ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “บรรยากาศการ
เมือง ความสมานฉันท์ และความคิดเห็นต่อการลงทุนในประเทศไทย” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,259 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 27 — 31 มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่
ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ยังคงให้ความสนใจติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่ที่น่าเป็นห่วงคืออารมณ์ความรู้สึก
ของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ที่สำรวจพบว่า ประชาชนมีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง เครียดเรื่องการเมือง และเบื่อหน่ายการ
เมือง เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว กับผลสำรวจครั้งนี้ ซึ่งพบว่า ประชาชนร้อยละ 46.1 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์
การเมืองในเดือนเมษายนปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.3 ในผลสำรวจครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 29.3 เครียดเรื่องการเมืองเดือนเมษายนปีที่แล้ว
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.0 ในผลสำรวจครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 69.1 เบื่อหน่ายเรื่องการเมืองในเมษายนปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.9 ในผล
สำรวจครั้งนี้ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกันเองเพราะเรื่องการเมืองผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับผล
สำรวจในช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ระบุ “การรู้รักสามัคคีและความจงรักภักดี” เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความสมานฉันท์ของคน
ในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 45.1 ระบุเป็นเรื่องความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ และประชาชนร้อยละ 43.4 ระบุการประนีประนอม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มี
น้ำใจต่อกัน และไม่เอารัดเอาเปรียบคนในสังคม เป็นสิ่งสำคัญช่วยสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนร้อยละ 50.0 ระบุการแบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นสิ่งทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 43.4
คิดว่าการเห็นแก่ตัวมากกว่าประโยชน์ของประเทศเป็นสิ่งทำลายความสมานฉันท์ และร้อยละ 18.3 คิดว่าปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้เป็นสิ่งทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ ตามลำดับ
เมื่อประชาชนที่ถูกสำรวจครั้งนี้ถูกขอให้สมมติว่าตนเองเป็นนักธุรกิจชาวต่างชาติที่กำลังลงทุนอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ตัดสินใจว่าจะลงทุนต่อ
ไป หรือจะถอนการลงทุน ผลสำรวจพบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.0 คิดว่าจะถอนการลงทุน โดยให้เหตุผลว่า ไม่มั่นใจในสถานการณ์ ดูนโยบาย
รัฐบาลก่อน สังคมไทยวุ่นวายไม่เลิก และการเมืองไทยเป็นเรื่องเข้าใจยาก ขาดความชัดเจน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 46.0 คิดว่าจะลงทุนต่อไป
โดยให้เหตุผลว่าสภาพเศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และการทำงานต้องดำเนินต่อไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกถามว่าจะชลอการลงทุนหรือไม่ ถ้าสมมติว่าตนเองเป็นนักธุรกิจต่างชาติที่กำลังคิดจะลงทุนในประเทศไทย ผลสำรวจ
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.2 คิดว่าจะชลอการลงทุน เพราะไม่มั่นใจสถานการณ์ ดูนโยบายรัฐบาลให้ชัดเจนก่อน และบ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่ เป็น
ต้น ในขณะที่ร้อยละ 14.8 เท่านั้นที่คิดว่าจะลงทุนในขณะนี้ เพราะภาวะเศรษฐกิจไทยยังไม่น่าเป็นห่วงอะไร และถ้ามีเงินก็อยากจะลงทุน เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ประชาชนคิดว่ามีความจริงใจจะทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ พบว่า เกินครึ่งหรือร้อย
ละ 51.7 คิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จริงใจ ร้อยละ 46.0 คิดว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จริงใจ ร้อยละ 43.1 คิดว่า กองทัพ/ ทหาร จริง
ใจ ร้อยละ 42.2 คิดว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ จริงใจ และร้อยละ 42.1 คิดว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
หรือ ป.ป.ช. จริงใจ ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า ประชาชนเพียงร้อยละ 18.8 และร้อยละ 17.9 คิดว่า นักการเมืองที่ไม่ใช่กลุ่มอำนาจเก่า และ
นักการเมืองกลุ่มอำนาจเก่า จริงใจที่จะทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
