ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่าผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ครั้งที่สอง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี นครปฐม ชลบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา เลย ขอนแก่น อุบลราชธานี นราธิวาส สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,332 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 16 — 21 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 จากการเลือกตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบครั้งนี้คือ
ความคิดเห็นของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อความเป็นผู้นำด้านต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ผลสำรวจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในความเป็นผู้นำด้านต่างๆ ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะความแตกต่างของตัวเลขที่ค้นพบครั้งนี้ยังอยู่ในช่วงของความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 แต่หากพิจารณาเป็นค่าตัวเลขที่ค้นพบในด้านของนายอภิสิทธิ์ พบว่า ลดลงเกือบทุกตัว โดยเฉพาะด้านความเป็นคนรุ่นใหม่จากร้อยละ 42.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 36.0
ในขณะที่ความเป็นผู้นำด้านต่างๆ ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังมีตัวเลขเพิ่มขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น ความอดทนอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์ จากร้อยละ 9.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 16.2 ความสุภาพอ่อนโยน จากร้อยละ 13.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 21.9 การได้รับการยอมรับภายในประเทศและต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 ด้านประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 15.9 ด้านความโอบอ้อมอารี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 20.6 ด้านความเป็นผู้นำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 20.4 ด้านความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 10.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 16.7 ด้านจริยธรรมทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 16.4 ด้านการมีวิสัยทัศน์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 21.7 ด้านความเสียสละเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 19.1 ด้านความซื่อสัตย์สุจริตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 14.7 ด้านความเป็นคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.3 ด้านความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 22.5 ด้านความยุติธรรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.6 มาอยู่ที่ ร้อยละ 16.3 ด้านความกล้าคิดกล้าตัดสินใจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 25.7 ด้านการแก้ปัญหา (บริหาร) ความขัดแย้งได้ดี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 19.0 ด้านความรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 21.3 และด้านมีฐานะร่ำรวย ประสบความสำเร็จทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 55.3
และเมื่อสอบถามถึงความอยากเห็นการถกแถลง (ดีเบต) แสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณชน ระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 อยากเห็น เพราะ อยากได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ/ อยากเห็น อยากได้ยินวิสัยทัศน์จากแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีโดยตรง/ อยากดูปฏิภาณไหวพริบ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 40.6 ไม่อยากเห็น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้อาจชี้ให้เห็นได้ว่า ตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นในส่วนของนางสาวยิ่งลักษณ์มาจากกลุ่มคนที่ไม่มีความเห็นในการสำรวจครั้งก่อนและเป็นกลุ่มคนที่เริ่มตัดสินใจหลังจากได้รับข้อมูลข่าวสารและมีความชัดเจนของการเปิดตัวนางสาวยิ่งลักษณ์ในฐานะคู่แข่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในกระแสที่ปรากฏของสื่อมวลชน ข้อสมมติฐานที่น่าศึกษาด้านปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของสาธารณชนต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ที่อาจเพิ่มขึ้นได้อีกคือ น่าจะทดลองใช้ “อาจสามารถโมเดล” ที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เคยใช้เพิ่มความนิยมในอดีตด้วยการลงพื้นที่กางเต็นท์ค้างคืนตั้งโต๊ะรับปัญหาเดือดร้อนของชาวบ้านในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอาจจะทดลองใช้ “ทฤษฎีแก้วสามใบ” หาเสียงกับกลุ่มกระแสที่เป็นน้ำถ่ายเทได้ง่าย มากกว่ากลุ่มตะกอนที่ค่อนข้างจะไปกวาดมาได้ยากในช่วงระยะเวลาที่จำกัดใน การเลือกตั้งครั้งนี้ โดยกลุ่มที่เป็นน้ำมักจะไม่ค่อยติดตามข่าวสารเพราะต้องใช้ชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำ หรือหมกมุ่นกับงานจนไม่มีเวลามากพอติดตามข่าวสาร คนเหล่านี้จะได้ใจเมื่อเห็นความเป็นจริงว่าสิ่งที่ปรากฏ “หน้าจอ กับ หน้าบ้านในบ้าน” มันตรงกัน หมายความว่า จะโฆษณาอย่างไรว่าเศรษฐกิจดี แต่ถ้าเงินในกระเป๋าประชาชนไม่มีก็จะไม่มีความหมาย หรือ ประชาสัมพันธ์ว่าปราบปรามยาเสพติด แต่ในบ้านหรือหน้าบ้านประชาชนมียาเสพติดเต็มไปหมด การ “เล่น” กับกระแสก็จะไม่มีความหมายเปลี่ยนใจประชาชนได้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.1 เป็นหญิง ร้อยละ 51.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.4 อายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.3 อายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุ 40 — 49 ปี และร้อยละ 35.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป โดย ร้อยละ 71.9 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.6 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 26.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 7.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความเป็นผู้นำด้านต่างๆ อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 1 มีความอดทนอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์ 53.7 51.5 9.7 16.2 2 มีความสุภาพอ่อนโยน 50.1 44.1 13.0 21.9 3 ได้รับการยอมรับภายในประเทศ และต่างประเทศ 49.6 47.0 11.3 17.7 4 ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 49.6 45.2 9.8 15.9 5 มีความโอบอ้อมอารี 48.2 44.9 13.1 20.6 6 มีความเป็นผู้นำ 48.1 48.5 12.9 20.4 7 มีความรู้ความสามารถ 47.9 48.1 10.9 16.7 8 มีจริยธรรมทางการเมือง 46.9 44.3 11.0 16.4 9 มีวิสัยทัศน์ 46.8 44.7 15.2 21.7 10 เสียสละ 44.0 41.0 11.9 19.1 11 มีความซื่อสัตย์สุจริต 42.9 42.9 10.3 14.7 12 เป็นคนรุ่นใหม่ 42.8 36.0 19.6 29.3 13 มีความคิดสร้างสรรค์ 42.8 40.2 16.1 22.5 14 มีความยุติธรรม 41.4 39.7 10.6 16.3 15 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 40.1 40.4 19.0 25.7 16 แก้ปัญหา (บริหาร) ความขัดแย้งได้ดี 38.8 38.7 14.3 19.0 17 รวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหา 36.2 35.8 15.6 21.3 18 มีฐานะร่ำรวย ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ 19.7 15.8 38.5 55.3 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุอยากเห็นการถกแถลง (ดีเบต) แสดงวิสัยทัศน์ ระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลำดับที่ การถกแถลง (ดีเบต) แสดงวิสัยทัศน์ ค่าร้อยละ 1 อยากเห็น เพราะ อยากได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ/อยากเห็น อยากได้ยินวิสัยทัศน์จาก
แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีโดยตรง/อยากดูปฏิภาณไหวพริบ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาสำคัญ
ของประเทศ เป็นต้น 59.4 2 ไม่อยากเห็น 40.6 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--