ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจจุดยืนทางการ เมืองฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 สามอารมณ์ สามมุม ในหมู่ประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ นครพนม สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,614 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 3 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนตัวอย่างระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
เมื่อสอบถามประชาชนผู้ถูกศึกษาถึงจุดยืนทางการเมืองฐานสนับสนุนต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 ขออยู่ตรง กลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (พลังเงียบ) ในขณะที่ร้อยละ 33.1 สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 9.0 ไม่สนับสนุนรัฐบาล
ที่น่าพิจารณาคือ ผลการสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มคนสามกลุ่มคือ กลุ่มพลังเงียบ กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ในกลุ่มพลังเงียบและกลุ่มคนไม่สนับสนุนรัฐบาลไม่พอใจต่อรัฐบาลหลายเรื่องตรงกัน เช่น ความล่าช้าในการแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม ปัญหาราคา สินค้า ค่าครองชีพ การเลือกปฏิบัติไม่กระจายเรื่องค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำให้ทั่วถึงทุกจังหวัด ทำและพูดไม่ตรงกับช่วงหาเสียงในเรื่องเงินเดือนปริญญา ตรีและค่าจ้างแรงงาน การแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เหมาะสมแป็นข้าราชการการเมือง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการมุ่งเน้นช่วยเหลือพรรคพวกของตนเอง ให้ได้ดี เป็นต้น แต่กลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่ยังให้โอกาสรัฐบาลเพราะไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย ในขณะที่กลุ่มคนไม่สนับสนุนรัฐบาลพร้อมจะออกมา เคลื่อนไหวแต่ยังไม่มีผู้นำที่ไว้ใจและยังไม่น่าศรัทธาเพียงพอในตอนนี้เนื่องจากที่ผ่านมา แกนนำผู้ชุมนุมมักมีผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝงจนเกิดความ เสื่อมศรัทธา
เมื่อถามกลุ่มพลังเงียบต่อว่า จะตัดสินใจอย่างไรถ้ามีเรื่องต่อไปนี้เกิดขึ้นในรัฐบาลเช่น การทุจริตคอรัปชั่น การช่วยเหลือคนผิด และการ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการโดยเอาคนใกล้ชิด ญาติพี่น้อง พรรคพวกของตนเองขึ้นมีอำนาจ เป็นต้น คำตอบจากกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่พวกตน ไม่พอใจ แต่ทุกรัฐบาลก็ทำกันรวมถึงรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจด้วย การช่วยเหลือคนผิด การเลือกปฏิบัติ เอาญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดมามี อำนาจ เกิดขึ้นทุกรัฐบาล จะมาวิจารณ์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอย่างเดียวก็ไม่เป็นธรรมกับรัฐบาลของเธอ
ในขณะที่ กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่บอกว่า จะต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นในทุกกรณี ต้องยึดหลักคุณธรรมความถูกต้องบ้านเมืองจึงจะ อยู่รอดได้ รัฐบาลชุดนี้มุ่งแต่จะทำเพื่อช่วยเหลือคนบางคน และเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม เอาแต่ญาติพี่น้องและพรรคพวกของตนขึ้นมาเป็นใหญ่ เมื่อถามว่าจะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปนานแค่ไหน ส่วนใหญ่ตอบว่า ไม่เกินสามเดือน บางคนบอกไม่ต้องการให้โอกาส บางคนก็ยังให้โอกาสนาน ถึงหกเดือนและหนึ่งปี ทั้งๆ ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลชุดนี้และพวกเขาส่วนใหญ่ประเมินกันว่าช่วงเวลานี้ยังไม่เหมาะที่จะออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เนื่อง จากว่าตอนนี้ไม่ต้องการซ้ำเติมบ้านเมืองและไม่อยากให้เกิดช่องว่างที่เป็นอันตรายต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่มีอารมณ์เดือดและความไม่ พอใจเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อถามอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลต่อรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อรัฐบาลและถูกใจมากที่นำกลุ่มคน