เอแบคโพลล์: ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1

ข่าวผลสำรวจ Friday September 2, 2011 10:25 —เอแบคโพลล์

ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ และนายกสมาคม ศิษย์เก่ามหา วิทยาลัยอัสสัมชัญร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, ABAC — SIMBA) โดยการสนับสนุนของธนาคารกรุงศรีฯ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ดัชนีความ เชื่อมั่นของผู้บริโภคภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 (ABAC Consumer Sentiment Index: ACI) กรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภค ระดับครัวเรือน อายุ 18 ปี ขึ้นไป ใน 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา จำนวน 2,764 ตัวอย่าง ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนิน โครงการระหว่างวันที่ 15 — 31 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลได้ทั้งหมดที่ www.abacpolldata.au.edu

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 พบว่า เมื่อค่าอ้างอิงความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 100 จุด ปรากฏว่า ประชาชนผู้บริโภค “ไม่เชื่อมั่นในทุกตัวชี้วัด” เพราะค่าดัชนีที่วัดได้ ต่ำกว่า 100 จุดในทุกตัว ได้แก่ ไม่เชื่อมั่นต่อสถานการ์ทั่วไป ของเศรษฐกิจและธุรกิจในปัจจุบันเพราะได้เพียง 49.0 จุด แต่ถ้าในอีก 3 เดือนข้างหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจได้เพิ่มเป็น 82.6 จุด ซึ่งยังไม่ถึงจุดเชื่อมั่น นอกจากนี้ประชาชนยังไม่เชื่อมั่นในเรื่อง รายได้ในปัจจุบันของประชาชนแต่ละคนเพราะมีค่าดัชนีที่วัดได้เท่ากับ 70.6 จุด และในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนก็ยังไม่เชื่อมั่นในเรื่องรายได้ของตนเช่นกันเพราะมีค่าดัชนีเท่ากับ 98.7 จุด ซึ่งก็ยังเป็นค่าที่ต่ำกว่า 100 จุดอันเป็นค่าอ้างอิงของความเชื่อมั่น ยิ่งไปกว่านั้น ค่าดัชนีที่ค้นพบต่ำที่สุดได้แก่ ราคาสินค้าอุปโภค — บริโภคในปัจจุบัน ประชาชนไม่เชื่อมั่น เพราะมีค่า ดัชนีที่วัดได้เพียง 15.6 จุด และในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ยังอยู่ในขั้นวิกฤต คือได้เพียง 36.0 จุดเท่า นั้น

เมื่อวัดความเชื่อมั่นในเวลาที่เหมาะสมซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ พบว่า ประชาชนผู้บริโภคยังไม่เชื่อมั่น เพราะ วัดค่าได้เพียง 33.5 จุดซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าค่าอ้างอิงที่ระดับ 100 จุดและในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนผู้บริโภคยังคงไม่เชื่อมั่นในเวลาที่เหมาะซื้อ สินค้าคงทนเช่นกัน เพราะค่าที่วัดได้เท่ากับ 35.3 จุดเท่านั้น เช่นเดียวกัน ประชาชนผู้บริโภค ไม่เชื่อมั่นต่อโอกาสในการหางานทำ เพราะวัดค่า ได้เพียง 37.8 จุดอันเป็นค่า ต่ำกว่าค่าอ้างอิงที่ระดับ 100 จุด และในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนผู้บริโภคก็ยังไม่เชื่อมั่นต่อโอกาสในการหางาน ทำ เพราะวัดค่าได้เพียง 51.0 จุด และเมื่อประเมินความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยภาพรวมพบว่าอยู่ที่ 51.01 จุด หมายความว่า ประชาชนผู้บริโภคยัง ไม่เชื่อมั่นต่อสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในเวลานี้เพราะเป็นค่าที่ต่ำกว่าค่าอ้างอิงที่ระดับ 100 จุด อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคระหว่าง ช่วงปลายของรัฐบาลนายก อภิสิทธิ์ กับ ช่วงแรก หลังจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีของนายก รัฐมนตรีหญิง ยิ่งลักษณ์ 1 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในช่วงแรก หลังตั้งคณะรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ 1 ปรับตัวสูงกว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน ช่วงปลายของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชาชีวะในเกือบทุกตัวชี้วัด ยกเว้น เรื่องการวางแผนซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ที่ยังไม่มีการปรับตัวดีขึ้นแต่อย่างใด รวมถึงโอกาสหางานทำในปัจจุบันด้วย

ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจหลังจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ 1 พบว่า คนรวยมีรายได้สูง ก็ ยิ่งเห็นว่ารายได้ปัจจุบันของตนเองดีขึ้น ใน ขณะที่คนมีรายได้น้อย ก็ยังมองว่ารายได้ปัจจุบัน “แย่ลง” มากกว่าคนที่มีรายได้สูง โดยพบว่า คนรายได้มากกว่า 75,000 บาทร้อยละ 42.3 เห็นว่า รายได้ของตนเองในปัจจุบันดีขึ้น แต่คนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทที่มองว่ารายได้ของตนเองดีขึ้นมีอยู่เพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้น แต่ผู้มีรายได้น้อย กลุ่มนี้ร้อยละ 39.3 มองว่ารายได้ปัจจุบันของพวกเขากำลังแย่ลง ที่น่าพิจารณาคือ คนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ที่มองว่า ราย ได้ของตนเองในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น สูงกว่า คนในภาคอื่นๆ คือ ภาคเหนือมีอยู่ร้อยละ30.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอยู่ร้อยละ 23.3 คน ภาคกลางมีอยู่ร้อยละ 21.2 คนกรุงเทพมหานครและคนภาคใต้มีจำนวนผู้ที่มองว่ารายได้ของตนเองจะดีขึ้น ต่ำกว่าคนในภาคอื่น โดยคนกรุงเทพมหา นครอยู่ที่ ร้อยละ 16.4 และคนภาคใต้ต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 13.5 เท่านั้น

ดร.อุดม กล่าวว่า ความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสภาวะเศรษฐกิจหลังตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 เกิดจากปัจจัยลบ คือ กระแส ข่าวนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ทำให้ประชาชนผิดหวังในเรื่อง ค่าแรง 300 บาทต่อวัน และเงินเดือน 15,000 บาทของผู้จบปริญญาตรี รวมถึงค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังสูงอยู่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาภัยพิบัติที่กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร และความวุ่นวายทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวก ที่ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงขึ้นกว่าช่วงปลายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ คือ แนวนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่มุ่งไปยังการกระตุ้น

เศรษฐกิจประชาชนรากหญ้าและระดับครัวเรือน เช่น         การเพิ่มรายได้ การปรับลดราคาน้ำมัน ราคาเนื้อหมูที่เริ่มลดลง แต่อย่างไรก็ดีระดับ
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยภาพรวมยังไม่พ้นขีดวิกฤตที่จะมุ่งสู่ระดับเชื่อมั่นได้ในช่วงเวลานี้

“รัฐบาลควรเร่งสร้างให้เกิดความชัดเจน เกี่ยวกับการปฏิบัติขับเคลื่อนนโยบายที่ได้ประกาศไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้และ ลดภาระค่าครองชีพ ลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน โดยเฉพาะกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจาก ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในขณะนี้” ดร.อุดม กล่าว

ในขณะที่ ดร.นพดล กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหลังตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 ปรับตัวสูงกว่าช่วงปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ยังอยู่ในขอบเขตวิกฤตโดยเฉพาะเรื่องราคาสินค้า และมีข้อมูลที่ยังคงตอกย้ำว่า คนรวยก็รวยมากยิ่งขึ้น คนจนก็ยังจนเหมือนเดิมและจะแย่ลงไปอีก และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเพียงการตอบรับเชิงจิตวิทยาต่อตัวนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 และเป็นผลพวงจากการ เลือกตั้งที่ทำให้ระดับความเชื่อมั่นในตัวชี้วัดด้านรายได้ของคนภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าภาคอื่นๆ แต่ถ้าในอีก 3 — 4 เดือนข้างหน้า รัฐบาลยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าได้ชัดเจน และชาวบ้านยังสับสนในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเช่นนี้ต่อไป ผลที่ตาม มาคือ ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไม่น่าจะพ้นขีดวิกฤตได้ และไม่มีพลัง ที่มากพอจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ดุลยภาพโดยรวมได้

“ทางออกคือ รัฐบาลต้องเปลี่ยน “ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค” มาเป็น “พลังศรัทธา” และวางใจต่อการทำงานของรัฐบาล ทางออกคือ 1) เผยแพร่ข้อมูลข่าวดีที่เป็นจริงอย่างต่อเนื่องกระตุ้นความศรัทธาของสาธารณชนต่อรัฐบาล 2) เน้นนโยบายปฏิรูปกฎหมายเอื้อต่อการเสริมความแข็ง แกร่งในระบบเศรษฐกิจรากหญ้า เช่น สัญญาธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมในกลุ่มผู้ประกอบการระดับรากหญ้า การถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ และ สัญญาข้อผูกมัดที่ หลอกหลวงประชาชน และ 3) เน้นนโยบายกระจายทรัพยากร เช่น การกระจายกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินทำกินของเกษตรกรระดับ ปัจเจกบุคคล มากกว่าระดับชุมชนเพียงอย่างเดียว งบประมาณอุดหนุนอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม และระบบพิกัดอัตราภาษีในการ ประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น” ดร.นพดล กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 54.4 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 45.6 เป็นเพศชาย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตาม ช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 6.4 ระบุอายุ 18-24 ปี ร้อยละ 21.8 อายุ 25-35 ปี ร้อยละ 31.7 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 37.7 ระบุอายุ 46-60 ปี และร้อยละ 2.4 ระบุอายุ 61 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 81.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 18.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ร้อยละ 34.7 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ ร้อยละ 33.0 เป็นเกษตรกร/รับจ้างแรงงาน ร้อยละ 8.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อ บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 8.5 ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นพนักงานบริษัท ร้อยละ 4.6 ระบุเป็นผู้ประกอบการ ร้อยละ 2.5 เป็น นักศึกษา ร้อยละ 1.3 ระบุว่างงาน และร้อยละ 0.3 ระบุอื่นๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่าร้อยละ 76.0 ระบุรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 24.0 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาท ต่อเดือน ตามลำดับ