เมื่อสอบถามว่า คิดว่าควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 คิดว่าไม่ควรเปลี่ยนตัวนายก
รัฐมนตรี เพราะเวลาเหลือน้อย เปลี่ยนไปก็มีปัญหาเหมือนเดิม นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นคนดี และไม่อยากให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีแต่ขอให้เปลี่ยน
วิธีการทำงานให้รวดเร็วฉับไวมากขึ้น ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 38.0 คิดว่าควรเปลี่ยน เพราะ ทำงานล่าช้า ไม่ทันเวลา ไม่สามารถแก้ปัญหา
ความเดือดร้อนของชาวบ้านได้ และอยากเห็นคนทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การเปรียบเทียบคะแนนนิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างคนที่ใช้ชีวิตพอ
เพียง กับคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตพอเพียงแท้จริงมีสัดส่วนของคนที่นิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ มากกว่าประมาณ
สามเท่าคือร้อยละ 41.6 ในขณะที่นิยมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ร้อยละ 11.9 อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบ “ไม่พอเพียง” พบว่า นิยมสนับ
สนุน พล.อ.สุรยุทธ์ ร้อยละ 33.3 แต่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ร้อยละ 28.7 ที่เหลือไม่มีความเห็น
ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ประชาชนคิดเห็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.4 ระบุยังไม่มีพรรคที่ชอบ ร้อยละ 20.7 จะ
เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 18.5 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.4 จะเลือกพรรคอื่นๆ ประเด็นสำคัญน่าพิจารณาสุดท้ายคือ ถามว่า ถ้าหาก
เกิดใหม่ได้ จะเกิดเป็นคนไทยอยู่ในประเทศไทยอีกหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 ระบุอยากเกิดใหม่เป็นคนไทยอีก เพราะ
วัฒนธรรมไทย ความจงรักภักดี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจต่อกัน เป็นต้น เพียงร้อยละ 4.7 ไม่อยากเกิดเป็นคนไทยอีก เพราะคนไทยไม่
สามัคคีกัน บ้านเมืองมีแต่ความวุ่นวาย แบ่งพรรคแบ่งพวก ความไม่เป็นธรรมในสังคม และ เพราะเกิดมาจน เป็นต้น และที่เหลือร้อยละ 27.6 ไม่แน่
ใจว่าอยากเกิดเป็นคนไทยอีกหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือนกันยายนปี 2549 พบว่าสัดส่วนของประชาชนที่อยากเกิดเป็นคนไทยอีกลดลง
จากร้อยละ 97.9 เหลือร้อยละ 67.7 ในการสำรวจครั้งนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลกำลังมีความวิตกกังวล ความเครียด และเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมืองสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้ความภูมิใจต่อความเป็นคนไทยและ
ประเทศไทยลดน้อยลง เพราะประชาชนส่วนใหญ่บอกว่าถ้าเป็นนักลงทุนต่างชาติก็จะถอนการลงทุนหรือชลอการลงทุนในประเทศไทยโดยมีสาเหตุจาก
ความวุ่นวายสับสนในบรรยากาศการเมืองและสังคมขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีความหวังว่าความรู้รักสามัคคี ร่วมมือร่วมใจและ
ประนีประนอมมีน้ำใจต่อกันน่าจะเป็นวิธีการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถึงเวลาแล้วที่บรรดานักคิดของสังคมไทยต้องช่วยกันร่าง “โรดแมปนำสังคมไทยผ่านพ้นวิกฤตของประเทศ” โดย
อาศัยยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเชิงประยุกต์มาปรับใช้ขับเคลื่อนสังคมไทยปลอดวิกฤตอย่างยั่งยืน น่าจะพิจารณาแผนภาพโรดแมปดังนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจบรรยากาศการเมือง ความสมานฉันท์ และการลงทุนในประเทศไทยในสายตาประชาชน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “บรรยากาศการเมือง ความสมานฉันท์
และความคิดเห็นต่อการลงทุนในประเทศไทย” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,259 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 27 — 31 มีนาคม 2550 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัย
เชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ
5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูก
ต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่าง
ร้อยละ 72.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการ
ศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
และเมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่าตัวอย่างร้อยละ 34.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.2 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 17.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่
บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 53.4
2 3-4 วัน 16.2
