ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยการประเมินภาพผลวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการ
ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ” จำนวนตัวอย่างที่ศึกษาทั้งสิ้น 8,613 ตัวอย่าง ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง มกราคม - กรกฎาคม พ.ศ.
2550 ซึ่งมีรายละเอียดในการดำเนินงานดังต่อไปนี้
ทรรศนะคติในเชิงบวกของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผลการสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 46.6 ระบุตำรวจมีความ
เป็นมิตรกับประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 28.4 ระบุตำรวจถึงที่เกิดเหตุรวดเร็วฉับไว ร้อยละ 27.4 ระบุตำรวจเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา ร้อยละ 28.3 ระบุตำรวจเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียม และร้อยละ 32.7 ระบุตำรวจเป็นกลุ่มข้า
ราชการที่น่าไว้วางใจ ทรรศนะคติในเชิงบวกจากประชาชนผู้มีประสบการณ์ตรงกับงานตำรวจระดับสถานีใน 24 จังหวัดของประเทศ ผลการสำรวจ
พบว่า ประชาชนร้อยละ 79.2 ระบุ เจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน รองลงมาคือร้อยละ 74.4 ระบุให้บริการที่ดี /ให้คำแนะ
นำที่ดี ร้อยละ 68.0 ระบุเจ้าหน้าที่ขยันและตั้งใจทำงาน ร้อยละ 61.3 ระบุเจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความยุติธรรม ร้อยละ 60.0 ระบุเจ้าหน้าที่
เข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว ตามลำดับ
ทรรศนะคติในเชิงลบของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผลการสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 87.1 ระบุ ตำรวจมักจะตก
อยู่ภายใต้การครอบงำของบรรดานักการเมืองที่มีอำนาจ ในขณะที่ร้อยละ 77.3 ระบุตำรวจเลือกปฏิบัติกับประชาชน ร้อยละ 72.1 ระบุตำรวจรีด
ไถ เรียกรับผลประโยชน์ ร้อยละ 67.5 ระบุตำรวจมีการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งกัน สำหรับทรรศนะคติในเชิงลบจากประชาชนผู้มีประสบการณ์
ตรงกับงานตำรวจระดับสถานีใน 24 จังหวัดของประเทศ ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.0 ระบุไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส ร้อยละ 23.8
ระบุจำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เพียงพอ 23.7 ระบุตำรวจขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย ร้อยละ 16.2 ระบุเจ้าหน้าที่พูดจาคุกคาม ข่มขู่ ร้อย
ละ 15.8 ระบุประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน ร้อยละ 10.8 ระบุมีการเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชนผู้มาติดต่อ และร้อย
ละ 8.2 ระบุมีการซ้อมผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับ
บัญชานั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 57.5 ระบุมีการวิ่งเต้นมอบผลประโยชน์ให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่งหน้าที่และความ
อยู่รอด รองลงมาคือร้อยละ 57.3 ระบุ มีผู้บังคับบัญชามากเกินไป ร้อยละ 55.1 ระบุผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติ ร้อยละ 47.9 ระบุถูกมอบหมาย
งานที่มากเกินไป และร้อยละ 43.2 ระบุต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชา
สำหรับปัญหาด้านการบริหารจัดการในหน่วยงานของตำรวจนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 98.4 ระบุขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมี
ประสิทธิภาพ รองลงมาคือร้อยละ 95.8 ระบุงบประมาณไม่เพียงพอ ร้อยละ 94.6 ระบุการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐ
ให้กับตำรวจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน ร้อยละ 92.6 ระบุปัญหาเรื่องเงินเดือนไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง และร้อยละ
87.9 ระบุจำนวนคนไม่เพียงพอกับปริมาณงาน
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 77.6 ระบุประชาชนมอง
ภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง รองลงมาคือร้อยละ 77.5 ระบุ ประชาชนคาดหวังสูงจากการทำงานของตำรวจเกินขีดความ
สามารถที่แท้จริงของตำรวจ ร้อยละ 75.0 ระบุไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน ร้อยละ 71.2 ระบุมีข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ และร้อยละ
69.5 ระบุขั้นตอนกฎหมายยุ่งยากเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบของหน่วยงานนั้น ผลการสำวรจพบว่า
ร้อยละ 41.6 ระบุใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง) ในขณะที่ร้อยละ 20.0
ระบุ ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า (เช่นการพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส) และร้อยละ 38.4 ระบุใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือความคิดเห็นของตำรวจที่มีต่อประเด็นสำคัญที่ต้องการให้มีการปฏิรูปโดยเร่งด่วน ที่พบว่า ร้อยละ 95.5
ระบุการปรับเพิ่มค่าตอบแทนตำรวจชั้นประทวนอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือร้อยละ 82.2 ระบุการปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานสอบสวน ให้เทียบเท่า
หรือใกล้เคียงพนักงานอัยการ ศาล ร้อยละ 79.7 ระบุการปรับองค์กรภายใน ตร. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ/ สถานการณ์ปัจุบันมากขึ้น เช่น
หน่วยงานดูแลอาชญากรรมข้ามชาติ หน่วยงานดูแลอาชญากรรมแนวดิ่ง (ตึกสูง) ร้อยละ 77.4 ระบุการปรับระบบคุณธรรมและจริยธรรม เช่นการเพิ่ม
โทษทางวินัย การเร่งรัดกำกับดูแลตำรวจด้านคุณธรรมจริยธรรม และร้อยละ 75.3 ระบุการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นตำรวจชั้น
