลุ่มคนร่างรัฐ
ธรรมนูญที่อาจปักธงรอไว้อยู่แล้วมีสิทธิเหนือประชาชนทั่วไปหรือไม่ ถ้าห้ามทำโพลล์ก็เหมือนกับการปิดปากปิดเสียงสะท้อนของประชาชน แต่ปล่อยให้ชนชั้น
นำมีสิทธิออกมาพูดชี้นำสังคมอย่างไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยขณะนี้ ส่วนตัวตระหนักดีว่าสังคมไทยไม่ได้เป็น
ประชาธิปไตยที่แท้จริง ถ้าการห้ามทำโพลล์จะทำให้สังคมไทยผ่านจุดวิกฤตช่วงนี้ไปได้ ก็พร้อมยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข ดร.นพดลกล่าวปิดท้าย
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติ : กรณีศึกษา
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 26 เมษายน — 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,979 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย
ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.9 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.2 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 27.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 19.7 ระบุจบปริญญาตรี
ร้อยละ 7.9 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
และร้อยละ 1.6 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 ระบุเป็นเจ้าของธุรกิจ/ผู้ประกอบการ
ร้อยละ 18.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 12.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.8 ระบุพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยะ 5.4 อื่นๆ อาทิ เกษตรกรและว่างงาน
สำหรับรายได้ต่อเดือนตัวอย่าง ร้อยละ 68.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท
ร้อยละ 11.0 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 10.0 ระบุรายได้ 15,001-25,000 บาท
ร้อยละ 5.0 ระบุรายได้ 25,001-35,000 บาท
ร้อยละ 4.0 ระบุรายได้มากกว่า 45,000 บาท
และร้อยละ 1.1 ระบุรายได้ 35,001-45,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.7
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 20.7
5 ไม่ได้ติดตาม 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ เปรียบเทียบผลการสำรวจ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 50 กับ 10 พ.ค. 50
ลำดับที่ การทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ 6 เม.ย. 50 10 พ.ค. 50 ส่วนต่าง
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น กฎหมายแม่บท /
กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / ข้อกำหนด
ในเรื่องสิทธิหน้าที่ของประชาชน 32.1 52.7 +20.6
2 ไม่ทราบ 67.9 47.3 -20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของการประชามติ
ลำดับที่ การทราบความหมายของการประชามติ ค่าร้อยละ
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของประชาชนว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับสิ่งที่รัฐเสนอ /
การแสดงถึงเสียงของประชาชนโดยตรงตามระบอบประชาธิปไตย / การลงความเห็นเพื่อแสดงความต้องการ
ของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศในประเด็นต่างๆ 40.0
2 ทราบ แต่ระบุความหมายไม่ถูกต้อง เช่น การเลือกตั้ง / การลงนามในข้อตกลง / การระดมความคิดเห็น 9.1
3 ไม่ทราบ 50.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ
ควรพิจารณาลงประชามติเป็นรายประเด็น หรือพิจารณาโดยรวมทั้งฉบับ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รายประเด็น 55.1
2 ทั้งฉบับ 24.5
3 ไม่มีความเห็น 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข่าวเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เป็นข่าวในเชิงสร้างสรรค์ประเทศ หรือข่าวในทางทำลาย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สร้างสรรค์กันมากกว่า 24.5
2 ทำลายกันมากกว่า 13.2
3 พอๆ กัน 34.9
4 ไม่มีความเห็น 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ ณ ปัจจุบัน
