ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation, Assumption University) ได้รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศในช่วงเดือนตุลาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,860 คน ซึ่งดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม — 17 พฤศจิกายน 2550 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.7 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อย
สัปดาห์ละหนึ่งวัน
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินความสุขมวลรวมหรือความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือน
พฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่า ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 5.94 ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 6.90 ในเดือนตุลาคม เป็นระดับความสุขที่เพิ่มสูงสุดใน
รอบปีที่ผ่านมา ผ่านทะลุบรรยากาศการเมืองและเศรษฐกิจในขณะนี้ เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า ความสุขของประชาชนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องการเมืองและ
เรื่องปากท้องเพียงอย่างเดียว
“ผลวิจัยครั้งนี้ พบว่า ความสุขของประชาชนต่อเรื่องความจงรักภักดีของคนในชาติสูงเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนความสุข 9.34 จากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือความสุขต่อบรรยากาศของคนในครอบครัวได้ 7.47 อันดับสามได้แก่ ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีไทย ได้ 7.44 อันดับ
สี่ได้แก่ความสุขต่อสุขภาพกายได้ 7.10 อันดับห้าได้แก่ความสุขต่อหน้าที่การทำงาน ได้ 7.07 อันดับหกได้แก่ ความสุขต่อสุขภาพใจ ได้ 6.91 อันดับ
เจ็ดได้แก่ ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 6.78 อันดับแปดได้แก่ความสุขต่อบรรยากาศของคนในชุมชนที่พักอาศัยได้ 6.73 อันดับเก้าได้แก่
ความสุขต่อการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ 6.69 และอันดับที่สิบได้แก่ ความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคมได้ 6.27” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ส่วนความสุขในสามอันดับสุดท้ายได้แก่ ความสุขต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ 5.19 เมื่อเปรียบเทียบกับผล
สำรวจในเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่าคะแนนความสุขของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นเช่นกันจาก 4.88 มาอยู่ที่ 5.19 ในขณะที่สอง
อันดับสุดท้ายคือ ภาพลักษณ์ของนักการเมืองได้เพียง 4.28 และสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ 2.62 อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า
ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนในทุกกลุ่มปัจจัยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ดูแผนภาพประกอบแนบท้าย)
“และเมื่อจำแนกออกตามพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ พบว่า ประชาชนในภาคใต้มีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งได้ 6.99 รองลงมาคือภาคกลาง
ได้ 6.97 ภาคเหนือได้ 6.92 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 6.84 และกรุงเทพมหานครได้ 6.82 ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจ
ก่อนหน้านี้ พบว่าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เคยมี
ระดับความสุขสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในการสำรวจหลายครั้ง แต่ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา พบว่าประชาชนในภาคอื่นๆ สลับกันได้ค่าคะแนน
ความสุขสูงสุดขึ้นมาแทนประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะที่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครยังคงได้ระดับความสุขต่ำสุดในการสำรวจทุกครั้ง
เมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ทั้งๆ ที่เป็นเมืองหลวงและความเติบโตทางวัตถุและเทคโนโลยีมีมากที่สุดของประเทศ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาแนวโน้มความสุขของคนไทยต่อบรรยากาศในครอบครัวพบว่า เพิ่มสูงขึ้นจาก 6.14 ในเดือนกันยายน
มาอยู่ที่ 7.47 ในเดือนตุลาคม ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีเพิ่มขึ้นจาก 6.03 มาอยู่ที่ 7.44 ความสุขต่อสุขภาพกายเพิ่มขึ้นจาก 6.07 มาอยู่ที่
7.10 ความสุขต่อหน้าที่การทำงานเพิ่มขึ้นจาก 6.11 มาอยู่ที่ 7.07 ความสุขต่อสุขภาพใจเพิ่มขึ้นจาก 5.84 มาอยู่ที่ 6.91 ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่
พักอาศัยเพิ่มขึ้นจาก 5.91 มาอยู่ที่ 6.78 ความสุขต่อบรรยากาศภายในชุมชนที่พักเพิ่มขึ้นจาก 5.87 มาอยู่ที่ 6.73 ความสุขต่อการใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้นจาก 5.71 มาอยู่ที่ 6.69 และความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคมเพิ่มขึ้นจาก 5.47 มาอยู่ที่ 6.27
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปี แม้ว่าประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายทางการ
เมืองและปัญหารุมเร้าทางเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนทำให้ความสุขของประชาชนสูงขึ้นคือประชาชนได้เห็นพระพลานามัยของในหลวงดีขึ้น สุขที่เห็น
