ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis :ABAC SIMBA) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “วิจัยฐานการเมืองและการปรับ
คณะรัฐมนตรีในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,420
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 3-4 มีนาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวการเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ84.2 ระบุติดตามข่าวเป็น
ประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 วัน ในขณะที่ร้อยละ 15.8 ระบุติดตามเป็นบางสัปดาห์/ไม่ได้ติดตามเลย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อขอให้ประชาชนที่ถูกศึกษาบอกว่าจุดยืนทางการเมืองของตนเป็นอย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.5
ระบุว่าเป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบไม่ขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นระบุ
เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล
และเมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนที่แสดงจุดยืนทางการเมืองออกตามสมาชิกพรรคไทยรักไทยกับไม่ใช่สมาชิกพรรคไทยรักไทย พบประเด็นที่น่า
สนใจคือ ในกลุ่มที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยจำนวนมากหรือร้อยละ 41.5 ยังระบุว่าตนเองขอเป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบเช่นกัน ในขณะที่บรรดาผู้ที่
ไม่ใช่สมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุว่าเป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบไม่ขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่าประชาชนให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานน้อยลง แต่ผลสำรวจในช่วงเวลาที่สาธารณชน
ทั่วไปมองว่ารัฐบาลกำลังมีปัญหารุมเร้ามากมาย กลับพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 70.8 ยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ
1 ปีตามที่เคยประกาศไว้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 18.3 ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 10.9 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกออกตามระดับการศึกษาพบ
ว่า ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 เลยทีเดียวที่เห็นว่าควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 68.9
ของประชาชนที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีระบุให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่มีจุดยืนทางการเมืองแตกต่างกันสองกลุ่มคือ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7
และร้อยละ 67.3 ยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.1 ยังคิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กำลังพยายามทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน
ในขณะที่ร้อยละ 21.2 คิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ กำลังทำงานเพื่อพวกพ้องของตนเอง และร้อยละ 5.7 ระบุไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 77.8 พร้อมให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี อดทนทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไปจนครบวาระตามที่กำหนดไว้ ในขณะที่ร้อยละ 19.4 ไม่พร้อมให้
กำลังใจ และร้อยละ 2.8 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 เห็นควรตำหนิกลุ่มการเมืองที่กำลังเคลื่อนไหวก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
ในหมู่ประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 14.8 เห็นว่าไม่ควรตำหนิ และร้อยละ 2.3 ไม่มีความเห็น และประชาชนส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 57.0 เห็นด้วย
ที่นักการเมืองพรรคต่างๆ ควรยุติบทบาทชั่วคราวในช่วงเวลานี้ เพื่อให้รัฐบาลเฉพาะกิจสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ไม่เห็น
ด้วย และร้อยละ 31.9 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงการปรับคณะรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.2 คิดว่าควรปรับเฉพาะตำแหน่งสำคัญเพราะ
เวลาตามที่กำหนดไว้เหลือน้อย ในขณะที่ร้อยละ 23.0 คิดว่าควรปรับใหม่ทั้งหมด และ ร้อยละ 30.7 เห็นว่าแล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจ
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 เห็นด้วยที่รัฐบาลได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะ
ที่ร้อยละ 10.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่างๆ พบว่า ประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 24.8 เห็นด้วยกับกระแสข่าวที่จะ
