ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้บริหารราชการแผ่นดินมาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือน รัฐบาลมีผลงานจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายที่อาจลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล นอกจากนี้ การปรับคณะรัฐมนตรีเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเสถียรภาพและการทำงานของรัฐบาลโดยตรง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงได้ดำเนิน โครงการวิจัยเชิงสำรวจสอบถามการรับรู้และทัศนคติของประชาชน ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและการปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อรองรับแนวทางการปฏิรูประบบราชการ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนการรับรู้ ทัศนคติ และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อฝ่ายการเมืองและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง และใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์สนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนใหญ่ต่อไป สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 13|15 สิงหาคม 2545 พบว่า
ผลงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในการรับรู้ของตัวอย่าง ในรอบ 1 ปี 6 เดือน ได้แก่ ลำดับที่ 1 โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 59.5, ลำดับที่ 2 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 56.4, ลำดับที่ 3 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 52.7, ลำดับที่ 4 การจัดระเบียบสังคม ร้อยละ 45.5, ลำดับที่ 5 การแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 43.5, ลำดับที่ 6 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย ร้อยละ 42.3, ลำดับที่ 7 การจัดตั้งธนาคารประชาชน ร้อยละ 34.6, ลำดับที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร้อยละ 28.6, ลำดับที่ 9 การจัดตั้ง TAMC ร้อยละ 13.9
เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในรอบ 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ได้แก่ ลำดับที่ 1 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 46.8, ลำดับที่ 2 การทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 42.3, ลำดับที่ 3 ตำรวจถูกสังหารในภาคใต้ ร้อยละ 38.7, ลำดับที่ 4 ปัญหาชายแดนไทย | พม่า ร้อยละ 37.2, ลำดับที่ 5 สินค้าการเกษตรตกต่ำ ร้อยละ 33.8, ลำดับที่ 6 ปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 31.4, ลำดับที่ 7 ปัญหาตามแนวชายแดน ร้อยละ 30.8, ลำดับที่ 8 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภาคใต้ ร้อยละ 30.1, ลำดับที่ 9 ความขัดแย้งระหว่าง ส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 30.1, ลำดับที่ 10 ผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนในฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 27.3, ลำดับที่ 11 การแทรกแซงสื่อมวลชน ร้อยละ 26.9, ลำดับที่ 12 ความไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 26.5, ลำดับที่ 13 ปัญหาค่าหัวคิวแรงงาน ร้อยละ 26.2, ลำดับที่ 14 ความไม่โปร่งใสในกรณียางพารา ร้อยละ 24.4, ลำดับที่ 15 ปัญหาการก่อการร้ายภายในประเทศ ร้อยละ 24.0, ลำดับที่ 16 รัฐบาลแต่งตั้งคนที่ภาพลักษณ์ไม่ดีเป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 20.9, ลำดับที่ 17 การไม่ควบคุมอารมณ์ของนายกรัฐมนตรีในการตอบโต้ผู้ที่วิจารณ์รัฐบาล ร้อยละ 20.2, ลำดับที่ 18 การขายหุ้น ป.ต.ท. ร้อยละ 19.7, ลำดับที่ 19 การผันงบประมาณลงเฉพาะในพื้นที่ของ ส.ส. ร้อยละ 19.6, ลำดับที่ 20 การโยกย้ายทหาร ร้อยละ 18.2
ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างต่อการที่รัฐบาลจะให้มีตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีนั้น พบว่า เห็นด้วย ร้อยละ 21.3 โดยให้เหตุผลว่า ช่วยกันแบ่งเบาภาระงานของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี / ช่วยกันคิดช่วยกันทำและช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศ / จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ / เพิ่มบทบาทของฝ่ายการเมืองให้มากขึ้น เป็นต้น ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 42.3 เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ / เปิดช่องให้มีการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น / เป็นการเอื้อประโยชน์และต่างตอบแทนทางการเมืองกับพวกพ้อง / จะมีการเล่นพรรคเล่นพวก / อาจเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล / ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการบริหารประเทศและข้าราชการประจำจะมีผู้บังคับบัญชาหลายคนเกินไป / จะมีการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำมากขึ้น เป็นต้น และ ไม่มีความเห็น ร้อยละ 36.4