คนไทยแสดงความจงรักภักดี และยังพบว่าคนไทยเมินหนีเรื่องการเมืองเข้าหาความสุขที่ได้จากบรรยากาศความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และความสุข
ของประชาชนต่อวัฒนธรรมประเพณีพุ่งขึ้นมาเป็นอันดับสาม ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล หน่วยงานต่างๆ และสาธารณชน เพื่อเข้าใจได้
ว่า ความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ถ้าทุกภาคส่วนพยายามรักษาและหนุนเสริมปัจจัยต่างๆ ที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ เช่น เรื่องความจงรัก
ภักดี เรื่องบรรยากาศความสุขในครอบครัว วัฒนธรรมประเพณี สุขภาพกาย สุขภาพใจของประชาชน ความพึงพอใจในการทำงาน สภาพแวดล้อมที่พัก
อาศัย บรรยากาศของคนในชุมชน การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นธรรมในสังคม และปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะทำให้รักษา
ระดับความสุขของประชาชนคนไทยเอาไว้ได้อย่างต่อเนื่องยาวนานไม่อยู่ในอาการแกว่งตัวขึ้นลงเหมือนที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า เมื่อความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนั้นการรักษาและหนุนเพิ่มความสุขมวลรวมในหมู่ประชาชนควร
ใช้วิธีสร้าง “บันได 5 ขั้น” โดยขั้นที่หนึ่งคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในหมู่ประชาชนทั่วไปว่าความสุขแท้จริงและยั่งยืน
คืออะไร ขั้นที่สอง คือ การเสริมสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนว่าความสุขไม่ได้ขึ้นกับเรื่องของความเจริญเติบโตทางวัตถุเงินทองเพียง
อย่างเดียว ขั้นที่สาม การหนุนเสริมการมีส่วนร่วมในหมู่ประชาชนตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชนและสังคม แสดงกิจกรรมเพื่อแบ่งปันความสุขให้กันและกัน
ขั้นที่สี่คือ การเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวมและผู้อื่นในทางปฏิบัติ และขั้นที่ห้าคือ การรักษาระดับความสุขมวลรวม
ให้อยู่ในระดับที่สูงอย่างยั่งยืนและกระจายไปในหมู่ประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอย่างเท่าเทียม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงาน
ดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนตุลาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวัน
ที่ 29 ตุลาคม — 17 พฤศจิกายน 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี จันทบุรี บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี
นครปฐม ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และปัตตานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,860 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.4 เป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 10.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 26.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 34.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 8.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 10.1 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
และ ร้อยละ 3.0 ระบุว่างงาน
และเมื่อพิจารณาตาม สภาพพื้นที่พักอาศัย พบว่า ร้อยละ 58.2 อาศัยอยู่ใน หมู่บ้านชุมชนดั้งเดิม นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 23.5 พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ หมู่บ้านชุมชนดั้งเดิม นอกเขตเทศบาล
ร้อยละ 18.3 พักอาศัยอยู่ในพื้นที่อื่นๆ อาทิ หมู่บ้านจัดสรรใหม่/ชุมชนใหม่
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 33.3 พักอาศัยในเขตเทศบาล/กรุงเทพมหานคร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 41.5
2 3-4 วัน 18.6
3 1-2 วัน 13.6
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 19.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
ตุลาคม 2550 เปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายน 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ก.ย.49 ต.ค.49 พ.ย.-ธ.ค.49 ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.-ก.ค.50 ก.ย.50 ต.ค.50
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายใน ประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 6.30 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.90
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนตุลาคม 2550
เมื่อคะแนนเต็ม 10
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.34
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.47
3 วัฒนธรรมประเพณี 7.44
4 สุขภาพทางกาย 7.10
5 หน้าที่การทำงาน 7.07
6 สุขภาพใจ 6.91
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.78
8 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.73
9 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.69
10 ความเป็นธรรมในสังคม 6.27
11 ภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 5.19
12 ภาพลักษณ์โดยรวมของนักการเมือง 4.28
13 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.62
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนตุลาคม 2550 6.90
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนตุลาคม 2550 ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชน
จำแนกตามพื้นที่ เมื่อคะแนนเต็ม 10
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม 2550 เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ความจงรักภักดี 9.38 9.34 9.23 9.65 9.16
2 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 7.03 6.71 6.88 6.57 6.44
3 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 7.06 6.42 6.91 6.72 6.23
4 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.72 7.44 7.36 7.6 7.27
5 สุขภาพทางกาย 7.19 7.2 6.91 7.25 7.06
6 สุขภาพใจ 7.19 7.2 6.91 7.25 7.06
7 หน้าที่การทำงาน 7.19 6.97 6.91 7.36 7.29
8 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.93 6.82 6.31 6.84 6.96
9 วัฒนธรรมประเพณี 7.53 7.42 7.41 7.3 7.57
10 ความเป็นธรรมในสังคม 6.45 6.18 6.31 6.1 6.23
11 ภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 5 5.23 5.18 5.49 5.09
12 ภาพลักษณ์โดยรวมของนักการเมือง 4.19 4.02 4.52 4.13 4.49
13 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.44 2.81 2.67 2.05 3.06
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชน
ทั้งประเทศประจำเดือนตุลาคม 2550 6.92 6.97 6.84 6.99 6.82
ตารางที่ 5 แสดงการจัดอันดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขมวลรวมของประชาชน ในช่วงเดือนตุลาคม 2550
เมื่อคะแนนเต็ม 10
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าร้อยละ
1 ความจงรักภักดี 53.6
2 สุขภาพใจ 47.6
3 ความเป็นธรรมในสังคม 40.9
4 หน้าที่การทำงาน 39.2
5 สุขภาพทางกาย 37.4
6 บรรยากาศภายในครอบครัว 36.9
7 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.5
8 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 35.6
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 35.0
10 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 33.1
11 วัฒนธรรมประเพณี 31.4
12 ภาพลักษณ์โดยรวมของนักการเมือง 30.9
13 ภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 29.9
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของความทุกข์ของประชาชนในช่วงเดือน ตุลาคม 2550
ลำดับที่ ระดับความทุกข์ของประชาชนในช่วงเดือน กันยายน 2550 ค่าร้อยละ
1 ไม่มีความทุกข์เลย 4.3
2 ไม่ค่อยทุกข์ 17.9
3 ปานกลาง 38.7
4 ค่อนข้างทุกข์ 32.2
5 ทุกข์มากที่สุด 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
คะแนนความทุกข์โดยเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เท่ากับ 5.56
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation, Assumption University) ได้รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศในช่วงเดือนตุลาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,860 คน ซึ่งดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม — 17 พฤศจิกายน 2550 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.7 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อย
สัปดาห์ละหนึ่งวัน
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินความสุขมวลรวมหรือความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือน
พฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่า ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 5.94 ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 6.90 ในเดือนตุลาคม เป็นระดับความสุขที่เพิ่มสูงสุดใน
รอบปีที่ผ่านมา ผ่านทะลุบรรยากาศการเมืองและเศรษฐกิจในขณะนี้ เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า ความสุขของประชาชนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องการเมืองและ
เรื่องปากท้องเพียงอย่างเดียว
“ผลวิจัยครั้งนี้ พบว่า ความสุขของประชาชนต่อเรื่องความจงรักภักดีของคนในชาติสูงเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนความสุข 9.34 จากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือความสุขต่อบรรยากาศของคนในครอบครัวได้ 7.47 อันดับสามได้แก่ ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีไทย ได้ 7.44 อันดับ
สี่ได้แก่ความสุขต่อสุขภาพกายได้ 7.10 อันดับห้าได้แก่ความสุขต่อหน้าที่การทำงาน ได้ 7.07 อันดับหกได้แก่ ความสุขต่อสุขภาพใจ ได้ 6.91 อันดับ
เจ็ดได้แก่ ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 6.78 อันดับแปดได้แก่ความสุขต่อบรรยากาศของคนในชุมชนที่พักอาศัยได้ 6.73 อันดับเก้าได้แก่
ความสุขต่อการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ 6.69 และอันดับที่สิบได้แก่ ความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคมได้ 6.27” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ส่วนความสุขในสามอันดับสุดท้ายได้แก่ ความสุขต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ 5.19 เมื่อเปรียบเทียบกับผล
สำรวจในเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่าคะแนนความสุขของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นเช่นกันจาก 4.88 มาอยู่ที่ 5.19 ในขณะที่สอง
อันดับสุดท้ายคือ ภาพลักษณ์ของนักการเมืองได้เพียง 4.28 และสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ 2.62 อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า
ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนในทุกกลุ่มปัจจัยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ดูแผนภาพประกอบแนบท้าย)
“และเมื่อจำแนกออกตามพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ พบว่า ประชาชนในภาคใต้มีความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งได้ 6.99 รองลงมาคือภาคกลาง
ได้ 6.97 ภาคเหนือได้ 6.92 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 6.84 และกรุงเทพมหานครได้ 6.82 ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจ
ก่อนหน้านี้ พบว่าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เคยมี
ระดับความสุขสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในการสำรวจหลายครั้ง แต่ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา พบว่าประชาชนในภาคอื่นๆ สลับกันได้ค่าคะแนน
ความสุขสูงสุดขึ้นมาแทนประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะที่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครยังคงได้ระดับความสุขต่ำสุดในการสำรวจทุกครั้ง
เมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ทั้งๆ ที่เป็นเมืองหลวงและความเติบโตทางวัตถุและเทคโนโลยีมีมากที่สุดของประเทศ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาแนวโน้มความสุขของคนไทยต่อบรรยากาศในครอบครัวพบว่า เพิ่มสูงขึ้นจาก 6.14 ในเดือนกันยายน
มาอยู่ที่ 7.47 ในเดือนตุลาคม ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีเพิ่มขึ้นจาก 6.03 มาอยู่ที่ 7.44 ความสุขต่อสุขภาพกายเพิ่มขึ้นจาก 6.07 มาอยู่ที่
7.10 ความสุขต่อหน้าที่การทำงานเพิ่มขึ้นจาก 6.11 มาอยู่ที่ 7.07 ความสุขต่อสุขภาพใจเพิ่มขึ้นจาก 5.84 มาอยู่ที่ 6.91 ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่
พักอาศัยเพิ่มขึ้นจาก 5.91 มาอยู่ที่ 6.78 ความสุขต่อบรรยากาศภายในชุมชนที่พักเพิ่มขึ้นจาก 5.87 มาอยู่ที่ 6.73 ความสุขต่อการใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้นจาก 5.71 มาอยู่ที่ 6.69 และความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคมเพิ่มขึ้นจาก 5.47 มาอยู่ที่ 6.27
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปี แม้ว่าประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายทางการ
เมืองและปัญหารุมเร้าทางเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนทำให้ความสุขของประชาชนสูงขึ้นคือประชาชนได้เห็นพระพลานามัยของในหลวงดีขึ้น สุขที่เห็น
คนไทยแสดงความจงรักภักดี และยังพบว่าคนไทยเมินหนีเรื่องการเมืองเข้าหาความสุขที่ได้จากบรรยากาศความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และความสุข
ของประชาชนต่อวัฒนธรรมประเพณีพุ่งขึ้นมาเป็นอันดับสาม ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล หน่วยงานต่างๆ และสาธารณชน เพื่อเข้าใจได้
ว่า ความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ถ้าทุกภาคส่วนพยายามรักษาและหนุนเสริมปัจจัยต่างๆ ที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ เช่น เรื่องความจงรัก
ภักดี เรื่องบรรยากาศความสุขในครอบครัว วัฒนธรรมประเพณี สุขภาพกาย สุขภาพใจของประชาชน ความพึงพอใจในการทำงาน สภาพแวดล้อมที่พัก
อาศัย บรรยากาศของคนในชุมชน การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นธรรมในสังคม และปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะทำให้รักษา
ระดับความสุขของประชาชนคนไทยเอาไว้ได้อย่างต่อเนื่องยาวนานไม่อยู่ในอาการแกว่งตัวขึ้นลงเหมือนที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า เมื่อความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนั้นการรักษาและหนุนเพิ่มความสุขมวลรวมในหมู่ประชาชนควร
ใช้วิธีสร้าง “บันได 5 ขั้น” โดยขั้นที่หนึ่งคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในหมู่ประชาชนทั่วไปว่าความสุขแท้จริงและยั่งยืน
คืออะไร ขั้นที่สอง คือ การเสริมสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนว่าความสุขไม่ได้ขึ้นกับเรื่องของความเจริญเติบโตทางวัตถุเงินทองเพียง
อย่างเดียว ขั้นที่สาม การหนุนเสริมการมีส่วนร่วมในหมู่ประชาชนตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชนและสังคม แสดงกิจกรรมเพื่อแบ่งปันความสุขให้กันและกัน
ขั้นที่สี่คือ การเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวมและผู้อื่นในทางปฏิบัติ และขั้นที่ห้าคือ การรักษาระดับความสุขมวลรวม
ให้อยู่ในระดับที่สูงอย่างยั่งยืนและกระจายไปในหมู่ประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอย่างเท่าเทียม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงาน
ดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนตุลาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวัน
ที่ 29 ตุลาคม — 17 พฤศจิกายน 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี จันทบุรี บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี
นครปฐม ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และปัตตานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,860 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.4 เป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 10.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 26.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 34.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 8.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 10.1 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
และ ร้อยละ 3.0 ระบุว่างงาน
และเมื่อพิจารณาตาม สภาพพื้นที่พักอาศัย พบว่า ร้อยละ 58.2 อาศัยอยู่ใน หมู่บ้านชุมชนดั้งเดิม นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 23.5 พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ หมู่บ้านชุมชนดั้งเดิม นอกเขตเทศบาล
ร้อยละ 18.3 พักอาศัยอยู่ในพื้นที่อื่นๆ อาทิ หมู่บ้านจัดสรรใหม่/ชุมชนใหม่
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 33.3 พักอาศัยในเขตเทศบาล/กรุงเทพมหานคร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 41.5
2 3-4 วัน 18.6
3 1-2 วัน 13.6
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 19.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
ตุลาคม 2550 เปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายน 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ก.ย.49 ต.ค.49 พ.ย.-ธ.ค.49 ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.-ก.ค.50 ก.ย.50 ต.ค.50
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายใน ประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 6.30 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.90
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนตุลาคม 2550
เมื่อคะแนนเต็ม 10
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.34
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.47
3 วัฒนธรรมประเพณี 7.44
4 สุขภาพทางกาย 7.10
5 หน้าที่การทำงาน 7.07
6 สุขภาพใจ 6.91
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.78
8 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.73
9 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.69
10 ความเป็นธรรมในสังคม 6.27
11 ภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 5.19
12 ภาพลักษณ์โดยรวมของนักการเมือง 4.28
13 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.62
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนตุลาคม 2550 6.90
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนตุลาคม 2550 ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชน
จำแนกตามพื้นที่ เมื่อคะแนนเต็ม 10
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม 2550 เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ความจงรักภักดี 9.38 9.34 9.23 9.65 9.16
2 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 7.03 6.71 6.88 6.57 6.44
3 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 7.06 6.42 6.91 6.72 6.23
4 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.72 7.44 7.36 7.6 7.27
5 สุขภาพทางกาย 7.19 7.2 6.91 7.25 7.06
6 สุขภาพใจ 7.19 7.2 6.91 7.25 7.06
7 หน้าที่การทำงาน 7.19 6.97 6.91 7.36 7.29
8 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.93 6.82 6.31 6.84 6.96
9 วัฒนธรรมประเพณี 7.53 7.42 7.41 7.3 7.57
10 ความเป็นธรรมในสังคม 6.45 6.18 6.31 6.1 6.23
11 ภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 5 5.23 5.18 5.49 5.09
12 ภาพลักษณ์โดยรวมของนักการเมือง 4.19 4.02 4.52 4.13 4.49
13 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.44 2.81 2.67 2.05 3.06
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชน
ทั้งประเทศประจำเดือนตุลาคม 2550 6.92 6.97 6.84 6.99 6.82
ตารางที่ 5 แสดงการจัดอันดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขมวลรวมของประชาชน ในช่วงเดือนตุลาคม 2550
เมื่อคะแนนเต็ม 10
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าร้อยละ
1 ความจงรักภักดี 53.6
2 สุขภาพใจ 47.6
3 ความเป็นธรรมในสังคม 40.9
4 หน้าที่การทำงาน 39.2
5 สุขภาพทางกาย 37.4
6 บรรยากาศภายในครอบครัว 36.9
7 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.5
8 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 35.6
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 35.0
10 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 33.1
11 วัฒนธรรมประเพณี 31.4
12 ภาพลักษณ์โดยรวมของนักการเมือง 30.9
13 ภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 29.9
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของความทุกข์ของประชาชนในช่วงเดือน ตุลาคม 2550
ลำดับที่ ระดับความทุกข์ของประชาชนในช่วงเดือน กันยายน 2550 ค่าร้อยละ
1 ไม่มีความทุกข์เลย 4.3
2 ไม่ค่อยทุกข์ 17.9
3 ปานกลาง 38.7
4 ค่อนข้างทุกข์ 32.2
5 ทุกข์มากที่สุด 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
คะแนนความทุกข์โดยเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เท่ากับ 5.56
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-