3 1-2 วัน 12.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ เมษายน 49ร้อยละ มีนาคม 50ร้อยละ ส่วนต่าง
1. การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.9 97.5 +0.6
2. วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 46.1 70.3 +24.2
3. เครียดต่อเรื่องการเมือง 29.3 40.0 +10.7
4. ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.4 11.3 +2.9
5. ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 13.2 -3
6. ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 15.6 -1.6
7. เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 69.1 74.9 +5.8
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติ ค่าร้อยละ
1 การรู้รักสามัคคีและความจงรักภักดี 79.2
2 ความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ 45.1
3 การประนีประนอม / เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ / ไม่เอารัดเอาเปรียบกันของคนในสังคม 43.4
4 หลักธรรมทางศาสนาของทุกศาสนา 11.0
5 ความสำนึกในความเป็นคนไทยด้วยกัน 9.7
6 สื่อมวลชนที่ดี มีจรรยาบรรณ นำเสนอข่าวสารอย่างถูกต้อง สร้างสรรค์สังคม 9.4
7 การเอาจริงเอาจัง / จริงใจในการทำงานเพื่อประเทศชาติของรัฐบาล 5.4
8 การคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว / จัดการเลือกตั้งโดยเร่งด่วน 5.0
9 การปฏิบัติตน / คุณธรรมของผู้นำและคณะฯ 3.0
10 ความเป็นกลาง เท่าเทียมกันในสังคม 2.7
ตารางที่ 4 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ ค่าร้อยละ
1 การแบ่งพรรคแบ่งพวก 50.0
2 การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ 43.4
3 ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 18.3
4 ความไม่รู้จักพอ /การใส่ร้ายป้ายสี / ชิงดีชิงเด่นกัน / หลงในอำนาจ 13.2
5 การปลุกระดม ม็อบ / คลื่นใต้น้ำ / การฉวยโอกาสยุแหย่ให้แตกความสามัคคี 11.7
6 การทุจริตคอรัปชั่น / โกงกิน 10.7
7 ความไม่รู้รักสามัคคีระหว่างกัน 10.7
8 ความอ่อนแอ ไม่จริงใจ ไม่เอาจริงเอาจัง และไม่เด็ดขาดในการทำงานของรัฐบาล 8.7
9 สื่อมวลชนที่ไม่มีจรรยาบรรณ นำเสนอข่าวสารอย่างผิดๆ ไม่สร้างสรรค์สังคม 6.1
10 ปัญหาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ 4.6
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทย หากตนเองเป็นนักธุรกิจชาวต่างชาติ
ที่กำลังลงทุนอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้
ลำดับที่ การตัดสินใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทำต่อไป โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
การทำงานต้องดำเนินต่อไป เป็นต้น 46.0
2 คิดว่าจะถอนการลงทุน โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่มั่นใจในสถานการณ์
ดูนโยบายของรัฐบาลก่อน บ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่ เป็นต้น 54.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนทำธุรกิจในสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
หากตนเองเป็นนักธุรกิจชาวต่างชาติที่กำลังตัดสินใจที่จะลงทุนในประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ชลอการลงทุน โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่มั่นใจในสถานการณ์
ดูนโยบายของรัฐบาลก่อน บ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่ เป็นต้น 85.2
2 คิดว่าจะลงทุนในขณะนี้ โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ถ้ามีเงินก็อยากจะลงทุน
ภาวะเศรษฐกิจยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เป็นต้น 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับความจริงใจของบุคคล / กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่จะทำให้
ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
บุคคล / กลุ่มบุคคล ความจริงใจ รวม
คิดว่าจริงใจ ไม่จริงใจ ไม่มีความเห็น
1. นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 51.7 15.8 32.5 100.0
2. ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 46.0 19.0 35.0 100.0
3. กองทัพ / ทหาร 43.1 16.9 40.0 100.0
4. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) 42.2 16.1 41.7 100.0
5. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 42.1 17.6 40.3 100.0
6. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 37.8 20.8 41.4 100.0
7. สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 38.2 17.8 44.0 100.0
8. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 38.1 17.5 44.4 100.0
9. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) 37.2 19.1 43.7 100.0
10. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 33.2 21.5 45.3 100.0
11. นักการเมืองที่ไม่ใช่กลุ่มอำนาจเก่า 18.8 31.6 49.6 100.0
12. นักการเมืองกลุ่มอำนาจเก่า 17.9 37.1 45.0 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าควรเปลี่ยน เพราะ เวลาเหลือน้อย เปลี่ยนไปก็มีปัญหาเหมือนเดิม นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นคนดี
และไม่อยากให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีแต่ขอให้เปลี่ยนวิธีการทำงานให้รวดเร็วฉับไวมากขึ้น 38.0
2 ไม่ควรเปลี่ยน เพราะ ทำงานล่าช้า ไม่ทันเวลา ไม่สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้
และอยากเห็นคนทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เป็นต้น 62.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 เปรียบเทียบความนิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตาม
กลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับไม่พอเพียง
ความนิยมสนับสนุน ไม่พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างแท้จริง
1. สนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 33.3 26.2 35.0 41.6
2. สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 28.7 27.4 23.4 11.9
3. ไม่มีความเห็น 38.0 46.4 41.6 46.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ การตัดสินใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยังไม่มีพรรคที่ชอบ โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ยังไม่ตัดสินใจ รอดูนโยบายของแต่ละพรรคก่อน เป็นต้น 56.4
2 พรรคไทยรักไทย 20.7
3 พรรคประชาธิปัตย์ 18.5
4 พรรคชาติไทย 3.6
5 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคการเมืองท้องถิ่น 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการที่จะเกิดเป็นคนไทยอยู่ในประเทศไทยอีก หากเกิดใหม่ได้
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่าง กันยายน 2549ค่าร้อยละ มีนาคม 2550ค่าร้อยละ
1 อยาก เพราะ....วัฒนธรรมไทย ความจงรักภักดี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ความมีน้ำใจต่อกัน เป็นต้น 97.9 67.7
2 ไม่อยาก เพราะ.....คนไทยไม่สามัคคีกัน บ้านเมืองมีแต่ความวุ่นวาย แบ่งพรรคแบ่งพวก
ความไม่เป็นธรรมในสังคม และ เพราะเกิดมาจน เป็นต้น 0.6 4.7
3 ไม่แน่ใจ 1.5 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เมือง ความสมานฉันท์ และความคิดเห็นต่อการลงทุนในประเทศไทย” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,259 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 27 — 31 มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่
ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ยังคงให้ความสนใจติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่ที่น่าเป็นห่วงคืออารมณ์ความรู้สึก
ของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ที่สำรวจพบว่า ประชาชนมีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง เครียดเรื่องการเมือง และเบื่อหน่ายการ
เมือง เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว กับผลสำรวจครั้งนี้ ซึ่งพบว่า ประชาชนร้อยละ 46.1 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์
การเมืองในเดือนเมษายนปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.3 ในผลสำรวจครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 29.3 เครียดเรื่องการเมืองเดือนเมษายนปีที่แล้ว
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.0 ในผลสำรวจครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 69.1 เบื่อหน่ายเรื่องการเมืองในเมษายนปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.9 ในผล
สำรวจครั้งนี้ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกันเองเพราะเรื่องการเมืองผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับผล
สำรวจในช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ระบุ “การรู้รักสามัคคีและความจงรักภักดี” เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความสมานฉันท์ของคน
ในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 45.1 ระบุเป็นเรื่องความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ และประชาชนร้อยละ 43.4 ระบุการประนีประนอม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มี
น้ำใจต่อกัน และไม่เอารัดเอาเปรียบคนในสังคม เป็นสิ่งสำคัญช่วยสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนร้อยละ 50.0 ระบุการแบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นสิ่งทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 43.4