เสื้อแดงมาเป็นข้าราชการทางการเมืองเพราะเป็นตัวแทนจากภาคประชาชน ไม่ใช่เอาแต่คนชั้นนำมาเป็นใหญ่ เมื่อถามว่า ไม่กลัวว่าคนเหล่านั้น จะบ้าอำนาจ เจ้ายศเจ้าอย่าง อวดเบ่งหรือ กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่ตอบว่า เป็นเรื่องธรรมดามีในทุกรัฐบาล ใครๆ ก็ทำกัน แต่ประเทศไทย โชคดีที่ได้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงที่มีฐานะร่ำรวยแต่สุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว เข้าถึงชาวบ้านคนยากคนจน จึงเป็น โอกาสที่ดีมากที่พวกเราได้นายกรัฐมนตรีคนนี้ กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลยังตอกย้ำถึง “แรงศรัทธา” ที่พวกเขามีต่อพรรคเพื่อไทยว่า พรรคเพื่อไทยคือหน ทางรอดที่จะทำให้พวกเขามีสิทธิมีเสียง มีอำนาจที่จะเรียกร้องสิ่งที่พวกเขาเคยถูกเอารัดเอาเปรียบกลับคืนมา โดยตบท้ายข้อความที่ว่า ดูสินายกฯ ทักษิณ ร่ำรวยมหาศาลแต่ไม่เคยลืมคนยากจนอย่างพวกเขาเลย ส่วนพวกที่มีอำนาจคนอื่นๆ ได้เป็นใหญ่ก็ลืมพวกตน ไม่จริงใจ หลอกลวงใช้พวกเราเป็น เครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์มาโดยตลอด ถ้าอดีตนายกฯ ทักษิณ กลับประเทศพวกเราอยากเอาพรมไปปูต้อนรับ ไม่ต้องมาจ้าง พวกเราจะไปกัน เอง อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนมากอีกกลุ่มหนึ่งส่งเสียงสะท้อนไปยัง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ว่า ที่พวกเราต่อสู้กันมาไม่ใช่ เพราะอดีต นายกฯ ทักษิณ แต่เพราะพวกเราต่อต้านการยึดอำนาจและการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
เมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า ร้อยละ 37.2 ของผู้ชายสนับสนุนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 ในขณะที่ร้อยละ 30.2 ของผู้หญิงสนับสนุนรัฐบาลยิ่ง ลักษณ์ 1 จะเห็นได้ว่า ผู้ชายสนับสนุนรัฐบาล ปู 1 มากกว่า ผู้หญิง ได้อย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างไปจากผลสำรวจที่เคยค้นพบในช่วงแรกๆ ของรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ผู้หญิงจะสนับสนุนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มากกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ทั้งชายและหญิงขออยู่ตรงกลางคือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดขอเป็นพลังเงียบในการสำรวจครั้งนี้
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มพลังเงียบจะอยู่ในกลุ่มเยาวชนมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 63.8 ของกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อย ละ 70.0 ของกลุ่มที่อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปกลายเป็นกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 40.7 เมื่อ จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 36.8 สนับสนุนรัฐบาล มากกว่า กลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปที่มี อยู่ร้อยละ 25.4 ในขณะที่ กลุ่มคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.5 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า กลุ่มข้าราชการและกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลมากที่สุดคือร้อยละ 41.1 และร้อยละ 39.5 ตาม ลำดับ ในขณะที่กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนและกลุ่มนักเรียนนักศึกษาสนับสนุนรัฐบาลน้อยที่สุดคือร้อยละ 25.7 และร้อยละ 24.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ ตามกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนกลายเป็นกลุ่มที่ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) มากที่สุดคือร้อยละ 65.7 และร้อยละ 63.2 หมายความว่า ทั้งสองกลุ่มเป็นกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลน้อยที่สุดแต่ก็ไม่ได้ไปอยู่ในกลุ่มที่จะต่อต้านรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่
เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท และกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 10,000 — 15,000 บาท สนับ สนุนรัฐบาลมากกว่ากลุ่มอื่นๆ คือร้อยละ 35.3 และร้อยละ 34.0 ตามลำดับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 15,001 — 20,000 บาท มีสัดส่วนของคนที่สนับสนุนรัฐบาลน้อยสุดและไม่สนับสนุนรัฐบาลมากกว่ากลุ่มอื่นๆ
