ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่าผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง 13 คำถามที่คนไทยตอบ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,258 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 25 — 28 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 จากการเลือกตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบครั้งนี้คือ
คำถามที่ 1 ถามว่า มีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคนไทยได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น 300 บาทต่อวัน แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง คนไทยที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.0 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
คำถามที่ 2 ถามว่า มีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคนไทยได้ดอกเบี้ย 0% ในการซื้อบ้านหลังแรก แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง คนไทยที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
คำถามที่ 3 ถามว่า มีประโยชน์หรือไม่ ถ้าชาวนาไทยได้ “บัตรเครดิตชาวนา” แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง ผลสำรวจพบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.1 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
คำถามที่ 4 ถามว่า มีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคนไทย ได้ “คนอารมณ์ดี ติดหนวด” มาเป็นฝ่ายค้าน แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง ผลสำรวจพบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.6 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
คำถามที่ 5 ถามว่า มีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคนไทยได้ “เรียนฟรี” แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
และเมื่อถามคำถามที่ 6 ว่า และถ้าคนไทยได้ “คนเก่ง” มาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรงล่ะ มีประโยชน์หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
ต่อไปคำถามที่ 7 ถามว่า และถ้าคนไทยได้ “รถไฟความเร็วสูง” ล่ะ แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง จะมีประโยชน์มั้ย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
ผู้วิจัยได้ถามต่อเป็นคำถามที่ 8 ว่า ถ้าคนไทยได้ “นโยบายปราบปรามยาเสพติดจริงจัง” แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน จะมีประโยชน์หรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 ตอบว่า ไม่มีประโยชน์
คำถามที่ 9 ถามว่า และถ้าประเทศไทยมีเศรษฐกิจดีขึ้น แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรงล่ะ จะมีประโยชน์มั้ย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ตอบว่า “ไม่มีประโยชน์”
คำถามต่อมา ถามว่า คุณคิดว่า นโยบายปรองดองให้บ้านเมืองสงบสุข หลังการเลือกตั้งจะมีผลต่อการตัดสินใจในการเลือก ผู้สมัคร ส.ส ของพรรคการเมืองหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 ระบุมีผลค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
แต่ที่น่าเป็นห่วง คือคำตอบของ 3 คำถามสุดท้ายที่ค้นพบคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 ระบุการซื้อเสียงก็มีผลจะทำให้ชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 31.3 เท่านั้นที่ระบุไม่มีผล นอกจากนี้ ราคาค่างวดในการซื้อเสียงกันครั้งนี้ที่ค้นพบในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.0 คือไม่เกิน 500 บาท ร้อยละ 29.8 ระบุอยู่ระหว่าง 501 — 1,000 บาท และร้อยละ 13.2 ระบุมากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ถ้าผู้สมัคร ส.ส. ลงพื้นที่เป็นประจำ ทำประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่น หมั่นช่วยงานบวช งานวัด งานศพ ราคาซื้อเสียงก็จะไม่เกิน 500 บาท แต่ถ้าไม่เคยลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนเลย การซื้อเสียงด้วยเงินจำนวนมากก็อาจจะไม่ชนะได้ และ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 ระบุมีการซื้อเสียงในหมู่บ้าน/ ชุมชนของตนเอง
ผอ.เอแบคโพลล์ ระบุ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังเป็นบุคคลที่สังคมไทยกำลังคาดหวังสูงให้แสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณชนถึงแนวทางเสริมสร้างบ้านเมืองให้สงบสุขหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าแนวทางทำให้บ้านเมืองสงบสุขไม่ชัดเจน ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ถูกศึกษาครั้งนี้เห็นว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่พวกเขาจะได้คนเก่ง หรือนโยบายที่โดนใจพวกเขาในท่ามกลางความวุ่นวายของบ้านเมืองที่คนไทยตีกัน ห้ำหั่นเข่นฆ่ากันเอง
“ดังนั้น พรรคการเมืองต่างๆ อาจจำเป็นต้องทบทวนกลยุทธ์ในการชนะการเลือกตั้งของตนเองเพิ่มเติม โดยต้องเน้นให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้เห็นภาพของความสงบสุขที่บรรดาแกนนำพรรคการเมืองทุกพรรคไม่ว่าจะแพ้หรือชนะมายืนเรียงหน้ากระดานจับมือกันพัฒนาประเทศโดยนำเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยที่มีน้ำใจไมตรีเกื้อกูลช่วยเหลือกันมาทำงานการเมืองภายใต้กรอบกติกาของกระบวนการยุติธรรม และเน้นย้ำให้สาธารณชนเกิดความอบอุ่นใจเห็นภาพชัดเจนว่า หลังการเลือกตั้งจะไม่มีเหตุการณ์ที่ใช้ความรุนแรง จะไม่ห้ำหั่นเข่นฆ่ากันระหว่างกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลและไม่สนับสนุนรัฐบาล ส่วนเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงที่กำลังเกิดขึ้นตามผลสำรวจที่ค้นพบครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาดและเป็นธรรม เพื่อให้เป็นบทเรียนแห่งจิตสำนึกของประชาชนและฝ่ายการเมืองในการค่อยๆ พัฒนากันไปตามระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาทางการเมือง” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.9 เป็นหญิง ร้อยละ 51.1 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.9 อายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.8 อายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.4 อายุ 40 — 49 ปี และร้อยละ 33.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป โดย ตัวอย่างร้อยละ 72.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 7.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 30.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 28.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 9.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 33.0 2 ไม่มีประโยชน์ 67.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ถ้าคนไทยได้ดอกเบี้ย 0% ในการซื้อบ้านหลังแรก แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 30.4 2 ไม่มีประโยชน์ 69.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ถ้าชาวนาได้ “บัตรเครดิตชาวนา” แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 23.9 2 ไม่มีประโยชน์ 76.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ถ้าคนอารมณ์ดีติดหนวดได้เป็นฝ่ายค้าน แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 16.4 2 ไม่มีประโยชน์ 83.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ถ้าได้เรียนฟรี แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ไม่หยุดความขัดแย้งรุนแรง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 35.0 2 ไม่มีประโยชน์ 65.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ถ้าคนไทยได้คนเก่งเป็นนายก แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 27.5 2 ไม่มีประโยชน์ 72.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ถ้าคนไทยได้รถไฟความเร็วสูง แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 25.9 2 ไม่มีประโยชน์ 74.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าคนไทยได้นโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 41.4 2 ไม่มีประโยชน์ 58.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ถ้าเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น แต่คนไทยไม่เลิกตีกัน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีประโยชน์ 33.7 2 ไม่มีประโยชน์ 66.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายปรองดองให้บ้านเมืองสงบสุข ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อนโยบายปรองดอง มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ผู้สมัครของพรรคการเมือง ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างมาก — มากที่สุด 74.8 2 ค่อนข้างน้อย — ไม่มีผลเลย 25.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อเสียงจะมีผลทำให้ชนะการเลือกตั้ง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 การซื้อเสียงมีผลทำให้ชนะการเลือกตั้ง 68.7 2 ไม่มีผล 31.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับจำนวนเงินในการซื้อเสียงครั้งนี้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ไม่เกิน 500 บาท 57.0 2 501-1,000 บาท 29.8 3 มากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป 13.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อเสียงในหมู่บ้าน/ชุมชน ในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มีการซื้อเสียงในหมู่บ้าน / ชุมชนของตนเอง 68.7 2 ไม่มี 31.3 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--