ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เสียงสะท้อนจาก
ประชาชนต่อรูปแบบการพัฒนาระบบงานตำรวจ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น
1,341 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2550 ผลสำรวจที่ค้นพบมีดังต่อไปนี้
จากการสำรวจความคิดเห็นต่อการทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 84.9 ระบุว่าตำรวจแต่งเครื่องแบบแล้วดูดี สง่า
งาม ในทางตรงข้ามก็มีตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 84.6 ที่ระบุว่าตำรวจมักใช้อำนาจ และร้อยละ 81.1 ยังระบุว่าตำรวจ
แสวงหาประโยชน์ เมื่อสอบถามการรับรู้ต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจ พบว่าตัวอย่างครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50.0 ระบุรับรู้แต่จำ
ไม่ได้ว่ามีประเด็นใดบ้าง โดยมีเพียงร้อยละ 9.8 เท่านั้นที่สามารถระบุประเด็นได้ ซึ่งประเด็นที่ระบุ อาทิ การปรับชั้นยศ ผบ.ตร. อาจมาจากคน
นอก การกระจายอำนาจการบริหาร และการย้ายสังกัด เป็นต้น
กรณีหากจะมีการปรับหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ไม่มีภารกิจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยตรงไปอยู่ในสังกัด
ของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ พบว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีตัวอย่างร้อยละ 58.1 ที่ระบุเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 26.4 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อย
ละ 15.5 ไม่มีความเห็น สำหรับตำรวจท่องเที่ยว มีตัวอย่างร้อยละ 56.5 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 26.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17.5 ไม่มีความ
เห็น สำหรับตำรวจทางหลวง ร้อยละ 55.4 เห็นด้วย ร้อยละ 28.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 16.1 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความคิด
เห็นต่อการโอนย้ายบางส่วนงานของตำรวจไปให้ชุมชน/เอกชนเป็นผู้ดูแล หรือมีการแปรรูปเป็นหน่วยงานพิเศษ พบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ
58.4 เห็นด้วยกับการแปรรูปโรงพยาบาลตำรวจเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit) รองลงมาร้อยละ 51.2 เห็นด้วยกับ
การโอนงานรักษาความปลอดภัยชุมชนให้ชุมชนเข้ามาดูแล ตามลำดับ
คณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการนโยบายตำรวจ พบว่าตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 72.9 เห็นด้วยที่จะให้คณะ
กรรมการมีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากข้าราชการตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม รองลงมาร้อยละ 66.0 เห็นด้วยที่จะให้เป็นคณะกรรมการที่ทำ
งานเต็มเวลาทั้งคณะ และร้อยละ 54.6 เห็นด้วยที่จะให้คณะกรรมการมีอำนาจในการสรรหาและถอดถอนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในส่วนของที่มา
คณะกรรมการนโยบายตำรวจ พบว่าตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือร้อยละ 71.7 เห็นว่าคณะกรรมการควรมาจากผู้แทนกลุ่มหน่วยงานในกระบวนการ
ยุติธรรม รองลงมาร้อยละ 69.5 เห็นว่าควรมาจากผู้แทนภาคประชาชน นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ และร้อยละ 68.7 เห็นว่าควรให้องค์กรอิสระ
สรรหาเพื่อให้มีความป็นกลางทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม เราพบว่าการปรับระบบงานตำรวจในประเด็นสำคัญยังได้รับการยอบรับค่อนข้างน้อย กล่าวคือ การปรับระบบงานตำรวจ
ในประเด็นตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จะคัดเลือกมาจากบุคคลภายนอก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ มีตัวอย่างเพียงร้อยละ
29.6 ที่ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 56.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.1 ไม่มีความเห็น ส่วนการปรับยศตำรวจชั้นประทวน (พลตำรวจ-ดาบ
ตำรวจ) ให้เหลือเพียงชั้นยศดาบตำรวจ มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 27.5 เท่านั้นที่ระบุเห็นด้วย โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 47.3 ไม่เห็นด้วย และร้อย
ละ 25.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายเมื่อเราเปิดโอกาสให้ตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นเพี่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารงานตำรวจไทย
พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 41.5 สะท้อนความคิดเห็นอยากให้ปรับปรุงให้เกิดความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คอรัปชั่น/ใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง ไม่
เรียกรับผลประโยชน์ รองลงมาร้อยละ 30.2 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานอย่างเต็มใจบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้าถึงประชาชน ร้อยละ