เมื่อถามถึงปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ได้ไม่นาน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.1 ระบุเป็นการทุจริตคอรัปชั่น กอบโกยผล ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง รองลงมาคือร้อยละ 77.3 ระบุการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ร้อยละ 76.4 ล่าช้าในการแก้ปัญหาเดือดร้อนของ ประชาชน ร้อยละ 69.9 ดีแต่พูด หลอกลวงประชาชน ไม่ทำตามที่สัญญา ร้อยละ 58.2 การกลั่นแกล้ง ข่มขู่ แก้แค้น ไม่แก้ไข บ้าอำนาจของนักการ เมือง ร้อยละ 57.4 ระบุการบริหารบ้านเมืองไม่ยึดหลักคุณธรรม เลือกปฏิบัติ หลายมาตรฐาน ร้อยละ 53.8 ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 53.3 ระบุการแทรกแซง คุกคาม สื่อมวลชน องค์กรอิสระ ร้อยละ 50.2 ระบุความวุ่นวายทางการเมือง สาดโคลนกันไปมา และร้อยละ 28.6 ระบุ อื่นๆ เช่น มุ่งช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร / กระแสความแตกแยกของคนในชาติ/ ความไม่สามัคคี / ความไม่เป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 ยังให้โอกาสรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำงานต่อไป ในขณะที่ร้อย ละ 21.5 ไม่คิดเช่นนั้น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่คนส่วนใหญ่พร้อมให้โอกาสรัฐบาล หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง น่าจะให้มีการ พิจารณากันว่า รัฐบาลแต่ละยุคควรมีโอกาสทำงานจนครบวาระ 4 ปีหรือไม่ รัฐบาลจะได้มีเสถียรภาพและเวลาที่เพียงพอในการขับเคลื่อนนโยบายแก้ ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน แต่ถ้าจะถูกถอดถอนเนื่องจากทุจริตคอรัปชั่นหรือความผิดอันร้ายแรงที่สาธารณชนรับไม่ได้ก็ควรดำเนินการไปตามขั้นตอน รัฐบาลจะได้ไม่ต้องดำรงอยู่ด้วยความระแวงที่เสี่ยงต่อความขัดแย้งรุนแรงในหมู่ประชาชน แต่ถ้าจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ประชาชนก็ต้องทำใจยอม รับเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงบนเส้นทางแห่งประชาธิปไตยที่ไม่ใช้ความรุนแรงทำร้ายกันในสังคม
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ประชาชนแต่ละคนลองพิจารณาดูว่า ถ้าคนคนหนึ่งได้เป็นผู้นำชุมชนหรือองค์กรเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มีความขัด แย้งสูงยังต้องใช้เวลานานเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะบริหารจัดการได้ลงตัวและบางองค์กรยังไม่สามารถทำอะไรได้ตามความมุ่งมั่นของผู้บริหาร และนี่คือ ประเทศที่มีประชากรกว่า 60 ล้านคนจึงจำเป็นต้องมีเวลาที่มากเพียงพอ และการเมืองระดับชาติมักจะปั่นป่วนจนเป็นอุปสรรคบั่นทอนความมั่นคง ซึ่งผล สำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาก็ชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่พร้อมให้โอกาสรัฐบาลทำงานเพราะเข้าใจอย่างแท้จริงว่าการบริหารประเทศเป็นเรื่องใหญ่ แต่เมื่อการเมืองแกว่งตัวระส่ำระสายจนรัฐบาลไม่สามารถทำงานได้ สุดท้ายเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนหัวหน้าหน่วยงานราชการ เปลี่ยนนโยบาย เปลี่ยนขั้วอำนาจใหม่ ส่งผลให้เกิดสูญญากาศขาดช่วงในการพัฒนาประเทศ ผลที่ตามมาคือ ชาวบ้านส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเดือดร้อนเหมือนเดิมไม่มี อะไรดีขึ้น
“ประเทศมหาอำนาจบางประเทศมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ชั้นนำของโลกด้านการเมืองการปกครองต่างๆ มากมาย โดยผู้นำประเทศเหล่านั้นมีโอกาสอยู่จนครบวาระ 4 ปี แต่พวกเขายังไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาสังคม ปัญหาความมั่นคงภายในประเทศของ พวกเขาได้ ดังนั้น ประชาชนคนไทยจะปล่อยให้มีการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจกันบ่อย ๆ ปล่อยให้มีการห้ำหั่นแย่งชิงผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องที่ เสี่ยงต่อการกลับไปสู่วัฏจักรแห่งความเลวร้ายต่อระบอบประชาธิปไตยกันไปเพื่ออะไร” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.1 เป็นหญิง ร้อยละ 47.