คิดว่าการเห็นแก่ตัวมากกว่าประโยชน์ของประเทศเป็นสิ่งทำลายความสมานฉันท์ และร้อยละ 18.3 คิดว่าปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้เป็นสิ่งทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ ตามลำดับ
เมื่อประชาชนที่ถูกสำรวจครั้งนี้ถูกขอให้สมมติว่าตนเองเป็นนักธุรกิจชาวต่างชาติที่กำลังลงทุนอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ตัดสินใจว่าจะลงทุนต่อ
ไป หรือจะถอนการลงทุน ผลสำรวจพบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.0 คิดว่าจะถอนการลงทุน โดยให้เหตุผลว่า ไม่มั่นใจในสถานการณ์ ดูนโยบาย
รัฐบาลก่อน สังคมไทยวุ่นวายไม่เลิก และการเมืองไทยเป็นเรื่องเข้าใจยาก ขาดความชัดเจน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 46.0 คิดว่าจะลงทุนต่อไป
โดยให้เหตุผลว่าสภาพเศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และการทำงานต้องดำเนินต่อไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกถามว่าจะชลอการลงทุนหรือไม่ ถ้าสมมติว่าตนเองเป็นนักธุรกิจต่างชาติที่กำลังคิดจะลงทุนในประเทศไทย ผลสำรวจ
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.2 คิดว่าจะชลอการลงทุน เพราะไม่มั่นใจสถานการณ์ ดูนโยบายรัฐบาลให้ชัดเจนก่อน และบ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่ เป็น
ต้น ในขณะที่ร้อยละ 14.8 เท่านั้นที่คิดว่าจะลงทุนในขณะนี้ เพราะภาวะเศรษฐกิจไทยยังไม่น่าเป็นห่วงอะไร และถ้ามีเงินก็อยากจะลงทุน เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ประชาชนคิดว่ามีความจริงใจจะทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ พบว่า เกินครึ่งหรือร้อย
ละ 51.7 คิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จริงใจ ร้อยละ 46.0 คิดว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จริงใจ ร้อยละ 43.1 คิดว่า กองทัพ/ ทหาร จริง
ใจ ร้อยละ 42.2 คิดว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ จริงใจ และร้อยละ 42.1 คิดว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
หรือ ป.ป.ช. จริงใจ ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า ประชาชนเพียงร้อยละ 18.8 และร้อยละ 17.9 คิดว่า นักการเมืองที่ไม่ใช่กลุ่มอำนาจเก่า และ
นักการเมืองกลุ่มอำนาจเก่า จริงใจที่จะทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
เมื่อสอบถามว่า คิดว่าควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 คิดว่าไม่ควรเปลี่ยนตัวนายก
รัฐมนตรี เพราะเวลาเหลือน้อย เปลี่ยนไปก็มีปัญหาเหมือนเดิม นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นคนดี และไม่อยากให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีแต่ขอให้เปลี่ยน
วิธีการทำงานให้รวดเร็วฉับไวมากขึ้น ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 38.0 คิดว่าควรเปลี่ยน เพราะ ทำงานล่าช้า ไม่ทันเวลา ไม่สามารถแก้ปัญหา
ความเดือดร้อนของชาวบ้านได้ และอยากเห็นคนทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การเปรียบเทียบคะแนนนิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างคนที่ใช้ชีวิตพอ
เพียง กับคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตพอเพียงแท้จริงมีสัดส่วนของคนที่นิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ มากกว่าประมาณ
สามเท่าคือร้อยละ 41.6 ในขณะที่นิยมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ร้อยละ 11.9 อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบ “ไม่พอเพียง” พบว่า นิยมสนับ
สนุน พล.อ.สุรยุทธ์ ร้อยละ 33.3 แต่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ร้อยละ 28.7 ที่เหลือไม่มีความเห็น
ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ประชาชนคิดเห็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.4 ระบุยังไม่มีพรรคที่ชอบ ร้อยละ 20.7 จะ
เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 18.5 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.4 จะเลือกพรรคอื่นๆ ประเด็นสำคัญน่าพิจารณาสุดท้ายคือ ถามว่า ถ้าหาก
เกิดใหม่ได้ จะเกิดเป็นคนไทยอยู่ในประเทศไทยอีกหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 ระบุอยากเกิดใหม่เป็นคนไทยอีก เพราะ
วัฒนธรรมไทย ความจงรักภักดี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจต่อกัน เป็นต้น เพียงร้อยละ 4.7 ไม่อยากเกิดเป็นคนไทยอีก เพราะคนไทยไม่
สามัคคีกัน บ้านเมืองมีแต่ความวุ่นวาย แบ่งพรรคแบ่งพวก ความไม่เป็นธรรมในสังคม และ เพราะเกิดมาจน เป็นต้น และที่เหลือร้อยละ 27.6 ไม่แน่
ใจว่าอยากเกิดเป็นคนไทยอีกหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือนกันยายนปี 2549 พบว่าสัดส่วนของประชาชนที่อยากเกิดเป็นคนไทยอีกลดลง