ว่าจะดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 20.5
2 ไม่เชื่อมั่น 34.5
3 ไม่มีความเห็น 45.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ ณ ปัจจุบัน
ว่าจะผ่านการยอมรับจากประชามติของประชาชนได้หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติของคนไทย ค่าร้อยละ
1 ผ่านการยอมรับ 24.2
2 ไม่ผ่านการยอมรับ 22.4
3 ไม่แน่ใจ 53.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมของตัวอย่างถ้ามีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญวันนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ไม่ไป เพราะ ไม่อยากยุ่ง / เบื่อ / ไม่พอใจการรัฐประหาร / ไม่อยากมีส่วนร่วม /
ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร / ไม่มั่นใจรัฐบาลใหม่ / จะลงประชามติหรือไม่ก็ไม่มีผลอะไร 46.6
2 ยังไม่แน่ใจ เพราะ ต้องดูสถานการณ์ก่อน / ยังไม่เห็นความสำคัญ 18.7
3 ไป เพราะ ควรมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ / อยากเห็นประชาธิปไตย /
เป็นหน้าที่คนไทย / รักษาสิทธิของตนเอง / อยากเห็นประเทศมั่นคง / มีความสำคัญต่อประเทศ /
อยากเห็นความสงบบ้านเมืองมีกติกาที่ชัดเจน 34.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ (เฉพาะผู้ที่ระบุว่าไป)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติของตนเอง (ถ้าไป) ค่าร้อยละ
1 รับ เพราะ ต้องการเห็นประชาธิปไตย / จะได้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วๆ /
อยากเห็นความสงบสุข / มั่นใจว่าต้องดี / หากไม่ดีค่อยแก้ไขทีหลัง 77.9
2 ไม่รับ เพราะ ฉบับเก่าดีอยู่แล้ว / ไม่พอใจการบริหารของรัฐบาล / ไม่โปร่งใส /
ใช้อำนาจตุลาการมากเกินไป / มีปัญหามาก 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปีนี้
ลำดับที่ ความเชื่อมั้น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 37.6
2 ไม่เชื่อมั่น 32.9
3 ไม่มีความเห็น 29.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลง
ประชามติ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,979 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 26 เมษายน — 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ เมื่อให้ระบุความหมายของรัฐธรรมนูญ พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุว่าทราบ และให้ความหมายได้ถูกต้อง เช่น กฎหมายแม่บท / กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / ข้อกำหนดในเรื่อง
สิทธิหน้าที่ของประชาชน สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2550 ซึ่งพบตัวอย่างที่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญเพียงร้อย
ละ 32.1
เมื่อสำรวจการทราบความหมายของการประชามติ พบว่าตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 50.9 ระบุว่าไม่ทราบความหมาย
ในขณะที่ร้อยละ 40.0 ระบุว่าทราบ และให้ความหมายได้ถูกต้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของประชาชนว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับสิ่งที่รัฐเสนอ / การ
แสดงถึงเสียงของประชาชนโดยตรงตามระบอบประชาธิปไตย / การลงความเห็นเพื่อแสดงความต้องการของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศใน
ประเด็นต่างๆ และร้อยละ 9.1 ระบุว่าทราบ แต่ให้ความหมายไม่ถูกต้อง เช่น การเลือกตั้ง / การลงนามในข้อตกลง / การระดมความคิด
เห็น สำหรับกระบวนการพิจารณาลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 55.1 เห็นว่าควรพิจารณาเป็นรายประเด็น ในขณะ
ที่ร้อยละ 24.5 เห็นว่าควรพิจารณาทีเดียวทั้งฉบับ และร้อยละ 20.4 ไม่มีความเห็น
สำหรับข่าวเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสอบถามว่าเป็นข่าวในเชิงสร้างสรรค์ประเทศ หรือข่าวในทางทำลาย พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 34.9 เห็นว่า พอๆ กัน รองลงมาคือ ร้อยละ 24.5 เห็นว่าสร้างสรรค์มากกว่า และร้อยละ 13.2 เห็นว่าทำลายมากกว่า ตามลำดับ โดยมี