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.1 อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.2 อายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 22.9 อายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 22.0 อายุ 40 — 49 ปี และร้อยละ 30.8 อายุ 50 ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 63.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 32.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 16.1 ระบุเป็น พนักงานเอกชน ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.9 ระบุเป็นนักเรียน นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 สนับสนุน 33.1 2 ไม่สนับสนุน 9.0 3 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 57.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ฐานสนับสนุนทางการเมืองต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 จำแนกตามเพศ ลำดับที่ ความคิดเห็น ชาย หญิง 1 สนับสนุน 37.2 30.2 2 ไม่สนับสนุน 8.9 9.1 3 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 53.9 60.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ฐานสนับสนุนทางการเมืองต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 จำแนกตามช่วงอายุ ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 20 20-29 ปี 30—39 ปี 40—49 ปี 50 ปีขึ้นไป 1 สนับสนุน 27.7 21.0 31.9 27.2 40.7 2 ไม่สนับสนุน 8.5 9.0 11.0 12.9 6.6 3 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 63.8 70.0 57.1 59.9 52.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ฐานสนับสนุนทางการเมืองต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป 1 สนับสนุน 36.8 25.4 2 ไม่สนับสนุน 7.1 13.1 3 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 56.1 61.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ฐานสนับสนุนทางการเมืองต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 จำแนกตามอาชีพ ลำดับที่ ความคิดเห็น ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ค้าขายอิสระ นักเรียนนักศึกษา เกษตรกรแรงงาน 1 สนับสนุน 41.1 25.7 34.2 24.7 39.5 2 ไม่สนับสนุน 6.8 11.1 9.7 9.6 9.3 3 ขออยู่ตรงกลาง(พลังเงียบ)ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 52.1 63.2 56.1 65.7 51.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ฐานสนับสนุนทางการเมืองต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 จำแนกตามระดับรายได้ต่อเดือน ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 10,000บ. 10,000—15,000บ. 15,001—20,000บ. มากกว่า 20,000บ. 1 สนับสนุน 35.3 34.0 29.8 33.6 2 ไม่สนับสนุน 8.4 4.8 14.3 12.4 3 ขออยู่ตรงกลาง (พลังเงียบ) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 56.3 61.2 55.9 54.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ได้ไม่นาน ลำดับที่ สาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ได้ไม่นาน ค่าร้อยละ 1 การทุจริตคอรัปชั่น กอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 84.1 2 การชุมนุมประท้วงทางการเมือง 77.3 3 ล่าช้าแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 76.4 4 ดีแต่พูด หลอกลวงประชาชน ไม่ทำตามที่สัญญา 69.9 5 การกลั่นแกล้ง ข่มขู่ แก้แค้น ไม่แก้ไข บ้าอำนาจของนักการเมือง 58.2 6 บริหารบ้านเมืองไม่ยึดหลักคุณธรรม เลือกปฏิบัติ หลายมาตรฐาน 57.4 7 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 53.8 8 แทรกแซง คุกคาม สื่อมวลชน องค์กรอิสระ 53.3 9 ความวุ่นวายทางการเมือง สาดโคลนกันไปมา 50.2 10 อื่นๆ เช่น มุ่งช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร / กระแส-
ความแตกแยกคนในชาติ / ไม่สามัคคี / ความไม่เป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 28.6
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ให้โอกาส 78.5 2 ไม่คิดเช่นนั้น 21.5 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--