จากร้อยละ 97.9 เหลือร้อยละ 67.7 ในการสำรวจครั้งนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลกำลังมีความวิตกกังวล ความเครียด และเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมืองสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้ความภูมิใจต่อความเป็นคนไทยและ
ประเทศไทยลดน้อยลง เพราะประชาชนส่วนใหญ่บอกว่าถ้าเป็นนักลงทุนต่างชาติก็จะถอนการลงทุนหรือชลอการลงทุนในประเทศไทยโดยมีสาเหตุจาก
ความวุ่นวายสับสนในบรรยากาศการเมืองและสังคมขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีความหวังว่าความรู้รักสามัคคี ร่วมมือร่วมใจและ
ประนีประนอมมีน้ำใจต่อกันน่าจะเป็นวิธีการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถึงเวลาแล้วที่บรรดานักคิดของสังคมไทยต้องช่วยกันร่าง “โรดแมปนำสังคมไทยผ่านพ้นวิกฤตของประเทศ” โดย
อาศัยยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเชิงประยุกต์มาปรับใช้ขับเคลื่อนสังคมไทยปลอดวิกฤตอย่างยั่งยืน น่าจะพิจารณาแผนภาพโรดแมปดังนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจบรรยากาศการเมือง ความสมานฉันท์ และการลงทุนในประเทศไทยในสายตาประชาชน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “บรรยากาศการเมือง ความสมานฉันท์
และความคิดเห็นต่อการลงทุนในประเทศไทย” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,259 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 27 — 31 มีนาคม 2550 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัย
เชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ
5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูก
ต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่าง
ร้อยละ 72.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการ
ศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
และเมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่าตัวอย่างร้อยละ 34.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.2 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 17.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่
บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 53.4
2 3-4 วัน 16.2
3 1-2 วัน 12.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ เมษายน 49ร้อยละ มีนาคม 50ร้อยละ ส่วนต่าง
1. การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.9 97.5 +0.6
2. วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 46.1 70.3 +24.2
3. เครียดต่อเรื่องการเมือง 29.3 40.0 +10.7
4. ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 8.4 11.3 +2.9
5. ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 13.2 -3
6. ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 15.6 -1.6
7. เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 69.1 74.9 +5.8
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติ ค่าร้อยละ
1 การรู้รักสามัคคีและความจงรักภักดี 79.2
2 ความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ 45.1
3 การประนีประนอม / เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ / ไม่เอารัดเอาเปรียบกันของคนในสังคม 43.4
4 หลักธรรมทางศาสนาของทุกศาสนา 11.0
5 ความสำนึกในความเป็นคนไทยด้วยกัน 9.7
6 สื่อมวลชนที่ดี มีจรรยาบรรณ นำเสนอข่าวสารอย่างถูกต้อง สร้างสรรค์สังคม 9.4
7 การเอาจริงเอาจัง / จริงใจในการทำงานเพื่อประเทศชาติของรัฐบาล 5.4
8 การคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว / จัดการเลือกตั้งโดยเร่งด่วน 5.0
9 การปฏิบัติตน / คุณธรรมของผู้นำและคณะฯ 3.0
10 ความเป็นกลาง เท่าเทียมกันในสังคม 2.7
ตารางที่ 4 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ ค่าร้อยละ
1 การแบ่งพรรคแบ่งพวก 50.0
2 การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ 43.4
3 ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 18.3
4 ความไม่รู้จักพอ /การใส่ร้ายป้ายสี / ชิงดีชิงเด่นกัน / หลงในอำนาจ 13.2
5 การปลุกระดม ม็อบ / คลื่นใต้น้ำ / การฉวยโอกาสยุแหย่ให้แตกความสามัคคี 11.7
6 การทุจริตคอรัปชั่น / โกงกิน 10.7
7 ความไม่รู้รักสามัคคีระหว่างกัน 10.7
8 ความอ่อนแอ ไม่จริงใจ ไม่เอาจริงเอาจัง และไม่เด็ดขาดในการทำงานของรัฐบาล 8.7
9 สื่อมวลชนที่ไม่มีจรรยาบรรณ นำเสนอข่าวสารอย่างผิดๆ ไม่สร้างสรรค์สังคม 6.1
10 ปัญหาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ 4.6
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทย หากตนเองเป็นนักธุรกิจชาวต่างชาติ
