จากกรณีความขัดแย้งระหว่างทหารและตำรวจในจังหวัดขอนแก่น ภายหลังเกิดเรื่องวิวาทหน้าสถานบันเทิงในเมืองขอนแก่น ทั้งฝ่ายทหารและตำรวจต่างออกมาเปิดโปงถึงความไม่ชอบมาพากลกับการแสวงหาผลประโยชน์นอกระบบของแต่ละฝ่าย จนกระทั่งเกิดกรณีรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบภายใน (กอ.รมน.) ได้กล่าวหาผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 (ผบช.ภ.4) ซึ่งรับผิดชอบดูแลพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีการเรียกเก็บผลประโยชน์นอกระบบจากสถานบันเทิง และสถานบริการต่าง ๆ จนมีฐานะร่ำรวยผิดปกติ และได้ส่งเรื่องไปให้วุฒิสภาตรวจสอบแล้วนั้น
เรื่องดังกล่าวเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชน โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องอาทิ การสืบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลประโยชน์นอกระบบ (ส่วย)ของคนมีสี ความขัดแย้งเรื่องศักดิ์ศรีระหว่างสถาบัน และหลายฝ่ายต่างก็จับตามองว่าหน่วยงานของรัฐและรัฐบาลจะจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลงตัวไปในทิศทางใด สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 19 - 22 กุมภาพันธ์ 2545 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบปรากฎดังต่อไปนี้
ผลระบุ ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ทหาร-ตำรวจ ว่า เชื่อว่ามีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์นอกระบบ ร้อยละ 71.3 เป็นเรื่องศักดิ์ศรี / ต่างฝ่ายไม่ยอมกัน ร้อยละ 22.8 เป็นการแย่งอำนาจ / แย่งชิงความเป็นใหญ่ ร้อยละ 20.3 เป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร / หน่วยงาน ร้อยละ 7.6 เป็นการแย่งชิงพื้นที่ / เขตอิทธิพลของคน ร้อยละ 7.6 อื่น ๆ เช่น เป็นความขัดแย้งของตัวบุคคล, ความไม่เข้าใจในหน้าที่ ความผิดพลาดในการสื่อสาร ฯลฯ ร้อยละ 8.7 และยังระบุความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ปัญหาเรื่อง "ส่วยสถานบันเทิง" อย่างจริงจัง ว่า จำเป็น ร้อยละ 84.5 ยังไม่จำเป็น ร้อยละ 5.4 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 10.1
ส่วนกลุ่มบุคคลที่ควรถูกจัดระเบียบเพื่อแก้ปัญหาส่วยสถานบันเทิง ได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 65.7 กลุ่มผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 61.2 ทหาร ร้อยละ 40.9 นักการเมือง ร้อยละ 39.5 ขรก.ฝ่ายปกครอง เช่น จนท.เขต/อำเภอ/จังหวัด ร้อยละ 34.3 ผู้ประกอบการ ร้อยละ 31.4 ขรก.ฝ่ายจัดเก็บภาษี/ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 23.8 อื่น ๆ เช่น ผู้นำชุมชน ข้าราชการหน่วยอื่น ร้อยละ 6.6 โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้ระบุ "รัฐมนตรี" ที่ต้องการให้เข้ามาดูแลแก้ปัญหาเรื่องส่วยสถานบันเทิง ว่าควรเป็น ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 88.7 ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 19.9 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ร้อยละ 11.5 คนอื่น ๆ เช่น นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ฯลฯ ร้อยละ 2.4
กลุ่มบุคคลที่เสียภาพลักษณ์จากกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ทหารกับตำรวจที่จังหวัดขอนแก่น นั้น ผลระบุว่าเป็น ตำรวจ ร้อยละ 69.8 ทหาร ร้อยละ 68.1 รัฐบาล ร้อยละ 28.0 อื่น ๆ เช่น นักการเมือง, ผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิง ฯลฯ ร้อยละ 6.2 ส่วนความเห็นที่ว่า รัฐบาลเอาจริงเอาจังแล้วหรือไม่ต่อการแก้ปัญหาเรื่อง "ส่วย" กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เอาจริงเอาจัง ร้อยละ 23.5 ไม่เอาจริงเอาจัง ร้อยละ 57.9 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.5