ตัวอย่างอีกร้อยละ 27.4 ที่ไม่มีความเห็น และยังพบอีกว่าตัวอย่างร้อยละ 34.5 ไม่เชื่อมั่นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี
2540 โดยมีตัวอย่างร้อยละ 20.5 ที่เชื่อมั่นว่าจะดีกว่า แต่ยังมีตัวอย่างอีกมาก หรือร้อยละ 45.0 ที่ไม่มีความเห็น สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ร่างรัฐธรรมนูญว่าจะผ่านการยอมรับจากประชาชนในการลงประชามติได้หรือไม่นั้น พบว่าสัดส่วนของความคิดเห็นมีความใกล้เคียงกันมาก คือ ตัวอย่าง
ร้อยละ 24.2 คิดว่าน่าจะผ่านการยอมรับ และร้อยละ 22.4 คิดว่าน่าจะไม่ผ่านการยอมรับ แต่ยังมีตัวอย่างอีกเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 53.4
ระบุไม่แน่ใจ
ดร.นพดลกล่าวต่อว่า หากจัดให้มีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ จะพบตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 46.6 ระบุว่า
ไม่ไปใช้สิทธิ โดยให้เหตุผลว่า ไม่อยากยุ่ง / เบื่อ / ไม่พอใจการรัฐประหาร / ไม่อยากมีส่วนร่วม / ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร / ไม่มั่นใจรัฐบาล
ใหม่ / จะลงประชามติหรือไม่ก็ไม่มีผลอะไร ในทางตรงข้ามตัวอย่างร้อยละ 34.7 ระบุว่าไป โดยให้เหตุผลว่า ควรมีส่วนร่วมในการร่างรัฐ
ธรรมนูญ / อยากเห็นประชาธิปไตย / เป็นหน้าที่คนไทย / รักษาสิทธิของตนเอง / อยากเห็นประเทศมั่นคง / มีความสำคัญต่อประเทศ / อยากเห็น
ความสงบบ้านเมืองมีกติกาที่ชัดเจน และตัวอย่างร้อยละ 18.7 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ โดยให้เหตุผลว่า ต้องดูสถานการณ์ก่อน / ยังไม่เห็นความ
สำคัญ ทั้งนี้เฉพาะตัวอย่างที่จะไปลงประชามติ พบว่ามีสัดส่วนกว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 77.9 ที่ระบุว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าต้อง
การเห็นประชาธิปไตย / จะได้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วๆ / อยากเห็นความสงบสุข / มั่นใจว่าต้องดี / หากไม่ดีค่อยแก้ไขทีหลัง โดยมีตัวอย่างอีกร้อย
ละ 22.1 ที่ระบุว่าจะไม่รับ โดยให้เหตุผลว่าฉบับเก่าดีอยู่แล้ว / ไม่พอใจการบริหารของรัฐบาล / ไม่โปร่งใส / ใช้อำนาจตุลาการมากเกินไป / มี
ปัญหามาก สำหรับเรื่องกำหนดการเลือกตั้ง ตัวอย่างร้อยละ 37.6 เชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ภายในปีนี้ ในขณะที่ตัวอย่างร้อย
ละ 32.9 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 29.5 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้เป็นการศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทุกระดับชั้นส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสาร แต่ผลสำรวจกลับพบว่า ประชาชนครึ่งหนึ่งไม่ทราบความหมายของการลงประชามติว่าคืออะไร แต่ที่
น่าสนใจคือ หลังจากเปรียบเทียบผลสำรวจก่อนหน้านี้กับผลล่าสุด พบว่า ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจความหมายของรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้นภายใน
ระยะเวลาเพียงประมาณหนึ่งเดือนเท่านั้น แสดงว่า การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงในเวลานี้เรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทำให้เกิดการ “เรียนรู้
ทางลัด แบบ Shortcut” ในหมู่ประชาชนสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างมากมาย ภารกิจของสื่อมวลชนและคณะบุคคลในหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับ
รัฐธรรมนูญของประเทศที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านวิกฤตนี้คือ
ประการแรก ต้องช่วยกันเร่งสร้างเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอนคือ การรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การเอาตัวเองเข้า