ที่กำลังลงทุนอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้
ลำดับที่ การตัดสินใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทำต่อไป โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
การทำงานต้องดำเนินต่อไป เป็นต้น 46.0
2 คิดว่าจะถอนการลงทุน โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่มั่นใจในสถานการณ์
ดูนโยบายของรัฐบาลก่อน บ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่ เป็นต้น 54.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนทำธุรกิจในสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
หากตนเองเป็นนักธุรกิจชาวต่างชาติที่กำลังตัดสินใจที่จะลงทุนในประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ชลอการลงทุน โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่มั่นใจในสถานการณ์
ดูนโยบายของรัฐบาลก่อน บ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่ เป็นต้น 85.2
2 คิดว่าจะลงทุนในขณะนี้ โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ถ้ามีเงินก็อยากจะลงทุน
ภาวะเศรษฐกิจยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เป็นต้น 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับความจริงใจของบุคคล / กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่จะทำให้
ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
บุคคล / กลุ่มบุคคล ความจริงใจ รวม
คิดว่าจริงใจ ไม่จริงใจ ไม่มีความเห็น
1. นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 51.7 15.8 32.5 100.0
2. ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 46.0 19.0 35.0 100.0
3. กองทัพ / ทหาร 43.1 16.9 40.0 100.0
4. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) 42.2 16.1 41.7 100.0
5. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 42.1 17.6 40.3 100.0
6. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 37.8 20.8 41.4 100.0
7. สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 38.2 17.8 44.0 100.0
8. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 38.1 17.5 44.4 100.0
9. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) 37.2 19.1 43.7 100.0
10. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 33.2 21.5 45.3 100.0
11. นักการเมืองที่ไม่ใช่กลุ่มอำนาจเก่า 18.8 31.6 49.6 100.0
12. นักการเมืองกลุ่มอำนาจเก่า 17.9 37.1 45.0 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าควรเปลี่ยน เพราะ เวลาเหลือน้อย เปลี่ยนไปก็มีปัญหาเหมือนเดิม นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นคนดี
และไม่อยากให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีแต่ขอให้เปลี่ยนวิธีการทำงานให้รวดเร็วฉับไวมากขึ้น 38.0
2 ไม่ควรเปลี่ยน เพราะ ทำงานล่าช้า ไม่ทันเวลา ไม่สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้
และอยากเห็นคนทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เป็นต้น 62.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 เปรียบเทียบความนิยมสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตาม
กลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับไม่พอเพียง
ความนิยมสนับสนุน ไม่พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างแท้จริง
1. สนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 33.3 26.2 35.0 41.6
2. สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 28.7 27.4 23.4 11.9
3. ไม่มีความเห็น 38.0 46.4 41.6 46.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ การตัดสินใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยังไม่มีพรรคที่ชอบ โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ยังไม่ตัดสินใจ รอดูนโยบายของแต่ละพรรคก่อน เป็นต้น 56.4
2 พรรคไทยรักไทย 20.7
3 พรรคประชาธิปัตย์ 18.5
4 พรรคชาติไทย 3.6
5 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคการเมืองท้องถิ่น 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการที่จะเกิดเป็นคนไทยอยู่ในประเทศไทยอีก หากเกิดใหม่ได้
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่าง กันยายน 2549ค่าร้อยละ มีนาคม 2550ค่าร้อยละ
1 อยาก เพราะ....วัฒนธรรมไทย ความจงรักภักดี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ความมีน้ำใจต่อกัน เป็นต้น 97.9 67.7
2 ไม่อยาก เพราะ.....คนไทยไม่สามัคคีกัน บ้านเมืองมีแต่ความวุ่นวาย แบ่งพรรคแบ่งพวก
ความไม่เป็นธรรมในสังคม และ เพราะเกิดมาจน เป็นต้น 0.6 4.7
3 ไม่แน่ใจ 1.5 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-