ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ และนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, ABAC — SIMBA) โดยการสนับสนุน ของธนาคารกรุงศรีฯ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง การรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ของคนเมืองกรุง จำนวน 621 ตัวอย่าง ในพื้นที่รัชดา จตุจักร ประตูน้ำ สยาม และดุสิต ดำเนินโครงการระหว่างเดือนเมษายน — กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลได้ฟรีทั้งหมดที่ www.abacpolldata.au.edu
ผลการสำรวจพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ที่ผ่านมา ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 89.7 เคยไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์ และมีเพียงร้อยละ 10.3 ไม่เคยไปทาน สำหรับประเภทที่นิยมทานนั้นได้แก่ อาหารปิ้งย่าง คิดเป็นร้อยละ 47.0 รองลงมาคือ สุกี้/หม้อไฟ คิดเป็นร้อยละ 44.1 และพิซซ่า คิดเป็นร้อยละ 2.9 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างเกือบทั้งหมด หรือร้อยละ 98.1 ระบุไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์กับผู้อื่น ในขณะที่มีเพียง ร้อยละ 1.9 ไปคนเดียว และเมื่อถามถึงบุคคลที่ไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์ด้วย พบว่า ตัวอย่างเกิน 3 ใน 4 หรือร้อยละ 78.4 ระบุเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 35.7 ระบุครอบครัว/ญาติ ร้อยละ 35.5 ระบุแฟน/คู่สมรส ร้อยละ 7.5 ระบุหัวหน้างาน และร้อยละ 2.8 ระบุลูกค้า ในขณะเดียวกัน เมื่อถามถึงบุคคลที่มักจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกร้าน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.4 ระบุเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 37.3 ระบุตัวเอง ร้อยละ 9.2 ระบุแฟน/คู่สมรส ร้อยละ 8.7 ระบุครอบครัว/ญาติ ร้อยละ 2.2 ระบุหัวหน้างาน และร้อยละ 1.2 ระบุลูกค้า
เมื่อถามถึงราคาอาหารบุฟเฟ่ต์ต่อหัวที่ทานเป็นประจำพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.9 ระบุไม่เกิน 150 บาท ร้อยละ 22.9 ระบุ 151-200 บาท ร้อยละ 23.4 ระบุ 201-250 บาท ร้อยละ 20.6 ระบุ 301-500 บาท ร้อยละ 13.0 ระบุ 301-500 บาท และร้อยละ 3.2 ระบุ 500 บาทขึ้นไป ส่วนวัตถุดิบที่ชอบทานมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ร้อยละ 25.4 ระบุกุ้ง ร้อยละ 12.8 ระบุปลา ร้อยละ 11.5 ระบุปลาหมึก ร้อยละ 10.4 ระบุเนื้อหมู และร้อยละ 9.2 ระบุปู ตามลำดับ
ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคมฯ กล่าวว่า ในผลสำรวจชิ้นนี้เป็นการประมวลภาพให้เห็นถึงพฤติกรรมและความใส่ใจของผู้บริโภคที่นิยมรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ โดยสำรวจในพื้นที่รัชดา จตุจักร ประตูน้ำ สยาม และดุสิต จะเห็นได้ว่าอาหารบุฟเฟ่ต์เป็นอีกช่องทางหนึ่งของการเสริมสร้าง Social Network และเป็น network ที่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ต้องพบปะสังสรรค์กันจริงๆ คงมีน้อยคนที่จะคิดรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ร่วมกันผ่านทางโลกอินเทอร์เนต ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์จึงน่าจะเน้นการประกอบธุรกิจที่โดนใจผู้บริโภคที่มากันเป็นกลุ่มในลักษณะของครอบครัว เพื่อนฝูงสังสรรค์ กันอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการบุฟเฟ่ต์น่าจะคำนึงถึงความสะอาดและสุขภาพของผู้บริโภคเป็นสำคัญเพื่อขยายตลาดครอบคลุมและทำให้เกิด “ความวางใจ” ในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ได้อย่างสนิทใจและเพลิดเพลินในการสังสรรค์พบปะกันของสมาชิกครอบครัว ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงคนใกล้ชิด