ประทวน (ประเด็นปรับ รร.นพต.) เช่นปรับให้เรียนพลตำรวจ 2 ปี ให้อนุปริญญา
สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากคณาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้องกับงานตำรวจนั้น ดร.นพดลกล่าวว่า มาตรา
สำคัญในร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติที่คณาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้องกับงานตำรวจ เห็นพ้องด้วยนั้นได้แก่ หลักการและ
เหตุผลในการร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มาตราที่ 13 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของอธิบดีตำรวจนครบาล ภาค หรือสำนัก
งาน รวมทั้งมาตราอื่นๆ อาทิ มาตรา 14 มาตรา มาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 24 เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คณาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้ให้ข้อสังเกตบางประการต่อร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติปี พ.ศ.......ดังนี้
1. การกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของอธิบดีตำรวจนครบาล ภาคหรือสำนักงาน ยังคงติดกับระบบราชการ จึง
ควรเน้นการตรวจสอบและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
2. ชั้นยศของตำรวจมากเกินไป
3. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ มี ผบ.ตร.เพียงคนเดียว จึงเห็นควรเพิ่มกรรมการจากตำรวจเพิ่มเข้าไปเพราะ งานตำรวจ
มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลายประการ
4. คณะกรรมการบริหาร เน้นกรรมการโดยตำแหน่งมากเกินไป และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ไม่กำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจนเพียงพอ
5. อำนาจหน้าที่ของ กตช. ลอยๆ ไม่มีพลังเพียงพอต่อหน่วยงานต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม
6. อำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาระบบงานตำรวจควรเน้นการทำงานวิจัย
7. ร่าง พรบ. ฉบับนี้ ยังไม่ระบุชัดเจนว่าตำรวจชั้นผู้น้อยจะได้อะไร เมื่อไหร่จะได้ และตำรวจบางสายงานก็ขาดความชัดเจนว่าจะไป
อยู่ที่ไหน
8. เมื่อมีการกระจายอำนาจต้องมีการถ่วงดุล ดังนั้นใครและอะไรเป็นหลักประกันว่า ร่าง พรบ.ฉบับนี้จะไม่ก่อปัญหาต่อการทำงานของ
ตำรวจในอนาคต
9. ส่วนใหญ่เห็นพ้องให้มีการปฏิรูปตามมาตราต่างๆ ของร่าง พรบ. ฉบับนี้ โดยขอให้รับฟังความคิดเห็นข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้น
ทุกสายงาน กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคมฯ และผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้
กล่าวปิดท้ายในผลงานวิจัยเรื่องนี้ด้วยการเรียนชี้แจงความเข้าใจของนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ต่อผลสำรวจของเอแบคโพลล์ ที่ภายหลังการนำเสนอผล
สำรวจเรื่องการปฏิรูปตำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมาแล้วมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่หลายท่านยังคงเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อผลสำรวจที่นำ
เสนอ และมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เข้าใจว่า ปี พ.ศ.2543 เอแบคโพลล์สำรวจพบเพียงร้อยละ 10 ที่เจอตำรวจรีดไถ แต่วันที่ 8 กรกฎาคม ปีพ.ศ.
2550 เอแบคโพลล์สำรวจอีกครั้งพบประชาชนร้อยละ 72.1 ระบุตำรวจรีดไถนั้น
ดร.นพดล ได้ชี้แจงว่าผลสำรวจทั้งสองครั้งดังกล่าวไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัยเป็นคนละ
กลุ่ม และผลการสำรวจเมื่อครั้งปี 2543 เป็นการสำรวจจาก “ประสบการณ์ตรง” ของผู้ต้องหา ผู้เสียหายที่ใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในขณะที่ผลสำรวจ
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. นั้น เป็นการสำรวจจากกลุ่มประชาชนทั่วไปซึ่งเป็น ทั้งผู้เคยใช้บริการและไม่เคยใช้บริการ และเป็นการแสดงถึงการรับรู้ต่อภาพ
ลักษณ์ของตำรวจในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทั่วไป จึงเป็นกลุ่มที่กว้างกว่า ปี พ.ศ. 2543
สำหรับประเด็นผลสำรวจที่เคยทำให้กับ กพร. ในปีที่แล้วนั้น พบว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้คะแนน 4.3เต็ม 5 นั้น ก็ไม่สามารถ
เปรียบเทียบได้ เพราะเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มเป้าหมายครั้งนั้นเป็นการสำรวจจากกลุ่มประชาชนที่ใช้บริการของ “ตำรวจชุมชน
สัมพันธ์” เท่านั้น
นอกจากนี้ในการนำเสนอผลสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2550 ที่ทำเนียบรัฐบาลได้ชี้ให้เห็นความแตกต่าง ของผลสำรวจระหว่าง
กลุ่มประชาชนทั่วไป ที่ยังคงมีภาพลักษณ์ในทางลบต่อตำรวจ กับ กลุ่มประชาชนที่สัมผัสงานตำรวจที่สถานีตำรวจโดยตรงคือผู้ที่มารับบริการ (พิจารณา
ตามเอกสารแนบ) ซึ่งจะเห็นว่า
1. เรื่องความเป็นมิตรกับประชาชน พบว่า ประชาชนทั่วไปร้อยละ 46.6 ระบุตำรวจเป็นมิตรกับประชาชน ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับ
ประชาชนที่สัมผัสงานตำรวจนั้นพบว่ามีตัวอย่างสูงร้อยละ 79.2 ที่ระบุตำรวจมีความเป็นมิตรกับประชาชน
2. การเปิดกว้างให้ประชาชนร่วมประเมินผลงานนั้น พบว่าในกลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 27.4 ระบุตำรวจเปิดกว้างให้ประชาชนมี
ส่วนร่วมในการประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประชาชนผู้ที่มีโอกาสสัมผัสงานตำรวจนั้นพบว่า มีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็น
ร้อยละ 47.4
3. การเข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไวนั้น พบว่าประชาชนทั่วไปร้อยละ 28.4 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว
ฉับไว ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนผู้มีโอกาสสัมผัสกับงานตำรวจนั้น ร้อยละ 60.0 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว
4. เรื่องการรีดไถเรียกรับผลประโยชน์นั้น ผลการสำวรจพบว่า กลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 72.1 คิดว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจรีดไถ และ
เรียกรับผลประโยชน์จากประชาชน ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนผู้มีโอกาสสัมผัสกับงานตำรวจนั้น มีเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่ระบุว่าพบตำรวจรีดไถ
และเรียกรับผลประโยชน์
ดังนั้นจึงขอเรียนมาเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจในผลสำรวจร่วมกัน โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ขอยืนยันทำงานทางวิชาการด้วยความถูกต้องตาม
ระเบียบวิธีวิจัย มีความเป็นกลาง ไม่มีเจตนาเพื่อผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝง แต่มีความตั้งใจเพื่อให้ข้อมูลทางสถิติเพื่อสังคมโดยส่วนรวมต่อสถาบัน
ตำรวจและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นสำคัญ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อนโยบายการปฏิรูปโครงสร้างงานตำรวจ
4. เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงคุณภาพจาก คณาจารย์ นักวิชาการ และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับตำรวจในเรื่องเกี่ยวกับร่าง
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการประมวลภาพผลวิจัยความคิดเห็นของประชาชนของ ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิรูปโครง
สร้างตำรวจ ” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการรวบรวมและประเมินผลวิจัยจากการสำรวจในระหว่างเดือน มกราคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่ง
ประกอบด้วยการวิจัยใน 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
โดยกลุ่มประชาเป้าหมายในการศึกษาทั้งสิ้น 4 กลุ่มได้แก่
1. ประชาชนผู้สัมผัสงานตำรวจระดับสถานีตำรวจใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ 10 กองบัญชาการ
2. ประชาชนทั่วไปในระดับครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
3. กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และ นิติศาสตร์
4. ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจ
กระบวนการเลือกตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Multi-stage Sampling, Stratified Cluster
Sampling, และ Systematic Sampling โดยมีขนาดตัวอย่างในการประมวลภาพวิจัยทั้งหมด จำนวน 8,613 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์และแบบตอบเอง สำหรับโครงการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นกลุ่มเป้าหมาย
ในการศึกษาได้แก่ นักวิชาการ คณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของข้าราชการตำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 60 ท่าน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ตำรวจมักจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของบรรดานักการเมืองที่มีอำนาจ 87.1
2 ตำรวจเลือกปฏิบัติกับประชาชน 77.3
3 ตำรวจรีดไถ เรียกรับผลประโยชน์ 72.1
4 ตำรวจมีการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งกัน 67.5
5 ตำรวจมีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน 46.6
6 ตำรวจเป็นกลุ่มข้าราชการที่น่าไว้วางใจ 32.7
7 ตำรวจเข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว 28.4
8 ตำรวจเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนอย่างเท่าเทียม 28.3
9 ตำรวจเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา 27.4
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ทางบวกในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนผู้มารับบริการในระดับสถานี และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ทางบวกในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ค่าร้อยละ
1 เจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน 79.2
2 ให้บริการที่ดี /ให้คำแนะนำที่ดี 74.4
3 เจ้าหน้าที่ขยันและตั้งใจทำงาน 68.0
4 เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความยุติธรรม 61.3
5 เจ้าหน้าที่เข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว 60.0
6 เจ้าหน้าที่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา 47.4
7 ตำรวจเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือประชาชน 43.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ทางลบในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนผู้มารับบริการในระดับสถานี และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ทางลบในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ค่าร้อยละ
1 ไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส 33.0
2 จำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เพียงพอ 23.8
3 ตำรวจขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย 23.7
4 เจ้าหน้าที่พูดจาคุกคาม ข่มขู่ 16.2
5 ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน 15.8
6 มีการเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชนผู้มาติดต่อ 10.8
7 มีการซ้อมผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง 8.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาด้านการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านการปฎิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา ค่าร้อยละ
