ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส. บัญชี รายชื่อ ทั่วประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 28 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก สุพรรณบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม สระแก้ว นครราชสีมา ขอนแก่น อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ น่าน อุทัยธานี สุโขทัย เพชรบูรณ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา และยะลา จำนวนทั้งสิ้น 5,349 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวัน ที่ 1 — 21 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา และใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือนและผู้ มีสิทธิเลือกตั้งในระดับครัวเรือน พบว่า
ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะมีผู้ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 76.2 และเมื่อประมาณการทางสถิติพบว่ามีผู้ตั้งใจจะไปใช้สิทธิจำนวน 36,057,794 คน หรือประมาณ 36 ล้านคน ในช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 หมายความว่า ความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ไปใช้สิทธิอยู่ระหว่าง ร้อยละ 69.2 ถึงร้อยละ 83.2 และมีผู้ไม่ไปใช้สิทธิร้อยละ 23.8 หรือประมาณ 11,262,145 คนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 47,319,939 คน
ในกลุ่มคนที่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมีผู้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งในใจแล้วอยู่ร้อยละ 69.9 หรือประมาณ 25,204,398 คนหรือกว่า 25 ล้านคน แต่มีผู้ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 30.1 หรือประมาณ 10,853,396 คน หรือกล่าวได้ว่าประมาณ 10 ล้านคนที่ยัง ไม่ตัดสินใจ จากจำนวนผู้ตั้งใจจะไปใช้สิทธิ 36,057,794 คน
เมื่อคำนวนจำนวนที่นั่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อโดยประมาณการจำนวนที่นั่งตามสูตร ที่นำเอาค่าประมาณคะแนนของทุกพรรคการเมืองรวม กันหารด้วยจำนวนที่นั่ง และนำผลหารไปหารค่าคะแนนนิยมของแต่ละพรรคการเมืองที่ประมาณการได้ โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบ ว่า พรรคเพื่อไทยจะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะอยู่ในช่วง 46 — 63 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ในช่วง 40 — 58 ที่นั่ง พรรคภูมิใจ ไทยจะได้ในช่วง 0 — 17 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินจะได้ช่วง 0 — 13 ที่นั่ง พรรคอื่นๆ เช่น พรรครักประเทศไทย รักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น จะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเป็นช่วง 0 — 18 ที่นั่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวนจำนวนที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นจุดตำแหน่ง พบว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้ 55 ที่นั่ง หรือ คิดเป็นร้อยละ 43.7 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด พรรคประชาธิปัตย์ได้ 49 ที่นั่งหรือคิดเป็นร้อยละ 39.1 พรรคภูมิใจไทยได้ 8 ที่นั่งหรือคิดเป็นร้อยละ 6.6 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินได้ 4 ที่นั่งหรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 และพรรคอื่นๆ เช่น พรรครักประเทศไทย รักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ พรรคชาติไทย พัฒนา คาดว่าจะได้รวมกันประมาณ 9 ที่นั่งหรือคิดเป็นร้อยละ 7.1 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ผลสำรวจยังพบด้วยว่ามีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนอยู่ร้อย ละ 5.1 ของผู้ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจที่ค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยจะได้คะแนนเสียงนำพรรคประชาธิปัต ย์ใน ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่เมื่อเป็นข้อมูลจากการสำรวจด้วยตัวอย่างจึงต้องคำนวนช่วงความคลาดเคลื่อนด้วย ก็จะพบว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ทั้ง สองพรรคยังคงมีโอกาสที่จะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไม่ทิ้งห่างกันมากนัก และเมื่อประมาณการทางสถิติ
พบว่า ยังมีคนที่ยังไม่ตัดสินใจอีกประมาณสิบล้านคนที่น่าจะเป็นกลุ่มคนตัดสินผลการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ว่า พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือก ตั้งแบบทิ้งห่างตามกระแสข่าวสารและประชาชนจะตัดสินใจตามกระแสนั้นหรือไม่ หรือคนกลุ่มนี้จะตัดสินใจทำให้ผลการเลือกตั้งออกมาแตกต่างไป จากกระแสที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ จึงขึ้นอยู่ว่าประชาชนจะตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลช่วงเวลาสั้นๆ ที่ปรากฏในเดือนหรือสองเดือนนี้ หรือประชาชนจะตัดสินใจเลือกตั้งด้วยการนำเอาความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเองย้อนหลังไปในช่วง 5 — 6 ปีที่ผ่าน มาว่าประเทศชาติได้บอบช้ำกับความวุ่นวายต่างๆ ทางการเมืองที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำได้เพียงนั่งดูความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ด้วย ความหดหู่หน้าจอทีวีและในสื่อต่างๆ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 50.6 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 49.4 เป็นเพศชาย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตาม ช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 8.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 24.7 อายุ ระหว่าง 40— 49 ปี และร้อยละ 20.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 77.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.5 ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป และร้อยละ 36.4 เป็นเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 28.6 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 12.1 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อย ละ 9.1 เป็นข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.4 เป็นนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 5.0 เป็นแม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ ในขณะที่ร้อยละ 2.4 ว่างงาน ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงผลการประมาณการจำนวนประชาชนและค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ค่าร้อยละ ผลประมาณการ (คน) 1 ไป 76.2 36,057,794 2 ไม่ไป 23.8 11,262,145 รวมทั้งสิ้น 100.0 47,319,939 ตารางที่ 2 แสดงผลการประมาณการจำนวนประชาชนและค่าร้อยละของตัวอย่างที่ตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วกับผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ (เฉพาะผู้จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง) ลำดับที่ การตัดสินใจของประชาชน ค่าร้อยละ ผลประมาณการ (คน) 1 ตัดสินใจแล้ว 69.9 25,204,398 2 ยังไม่ตัดสินใจ 30.1 10,853,396 รวมทั้งสิ้น 100.0 36,057,794 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองแบบบัญชีรายชื่อ และผลคำนวณจำนวนที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ (ประมาณการจำนวนที่นั่งตามสูตรคำนวณ***) ลำดับที่ พรรคการเมือง จำนวนที่นั่ง(ช่วงความน่าจะเป็น) จำนวนที่นั่ง(เป็นตำแหน่ง) ค่าร้อยละของจำนวนที่นั่ง 1 พรรคเพื่อไทย 46 — 63 55 43.7 2 พรรคประชาธิปัตย์ 40 — 58 49 39.1 3 พรรคภูมิใจไทย 0 — 17 8 6.6 4 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0 — 13 4 3.5 5 พรรคอื่นๆ เช่น พรรครักประเทศไทย รักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น 0 - 18 9 7.1 รวมทั้งสิ้น 125 100.0
หมายเหตุ ช่วงความคลาดเคลื่อน +/- 7%
--เอแบคโพลล์--