ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง แนวโน้มความ สุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness หรือ GDH) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคม 2554 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พัก อาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ลพบุรี สมุทรปราการ กาญจนบุรี ชลบุรีแพร่ สุโขทัย เชียงใหม่ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา หนองคาย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี ปัตตานีและสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,028 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม — 4 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัว เรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน แนวโน้มความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศลดต่ำลงจาก 7.55 คะแนนในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม หลังการเลือกตั้ง มาอยู่ที่ 6.80 คะแนนในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยมีสาเหตุสำคัญที่ค้นพบ ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมือง การแย่งชิงตำแหน่ง รัฐมนตรี ความวุ่นวายทางการเมือง ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ราคาสินค้า และปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาน้ำท่วม สภาพแวดล้อมที่พัก อาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่ทำให้คนไทยมีความสุข พบว่า อันดับแรก ความสุขที่ได้เห็นความจงรักภักดีของคนใน ชาติสูงสุดอยู่ที่ 8.42 คะแนน รองลงมาคือ บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวอยู่ที่ 8.21 คะแนน ในขณะที่ ความสุขต่อสุขภาพใจอยู่ที่ 8.01 และความสุขต่อสุขภาพกายอยู่ที่ 8.00 รองๆ ลงไปคือ ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของ คนในชุมชน เช่น การช่วยเหลือกัน นอกจากนี้ยังมีความสุขต่อการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดี หน้าที่การงาน อาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ระบบการ ศึกษาของประเทศ สภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาต่างชาติ และความเป็นธรรมทางสังคมและกระบวนการยุติธรรม สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ราคาสินค้า และสถานการณ์การเมือง ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระดับความสุขมวลรวมสูงที่ สุดคือ 7.11 แต่คนกรุงเทพมหานครกลับมีความสุขมวลรวมต่ำที่สุดคือ 6.11 และเมื่อจำแนกตามกลุ่มปัจจัยของความสุขมวลรวมของประชาชนในแต่ละ ภูมิภาค พบว่า คนกรุงเทพมหานครมีค่าความสุขมวลรวมต่ำสุดในทุกตัวชี้วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสุขของคน กทม. ต่อสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ ที่ 4.57 โดยมีสาเหตุจาก การแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรี ความวุ่นวายทางการเมือง ความขัดแย้งของกลุ่ม ส.ส. ในพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness) คือ ความรู้สึกของสาธารณชนที่มากกว่าความ พึงพอใจทั้งในด้านความถี่ที่สม่ำเสมอ ความปลื้มปิติ ความสมหวังในชีวิต และคุณภาพชีวิตทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ โดยมีกลุ่มปัจจัยสำคัญต่อความสุข มวลรวมของคนไทยจำนวนมากที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ ที่รัฐบาล หน่วยงานของรัฐและภาคประชาสังคมอาจนำไปพิจารณาเชิงนโยบายสาธารณะ หรือ บริหารจัดการเพื่อหล่อเลี้ยงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนเพื่อขับเคลื่อนสังคม โดยไม่ฝืนความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ให้เร่งหนุน เสริมจุดศูนย์รวมทางจิตใจของคนในชาติ ข้อเสนอแนะคือ “การทำโรดแมปเพิ่มความสุข” ผ่านกลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่เปรียบเสมือนหลักกิโลเมตรแห่งวิถีชีวิต ของประชาชนทั้งประเทศ ทั้งในเรื่องความจงรักภักดีของคนในชาติ ความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน หลักปรัชญาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง จนถึงแนวทางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการเมืองอย่างจริงจังต่อเนื่อง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.3 เป็นชาย ร้อยละ 50.7 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.6 อายุ น้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 29.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 75.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.5 ระบุ เป็นนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
มี.ค.52 มิ.ย.52 ก.ค.52 ส.ค.52 ต.ค.52 พ.ย.52 ม.ค.53 ก.ค.53 ก.ย.53 พ.ย.53 ม.ค.54 มี.ค.54 ต้นก.ค.54 ปลายก.ค.54 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 6.18 7.15 5.92 7.18 6.83 7.52 6.52 6.77 6.57 5.42 5.28 6.61 7.55 6.80
หมายเหตุ จากฐานข้อมูลรายงานความสุขมวลรวมของคนไทย โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยความสุข 1 ความจงรักภักดีของคนในชาติ 8.42 2 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 8.21 3 สุขภาพทางใจ 8.01 4 สุขภาพทางกาย 8.00 5 วัฒนธรรมประเพณีระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 7.58 6 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น การช่วยเหลือกันแก้ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม สิ่งแวดล้อม และความแตกแยกของคนในชุมชน 7.55 7 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ 7.52 8 หน้าที่การงาน อาชีพ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน 7.50 9 ระบบการศึกษาของประเทศ 6.99 10 สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่านเองและครอบครัว 6.52 11 ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติ 6.31 12 ความเป็นธรรมทางสังคม และกระบวนการยุติธรรม 6.05 13 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ (ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ปัญหาน้ำท่วม) 6.04 14 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ราคาสินค้า 5.85 15 สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม 5.40 ความสุขมวลรวม ของคนไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 6.80 ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน จำแนกตามภูมิภาค ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ เหนือ กลาง ตอ./เหนือ ใต้ กทม. 1 ความจงรักภักดีของคนในชาติ 8.64 8.11 8.88 8.11 7.61 2 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 8.33 8.13 8.67 7.72 7.16 3 สุขภาพทางกาย 8.22 7.90 8.38 7.66 6.96 4 สุขภาพทางใจ 8.21 7.90 8.48 7.56 6.84 5 วัฒนธรรมประเพณีระดับท้องถิ่งและระดับชาติ 8.04 7.15 8.04 7.41 6.38 6 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น การช่วยเหลือกันแก้ปัญหา ยาเสพติด อาชญากรรม สิ่งแวดล้อม และความแตกแยกของคนในชุมชน 7.94 7.36 7.97 7.11 6.32 7 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ 7.75 7.32 8.01 7.13 6.34 8 หน้าที่การงาน อาชีพ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน 7.67 7.29 7.84 7.43 6.58 9 ระบบการศึกษาของประเทศ 7.12 6.55 7.56 6.89 5.91 10 ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติ 6.69 5.92 6.52 6.42 5.61 11 สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่านเองและครอบครัว 6.40 6.44 6.71 6.97 5.67 12 ความเป็นธรรมทางสังคมและกระบวนการยุติธรรม 6.33 5.76 6.30 6.14 5.17 13 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ (ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ปัญหาน้ำท่วม) 5.99 6.57 5.51 5.94 5.41 14 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 5.84 5.71 5.90 6.51 5.12 15 สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม 5.58 5.27 5.49 5.74 4.57 ความสุขมวลรวม ของคนไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 6.74 6.66 7.11 6.81 6.11
--เอแบคโพลล์--