หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างในวันที่ 3 มีนาคม 2545 ได้มีกรณีที่พรรคฝ่ายค้านออกมาวิจารณ์การออกอากาศรายการวิทยุ รายการ "นายกฯทักษิณพูดกับประชาชน" ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ในทุกเช้าวันเสาร์ โดยฝ่ายค้านได้เรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) สั่งห้ามนายกรัฐมนตรีออกอากาศรายการดังกล่าวในช่วงก่อนการเลือกตั้ง เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบได้เสียต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น และเกรงว่าจะเป็นการใช้สื่อของรัฐในการหาเสียงอย่างไม่เท่าเทียมกันระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ซึ่งพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ออกมาชี้แจงว่าเรื่องนี้ต้องถามประชาชนก่อนว่าจะให้หยุดออกอากาศรายการนี้หรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ที่ กกต. ได้จัดเตรียมขึ้นนั้น คณะผู้วิจัยยังได้สนใจทำการสำรวจการรับรู้ต่อวันเลือกตั้งซ่อม และประสบการณ์ของประชาชนต่อการโกงหรือทุจริตการเลือกตั้งที่ผ่านมา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ 2545
กลุ่มตัวอย่างรับทราบว่า กกต. จัด ให้มีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ขึ้น ร้อยละ 82.1 ไม่ทราบ ร้อยละ 17.9 และเมื่อถามว่า กกต. จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ขึ้นเมื่อใด กลุ่มตัวอย่างทราบและระบุวันเวลาถูกต้อง ร้อยละ 9.7 ระบุว่าทราบแต่ไม่ถูกต้อง ร้อยละ 9.3 และไม่ทราบเลย ร้อยละ 81.0 ซึ่งคณะผู้วิจัยเป็นห่วงการเลือกตั้งครั้งนี้อาจมีประชาชนไปใช้สิทธิไม่มาก และในเขตที่มีการเลือกตั้ง อาจมีประชาชนทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเนื่องมาจากความไม่รู้ไม่ทราบวันที่มีการเลือกตั้ง
ด้านความมั่นใจต่อการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ว่าจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม กลุ่มตัวอย่าง มั่นใจ ร้อยละ 6.0 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 9.5 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 37.8 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 34.1 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 12.6 ส่วนวิธีการต่างๆ ในการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งที่ตัวอย่างเคยประสบจากการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมา ระบุว่า ลำดับที่ 1 แจกเงินหรือสิ่งของ ร้อยละ 51.1 ลำดับที่ 2 มีการเกณฑ์คนมาลงคะแนน ร้อยละ 17.5 ลำดับที่ 3 ซื้อบัตรประชาชน ร้อยละ 11.9 ลำดับที่ 4 โกงการนับคะแนน ร้อยละ 11.2 ลำดับที่ 5 ปลอมบัตรประชาชน ร้อยละ 7.5 เป็นต้น และยังระบุ ความได้เปรียบของพรรคไทยรักไทยจากกรณี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ออกรายการวิทยุทุกวันเสาร์ในช่วงมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งว่า ทำให้พรรคไทยรักไทยได้เปรียบ ร้อยละ 52.6 ไม่ได้เปรียบ ร้อยละ 18.1 โดยที่ร้อยละ 23.6 เห็นว่า ควรจัดรายการต่อไป และร้อยละ 39.0 เห็นว่าควรหยุดพักให้พ้นการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ไปก่อน ซึ่งเหตุผลที่เห็นควรให้ท่านนายกฯ ทักษิณจัดรายการวิทยุต่อไป เรียงตามลำดับดังนี้
1) ทำให้ประชาชนได้รับรู้ผลงานรัฐบาล / ได้ใกล้ชิดนากยก / ประชาชนจะได้รับรู้ข่าวสารทางการเมืองอย่างต่อเนื่องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล
2) เป็นเรื่องของรัฐบาล ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
3) คิดว่าไม่น่ามีผลอะไร / ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทางการเมือง เหตุผลที่เห็นควรให้ท่านนายกฯ ทักษิณหยุดพักการจัดรายการวิทยุช่วงเลือกตั้ง
1) ยุติธรรมกับพรรคการเมืองพรรคอื่น / มีความเสมอภาค / จะได้ไม่ถูกมองว่าเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น / เพื่อความเป็นกลาง
2) เป็นการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น / เป็นประโยชน์ต่อพรรคไทยรักไทย
3) จะได้ไม่ถูกกล่าวหาว่าใช้สื่อของรัฐในการหาเสียง
