ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่องความพอใจของสาธารณชนต่อ
นโยบายของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 2,144 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-20 มกราคม 2550 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้
ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ได้ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อประเมินความพอ
ใจของประชาชนต่อผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า คะแนนความพอใจของประชาชนต่อผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลใน
ภาคการเมืองการปกครองถือว่าสอบผ่านได้ 5.81 คะแนนจาก 10 คะแนน โดยพบว่าผลงานอันดับแรกได้รับความพอใจจากประชาชนสูงสุดคือร้อยละ
74.3 ได้แก่เรื่องการเสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมืองและวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 69.7 ได้แก่การเสริมสร้างมาตรการ
ป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคการเมือง ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ อันดับที่สามคือ ร้อยละ 58.3 ได้แก่การสนับสนุน
กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อันดับที่สี่คือ ร้อยละ 56.2 ได้แก่การที่รัฐบาลเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ อันดับที่ห้าคือ 54.3
ได้แก่เรื่องการเน้นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐมีมโนสุจริตดำรงชีพอย่างพอเพียงมีขีดความสามารถบริการประชาชน และอันดับที่หกคือ ร้อยละ
51.7 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง พิทักษ์ปกป้องสิทธิและประโยชน์ของตนเองและสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม ที่ได้รับความพอใจจากประชาชนไม่ถึงครึ่งหนึ่ง มีดังนี้ ร้อยละ 22.0 ได้แก่การผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุ
กระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง ร้อยละ 29.2 ได้แก่การส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนควบคู่ไปกับความรับผิด
ชอบต่อสังคม ร้อยละ 38.3 ได้แก่เรื่องการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง และร้อยละ 40.6 ได้แก่เรื่องการป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับ
ซ้อนและแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่การเมืองและราชการ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อพิจารณาบรรดาผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญเร่ง
ด่วนคือ การให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชนและมีกฎหมายที่สามารถเอาผิดบรรดาสื่อมวลชนที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าว อย่างไรก็
ตาม สิ่งที่สำคัญและมีผลต่อประชาชนในวงกว้างคือเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนและการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่
ทางราชการ ซึ่งหลังการยึดอำนาจและปฏิรูปการปกครองฯ ไม่ใช่ว่าเรื่องเหล่านี้จะลดลงหรือหมดไป แต่อาจมีการเปลี่ยนถ่ายจากการแสวงหาผล
ประโยชน์จากฝ่ายการเมืองสู่กลุ่มข้าราชการประจำที่กุมอำนาจอยู่ในขณะนี้ สังคมและรัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยไม่เลือกปฏิบัติทั้งฝ่ายการเมือง
อำนาจเก่าและฝ่ายที่กำลังมีอำนาจอยู่ในขณะนี้
แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลชุดนี้คือ ผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ ที่ผลสำรวจพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพอใจ
โดยภาพรวมต่ำกว่าครึ่งคือได้เพียง 4.62 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพบว่าผลงานที่ได้รับคะแนนความพอใจต่ำที่สุดคือ ร้อยละ 27.8 ได้แก่
เรื่องการส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศ ร้อยละ 28.2 ได้แก่เรื่องการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของ
ผู้บริโภค ร้อยละ 29.9 ได้แก่เรื่องการขยายโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 30.7 ได้แก่เรื่องการเสริมสร้างความ
ร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 31.8 ได้แก่เรื่องการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนตั้งแต่วางแผนจนถึงดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ ร้อยละ 34.5 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิการ
อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ร้อยละ 38.6 ได้แก่เรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ที่ได้รับความพอใจมากสุดคือร้อยละ 67.1 ได้แก่เรื่องการพัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว เน้นเอกลักษณ์และ
วัฒนธรรมไทย รองลงมาคือร้อยละ 55.2 ได้แก่เรื่องการสนับสนุนการออมในทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือน
และร้อยละ 54.1 ได้แก่เรื่องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า
สำหรับความพอใจของประชาชนต่อผลงานเชิงนโยบายด้านสังคมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ
7.34 คะแนนจาก 10 คะแนน โดยพบว่า ผลงานที่ได้รับความพอใจสูงสุดจากสาธารณชนคือร้อยละ 82.6 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมความรัก ความ
สามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ รองลงมาคือร้อยละ 81.9 ได้แก่เรื่องการเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ร้อยละ 66.4 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชนให้ประชาชนทุกระดับได้มีโอกาสเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ร้อยละ 60.4 ได้แก่เรื่อง
การส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบัน
ศาสนา ร้อยละ 51.1 ได้แก่เรื่องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชนและเสนอออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ และร้อยละ 50.3 ได้แก่เรื่อง
การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลงานรัฐบาลด้านสังคมที่ได้รับความพอใจจากประชาชนน้อยที่สุดได้แก่ ร้อยละ 40.4 คือเรื่องการส่งเสริมบทบาทครอบ
ครัว ชุมชน องค์กร อาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา และศาสนาร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ดร.นพดล กล่าวว่า โดยภาพรวมน่าจะกล่าวได้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันยังคงได้รับความพอใจจากสาธารณชนในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ
ของรัฐบาลต่อไปอีกระยะหนึ่งทั้งในด้านการเมืองและสังคม อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาผลวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าผลงานที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันนี้
กำลังได้รับความพอใจจากสาธารณชนน้อยกว่ารัฐบาลทักษิณคือ เรื่องแรกคือการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหายาเสพ
ติด เรื่องที่สองคือ การดูแลปัญหาของคุณภาพเด็ก เยาวชน คนพิการและผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม มีผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันหลายอย่างที่ได้รับความพอ
ใจจากสาธารณชนมากกว่ารัฐบาลทักษิณคือ เรื่องความรักความสามัคคีของคนในชาติ และการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2. เพื่อสำรวจพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายภาคสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาลใน
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุเทพหมหานครและต่างจังหวัด” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ
18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,144 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-20 มกราคม
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้แก่ จังหวัด สมุทรปราการ
เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี กาญจนบุรี หนองคาย นครราชสีมา อุบลราชธานี นครพนม สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,144 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 34.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.9 เป็นเกษตรกรและรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.4 ระบุค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 6.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 68.9 อยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 31.1 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 44.1
2 3-4 วัน 28.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 12.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.8
5 ไม่ได้ติดตาม 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคการเมืองการปกครอง
ลำดับที่ ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรม 74.3 11.5 14.2
2 เสริมสร้างมาตรการป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคการเมือง
ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 69.7 19.6 10.7
3 สนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 58.3 23.7 18.0
4 รัฐบาลจะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ 56.2 24.4 19.4
5 เน้นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีมโนสุจริต ดำรงชีพอย่างพอเพียง
มีขีดความสามารถบริการประชาชน 54.3 18.8 26.9
6 ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง พิทักษ์ปกป้องสิทธิและประโยชน์
ของตนเองและสังคมไทย 51.7 19.6 28.7
7 ป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน และการแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ 40.6 38.9 20.5
8 จัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง 38.3 41.5 20.2
9 ส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม 29.2 57.7 13.1
10 ผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง 22.0 54.5 23.5
คะแนนความพอใจเฉลี่ยต่อผลงานเชิงนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)5.81 คะแนน
หรือหลักธรรมาภิบาล
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคเศรษฐกิจ
ลำดับที่ ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 พัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว เน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย 67.1 20.5 12.4
2 สนับสนุนการออมในทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือน 55.2 21.1 23.7
3 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า 54.1 17.4 28.5
4 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 38.6 29.3 32.1
5 ส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 34.5 32.9 32.6
6 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่วางแผน จนถึงดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ 31.8 33.6 34.6
7 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 30.7 34.4 34.9
8 ขยายโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร 29.9 34.7 35.4
9 สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 28.2 31.5 40.3
10 ส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศ 27.8 49.9 22.3
คะแนนความพอใจเฉลี่ยต่อผลงานเชิงนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)4.62 คะแนน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคสังคม
ลำดับที่ ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 82.6 9.8 7.6
2 เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 66.4 17.4 16.2
4 ส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน
ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบันศาสนา 60.4 13.6 26.0
5 พัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชนและเสนอออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 51.1 22.5 26.4
6 ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 50.3 37.4 12.3
7 คุ้มครองสิทธิเสริภาพประชาชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม 45.8 43.2 11.0
8 ดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุและผู้ด้อยโอกาส 42.8 43.7 13.5
9 สนับสนุนสิทธิสตรี และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 41.2 52.4 6.4
10 ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน องค์กร อาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา
และศาสนาร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 40.4 45.1 14.5
คะแนนความพอใจเฉลี่ยต่อผลงานเชิงนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)7.34 คะแนน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
นโยบายของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 2,144 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-20 มกราคม 2550 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้
ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ได้ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อประเมินความพอ
ใจของประชาชนต่อผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า คะแนนความพอใจของประชาชนต่อผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลใน
ภาคการเมืองการปกครองถือว่าสอบผ่านได้ 5.81 คะแนนจาก 10 คะแนน โดยพบว่าผลงานอันดับแรกได้รับความพอใจจากประชาชนสูงสุดคือร้อยละ
74.3 ได้แก่เรื่องการเสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมืองและวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 69.7 ได้แก่การเสริมสร้างมาตรการ
ป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคการเมือง ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ อันดับที่สามคือ ร้อยละ 58.3 ได้แก่การสนับสนุน
กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อันดับที่สี่คือ ร้อยละ 56.2 ได้แก่การที่รัฐบาลเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ อันดับที่ห้าคือ 54.3
ได้แก่เรื่องการเน้นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐมีมโนสุจริตดำรงชีพอย่างพอเพียงมีขีดความสามารถบริการประชาชน และอันดับที่หกคือ ร้อยละ
51.7 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง พิทักษ์ปกป้องสิทธิและประโยชน์ของตนเองและสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม ที่ได้รับความพอใจจากประชาชนไม่ถึงครึ่งหนึ่ง มีดังนี้ ร้อยละ 22.0 ได้แก่การผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุ
กระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง ร้อยละ 29.2 ได้แก่การส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนควบคู่ไปกับความรับผิด
ชอบต่อสังคม ร้อยละ 38.3 ได้แก่เรื่องการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง และร้อยละ 40.6 ได้แก่เรื่องการป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับ
ซ้อนและแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่การเมืองและราชการ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อพิจารณาบรรดาผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญเร่ง
ด่วนคือ การให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชนและมีกฎหมายที่สามารถเอาผิดบรรดาสื่อมวลชนที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าว อย่างไรก็
ตาม สิ่งที่สำคัญและมีผลต่อประชาชนในวงกว้างคือเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนและการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่
ทางราชการ ซึ่งหลังการยึดอำนาจและปฏิรูปการปกครองฯ ไม่ใช่ว่าเรื่องเหล่านี้จะลดลงหรือหมดไป แต่อาจมีการเปลี่ยนถ่ายจากการแสวงหาผล
ประโยชน์จากฝ่ายการเมืองสู่กลุ่มข้าราชการประจำที่กุมอำนาจอยู่ในขณะนี้ สังคมและรัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยไม่เลือกปฏิบัติทั้งฝ่ายการเมือง
อำนาจเก่าและฝ่ายที่กำลังมีอำนาจอยู่ในขณะนี้
แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลชุดนี้คือ ผลงานเชิงนโยบายของรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ ที่ผลสำรวจพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพอใจ
โดยภาพรวมต่ำกว่าครึ่งคือได้เพียง 4.62 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพบว่าผลงานที่ได้รับคะแนนความพอใจต่ำที่สุดคือ ร้อยละ 27.8 ได้แก่
เรื่องการส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศ ร้อยละ 28.2 ได้แก่เรื่องการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของ
ผู้บริโภค ร้อยละ 29.9 ได้แก่เรื่องการขยายโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 30.7 ได้แก่เรื่องการเสริมสร้างความ
ร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 31.8 ได้แก่เรื่องการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนตั้งแต่วางแผนจนถึงดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ ร้อยละ 34.5 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิการ
อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ร้อยละ 38.6 ได้แก่เรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ที่ได้รับความพอใจมากสุดคือร้อยละ 67.1 ได้แก่เรื่องการพัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว เน้นเอกลักษณ์และ
วัฒนธรรมไทย รองลงมาคือร้อยละ 55.2 ได้แก่เรื่องการสนับสนุนการออมในทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือน
และร้อยละ 54.1 ได้แก่เรื่องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า
สำหรับความพอใจของประชาชนต่อผลงานเชิงนโยบายด้านสังคมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ
7.34 คะแนนจาก 10 คะแนน โดยพบว่า ผลงานที่ได้รับความพอใจสูงสุดจากสาธารณชนคือร้อยละ 82.6 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมความรัก ความ
สามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ รองลงมาคือร้อยละ 81.9 ได้แก่เรื่องการเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ร้อยละ 66.4 ได้แก่เรื่องการส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชนให้ประชาชนทุกระดับได้มีโอกาสเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ร้อยละ 60.4 ได้แก่เรื่อง
การส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบัน
ศาสนา ร้อยละ 51.1 ได้แก่เรื่องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชนและเสนอออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ และร้อยละ 50.3 ได้แก่เรื่อง
การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลงานรัฐบาลด้านสังคมที่ได้รับความพอใจจากประชาชนน้อยที่สุดได้แก่ ร้อยละ 40.4 คือเรื่องการส่งเสริมบทบาทครอบ
ครัว ชุมชน องค์กร อาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา และศาสนาร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ดร.นพดล กล่าวว่า โดยภาพรวมน่าจะกล่าวได้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันยังคงได้รับความพอใจจากสาธารณชนในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ
ของรัฐบาลต่อไปอีกระยะหนึ่งทั้งในด้านการเมืองและสังคม อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาผลวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าผลงานที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันนี้
กำลังได้รับความพอใจจากสาธารณชนน้อยกว่ารัฐบาลทักษิณคือ เรื่องแรกคือการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหายาเสพ
ติด เรื่องที่สองคือ การดูแลปัญหาของคุณภาพเด็ก เยาวชน คนพิการและผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม มีผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันหลายอย่างที่ได้รับความพอ
ใจจากสาธารณชนมากกว่ารัฐบาลทักษิณคือ เรื่องความรักความสามัคคีของคนในชาติ และการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2. เพื่อสำรวจพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายภาคสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาลใน
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุเทพหมหานครและต่างจังหวัด” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ
18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,144 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-20 มกราคม
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้แก่ จังหวัด สมุทรปราการ
เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี กาญจนบุรี หนองคาย นครราชสีมา อุบลราชธานี นครพนม สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,144 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 34.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.9 เป็นเกษตรกรและรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.4 ระบุค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 6.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 68.9 อยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 31.1 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 44.1
2 3-4 วัน 28.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 12.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.8
5 ไม่ได้ติดตาม 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคการเมืองการปกครอง
ลำดับที่ ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรม 74.3 11.5 14.2
2 เสริมสร้างมาตรการป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคการเมือง
ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 69.7 19.6 10.7
3 สนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 58.3 23.7 18.0
4 รัฐบาลจะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ 56.2 24.4 19.4
5 เน้นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีมโนสุจริต ดำรงชีพอย่างพอเพียง
มีขีดความสามารถบริการประชาชน 54.3 18.8 26.9
6 ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง พิทักษ์ปกป้องสิทธิและประโยชน์
ของตนเองและสังคมไทย 51.7 19.6 28.7
7 ป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน และการแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ 40.6 38.9 20.5
8 จัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง 38.3 41.5 20.2
9 ส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม 29.2 57.7 13.1
10 ผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง 22.0 54.5 23.5
คะแนนความพอใจเฉลี่ยต่อผลงานเชิงนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)5.81 คะแนน
หรือหลักธรรมาภิบาล
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคเศรษฐกิจ
ลำดับที่ ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 พัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว เน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย 67.1 20.5 12.4
2 สนับสนุนการออมในทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือน 55.2 21.1 23.7
3 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า 54.1 17.4 28.5
4 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 38.6 29.3 32.1
5 ส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 34.5 32.9 32.6
6 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่วางแผน จนถึงดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ 31.8 33.6 34.6
7 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 30.7 34.4 34.9
8 ขยายโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร 29.9 34.7 35.4
9 สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 28.2 31.5 40.3
10 ส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศ 27.8 49.9 22.3
คะแนนความพอใจเฉลี่ยต่อผลงานเชิงนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)4.62 คะแนน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคสังคม
ลำดับที่ ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 82.6 9.8 7.6
2 เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 66.4 17.4 16.2
4 ส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน
ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบันศาสนา 60.4 13.6 26.0
5 พัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชนและเสนอออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 51.1 22.5 26.4
6 ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 50.3 37.4 12.3
7 คุ้มครองสิทธิเสริภาพประชาชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม 45.8 43.2 11.0
8 ดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุและผู้ด้อยโอกาส 42.8 43.7 13.5
9 สนับสนุนสิทธิสตรี และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 41.2 52.4 6.4
10 ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน องค์กร อาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา
และศาสนาร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 40.4 45.1 14.5
คะแนนความพอใจเฉลี่ยต่อผลงานเชิงนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)7.34 คะแนน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-