ตารางที่ 1 แสดงค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หลังจัดตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 จำแนกตามตัวชี้วัด
(ถ้าค่าต่ำกว่า 100 หมายถึง ไม่เชื่อมั่น)
ลำดับที่          ตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค                                  ค่าดัชนีที่วัดได้  ค่าอ้างอิงความเชื่อมั่น   ความหมาย
1          สถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจในปัจจุบัน                            49.0           100          ไม่เชื่อมั่น
2          ในอีก 3 เดือนข้างหน้า สถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจ                 82.6           100          ไม่เชื่อมั่น
3          รายได้ในปัจจุบัน                                                    70.6           100          ไม่เชื่อมั่น
4          รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า                                          98.7           100          ไม่เชื่อมั่น
5          ราคาสินค้าอุปโภค — บริโภค ในปัจจุบัน                                   15.6           100          ไม่เชื่อมั่น
6          ราคาสินค้าอุปโภค — บริโภค ในอีก 3 เดือนข้างหน้า                         36.0           100          ไม่เชื่อมั่น
7          เวลาที่เหมาะสมซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์                33.5           100          ไม่เชื่อมั่น
8          ในอีก 3 เดือนข้างหน้า มีแผนจะซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์    35.3           100          ไม่เชื่อมั่น
9          โอกาสในการหางานทำ                                               37.8           100          ไม่เชื่อมั่น
10         โอกาสในการหางานทำ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า                             51.0           100          ไม่เชื่อมั่น
          ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม                                               51.01          100          ไม่เชื่อมั่น

ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ระหว่าง ช่วงปลายรัฐบาล อภิสิทธิ์ กับ หลังจัดตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1
(ถ้าค่าต่ำกว่า 100 หมายถึง ไม่เชื่อมั่น)
   ลำดับที่           ตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค                               ค่าดัชนี     ความหมาย      ค่าดัชนี     ความหมาย
                                                                     ที่วัดได้ ช่วงปลาย               ที่วัดได้
                                                                       รัฐบาลอภิสิทธิ์              หลังครม.ปู 1
  1   สถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจในปัจจุบัน                                34.4      ไม่เชื่อมั่น        49       ไม่เชื่อมั่น
  2   ในอีก 3 เดือนข้างหน้า สถานการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจและธุรกิจ                     48.3      ไม่เชื่อมั่น       82.6      ไม่เชื่อมั่น
  3   รายได้ในปัจจุบัน                                                        51.8      ไม่เชื่อมั่น       70.6      ไม่เชื่อมั่น
  4   รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า                                              65.8      ไม่เชื่อมั่น       98.7      ไม่เชื่อมั่น
  5   ราคาสินค้าอุปโภค — บริโภค ในปัจจุบัน                                       9.1       ไม่เชื่อมั่น       15.6      ไม่เชื่อมั่น
  6   ราคาสินค้าอุปโภค — บริโภค ในอีก 3 เดือนข้างหน้า                             15.1      ไม่เชื่อมั่น        36       ไม่เชื่อมั่น
  7   เวลาที่เหมาะสมซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์                    34.9      ไม่เชื่อมั่น       33.5      ไม่เชื่อมั่น
  8   ในอีก 3 เดือนข้างหน้า มีแผนจะซื้อสินค้าคงทน   เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์      39.3      ไม่เชื่อมั่น       35.3      ไม่เชื่อมั่น
  9   โอกาสในการหางานทำ                                                   37.9      ไม่เชื่อมั่น       37.8      ไม่เชื่อมั่น
  10  โอกาสในการหางานทำ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า                                 39.4      ไม่เชื่อมั่น        51       ไม่เชื่อมั่น

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายได้ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนเมษายน — มิถุนายนของปี 53 จำแนกตามรายได้
ลำดับที่          รายได้ในปัจจุบัน              น้อยกว่า    15,001-35,000    35,001-75,000    มากกว่า  ภาพรวม
          เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน          15,000                                      75,000

เมษายน — มิถุนายนของปี 53

1          ดีขึ้น                            7.6          11.3              10.4         42.3      8.8
2          ทรงตัว                         53.1          54.9              42.8         42.3     53.0
3          แย่ลง                          39.3          33.8              46.8         15.4     38.2
          รวมทั้งสิ้น                       100.0         100.0             100.1        100.0    100.1

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อรายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่   รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า    กรุงเทพ       กลาง         ต/น         เหนือ         ใต้       ภาพรวม
1          ดีขึ้น                      16.4       21.2         23.3        30.6        13.5        21.8
2          ทรงตัว                    57.6       52.6         58.4        50.5        54.9        55.1
3          แย่ลง                     26.0       26.2         18.3        18.9        31.6        23.1
          รวมทั้งสิ้น                  100.0      100.0        100.0       100.0       100.0       100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