ไปเกี่ยวข้อง และการปฏิบัติมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำให้ประชาชนเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญให้มากที่สุด
โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องทำให้ประชาชนอีกจำนวนมากมีความรู้ความเข้าใจก่อน และทำให้ประชาชนตระหนักว่ารัฐธรรมนูญสำคัญต่อชีวิตประจำวันอย่าง
แท้จริง
ประการที่สอง ควรนำกรณีศึกษาในอดีตที่จะดึงความสนใจของสาธารณชนมาเสนอเป็นข่าวในช่วงเวลาเด่น เช่น เรื่องเกี่ยวกับสิทธิเสริ
ภาพของประชาชนที่ถูกละเมิด สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน สิทธิหน้าที่ของผู้บริโภค สิทธิหน้าที่ของชุมชน และบทบาทหน้าที่สำคัญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ที่ต้องมีต่อประชาชน โดยทำให้ประชาชนรับรู้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดีกว่าและมีข้อจำกัดอะไรบ้าง เพื่อกระตุ้นให้วิพากษ์วิจารณ์และหาแนวทางออก
ร่วมกัน
ประการที่สามคือ ผู้ที่เป็นตัวการของข่าวหรือ subject ของข่าวควรลดภาพลักษณ์ของความขัดแย้งในสังคม ควรเน้นไปที่การส่ง “ข้อ
ความ” ที่สร้างสรรค์ต่อประเทศผ่านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หนุนเสริมความตั้งใจที่ดีของประชาชน ช่วยกันหาแนวทางเพิ่มจำนวนประชาชนที่ตั้งใจ
จะไปลงประชามติ และการจัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อมในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยผ่านช่วงเวลาวิกฤตขณะนี้ไปให้ได้
ต่อประเด็นข่าวการห้ามทำโพลล์เกี่ยวกับการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ดร.นพดล กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ผู้ที่ต้อง
การออกกฎหมายห้ามดังกล่าวอาจมีเจตนาที่ดีแต่น่าจะพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยว่า กฎหมายดังกล่าวกำลังจะทำให้ชนชั้นนำของสังคมและกลุ่มคนร่างรัฐ
ธรรมนูญที่อาจปักธงรอไว้อยู่แล้วมีสิทธิเหนือประชาชนทั่วไปหรือไม่ ถ้าห้ามทำโพลล์ก็เหมือนกับการปิดปากปิดเสียงสะท้อนของประชาชน แต่ปล่อยให้ชนชั้น
นำมีสิทธิออกมาพูดชี้นำสังคมอย่างไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยขณะนี้ ส่วนตัวตระหนักดีว่าสังคมไทยไม่ได้เป็น
ประชาธิปไตยที่แท้จริง ถ้าการห้ามทำโพลล์จะทำให้สังคมไทยผ่านจุดวิกฤตช่วงนี้ไปได้ ก็พร้อมยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข ดร.นพดลกล่าวปิดท้าย
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติ : กรณีศึกษา
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 26 เมษายน — 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,979 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย
ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.9 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.2 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 27.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 19.7 ระบุจบปริญญาตรี
ร้อยละ 7.9 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
และร้อยละ 1.6 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 ระบุเป็นเจ้าของธุรกิจ/ผู้ประกอบการ
ร้อยละ 18.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 12.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.8 ระบุพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยะ 5.4 อื่นๆ อาทิ เกษตรกรและว่างงาน
สำหรับรายได้ต่อเดือนตัวอย่าง ร้อยละ 68.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท
ร้อยละ 11.0 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 10.0 ระบุรายได้ 15,001-25,000 บาท
ร้อยละ 5.0 ระบุรายได้ 25,001-35,000 บาท
ร้อยละ 4.0 ระบุรายได้มากกว่า 45,000 บาท
และร้อยละ 1.1 ระบุรายได้ 35,001-45,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.7
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 20.7