19.0 ต้องการให้ปรับปรุงให้เกิดความยุติธรรมเที่ยงตรง ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาค และร้อยละ 18.4 ขอให้รักษาระเบียบวินัย
อย่างเคร่งครัด ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เสียงสะท้อนจากประชาชนต่อรูปแบบ
การพัฒนาระบบงานตำรวจ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวัน
ที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
แบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน สำหรับกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่
ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 1,341 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่น
อยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
เมื่อพิจารณารณาระดับการศึกษาชั้นสูงสุดที่สำเร็จมาของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ เป็นเรื่องจริง/ค่อนข้างจริง ไม่ค่อยจริง/ไม่จริงเลย รวมทั้งสิ้น
1 ตำรวจแต่งเครื่องแบบแล้วดูดี สง่างาม 84.9 15.1 100.0
2 ตำรวจมักใช้อำนาจ 84.6 15.4 100.0
3 ตำรวจแสวงหาผลประโยชน์ 81.1 18.9 100.0
4 ตำรวจมีการซื้อขายตำแหน่ง 66.4 33.6 100.0
5 ตำรวจยุคปัจจุบันนี้เก่งมีความสามารถมากกว่าตำรวจในอดีต 63.3 36.7 100.0
6 ตำรวจมักจะยิ้มแย้มแจ่มใสยินดีให้บริการประชาชน 46.2 53.8 100.0
7 ตำรวจมุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ 36.8 63.2 100.0
8 ตำรวจใส่ใจแก้ปัญหาให้ประชาชนด้วยความฉับไว 35.2 64.8 100.0
9 ตำรวจไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง 34.3 65.7 100.0
10 ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ให้ประชาชนอย่างเท่าเทียม 32.6 67.4 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจโดยรัฐบาลปัจจุบัน
ลำดับที่ การรับรู้ต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจโดยรัฐบาลปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 รับรู้ อาทิ การปรับชั้นยศ /ผบ.ตร. อาจมาจากคนนอก /การกระจายอำนาจการบริหาร และการย้ายสังกัด เป็นต้น 9.8
2 รับรู้แต่จำไม่ได้ว่ามีประเด็นใดบ้าง 50.0
3 ไม่เคยรับรู้มาก่อน 40.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ไม่มีภารกิจในการป้องกันและ
ปราบปรามอาชญากรรมโดยตรงไปอยู่ในสังกัดของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
หน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ต้องโอนย้ายไปสังกัดหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 58.1 26.4 15.5 100.0
2. ตำรวจท่องเที่ยว 56.5 26.0 17.5 100.0
3. ตำรวจทางหลวง 55.4 28.5 16.1 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโอนย้ายบางส่วนงานของตำรวจไปให้ชุมชน/เอกชนเป็นผู้ดูแล
หรือมีการแปรรูปเป็นหน่วยงานพิเศษ
การปรับหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. แปรรูปโรงพยาบาลตำรวจเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit) 58.4 25.1 16.5 100.0
2. โอนงานรักษาความปลอดภัยชุมชนให้ชุมชนเข้ามาดูแล 51.2 37.0 11.8 100.0
3. โอนงานจราจรให้ชุมชนเข้ามาดูแล 43.2 44.3 12.5 100.0
4.โอนงานรักษาความปลอดภัยชุมชนให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแล 43.2 44.8 12.0 100.0
5. โอนงานจราจรให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแล 41.5 46.5 12.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่ออำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการนโยบายตำรวจ
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการนโยบายตำรวจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากข้าราชการตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม 72.9 10.9 16.2 100.0
2. เป็นคณะกรรมการที่ทำงานเต็มเวลาทั้งคณะ 66.0 16.2 17.8 100.0
3. การสรรหาและถอดถอนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 54.6 22.5 22.9 100.0
4. การสรรหาและถอดถอนผู้บัญชาการตำรวจ ภาคหรือนครบาล 52.7 23.4 23.9 100.0
5. การสรรหาและถอดถอนรองผู้บัญชาการตำรวจภาค/นครบาล 52.4 22.3 25.3 100.0
6. การสรรหาและถอดถอนรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 51.9 23.6 24.5 100.0
7. ไม่เป็นคณะกรรมการที่ทำงานเต็มเวลา แต่มีเฉพาะเลขานุการ
เป็นกรรมการที่ทำงานเต็มเวลาเพียงคนเดียว 34.5 42.3 23.2 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อที่มาคณะกรรมการนโยบายตำรวจ
ที่มาของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. มีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน คณะกรรมการ นโยบายตำรวจแห่งชาติ 57.0 25.1 17.9 100.0
2. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมีที่มาจาก 4 กลุ่ม ได้แก่....