ให้นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงและประสานแก้ปัญหาสังคมครบวงจร ในขณะที่ร้อยละ
40.2 ระบุขึ้นอยู่กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จะตัดสินใจ และเพียงร้อยละ 15.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.2 ระบุไม่มีความเห็น นอกจากนี้ร้อยละ 26.3
ยังเห็นด้วยกับกระแสข่าว ให้นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฐ์ ควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะที่ร้อยละ42.3ระบุขึ้น
กับนายกรัฐมนตรีตัดสินใจ ร้อยละ 19.1ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.3 ระบุไม่มีความเห็น และประชาชนร้อยละ 23.4 เห็นด้วยกับกระแสข่าวให้นาย
ปิยะบุตร ชลวิจารณ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในขณะที่ร้อยละ 36.1 ระบุขึ้นกับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 12.7 เท่านั้นที่
ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 27.8 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลรีบแก้ไขหลังการปรับคณะรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า อันดับหนึ่งหรือส่วนใหญ่ร้อยละ
57.2 ระบุเป็นปัญหาเศรษฐกิจ รองลงมาคือร้อยละ 38.0 ระบุเป็นปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 20.2 ระบุเป็นปัญหา
การแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 11.4 ระบุเป็นปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 10.8 ระบุเป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศ และร้อยละ 9.4 ระบุ
ปัญหาอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด และปัญหาว่างงานเป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 ระบุยังไม่มีพรรคที่ชอบ ในขณะที่ร้อยละ
22.0 ระบุเลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.1 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.2 ระบุเลือกพรรคชาติไทย และร้อยละ 1.7 ระบุเลือกพรรคอื่นๆ
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นเพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 53.4 ระบุ
ให้ทุกฝ่ายสามัคคีและมีไมตรีจิตต่อกัน เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ รองลงมาคือร้อยละ 38.6 ระบุขอให้ทุกฝ่ายสร้าง
ความเข้าใจต่อกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา รับฟังความเห็นผู้อื่น ร้อยละ 16.1 ระบุไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 9.2 ระบุทำหน้าที่ของตนให้ดีที่
สุด ร้อยละ 6.8 ระบุเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ร้อยละ 6.8 เช่นกันระบุมีความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง และร้อยละ 5.6 ระบุดำเนินชีวิต
ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า
ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.1 ยังคงเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ ในขณะที่ร้อยละ 26.5 เชื่อถือศรัทธา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ
และร้อยละ 36.4 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกออกตามระดับการศึกษา พบความแตกต่างชัดเจนว่า คนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ
48.7 และคนที่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีอยู่ร้อยละ 33.7 ที่สนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะที่ คนที่จบปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 17.5 และ
คนที่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 30.1 เชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากนี้ ยังสำรวจพบด้วยว่า ทุกกลุ่มอาชีพของ
ประชาชนยังคงเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มากกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยกเว้นกลุ่มรับจ้างแรงงานทั่วไป คือร้อยละ 51.9 ต่อร้อย
ละ 25.0 ในกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 35.0 ต่อร้อยละ 28.3 ในกลุ่มพนักงานเอกชน ร้อยละ 40.3 ต่อร้อยละ 21.9 ในกลุ่มค้า
ขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 38.8 ต่อร้อยละ 20.4 ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 36.9 ต่อร้อยละ 29.2 ในกลุ่มแม่บ้าน พ่อบ้านและเกษียณอายุ
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 30.1 ของกลุ่มรับจ้างแรงงานทั่วไปเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะที่ร้อยละ 34.0 เชื่อถือศรัทธาสนับ
สนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้คือ อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนตีกลับมาให้โอกาสสนับสนุนรัฐบาล พล.
อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในท่ามกลางความขัดแย้งต่างๆ มากมาย โดยเห็นได้ชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นใจและให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันอด
ทนทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป ซึ่งรัฐบาลควรจะรักษาการสนับสนุนจากประชาชนเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนนโยบายอีก 6 เดือนข้างหน้าให้
ประเทศไทยมีระบบกฎหมายที่ดีมีโครงสร้างฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เข้มแข็งสู่จุดหมายที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยประกาศไว้ในวัน
รับตำแหน่งว่าจะนำสังคมผาสุขมาสู่คนไทย จะใช้ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข มากกว่าการใช้จีดีพีในการวัดความเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นับจากนี้ไปผู้ใหญ่ 5 ฝ่ายในสังคม เช่น นายกรัฐมนตรี ประธาน คมช. ประธาน สสร. ประธาน สนช. และ
ประธาน กกต. น่าจะมีโอกาสพบปะพูดคุยพร้อมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อช่วยกันเร่งร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว สร้างกฎหมายระบบสังคมใหม่
สังคมที่ดีต่อวิถีชีวิตของประชาชนและขจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไปในห้วงเวลาที่ฟ้ากำลังเปิดอยู่นี้ เพื่อมิให้กลุ่มอำนาจใดๆ มากล่าวอ้างเหตุผลเพื่อ
ยึดอำนาจจากรัฐบาลในอนาคตได้ และคืนอำนาจให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อรัฐบาลในการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนและให้โอกาสรัฐบาลในการทำงาน
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยฐานการเมืองและการปรับคณะรัฐมนตรีในสายตา
ประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่
อายุ 18 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3—4 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,420 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 5.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 1.5 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทืระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.7
2 ติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ 22.4
3 ติดตาม 1-2 วัน/สัปดาห์ 18.1
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 10.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมืองของประชาชน
ลำดับที่ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล 31.3
2 เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล 4.2
3 เป็นฝ่ายอิสระ/พลังเงียบ 64.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมือง จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ลำดับที่ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมือง สมาชิกไทยรักไทยค่าร้อยละ ไม่ใช่สมาชิกไทยรักไทยค่าร้อยละ
1 เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล 35.4 31.1
2 เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล 23.1 2.6
3 เป็นฝ่ายอิสระ/พลังเงียบ 41.5 66.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปี ตามที่ประกาศไว้
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปีตามที่ประกาศไว้ ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 70.8
2 ไม่ควรให้โอกาส 18.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปี ตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปีตามที่ประกาศไว้ ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรี ขึ้นไปค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 68.9 80.0
2 ไม่ควรให้โอกาส 19.0 14.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.1 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปี ตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปีตามที่ประกาศไว้ ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ ฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ ฝ่ายอิสระ/พลังเงียบค่าร้อยละ
1. ควรให้โอกาส 84.7 26.5 67.3
2. ไม่ควรให้โอกาส 8.8 58.8 19.8
3. ไม่มีความคิดเห็น 6.5 14.7 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทำงานของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในสถานการณ์
การเมืองเช่นขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ พยายามทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน 73.1
2 คิดว่าทำงานเพื่อพวกพ้องของตนเอง 21.2
3 ไม่มีความเห็น 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการให้กำลังใจ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดทนทำงานเพื่อ
ประเทศชาติต่อไปจนครบวาระตามที่กำหนดไว้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 พร้อมให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี 77.8
2 ไม่พร้อมให้กำลังใจ 19.4
3 ไม่มีความเห็น 2.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีควรตำหนิกลุ่มการเมืองที่เคลื่อนไหวก่อให้เกิดปัญหา
ความขัดแย้งภายในหมู่ประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรตำหนิ 82.9
2 ไม่ควรตำหนิ 14.8
3 ไม่มีความเห็น 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนักการเมืองพรรคต่างๆ ควรยุติบทบาทชั่วคราว
ในช่วงเวลานี้ เพื่อให้รัฐบาลเฉพาะกิจสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 57.0
2 ไม่เห็นด้วย 11.1
3 ไม่มีความเห็น 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ปรับใหม่ทั้งหมด 23.0
2 ปรับเฉพาะตำแหน่งสำคัญ เพราะเวลาตามที่กำหนดไว้เหลือน้อย 46.2
3 แล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจ 30.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางที่รัฐบาลนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใข้
เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 74.9
2 ไม่เห็นด้วย 10.4
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่างๆ
กระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ขึ้นอยู่กับ พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลขับเคลื่อน
นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงและประสานการแก้ปัญหาสังคมครบวงจร 24.8 15.8 40.2 19.2 100.0
2. นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฐ์ ควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง 26.3 19.1 42.3 12.3 100.0
3. นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 23.4 12.7 36.1 27.8 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีชุดที่ปรับใหม่เร่งดำเนินการแก้ไข
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีชุดที่ปรับใหม่เร่งดำเนินการแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจ 57.2
2 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 38.0
3 ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด 20.2
4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 11.4
5 ปํญหาด้านความมั่นคงของประเทศ 10.8
6 อื่นๆ อาทิ......ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน/ด้านการศึกษา/
ปํญหาด้านที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด /ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น 9.4
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 พรรคประชาธิปัตย์ 16.1
2 พรรคไทยรักไทย 22.0
3 พรรคชาติไทย 4.2
4 พรรคอื่นๆ 1.7
5 ยังไม่มีพรรคที่ชอบ 56.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกัน
อย่างสงบสุข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ค่าร้อยละ
1 ให้ทุกฝ่ายสามัคคีและมีไมตรีจิตต่อกัน เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 53.4
2 สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน/เอาใจเขามาใส่ใจเรา/รับฟังความเห็นผู้อื่น 38.6
3 ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง 16.1
4 ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด 9.2
5 เคารพในสิทธิของผู้อื่นๆ /ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 6.8
6 มีความซื่อสัตย์/ไม่คดโกง 6.8
7 ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5.6
8 อื่นๆ อาทิ ปฏิบัติตนตามกฎหมาย/มีความยุติธรรม/มีคุณธรรม 6.4
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบกับ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 37.1
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 26.5
3 ไม่มีความเห็น 36.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบ
กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 33.7 48.7
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 30.1 17.5
3 ไม่มีความเห็น 36.2 33.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบ
กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามช่วงอาชีพ
ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย นร.นศ. รับจ้างแรงงานทั่วไป แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
1. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 51.9 35.0 40.3 38.8 30.1 36.9
2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 25.0 28.3 21.9 20.4 34.0 29.2
3. ไม่มีความเห็น 23.1 36.7 37.8 40.8 35.9 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1550
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis :ABAC SIMBA) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “วิจัยฐานการเมืองและการปรับ
คณะรัฐมนตรีในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,420
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 3-4 มีนาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวการเมืองในรอบ 30 วันที่ผ่านนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ84.2 ระบุติดตามข่าวเป็น
ประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 วัน ในขณะที่ร้อยละ 15.8 ระบุติดตามเป็นบางสัปดาห์/ไม่ได้ติดตามเลย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อขอให้ประชาชนที่ถูกศึกษาบอกว่าจุดยืนทางการเมืองของตนเป็นอย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.5
ระบุว่าเป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบไม่ขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นระบุ
เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล
และเมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนที่แสดงจุดยืนทางการเมืองออกตามสมาชิกพรรคไทยรักไทยกับไม่ใช่สมาชิกพรรคไทยรักไทย พบประเด็นที่น่า
สนใจคือ ในกลุ่มที่เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยจำนวนมากหรือร้อยละ 41.5 ยังระบุว่าตนเองขอเป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบเช่นกัน ในขณะที่บรรดาผู้ที่
ไม่ใช่สมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุว่าเป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบไม่ขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่าประชาชนให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานน้อยลง แต่ผลสำรวจในช่วงเวลาที่สาธารณชน
ทั่วไปมองว่ารัฐบาลกำลังมีปัญหารุมเร้ามากมาย กลับพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 70.8 ยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ
1 ปีตามที่เคยประกาศไว้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 18.3 ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 10.9 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกออกตามระดับการศึกษาพบ
ว่า ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 เลยทีเดียวที่เห็นว่าควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 68.9
ของประชาชนที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีระบุให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่มีจุดยืนทางการเมืองแตกต่างกันสองกลุ่มคือ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7
และร้อยละ 67.3 ยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.1 ยังคิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กำลังพยายามทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน
ในขณะที่ร้อยละ 21.2 คิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ กำลังทำงานเพื่อพวกพ้องของตนเอง และร้อยละ 5.7 ระบุไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 77.8 พร้อมให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี อดทนทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไปจนครบวาระตามที่กำหนดไว้ ในขณะที่ร้อยละ 19.4 ไม่พร้อมให้
กำลังใจ และร้อยละ 2.8 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 เห็นควรตำหนิกลุ่มการเมืองที่กำลังเคลื่อนไหวก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
ในหมู่ประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 14.8 เห็นว่าไม่ควรตำหนิ และร้อยละ 2.3 ไม่มีความเห็น และประชาชนส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 57.0 เห็นด้วย
ที่นักการเมืองพรรคต่างๆ ควรยุติบทบาทชั่วคราวในช่วงเวลานี้ เพื่อให้รัฐบาลเฉพาะกิจสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ไม่เห็น
ด้วย และร้อยละ 31.9 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงการปรับคณะรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.2 คิดว่าควรปรับเฉพาะตำแหน่งสำคัญเพราะ
เวลาตามที่กำหนดไว้เหลือน้อย ในขณะที่ร้อยละ 23.0 คิดว่าควรปรับใหม่ทั้งหมด และ ร้อยละ 30.7 เห็นว่าแล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจ
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 เห็นด้วยที่รัฐบาลได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะ
ที่ร้อยละ 10.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่างๆ พบว่า ประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 24.8 เห็นด้วยกับกระแสข่าวที่จะ
ให้นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงและประสานแก้ปัญหาสังคมครบวงจร ในขณะที่ร้อยละ
40.2 ระบุขึ้นอยู่กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จะตัดสินใจ และเพียงร้อยละ 15.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.2 ระบุไม่มีความเห็น นอกจากนี้ร้อยละ 26.3
ยังเห็นด้วยกับกระแสข่าว ให้นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฐ์ ควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะที่ร้อยละ42.3ระบุขึ้น
กับนายกรัฐมนตรีตัดสินใจ ร้อยละ 19.1ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.3 ระบุไม่มีความเห็น และประชาชนร้อยละ 23.4 เห็นด้วยกับกระแสข่าวให้นาย
ปิยะบุตร ชลวิจารณ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในขณะที่ร้อยละ 36.1 ระบุขึ้นกับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 12.7 เท่านั้นที่
ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 27.8 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลรีบแก้ไขหลังการปรับคณะรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า อันดับหนึ่งหรือส่วนใหญ่ร้อยละ
57.2 ระบุเป็นปัญหาเศรษฐกิจ รองลงมาคือร้อยละ 38.0 ระบุเป็นปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 20.2 ระบุเป็นปัญหา
การแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 11.4 ระบุเป็นปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 10.8 ระบุเป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศ และร้อยละ 9.4 ระบุ
ปัญหาอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด และปัญหาว่างงานเป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 ระบุยังไม่มีพรรคที่ชอบ ในขณะที่ร้อยละ
22.0 ระบุเลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.1 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.2 ระบุเลือกพรรคชาติไทย และร้อยละ 1.7 ระบุเลือกพรรคอื่นๆ
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นเพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 53.4 ระบุ
ให้ทุกฝ่ายสามัคคีและมีไมตรีจิตต่อกัน เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ รองลงมาคือร้อยละ 38.6 ระบุขอให้ทุกฝ่ายสร้าง
ความเข้าใจต่อกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา รับฟังความเห็นผู้อื่น ร้อยละ 16.1 ระบุไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 9.2 ระบุทำหน้าที่ของตนให้ดีที่
สุด ร้อยละ 6.8 ระบุเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ร้อยละ 6.8 เช่นกันระบุมีความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง และร้อยละ 5.6 ระบุดำเนินชีวิต
ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า
ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.1 ยังคงเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ ในขณะที่ร้อยละ 26.5 เชื่อถือศรัทธา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ
และร้อยละ 36.4 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกออกตามระดับการศึกษา พบความแตกต่างชัดเจนว่า คนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ
48.7 และคนที่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีอยู่ร้อยละ 33.7 ที่สนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะที่ คนที่จบปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 17.5 และ
คนที่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 30.1 เชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากนี้ ยังสำรวจพบด้วยว่า ทุกกลุ่มอาชีพของ
ประชาชนยังคงเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มากกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยกเว้นกลุ่มรับจ้างแรงงานทั่วไป คือร้อยละ 51.9 ต่อร้อย
ละ 25.0 ในกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 35.0 ต่อร้อยละ 28.3 ในกลุ่มพนักงานเอกชน ร้อยละ 40.3 ต่อร้อยละ 21.9 ในกลุ่มค้า
ขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 38.8 ต่อร้อยละ 20.4 ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 36.9 ต่อร้อยละ 29.2 ในกลุ่มแม่บ้าน พ่อบ้านและเกษียณอายุ
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 30.1 ของกลุ่มรับจ้างแรงงานทั่วไปเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะที่ร้อยละ 34.0 เชื่อถือศรัทธาสนับ
สนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้คือ อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนตีกลับมาให้โอกาสสนับสนุนรัฐบาล พล.
อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในท่ามกลางความขัดแย้งต่างๆ มากมาย โดยเห็นได้ชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นใจและให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันอด
ทนทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป ซึ่งรัฐบาลควรจะรักษาการสนับสนุนจากประชาชนเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนนโยบายอีก 6 เดือนข้างหน้าให้
ประเทศไทยมีระบบกฎหมายที่ดีมีโครงสร้างฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เข้มแข็งสู่จุดหมายที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยประกาศไว้ในวัน
รับตำแหน่งว่าจะนำสังคมผาสุขมาสู่คนไทย จะใช้ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข มากกว่าการใช้จีดีพีในการวัดความเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นับจากนี้ไปผู้ใหญ่ 5 ฝ่ายในสังคม เช่น นายกรัฐมนตรี ประธาน คมช. ประธาน สสร. ประธาน สนช. และ
ประธาน กกต. น่าจะมีโอกาสพบปะพูดคุยพร้อมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อช่วยกันเร่งร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว สร้างกฎหมายระบบสังคมใหม่
สังคมที่ดีต่อวิถีชีวิตของประชาชนและขจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไปในห้วงเวลาที่ฟ้ากำลังเปิดอยู่นี้ เพื่อมิให้กลุ่มอำนาจใดๆ มากล่าวอ้างเหตุผลเพื่อ
ยึดอำนาจจากรัฐบาลในอนาคตได้ และคืนอำนาจให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อรัฐบาลในการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนและให้โอกาสรัฐบาลในการทำงาน
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยฐานการเมืองและการปรับคณะรัฐมนตรีในสายตา
ประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่
อายุ 18 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3—4 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,420 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 5.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 1.5 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทืระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.7
2 ติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ 22.4
3 ติดตาม 1-2 วัน/สัปดาห์ 18.1
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 10.7
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมืองของประชาชน
ลำดับที่ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล 31.3
2 เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล 4.2
3 เป็นฝ่ายอิสระ/พลังเงียบ 64.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมือง จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ลำดับที่ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมือง สมาชิกไทยรักไทยค่าร้อยละ ไม่ใช่สมาชิกไทยรักไทยค่าร้อยละ
1 เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล 35.4 31.1
2 เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล 23.1 2.6
3 เป็นฝ่ายอิสระ/พลังเงียบ 41.5 66.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปี ตามที่ประกาศไว้
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปีตามที่ประกาศไว้ ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 70.8
2 ไม่ควรให้โอกาส 18.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปี ตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปีตามที่ประกาศไว้ ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรี ขึ้นไปค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 68.9 80.0
2 ไม่ควรให้โอกาส 19.0 14.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.1 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปี ตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
การให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระ 1 ปีตามที่ประกาศไว้ ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ ฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ ฝ่ายอิสระ/พลังเงียบค่าร้อยละ
1. ควรให้โอกาส 84.7 26.5 67.3
2. ไม่ควรให้โอกาส 8.8 58.8 19.8
3. ไม่มีความคิดเห็น 6.5 14.7 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทำงานของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในสถานการณ์
การเมืองเช่นขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ พยายามทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน 73.1
2 คิดว่าทำงานเพื่อพวกพ้องของตนเอง 21.2
3 ไม่มีความเห็น 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการให้กำลังใจ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดทนทำงานเพื่อ