และต่อความเห็นที่ว่า สุดท้ายแล้วใครเป็นคนได้รับผลประโยชน์จากการเรียกเก็บผลประโยชน์นอกระบบ ผลระบุว่าเป็น ตำรวจ ร้อยละ 58.6 กลุ่มผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 57.9 ทหาร ร้อยละ 32.3 นักการเมือง ร้อยละ 30.5 ขรก.ฝ่ายปกครอง (จนท.เขต/อำเภอ/จังหวัด) ร้อยละ 17.4 ผู้ประกอบการ ร้อยละ 13.6 ขรก.ฝ่ายจัดเก็บภาษี/ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 11.5 อื่น ๆ เช่น ผู้นำชุมชน ข้าราชการหน่วยอื่น ร้อยละ 5.2
--เอแบคโพลล์--
เรื่องดังกล่าวเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชน โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องอาทิ การสืบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลประโยชน์นอกระบบ (ส่วย)ของคนมีสี ความขัดแย้งเรื่องศักดิ์ศรีระหว่างสถาบัน และหลายฝ่ายต่างก็จับตามองว่าหน่วยงานของรัฐและรัฐบาลจะจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลงตัวไปในทิศทางใด สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 19 - 22 กุมภาพันธ์ 2545 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบปรากฎดังต่อไปนี้
ผลระบุ ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ทหาร-ตำรวจ ว่า เชื่อว่ามีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์นอกระบบ ร้อยละ 71.3 เป็นเรื่องศักดิ์ศรี / ต่างฝ่ายไม่ยอมกัน ร้อยละ 22.8 เป็นการแย่งอำนาจ / แย่งชิงความเป็นใหญ่ ร้อยละ 20.3 เป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร / หน่วยงาน ร้อยละ 7.6 เป็นการแย่งชิงพื้นที่ / เขตอิทธิพลของคน ร้อยละ 7.6 อื่น ๆ เช่น เป็นความขัดแย้งของตัวบุคคล, ความไม่เข้าใจในหน้าที่ ความผิดพลาดในการสื่อสาร ฯลฯ ร้อยละ 8.7 และยังระบุความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ปัญหาเรื่อง "ส่วยสถานบันเทิง" อย่างจริงจัง ว่า จำเป็น ร้อยละ 84.5 ยังไม่จำเป็น ร้อยละ 5.4 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 10.1
ส่วนกลุ่มบุคคลที่ควรถูกจัดระเบียบเพื่อแก้ปัญหาส่วยสถานบันเทิง ได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 65.7 กลุ่มผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 61.2 ทหาร ร้อยละ 40.9 นักการเมือง ร้อยละ 39.5 ขรก.ฝ่ายปกครอง เช่น จนท.เขต/อำเภอ/จังหวัด ร้อยละ 34.3 ผู้ประกอบการ ร้อยละ 31.4 ขรก.ฝ่ายจัดเก็บภาษี/ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 23.8 อื่น ๆ เช่น ผู้นำชุมชน ข้าราชการหน่วยอื่น ร้อยละ 6.6 โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้ระบุ "รัฐมนตรี" ที่ต้องการให้เข้ามาดูแลแก้ปัญหาเรื่องส่วยสถานบันเทิง ว่าควรเป็น ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 88.7 ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 19.9 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ร้อยละ 11.5 คนอื่น ๆ เช่น นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ฯลฯ ร้อยละ 2.4
กลุ่มบุคคลที่เสียภาพลักษณ์จากกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ทหารกับตำรวจที่จังหวัดขอนแก่น นั้น ผลระบุว่าเป็น ตำรวจ ร้อยละ 69.8 ทหาร ร้อยละ 68.1 รัฐบาล ร้อยละ 28.0 อื่น ๆ เช่น นักการเมือง, ผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิง ฯลฯ ร้อยละ 6.2 ส่วนความเห็นที่ว่า รัฐบาลเอาจริงเอาจังแล้วหรือไม่ต่อการแก้ปัญหาเรื่อง "ส่วย" กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เอาจริงเอาจัง ร้อยละ 23.5 ไม่เอาจริงเอาจัง ร้อยละ 57.9 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.5
และต่อความเห็นที่ว่า สุดท้ายแล้วใครเป็นคนได้รับผลประโยชน์จากการเรียกเก็บผลประโยชน์นอกระบบ ผลระบุว่าเป็น ตำรวจ ร้อยละ 58.6 กลุ่มผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 57.9 ทหาร ร้อยละ 32.3 นักการเมือง ร้อยละ 30.5 ขรก.ฝ่ายปกครอง (จนท.เขต/อำเภอ/จังหวัด) ร้อยละ 17.4 ผู้ประกอบการ ร้อยละ 13.6 ขรก.ฝ่ายจัดเก็บภาษี/ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 11.5 อื่น ๆ เช่น ผู้นำชุมชน ข้าราชการหน่วยอื่น ร้อยละ 5.2
--เอแบคโพลล์--