2.1 ตัวแทนกลุ่มองค์กรอิสระ 65.6 16.6 17.8 100.0
2.2 ผู้แทนจากกลุ่มหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 71.7 11.3 17.0 100.0
2.3 ตัวแทนจากกลุ่มการเมือง 47.3 34.9 17.8 100.0
2.4 ผู้แทนภาคประชาชน นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ 69.5 13.7 16.8 100.0
3.คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมาจากคณะกรรมการสรรหาที่แต่งตั้งจากองค์กรอิสระ
เพื่อให้มีความป็นกลางทางการเมือง 68.7 14.6 16.7 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับระบบงานตำรวจในประเด็นสำคัญ
การปรับระบบงานตำรวจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จะคัดเลือกมาจากบุคคลภายนอก
โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ 29.6 56.3 14.1 100.0
2. ปรับยศตำรวจชั้นประทวน (พลตำรวจ-ดาบตำรวจ) ให้เหลือเพียงชั้นยศดาบตำรวจ 27.5 47.3 25.2 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่งที่ระบุข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารงานตำรวจไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารงานตำรวจไทย ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คอรัปชั่น/ใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง ไม่เรียกรับผลประโยชน์ 41.5
2 เต็มใจบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้าถึงประชาชน 30.2
3 ยุติธรรมเที่ยงตรง /ปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาค 19.0
4 รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด 18.4
5 ตรงต่อเวลา ทำงานรวดเร็ว 11.7
6 ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น/เพิ่มสวัสดิการ 8.4
7 ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่พวกพ้อง 7.7
8 พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 3.1
9 ไม่ถูกครอบงำทางการเมือง 2.9
10 อื่นๆ อาทิ อบรมความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
สามารถตรวจสอบการทำงานได้อย่างโปร่งใสชัดเจน แยกออกเป็นองค์กรอิสระ และเพิ่มอัตรากำลัง 10.6
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชนต่อรูปแบบการพัฒนาระบบงานตำรวจ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น
1,341 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2550 ผลสำรวจที่ค้นพบมีดังต่อไปนี้
จากการสำรวจความคิดเห็นต่อการทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 84.9 ระบุว่าตำรวจแต่งเครื่องแบบแล้วดูดี สง่า
งาม ในทางตรงข้ามก็มีตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 84.6 ที่ระบุว่าตำรวจมักใช้อำนาจ และร้อยละ 81.1 ยังระบุว่าตำรวจ
แสวงหาประโยชน์ เมื่อสอบถามการรับรู้ต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจ พบว่าตัวอย่างครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50.0 ระบุรับรู้แต่จำ
ไม่ได้ว่ามีประเด็นใดบ้าง โดยมีเพียงร้อยละ 9.8 เท่านั้นที่สามารถระบุประเด็นได้ ซึ่งประเด็นที่ระบุ อาทิ การปรับชั้นยศ ผบ.ตร. อาจมาจากคน
นอก การกระจายอำนาจการบริหาร และการย้ายสังกัด เป็นต้น
กรณีหากจะมีการปรับหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ไม่มีภารกิจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยตรงไปอยู่ในสังกัด
ของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ พบว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีตัวอย่างร้อยละ 58.1 ที่ระบุเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 26.4 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อย
ละ 15.5 ไม่มีความเห็น สำหรับตำรวจท่องเที่ยว มีตัวอย่างร้อยละ 56.5 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 26.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17.5 ไม่มีความ
เห็น สำหรับตำรวจทางหลวง ร้อยละ 55.4 เห็นด้วย ร้อยละ 28.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 16.1 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความคิด
เห็นต่อการโอนย้ายบางส่วนงานของตำรวจไปให้ชุมชน/เอกชนเป็นผู้ดูแล หรือมีการแปรรูปเป็นหน่วยงานพิเศษ พบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ
58.4 เห็นด้วยกับการแปรรูปโรงพยาบาลตำรวจเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit) รองลงมาร้อยละ 51.2 เห็นด้วยกับ
การโอนงานรักษาความปลอดภัยชุมชนให้ชุมชนเข้ามาดูแล ตามลำดับ
คณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการนโยบายตำรวจ พบว่าตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 72.9 เห็นด้วยที่จะให้คณะ
กรรมการมีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากข้าราชการตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม รองลงมาร้อยละ 66.0 เห็นด้วยที่จะให้เป็นคณะกรรมการที่ทำ
งานเต็มเวลาทั้งคณะ และร้อยละ 54.6 เห็นด้วยที่จะให้คณะกรรมการมีอำนาจในการสรรหาและถอดถอนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในส่วนของที่มา
คณะกรรมการนโยบายตำรวจ พบว่าตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือร้อยละ 71.7 เห็นว่าคณะกรรมการควรมาจากผู้แทนกลุ่มหน่วยงานในกระบวนการ
ยุติธรรม รองลงมาร้อยละ 69.5 เห็นว่าควรมาจากผู้แทนภาคประชาชน นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ และร้อยละ 68.7 เห็นว่าควรให้องค์กรอิสระ
สรรหาเพื่อให้มีความป็นกลางทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม เราพบว่าการปรับระบบงานตำรวจในประเด็นสำคัญยังได้รับการยอบรับค่อนข้างน้อย กล่าวคือ การปรับระบบงานตำรวจ
ในประเด็นตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จะคัดเลือกมาจากบุคคลภายนอก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ มีตัวอย่างเพียงร้อยละ
29.6 ที่ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 56.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.1 ไม่มีความเห็น ส่วนการปรับยศตำรวจชั้นประทวน (พลตำรวจ-ดาบ
ตำรวจ) ให้เหลือเพียงชั้นยศดาบตำรวจ มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 27.5 เท่านั้นที่ระบุเห็นด้วย โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 47.3 ไม่เห็นด้วย และร้อย
ละ 25.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายเมื่อเราเปิดโอกาสให้ตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นเพี่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารงานตำรวจไทย
พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 41.5 สะท้อนความคิดเห็นอยากให้ปรับปรุงให้เกิดความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คอรัปชั่น/ใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง ไม่
เรียกรับผลประโยชน์ รองลงมาร้อยละ 30.2 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานอย่างเต็มใจบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้าถึงประชาชน ร้อยละ
19.0 ต้องการให้ปรับปรุงให้เกิดความยุติธรรมเที่ยงตรง ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาค และร้อยละ 18.4 ขอให้รักษาระเบียบวินัย
อย่างเคร่งครัด ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เสียงสะท้อนจากประชาชนต่อรูปแบบ
การพัฒนาระบบงานตำรวจ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวัน
ที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
แบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน สำหรับกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่
ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 1,341 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่น
อยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
เมื่อพิจารณารณาระดับการศึกษาชั้นสูงสุดที่สำเร็จมาของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ เป็นเรื่องจริง/ค่อนข้างจริง ไม่ค่อยจริง/ไม่จริงเลย รวมทั้งสิ้น
1 ตำรวจแต่งเครื่องแบบแล้วดูดี สง่างาม 84.9 15.1 100.0
2 ตำรวจมักใช้อำนาจ 84.6 15.4 100.0
3 ตำรวจแสวงหาผลประโยชน์ 81.1 18.9 100.0
4 ตำรวจมีการซื้อขายตำแหน่ง 66.4 33.6 100.0
5 ตำรวจยุคปัจจุบันนี้เก่งมีความสามารถมากกว่าตำรวจในอดีต 63.3 36.7 100.0
6 ตำรวจมักจะยิ้มแย้มแจ่มใสยินดีให้บริการประชาชน 46.2 53.8 100.0
7 ตำรวจมุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ 36.8 63.2 100.0
8 ตำรวจใส่ใจแก้ปัญหาให้ประชาชนด้วยความฉับไว 35.2 64.8 100.0
9 ตำรวจไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง 34.3 65.7 100.0
10 ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ให้ประชาชนอย่างเท่าเทียม 32.6 67.4 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจโดยรัฐบาลปัจจุบัน
ลำดับที่ การรับรู้ต่อนโยบายการปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจโดยรัฐบาลปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 รับรู้ อาทิ การปรับชั้นยศ /ผบ.ตร. อาจมาจากคนนอก /การกระจายอำนาจการบริหาร และการย้ายสังกัด เป็นต้น 9.8
2 รับรู้แต่จำไม่ได้ว่ามีประเด็นใดบ้าง 50.0
3 ไม่เคยรับรู้มาก่อน 40.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ไม่มีภารกิจในการป้องกันและ