ประเทศชาติต่อไปจนครบวาระตามที่กำหนดไว้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 พร้อมให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี 77.8
2 ไม่พร้อมให้กำลังใจ 19.4
3 ไม่มีความเห็น 2.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีควรตำหนิกลุ่มการเมืองที่เคลื่อนไหวก่อให้เกิดปัญหา
ความขัดแย้งภายในหมู่ประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรตำหนิ 82.9
2 ไม่ควรตำหนิ 14.8
3 ไม่มีความเห็น 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนักการเมืองพรรคต่างๆ ควรยุติบทบาทชั่วคราว
ในช่วงเวลานี้ เพื่อให้รัฐบาลเฉพาะกิจสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 57.0
2 ไม่เห็นด้วย 11.1
3 ไม่มีความเห็น 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ปรับใหม่ทั้งหมด 23.0
2 ปรับเฉพาะตำแหน่งสำคัญ เพราะเวลาตามที่กำหนดไว้เหลือน้อย 46.2
3 แล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจ 30.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางที่รัฐบาลนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใข้
เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 74.9
2 ไม่เห็นด้วย 10.4
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่างๆ
กระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ขึ้นอยู่กับ พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลขับเคลื่อน
นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงและประสานการแก้ปัญหาสังคมครบวงจร 24.8 15.8 40.2 19.2 100.0
2. นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฐ์ ควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง 26.3 19.1 42.3 12.3 100.0
3. นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 23.4 12.7 36.1 27.8 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีชุดที่ปรับใหม่เร่งดำเนินการแก้ไข
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีชุดที่ปรับใหม่เร่งดำเนินการแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจ 57.2
2 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 38.0
3 ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด 20.2
4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 11.4
5 ปํญหาด้านความมั่นคงของประเทศ 10.8
6 อื่นๆ อาทิ......ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน/ด้านการศึกษา/
ปํญหาด้านที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด /ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น 9.4
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 พรรคประชาธิปัตย์ 16.1
2 พรรคไทยรักไทย 22.0
3 พรรคชาติไทย 4.2
4 พรรคอื่นๆ 1.7
5 ยังไม่มีพรรคที่ชอบ 56.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกัน
อย่างสงบสุข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อทำให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ค่าร้อยละ
1 ให้ทุกฝ่ายสามัคคีและมีไมตรีจิตต่อกัน เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 53.4
2 สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน/เอาใจเขามาใส่ใจเรา/รับฟังความเห็นผู้อื่น 38.6
3 ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง 16.1
4 ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด 9.2
5 เคารพในสิทธิของผู้อื่นๆ /ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 6.8
6 มีความซื่อสัตย์/ไม่คดโกง 6.8
7 ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5.6
8 อื่นๆ อาทิ ปฏิบัติตนตามกฎหมาย/มีความยุติธรรม/มีคุณธรรม 6.4
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบกับ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 37.1
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 26.5
3 ไม่มีความเห็น 36.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบ
กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 33.7 48.7
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 30.1 17.5
3 ไม่มีความเห็น 36.2 33.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อเปรียบเทียบ
กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามช่วงอาชีพ
ความเชื่อถือศรัทธาสนับสนุน ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย นร.นศ. รับจ้างแรงงานทั่วไป แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
1. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 51.9 35.0 40.3 38.8 30.1 36.9
2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 25.0 28.3 21.9 20.4 34.0 29.2
3. ไม่มีความเห็น 23.1 36.7 37.8 40.8 35.9 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1550
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-