ส่วนความคิดเห็นที่ว่า รัฐบาลควรให้งบประมาณ 1500 ล้านบาท แก่กองทัพบกในการย้ายคลังแสงในเขตเมือง กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ร้อยละ 59.4 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 20.3 และไม่มีความเห็น ร้อยละ 20.3 และยังระบุ ความต้องการให้ท่านนายกฯ ชี้แจงให้ชัดเจนกรณีเดินทางไปประเทศอินเดีย ร้อยละ 60.0 ต้องการ และร้อยละ 12.9 ไม่ต้องการ ทางด้านความเข้มแข็งเพียงพอของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเข้มแข็งเพียงพอแล้ว ร้อยละ 25.3 และยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ ร้อยละ 59.0
--เอแบคโพลล์--
กลุ่มตัวอย่างรับทราบว่า กกต. จัด ให้มีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ขึ้น ร้อยละ 82.1 ไม่ทราบ ร้อยละ 17.9 และเมื่อถามว่า กกต. จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ขึ้นเมื่อใด กลุ่มตัวอย่างทราบและระบุวันเวลาถูกต้อง ร้อยละ 9.7 ระบุว่าทราบแต่ไม่ถูกต้อง ร้อยละ 9.3 และไม่ทราบเลย ร้อยละ 81.0 ซึ่งคณะผู้วิจัยเป็นห่วงการเลือกตั้งครั้งนี้อาจมีประชาชนไปใช้สิทธิไม่มาก และในเขตที่มีการเลือกตั้ง อาจมีประชาชนทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเนื่องมาจากความไม่รู้ไม่ทราบวันที่มีการเลือกตั้ง
ด้านความมั่นใจต่อการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ว่าจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม กลุ่มตัวอย่าง มั่นใจ ร้อยละ 6.0 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 9.5 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 37.8 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 34.1 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 12.6 ส่วนวิธีการต่างๆ ในการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งที่ตัวอย่างเคยประสบจากการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมา ระบุว่า ลำดับที่ 1 แจกเงินหรือสิ่งของ ร้อยละ 51.1 ลำดับที่ 2 มีการเกณฑ์คนมาลงคะแนน ร้อยละ 17.5 ลำดับที่ 3 ซื้อบัตรประชาชน ร้อยละ 11.9 ลำดับที่ 4 โกงการนับคะแนน ร้อยละ 11.2 ลำดับที่ 5 ปลอมบัตรประชาชน ร้อยละ 7.5 เป็นต้น และยังระบุ ความได้เปรียบของพรรคไทยรักไทยจากกรณี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ออกรายการวิทยุทุกวันเสาร์ในช่วงมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งว่า ทำให้พรรคไทยรักไทยได้เปรียบ ร้อยละ 52.6 ไม่ได้เปรียบ ร้อยละ 18.1 โดยที่ร้อยละ 23.6 เห็นว่า ควรจัดรายการต่อไป และร้อยละ 39.0 เห็นว่าควรหยุดพักให้พ้นการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ไปก่อน ซึ่งเหตุผลที่เห็นควรให้ท่านนายกฯ ทักษิณจัดรายการวิทยุต่อไป เรียงตามลำดับดังนี้
1) ทำให้ประชาชนได้รับรู้ผลงานรัฐบาล / ได้ใกล้ชิดนากยก / ประชาชนจะได้รับรู้ข่าวสารทางการเมืองอย่างต่อเนื่องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล
2) เป็นเรื่องของรัฐบาล ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
3) คิดว่าไม่น่ามีผลอะไร / ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทางการเมือง เหตุผลที่เห็นควรให้ท่านนายกฯ ทักษิณหยุดพักการจัดรายการวิทยุช่วงเลือกตั้ง
1) ยุติธรรมกับพรรคการเมืองพรรคอื่น / มีความเสมอภาค / จะได้ไม่ถูกมองว่าเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น / เพื่อความเป็นกลาง
2) เป็นการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น / เป็นประโยชน์ต่อพรรคไทยรักไทย
3) จะได้ไม่ถูกกล่าวหาว่าใช้สื่อของรัฐในการหาเสียง
ส่วนความคิดเห็นที่ว่า รัฐบาลควรให้งบประมาณ 1500 ล้านบาท แก่กองทัพบกในการย้ายคลังแสงในเขตเมือง กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ร้อยละ 59.4 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 20.3 และไม่มีความเห็น ร้อยละ 20.3 และยังระบุ ความต้องการให้ท่านนายกฯ ชี้แจงให้ชัดเจนกรณีเดินทางไปประเทศอินเดีย ร้อยละ 60.0 ต้องการ และร้อยละ 12.9 ไม่ต้องการ ทางด้านความเข้มแข็งเพียงพอของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเข้มแข็งเพียงพอแล้ว ร้อยละ 25.3 และยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ ร้อยละ 59.0
--เอแบคโพลล์--