1 มีการวิ่งเต้นมอบผลประโยชน์ให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่งหน้าที่และความอยู่รอด 57.5
2 มีผู้บังคับบัญชามากเกินไป 57.3
3 ผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติ 55.1
4 ถูกมอบหมายงานที่มากเกินไป 47.9
5 การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชา 43.2
6 ไม่ได้รับเกียรติจากผู้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม 37.0
7 ผู้บังคับบัญชาก้าวก่ายการทำงานมากเกินไป 36.7
8 ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานไม่ชัดเจน 33.1
9 ผู้บังคับบัญชาไม่สนับสนุนในการปฏิบัติราชการ 31.4
10 ผู้บังคับบัญชาใช้ให้ทำงานส่วนตัวมากเกินไป 18.8
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาด้านการบริหารจัดการทั่วไปในหน่วยงาน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านการบริหารจัดการทั่วไปในหน่วยงาน ค่าร้อยละ
1 ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 98.4
2 งบประมาณไม่เพียงพอ 95.8
3 การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐให้กับตำรวจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน 94.6
4 ปัญหาเรื่องเงินเดือนไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง 92.6
5 จำนวนคนไม่เพียงพอกับปริมาณงาน 87.9
6 ต้องนำเงิน/ทรัพย์สินส่วนตัวเข้าใช้ในการทำงาน อาทิ จ่ายค่าปรับ /ค่าธรรมเนียมต่างๆ แทนประชาชน/
ค่าจัดเลี้ยงผู้บังคับบัญชา/ค่าใช้จ่ายในการติดตามผู้ต้องหาซื้ออาวุธปืน 79.1
7 ขาดการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ 73.8
8 ขาดการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ 73.5
9 ปัญหาความจำเป็นต้องขอการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 71.8
10 ความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่ 71.5
11 ขาดการอบรมเพิ่มพูนทักษะและความรู้ 66.6
12 ปัญหาการขอความร่วมมือสนับสนุนจากแหล่งทุนในท้องที่ 64.2
13 ขาดการสื่อสารทำความเข้าใจที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยกันเอง 51.1
14 ปัญหาการเลื่อนไหลของชั้นยศ 49.4
15 ความไม่ชัดเจนในงานที่ได้รับมอบหมาย 47.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ค่าร้อยละ
1 ประชาชนมองภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง 77.6
2 ประชาชนคาดหวังสูงจากการทำงานของตำรวจเกินขีดความสามารถที่แท้จริงของตำรวจ 77.5
3 ไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน 75.0
4 มีข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ 71.2
5 ขั้นตอนกฎหมายยุ่งยากเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน 69.5
6 มีการใช้เส้นสายและอิทธิพลวิ่งเต้นคดี 60.8
7 มีการวิ่งเต้น / จ่ายผลประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ 57.1
8 ประชาชนไม่ยอมรับ / ไม่เชื่อถือการทำงานของตำรวจ 52.8
9 ผู้บังคับบัญชาระดับสูงใช้อำนาจกดดันการทำคดี 50.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงาน
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
ลำดับที่ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงาน ค่าร้อยละ
1 ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง) 41.6
2 ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า (เช่นการพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส) 20.0
3 ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน 38.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุประเด็นสำคัญที่ต้องการให้มีการปฏิรูปโดยเร่งด่วน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นสำคัญในการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ค่าร้อยละ
1 การปรับเพิ่มค่าตอบแทนตำรวจชั้นประทวนอย่างต่อเนื่อง 95.5
2 การปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานสอบสวน ให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงพนักงานอัยการ ศาล 82.2
3 การปรับองค์กรภายใน ตร. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ/ สถานการณ์ปัจุบันมากขึ้น เช่น หน่วยงานดูแล
อาชญากรรมข้ามชาติ หน่วยงานดูแลอาชญากรรมแนวดิ่ง (ตึกสูง) 79.7
4 การปรับระบบคุณธรรมและจริยธรรม เช่นการเพิ่มโทษทางวินัย การเร่งรัดกำกับดูแลตำรวจ
ด้านคุณธรรมจริยธรรม 77.4
5 การปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นตำรวจชั้นประทวน (ประเด็นปรับ รร.นพต.)
เช่นปรับให้เรียนพลตำรวจ 2 ปี ให้อนุปริญญา 75.3
6 การปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร (ประเด็นปรับ รร.นรต.) เช่น คัดเลือกผู้จบ
ป.ตรี คัดเลือกเฉพาะตำรวจประทวนเป็นสัญญาบัตร 69.7
7 ให้มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนยศตำรวจชั้นประทวน เป็นสัญญาบัตร เช่น จบ ป.ตรีโท แล้วสามารถปรับเป็นสัญญาบัตรเลย 68.5
8 การดำเนินการออกกฎหมาย ระเบียบ ในส่วนที่เป็นการร้องทุกข์กับคณะกรรมการร้องทุกข์ (ที่มิได้เป็นตำรวจ)
ตามพรบ.ร้องทุกข์ตัวใหม่ โดยเร็ว และให้เป็นรูปธรรม 59.8
9 การตัดโอนภารกิจอื่นที่มิใช่ภารกิจหลักของตำรวจ เช่น รถไฟ ป่าไม้ ตำรวจน้ำ ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ 44.5
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยการประเมินภาพผลวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการ
ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ” จำนวนตัวอย่างที่ศึกษาทั้งสิ้น 8,613 ตัวอย่าง ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง มกราคม - กรกฎาคม พ.ศ.