ปราบปรามอาชญากรรมโดยตรงไปอยู่ในสังกัดของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
หน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ต้องโอนย้ายไปสังกัดหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 58.1 26.4 15.5 100.0
2. ตำรวจท่องเที่ยว 56.5 26.0 17.5 100.0
3. ตำรวจทางหลวง 55.4 28.5 16.1 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโอนย้ายบางส่วนงานของตำรวจไปให้ชุมชน/เอกชนเป็นผู้ดูแล
หรือมีการแปรรูปเป็นหน่วยงานพิเศษ
การปรับหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. แปรรูปโรงพยาบาลตำรวจเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit) 58.4 25.1 16.5 100.0
2. โอนงานรักษาความปลอดภัยชุมชนให้ชุมชนเข้ามาดูแล 51.2 37.0 11.8 100.0
3. โอนงานจราจรให้ชุมชนเข้ามาดูแล 43.2 44.3 12.5 100.0
4.โอนงานรักษาความปลอดภัยชุมชนให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแล 43.2 44.8 12.0 100.0
5. โอนงานจราจรให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแล 41.5 46.5 12.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่ออำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการนโยบายตำรวจ
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการนโยบายตำรวจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากข้าราชการตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม 72.9 10.9 16.2 100.0
2. เป็นคณะกรรมการที่ทำงานเต็มเวลาทั้งคณะ 66.0 16.2 17.8 100.0
3. การสรรหาและถอดถอนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 54.6 22.5 22.9 100.0
4. การสรรหาและถอดถอนผู้บัญชาการตำรวจ ภาคหรือนครบาล 52.7 23.4 23.9 100.0
5. การสรรหาและถอดถอนรองผู้บัญชาการตำรวจภาค/นครบาล 52.4 22.3 25.3 100.0
6. การสรรหาและถอดถอนรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 51.9 23.6 24.5 100.0
7. ไม่เป็นคณะกรรมการที่ทำงานเต็มเวลา แต่มีเฉพาะเลขานุการ
เป็นกรรมการที่ทำงานเต็มเวลาเพียงคนเดียว 34.5 42.3 23.2 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อที่มาคณะกรรมการนโยบายตำรวจ
ที่มาของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. มีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน คณะกรรมการ นโยบายตำรวจแห่งชาติ 57.0 25.1 17.9 100.0
2. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมีที่มาจาก 4 กลุ่ม ได้แก่....
2.1 ตัวแทนกลุ่มองค์กรอิสระ 65.6 16.6 17.8 100.0
2.2 ผู้แทนจากกลุ่มหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 71.7 11.3 17.0 100.0
2.3 ตัวแทนจากกลุ่มการเมือง 47.3 34.9 17.8 100.0
2.4 ผู้แทนภาคประชาชน นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ 69.5 13.7 16.8 100.0
3.คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมาจากคณะกรรมการสรรหาที่แต่งตั้งจากองค์กรอิสระ
เพื่อให้มีความป็นกลางทางการเมือง 68.7 14.6 16.7 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับระบบงานตำรวจในประเด็นสำคัญ
การปรับระบบงานตำรวจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จะคัดเลือกมาจากบุคคลภายนอก
โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ 29.6 56.3 14.1 100.0
2. ปรับยศตำรวจชั้นประทวน (พลตำรวจ-ดาบตำรวจ) ให้เหลือเพียงชั้นยศดาบตำรวจ 27.5 47.3 25.2 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่งที่ระบุข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารงานตำรวจไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารงานตำรวจไทย ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คอรัปชั่น/ใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง ไม่เรียกรับผลประโยชน์ 41.5
2 เต็มใจบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้าถึงประชาชน 30.2
3 ยุติธรรมเที่ยงตรง /ปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาค 19.0
4 รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด 18.4
5 ตรงต่อเวลา ทำงานรวดเร็ว 11.7
6 ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น/เพิ่มสวัสดิการ 8.4
7 ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่พวกพ้อง 7.7
8 พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 3.1
9 ไม่ถูกครอบงำทางการเมือง 2.9
10 อื่นๆ อาทิ อบรมความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
สามารถตรวจสอบการทำงานได้อย่างโปร่งใสชัดเจน แยกออกเป็นองค์กรอิสระ และเพิ่มอัตรากำลัง 10.6
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-