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 51.7 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 48.3 เป็นเพศชาย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 10.5 ระบุอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 17.9 อายุ 19-23 ปี ร้อยละ 33.0 อายุ 24-30 ปี ร้อยละ 38.6 ระบุอายุ 31-40 ปี เมื่อพิจารณาจำแนกตามการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 56.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 14.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และเมื่อพิจาณาตามสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 78.4 ระบุโสด ร้อยละ 20.4 ระบุสมรส และร้อยละ 1.2 ระบุพ่อหม้าย/แม่หม้าย/หย่าร้าง
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 42.7 ระบุเป็นพนักงานบริษัท ร้อยละ 25.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 10.9 ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ส่วนตัว ร้อยละ 4.8 ระบุเป็นผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 3.6 ระบุว่างงาน ร้อยละ 2.9 ระบุรับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน และร้อยละ 2.3 ระบุเป็นลูกจ้างโรงงาน/สถานประกอบการ ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่าร้อยละ 51.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
ลำดับที่ การทานอาหารบุฟเฟ่ต์ ค่าร้อยละ 1 เคยไปทาน 89.7 2 ไม่เคยไป 10.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของอาหารบุฟเฟ่ต์ที่ที่ทานบ่อยที่สุด ลำดับที่ ประเภทของอาหารบุฟเฟ่ต์ ค่าร้อยละ 1 ปิ้งย่าง 47.0 2 สุกี้/หม้อไฟ 44.1 3 พิซซ่า 2.9 4 ขนม/ไอศกรีม 2.6 5 ติ่มซำ 2.2 6 อื่นๆ 1.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์ ลำดับที่ การไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์ ค่าร้อยละ 1 ไปกับผู้อื่น 98.1 2 ไปคนเดียว 1.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่มักจะไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์ด้วย (เฉพาะตัวอย่างที่ไปกับผู้อื่น และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ บุคคลที่มักจะไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์ด้วย ค่าร้อยละ 1 เพื่อน/เพื่อนร่วมงาน 78.4 2 ครอบครัว/ญาติ 35.7 3 แฟน/คู่สมรส 35.5 4 หัวหน้างาน 7.5 5 ลูกค้า 2.8 จำนวนคนที่ไปทานอาหารบุฟเฟ่ต์ (นับผู้ตอบด้วย) คิดเป็นค่าเฉลี่ย ประมาณ 4 คนต่อครั้ง ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่มักจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจเลือกร้าน ลำดับที่ บุคคลที่มักจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจเลือกร้าน ค่าร้อยละ 1 เพื่อน/เพื่อนร่วมงาน 41.4 2 ตัวเอง 37.3 3 แฟน/คู่สมรส 9.2 4 ครอบครัว/ญาติ 8.7 5 หัวหน้างาน 2.2 6 ลูกค้า 1.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุราคาค่าอาหารบุฟเฟ่ต์ต่อหัวที่ทานเป็นประจำ ลำดับที่ ราคาค่าอาหารบุฟเฟ่ต์ต่อหัว ค่าร้อยละ 1 ไม่เกิน 150 บาท 16.9 2 151-200 บาท 22.9 3 201-250 บาท 23.4 4 301-500 บาท 20.6 5 301-500 บาท 13.0 6 500 บาทขึ้นไป 3.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 การจัดอันดับวัตถุดิบที่ชอบทานมากที่สุด (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนักแล้ว) ลำดับที่ วัตถุดิบที่ชอบทาน ค่าร้อยละ 1 กุ้ง 25.4 2 ปลา 12.8 3 ปลาหมึก 11.5 4 เนื้อหมู 10.4 5 ปู 9.2 6 ผัก 7.4 7 ไส้กรอก/แฮม/เบคอน 5.7 8 เนื้อวัว 5.7 9 เห็ด 3.7 10 เนื้อไก่ 3.2 11 หอย 2.7 12 ลูกชิ้น/ปูอัด 2.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 สนใจติดต่อร่วมสนับสนุนเครือข่ายทางสังคมปฏิรูปดัชนีผู้บริโภคได้ที่ 02-719-1550 หรือ อีเมล abacpoll@au.edu
--เอแบคโพลล์--