2550 ซึ่งมีรายละเอียดในการดำเนินงานดังต่อไปนี้
ทรรศนะคติในเชิงบวกของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผลการสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 46.6 ระบุตำรวจมีความ
เป็นมิตรกับประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 28.4 ระบุตำรวจถึงที่เกิดเหตุรวดเร็วฉับไว ร้อยละ 27.4 ระบุตำรวจเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา ร้อยละ 28.3 ระบุตำรวจเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียม และร้อยละ 32.7 ระบุตำรวจเป็นกลุ่มข้า
ราชการที่น่าไว้วางใจ ทรรศนะคติในเชิงบวกจากประชาชนผู้มีประสบการณ์ตรงกับงานตำรวจระดับสถานีใน 24 จังหวัดของประเทศ ผลการสำรวจ
พบว่า ประชาชนร้อยละ 79.2 ระบุ เจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน รองลงมาคือร้อยละ 74.4 ระบุให้บริการที่ดี /ให้คำแนะ
นำที่ดี ร้อยละ 68.0 ระบุเจ้าหน้าที่ขยันและตั้งใจทำงาน ร้อยละ 61.3 ระบุเจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความยุติธรรม ร้อยละ 60.0 ระบุเจ้าหน้าที่
เข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว ตามลำดับ
ทรรศนะคติในเชิงลบของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผลการสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 87.1 ระบุ ตำรวจมักจะตก
อยู่ภายใต้การครอบงำของบรรดานักการเมืองที่มีอำนาจ ในขณะที่ร้อยละ 77.3 ระบุตำรวจเลือกปฏิบัติกับประชาชน ร้อยละ 72.1 ระบุตำรวจรีด
ไถ เรียกรับผลประโยชน์ ร้อยละ 67.5 ระบุตำรวจมีการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งกัน สำหรับทรรศนะคติในเชิงลบจากประชาชนผู้มีประสบการณ์
ตรงกับงานตำรวจระดับสถานีใน 24 จังหวัดของประเทศ ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.0 ระบุไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส ร้อยละ 23.8
ระบุจำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เพียงพอ 23.7 ระบุตำรวจขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย ร้อยละ 16.2 ระบุเจ้าหน้าที่พูดจาคุกคาม ข่มขู่ ร้อย
ละ 15.8 ระบุประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน ร้อยละ 10.8 ระบุมีการเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชนผู้มาติดต่อ และร้อย
ละ 8.2 ระบุมีการซ้อมผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับ
บัญชานั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 57.5 ระบุมีการวิ่งเต้นมอบผลประโยชน์ให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่งหน้าที่และความ
อยู่รอด รองลงมาคือร้อยละ 57.3 ระบุ มีผู้บังคับบัญชามากเกินไป ร้อยละ 55.1 ระบุผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติ ร้อยละ 47.9 ระบุถูกมอบหมาย
งานที่มากเกินไป และร้อยละ 43.2 ระบุต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชา
สำหรับปัญหาด้านการบริหารจัดการในหน่วยงานของตำรวจนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 98.4 ระบุขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมี
ประสิทธิภาพ รองลงมาคือร้อยละ 95.8 ระบุงบประมาณไม่เพียงพอ ร้อยละ 94.6 ระบุการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐ
ให้กับตำรวจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน ร้อยละ 92.6 ระบุปัญหาเรื่องเงินเดือนไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง และร้อยละ
87.9 ระบุจำนวนคนไม่เพียงพอกับปริมาณงาน
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 77.6 ระบุประชาชนมอง
ภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง รองลงมาคือร้อยละ 77.5 ระบุ ประชาชนคาดหวังสูงจากการทำงานของตำรวจเกินขีดความ
สามารถที่แท้จริงของตำรวจ ร้อยละ 75.0 ระบุไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน ร้อยละ 71.2 ระบุมีข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ และร้อยละ
69.5 ระบุขั้นตอนกฎหมายยุ่งยากเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบของหน่วยงานนั้น ผลการสำวรจพบว่า
ร้อยละ 41.6 ระบุใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง) ในขณะที่ร้อยละ 20.0
ระบุ ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า (เช่นการพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส) และร้อยละ 38.4 ระบุใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือความคิดเห็นของตำรวจที่มีต่อประเด็นสำคัญที่ต้องการให้มีการปฏิรูปโดยเร่งด่วน ที่พบว่า ร้อยละ 95.5
ระบุการปรับเพิ่มค่าตอบแทนตำรวจชั้นประทวนอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือร้อยละ 82.2 ระบุการปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานสอบสวน ให้เทียบเท่า
หรือใกล้เคียงพนักงานอัยการ ศาล ร้อยละ 79.7 ระบุการปรับองค์กรภายใน ตร. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ/ สถานการณ์ปัจุบันมากขึ้น เช่น
หน่วยงานดูแลอาชญากรรมข้ามชาติ หน่วยงานดูแลอาชญากรรมแนวดิ่ง (ตึกสูง) ร้อยละ 77.4 ระบุการปรับระบบคุณธรรมและจริยธรรม เช่นการเพิ่ม
โทษทางวินัย การเร่งรัดกำกับดูแลตำรวจด้านคุณธรรมจริยธรรม และร้อยละ 75.3 ระบุการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นตำรวจชั้น
ประทวน (ประเด็นปรับ รร.นพต.) เช่นปรับให้เรียนพลตำรวจ 2 ปี ให้อนุปริญญา
สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากคณาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้องกับงานตำรวจนั้น ดร.นพดลกล่าวว่า มาตรา
สำคัญในร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติที่คณาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้องกับงานตำรวจ เห็นพ้องด้วยนั้นได้แก่ หลักการและ
เหตุผลในการร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มาตราที่ 13 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของอธิบดีตำรวจนครบาล ภาค หรือสำนัก
งาน รวมทั้งมาตราอื่นๆ อาทิ มาตรา 14 มาตรา มาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 24 เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คณาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้ให้ข้อสังเกตบางประการต่อร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติปี พ.ศ.......ดังนี้
1. การกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของอธิบดีตำรวจนครบาล ภาคหรือสำนักงาน ยังคงติดกับระบบราชการ จึง
ควรเน้นการตรวจสอบและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
2. ชั้นยศของตำรวจมากเกินไป
3. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ มี ผบ.ตร.เพียงคนเดียว จึงเห็นควรเพิ่มกรรมการจากตำรวจเพิ่มเข้าไปเพราะ งานตำรวจ
มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลายประการ
4. คณะกรรมการบริหาร เน้นกรรมการโดยตำแหน่งมากเกินไป และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ไม่กำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจนเพียงพอ
5. อำนาจหน้าที่ของ กตช. ลอยๆ ไม่มีพลังเพียงพอต่อหน่วยงานต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม
6. อำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาระบบงานตำรวจควรเน้นการทำงานวิจัย
7. ร่าง พรบ. ฉบับนี้ ยังไม่ระบุชัดเจนว่าตำรวจชั้นผู้น้อยจะได้อะไร เมื่อไหร่จะได้ และตำรวจบางสายงานก็ขาดความชัดเจนว่าจะไป
อยู่ที่ไหน
8. เมื่อมีการกระจายอำนาจต้องมีการถ่วงดุล ดังนั้นใครและอะไรเป็นหลักประกันว่า ร่าง พรบ.ฉบับนี้จะไม่ก่อปัญหาต่อการทำงานของ
ตำรวจในอนาคต
9. ส่วนใหญ่เห็นพ้องให้มีการปฏิรูปตามมาตราต่างๆ ของร่าง พรบ. ฉบับนี้ โดยขอให้รับฟังความคิดเห็นข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้น
ทุกสายงาน กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคมฯ และผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้
กล่าวปิดท้ายในผลงานวิจัยเรื่องนี้ด้วยการเรียนชี้แจงความเข้าใจของนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ต่อผลสำรวจของเอแบคโพลล์ ที่ภายหลังการนำเสนอผล
สำรวจเรื่องการปฏิรูปตำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมาแล้วมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่หลายท่านยังคงเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อผลสำรวจที่นำ
เสนอ และมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เข้าใจว่า ปี พ.ศ.2543 เอแบคโพลล์สำรวจพบเพียงร้อยละ 10 ที่เจอตำรวจรีดไถ แต่วันที่ 8 กรกฎาคม ปีพ.ศ.
2550 เอแบคโพลล์สำรวจอีกครั้งพบประชาชนร้อยละ 72.1 ระบุตำรวจรีดไถนั้น
ดร.นพดล ได้ชี้แจงว่าผลสำรวจทั้งสองครั้งดังกล่าวไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัยเป็นคนละ
กลุ่ม และผลการสำรวจเมื่อครั้งปี 2543 เป็นการสำรวจจาก “ประสบการณ์ตรง” ของผู้ต้องหา ผู้เสียหายที่ใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในขณะที่ผลสำรวจ
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. นั้น เป็นการสำรวจจากกลุ่มประชาชนทั่วไปซึ่งเป็น ทั้งผู้เคยใช้บริการและไม่เคยใช้บริการ และเป็นการแสดงถึงการรับรู้ต่อภาพ
ลักษณ์ของตำรวจในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทั่วไป จึงเป็นกลุ่มที่กว้างกว่า ปี พ.ศ. 2543
สำหรับประเด็นผลสำรวจที่เคยทำให้กับ กพร. ในปีที่แล้วนั้น พบว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้คะแนน 4.3เต็ม 5 นั้น ก็ไม่สามารถ
เปรียบเทียบได้ เพราะเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มเป้าหมายครั้งนั้นเป็นการสำรวจจากกลุ่มประชาชนที่ใช้บริการของ “ตำรวจชุมชน
สัมพันธ์” เท่านั้น
นอกจากนี้ในการนำเสนอผลสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2550 ที่ทำเนียบรัฐบาลได้ชี้ให้เห็นความแตกต่าง ของผลสำรวจระหว่าง
กลุ่มประชาชนทั่วไป ที่ยังคงมีภาพลักษณ์ในทางลบต่อตำรวจ กับ กลุ่มประชาชนที่สัมผัสงานตำรวจที่สถานีตำรวจโดยตรงคือผู้ที่มารับบริการ (พิจารณา
ตามเอกสารแนบ) ซึ่งจะเห็นว่า
1. เรื่องความเป็นมิตรกับประชาชน พบว่า ประชาชนทั่วไปร้อยละ 46.6 ระบุตำรวจเป็นมิตรกับประชาชน ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับ
ประชาชนที่สัมผัสงานตำรวจนั้นพบว่ามีตัวอย่างสูงร้อยละ 79.2 ที่ระบุตำรวจมีความเป็นมิตรกับประชาชน
2. การเปิดกว้างให้ประชาชนร่วมประเมินผลงานนั้น พบว่าในกลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 27.4 ระบุตำรวจเปิดกว้างให้ประชาชนมี
ส่วนร่วมในการประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประชาชนผู้ที่มีโอกาสสัมผัสงานตำรวจนั้นพบว่า มีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็น
ร้อยละ 47.4
3. การเข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไวนั้น พบว่าประชาชนทั่วไปร้อยละ 28.4 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว
ฉับไว ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนผู้มีโอกาสสัมผัสกับงานตำรวจนั้น ร้อยละ 60.0 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว
4. เรื่องการรีดไถเรียกรับผลประโยชน์นั้น ผลการสำวรจพบว่า กลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 72.1 คิดว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจรีดไถ และ
เรียกรับผลประโยชน์จากประชาชน ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนผู้มีโอกาสสัมผัสกับงานตำรวจนั้น มีเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่ระบุว่าพบตำรวจรีดไถ
และเรียกรับผลประโยชน์
ดังนั้นจึงขอเรียนมาเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจในผลสำรวจร่วมกัน โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ขอยืนยันทำงานทางวิชาการด้วยความถูกต้องตาม
ระเบียบวิธีวิจัย มีความเป็นกลาง ไม่มีเจตนาเพื่อผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝง แต่มีความตั้งใจเพื่อให้ข้อมูลทางสถิติเพื่อสังคมโดยส่วนรวมต่อสถาบัน
ตำรวจและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นสำคัญ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อนโยบายการปฏิรูปโครงสร้างงานตำรวจ
4. เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงคุณภาพจาก คณาจารย์ นักวิชาการ และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับตำรวจในเรื่องเกี่ยวกับร่าง
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการประมวลภาพผลวิจัยความคิดเห็นของประชาชนของ ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิรูปโครง
สร้างตำรวจ ” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการรวบรวมและประเมินผลวิจัยจากการสำรวจในระหว่างเดือน มกราคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่ง
ประกอบด้วยการวิจัยใน 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
โดยกลุ่มประชาเป้าหมายในการศึกษาทั้งสิ้น 4 กลุ่มได้แก่
1. ประชาชนผู้สัมผัสงานตำรวจระดับสถานีตำรวจใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ 10 กองบัญชาการ
2. ประชาชนทั่วไปในระดับครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
3. กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และ นิติศาสตร์
4. ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจ
กระบวนการเลือกตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Multi-stage Sampling, Stratified Cluster
Sampling, และ Systematic Sampling โดยมีขนาดตัวอย่างในการประมวลภาพวิจัยทั้งหมด จำนวน 8,613 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์และแบบตอบเอง สำหรับโครงการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นกลุ่มเป้าหมาย
ในการศึกษาได้แก่ นักวิชาการ คณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของข้าราชการตำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 60 ท่าน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ตำรวจมักจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของบรรดานักการเมืองที่มีอำนาจ 87.1
2 ตำรวจเลือกปฏิบัติกับประชาชน 77.3
3 ตำรวจรีดไถ เรียกรับผลประโยชน์ 72.1
4 ตำรวจมีการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งกัน 67.5
5 ตำรวจมีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน 46.6
6 ตำรวจเป็นกลุ่มข้าราชการที่น่าไว้วางใจ 32.7
7 ตำรวจเข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว 28.4
8 ตำรวจเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนอย่างเท่าเทียม 28.3
9 ตำรวจเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา 27.4
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ทางบวกในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนผู้มารับบริการในระดับสถานี และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ทางบวกในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ค่าร้อยละ
1 เจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน 79.2
2 ให้บริการที่ดี /ให้คำแนะนำที่ดี 74.4
3 เจ้าหน้าที่ขยันและตั้งใจทำงาน 68.0
4 เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความยุติธรรม 61.3
5 เจ้าหน้าที่เข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว 60.0
6 เจ้าหน้าที่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา 47.4
7 ตำรวจเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือประชาชน 43.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ทางลบในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนผู้มารับบริการในระดับสถานี และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ทางลบในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ค่าร้อยละ
1 ไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส 33.0
2 จำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เพียงพอ 23.8
3 ตำรวจขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย 23.7
4 เจ้าหน้าที่พูดจาคุกคาม ข่มขู่ 16.2
5 ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน 15.8
6 มีการเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชนผู้มาติดต่อ 10.8