5 ไม่ได้ติดตาม 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ เปรียบเทียบผลการสำรวจ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 50 กับ 10 พ.ค. 50
ลำดับที่ การทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ 6 เม.ย. 50 10 พ.ค. 50 ส่วนต่าง
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น กฎหมายแม่บท /
กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / ข้อกำหนด
ในเรื่องสิทธิหน้าที่ของประชาชน 32.1 52.7 +20.6
2 ไม่ทราบ 67.9 47.3 -20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของการประชามติ
ลำดับที่ การทราบความหมายของการประชามติ ค่าร้อยละ
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของประชาชนว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับสิ่งที่รัฐเสนอ /
การแสดงถึงเสียงของประชาชนโดยตรงตามระบอบประชาธิปไตย / การลงความเห็นเพื่อแสดงความต้องการ
ของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศในประเด็นต่างๆ 40.0
2 ทราบ แต่ระบุความหมายไม่ถูกต้อง เช่น การเลือกตั้ง / การลงนามในข้อตกลง / การระดมความคิดเห็น 9.1
3 ไม่ทราบ 50.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ
ควรพิจารณาลงประชามติเป็นรายประเด็น หรือพิจารณาโดยรวมทั้งฉบับ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รายประเด็น 55.1
2 ทั้งฉบับ 24.5
3 ไม่มีความเห็น 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข่าวเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เป็นข่าวในเชิงสร้างสรรค์ประเทศ หรือข่าวในทางทำลาย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สร้างสรรค์กันมากกว่า 24.5
2 ทำลายกันมากกว่า 13.2
3 พอๆ กัน 34.9
4 ไม่มีความเห็น 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ ณ ปัจจุบัน
ว่าจะดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 20.5
2 ไม่เชื่อมั่น 34.5
3 ไม่มีความเห็น 45.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ ณ ปัจจุบัน
ว่าจะผ่านการยอมรับจากประชามติของประชาชนได้หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติของคนไทย ค่าร้อยละ
1 ผ่านการยอมรับ 24.2
2 ไม่ผ่านการยอมรับ 22.4
3 ไม่แน่ใจ 53.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมของตัวอย่างถ้ามีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญวันนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ไม่ไป เพราะ ไม่อยากยุ่ง / เบื่อ / ไม่พอใจการรัฐประหาร / ไม่อยากมีส่วนร่วม /
ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร / ไม่มั่นใจรัฐบาลใหม่ / จะลงประชามติหรือไม่ก็ไม่มีผลอะไร 46.6
2 ยังไม่แน่ใจ เพราะ ต้องดูสถานการณ์ก่อน / ยังไม่เห็นความสำคัญ 18.7
3 ไป เพราะ ควรมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ / อยากเห็นประชาธิปไตย /
เป็นหน้าที่คนไทย / รักษาสิทธิของตนเอง / อยากเห็นประเทศมั่นคง / มีความสำคัญต่อประเทศ /
อยากเห็นความสงบบ้านเมืองมีกติกาที่ชัดเจน 34.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ (เฉพาะผู้ที่ระบุว่าไป)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติของตนเอง (ถ้าไป) ค่าร้อยละ
1 รับ เพราะ ต้องการเห็นประชาธิปไตย / จะได้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วๆ /
อยากเห็นความสงบสุข / มั่นใจว่าต้องดี / หากไม่ดีค่อยแก้ไขทีหลัง 77.9
2 ไม่รับ เพราะ ฉบับเก่าดีอยู่แล้ว / ไม่พอใจการบริหารของรัฐบาล / ไม่โปร่งใส /
ใช้อำนาจตุลาการมากเกินไป / มีปัญหามาก 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปีนี้
ลำดับที่ ความเชื่อมั้น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 37.6
2 ไม่เชื่อมั่น 32.9
3 ไม่มีความเห็น 29.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-