7 มีการซ้อมผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง 8.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาด้านการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านการปฎิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา ค่าร้อยละ
1 มีการวิ่งเต้นมอบผลประโยชน์ให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่งหน้าที่และความอยู่รอด 57.5
2 มีผู้บังคับบัญชามากเกินไป 57.3
3 ผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติ 55.1
4 ถูกมอบหมายงานที่มากเกินไป 47.9
5 การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชา 43.2
6 ไม่ได้รับเกียรติจากผู้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม 37.0
7 ผู้บังคับบัญชาก้าวก่ายการทำงานมากเกินไป 36.7
8 ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานไม่ชัดเจน 33.1
9 ผู้บังคับบัญชาไม่สนับสนุนในการปฏิบัติราชการ 31.4
10 ผู้บังคับบัญชาใช้ให้ทำงานส่วนตัวมากเกินไป 18.8
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาด้านการบริหารจัดการทั่วไปในหน่วยงาน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านการบริหารจัดการทั่วไปในหน่วยงาน ค่าร้อยละ
1 ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 98.4
2 งบประมาณไม่เพียงพอ 95.8
3 การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐให้กับตำรวจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน 94.6
4 ปัญหาเรื่องเงินเดือนไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง 92.6
5 จำนวนคนไม่เพียงพอกับปริมาณงาน 87.9
6 ต้องนำเงิน/ทรัพย์สินส่วนตัวเข้าใช้ในการทำงาน อาทิ จ่ายค่าปรับ /ค่าธรรมเนียมต่างๆ แทนประชาชน/
ค่าจัดเลี้ยงผู้บังคับบัญชา/ค่าใช้จ่ายในการติดตามผู้ต้องหาซื้ออาวุธปืน 79.1
7 ขาดการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ 73.8
8 ขาดการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ 73.5
9 ปัญหาความจำเป็นต้องขอการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 71.8
10 ความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่ 71.5
11 ขาดการอบรมเพิ่มพูนทักษะและความรู้ 66.6
12 ปัญหาการขอความร่วมมือสนับสนุนจากแหล่งทุนในท้องที่ 64.2
13 ขาดการสื่อสารทำความเข้าใจที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยกันเอง 51.1
14 ปัญหาการเลื่อนไหลของชั้นยศ 49.4
15 ความไม่ชัดเจนในงานที่ได้รับมอบหมาย 47.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ค่าร้อยละ
1 ประชาชนมองภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง 77.6
2 ประชาชนคาดหวังสูงจากการทำงานของตำรวจเกินขีดความสามารถที่แท้จริงของตำรวจ 77.5
3 ไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน 75.0
4 มีข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ 71.2
5 ขั้นตอนกฎหมายยุ่งยากเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน 69.5
6 มีการใช้เส้นสายและอิทธิพลวิ่งเต้นคดี 60.8
7 มีการวิ่งเต้น / จ่ายผลประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ 57.1
8 ประชาชนไม่ยอมรับ / ไม่เชื่อถือการทำงานของตำรวจ 52.8
9 ผู้บังคับบัญชาระดับสูงใช้อำนาจกดดันการทำคดี 50.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงาน
(ค่าร้อยละเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
ลำดับที่ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงาน ค่าร้อยละ
1 ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง) 41.6
2 ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า (เช่นการพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส) 20.0
3 ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน 38.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุประเด็นสำคัญที่ต้องการให้มีการปฏิรูปโดยเร่งด่วน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นสำคัญในการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ค่าร้อยละ
1 การปรับเพิ่มค่าตอบแทนตำรวจชั้นประทวนอย่างต่อเนื่อง 95.5
2 การปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานสอบสวน ให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงพนักงานอัยการ ศาล 82.2
3 การปรับองค์กรภายใน ตร. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ/ สถานการณ์ปัจุบันมากขึ้น เช่น หน่วยงานดูแล
อาชญากรรมข้ามชาติ หน่วยงานดูแลอาชญากรรมแนวดิ่ง (ตึกสูง) 79.7
4 การปรับระบบคุณธรรมและจริยธรรม เช่นการเพิ่มโทษทางวินัย การเร่งรัดกำกับดูแลตำรวจ
ด้านคุณธรรมจริยธรรม 77.4
5 การปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นตำรวจชั้นประทวน (ประเด็นปรับ รร.นพต.)
เช่นปรับให้เรียนพลตำรวจ 2 ปี ให้อนุปริญญา 75.3
6 การปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร (ประเด็นปรับ รร.นรต.) เช่น คัดเลือกผู้จบ
ป.ตรี คัดเลือกเฉพาะตำรวจประทวนเป็นสัญญาบัตร 69.7
7 ให้มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนยศตำรวจชั้นประทวน เป็นสัญญาบัตร เช่น จบ ป.ตรีโท แล้วสามารถปรับเป็นสัญญาบัตรเลย 68.5
8 การดำเนินการออกกฎหมาย ระเบียบ ในส่วนที่เป็นการร้องทุกข์กับคณะกรรมการร้องทุกข์ (ที่มิได้เป็นตำรวจ)
ตามพรบ.ร้องทุกข์ตัวใหม่ โดยเร็ว และให้เป็นรูปธรรม 59.8
9 การตัดโอนภารกิจอื่นที่มิใช่ภารกิจหลักของตำรวจ เช่น รถไฟ ป่าไม้ ตำรวจน้ำ ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ 44.5
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-