ข้อสังเกต สำหรับสาเหตุของตัวอย่างที่ระบุว่า “เห็นด้วย” กับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้แก่ ช่วยกันแบ่งเบาภาระงานของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี / ช่วยกันคิดช่วยกันทำและช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศ / จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ / เพิ่มบทบาทของฝ่ายการเมืองให้มากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สำหรับเหตุผลของตัวอย่างที่ระบุ “ไม่เห็นด้วย” กับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้แก่ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ / เปิดช่องให้มีการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น / เป็นการเอื้อประโยชน์และต่างตอบแทนทางการเมืองกับพวกพ้อง / จะมีการเล่นพรรคเล่นพวก / อาจเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล / ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการบริหารประเทศและข้าราชการประจำจะมีผู้บังคับบัญชาหลายคนเกินไป / จะมีการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำมากขึ้น เป็นต้น
ส่วนทัศนคติของตัวอย่างต่อการที่รัฐบาลจะให้มีตำแหน่ง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี” แบ่งเป็น กลุ่มตัวอย่างต่ำกว่าปริญญาตรี เห็นด้วย ร้อยละ 22.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 39.7 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 38.1 และจากกลุ่มตัวอย่างปริญญาตรีขึ้นไป เห็นด้วย ร้อยละ 17.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 53.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 29.2 และยังได้มีการให้ระดับความพอใจต่อผลงานของคณะรัฐมนตรี ว่า พอใจมากที่สุด ร้อยละ 5.0, พอใจมาก ร้อยละ 16.1, ค่อนข้างมาก ร้อยละ 36.6, ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 23.8, น้อย ร้อยละ 4.4, ไม่พอใจเลย ร้อยละ 3.9, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 10.2
ทั้งนี้ยังได้เสนอ แนวทางการปรับคณะรัฐมนตรีในทรรศนะของประชาชนว่า ควรปรับครั้งใหญ่ (ปรับหลายตำแหน่ง) ร้อยละ 21.3 ควรปรับเล็ก (ปรับเท่าที่จำเป็น) ร้อยละ 39.0 ไม่ควรปรับเลย ร้อยละ 9.7 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 30.0 โดยยังคงแบ่งจำแนกได้เป็นความเห็นจาก กลุ่มตัวอย่างต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เห็นว่า ควรปรับครั้งใหญ่ (ปรับหลายตำแหน่ง) ร้อยละ 21.2 ควรปรับเล็ก (ปรับเท่าที่จำเป็น) ร้อยละ 37.5 ไม่ควรปรับเลย ร้อยละ 9.2 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 32.1 และจาก กลุ่มตัวอย่างปริญญาตรีขึ้นไป เห็นว่า ควรปรับครั้งใหญ่ (ปรับหลายตำแหน่ง) ร้อยละ 22.0 ควรปรับเล็ก (ปรับเท่าที่จำเป็น) ร้อยละ 44.3 ไม่ควรปรับเลย ร้อยละ 11.7 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 22.0
ด้านประโยชน์จากการปฏิรูประบบราชการในทรรศนะของตัวอย่าง ผลระบุว่า ได้ประโยชน์มากที่สุด ร้อยละ 5.0, มาก ร้อยละ 16.9, ค่อนข้างมาก ร้อยละ 25.5, ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 20.7, น้อย ร้อยละ 7.4, ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ร้อยละ 5.8, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.7 และยังระบุ ระดับความพอใจต่อผลงานโดยภาพรวมของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า พอใจมากที่สุด ร้อยละ 9.7, มาก ร้อยละ 21.8, ค่อนข้างมาก ร้อยละ 34.7, ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 18.3, น้อย ร้อยละ 4.7, ไม่พอใจเลย ร้อยละ 3.1, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 7.7
บทสรุปผลสำรวจและอภิปรายผล
จากการพิจารณาผลสำรวจโดยภาพรวมและเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนๆ พบว่า ผลงานของรัฐบาลที่คนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพอใจมากเป็นอันดับที่ 1 หรือร้อยละ 59.5 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ระบุว่า พอใจโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์, รองลงมาคือร้อยละ 56.4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุพอใจโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, ร้อยละ 52.7 พอใจกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, ร้อยละ 45.5 พอใจการจัดระเบียบสังคม, และร้อยละ 43.5 พอใจการแก้ปัญหายาเสพติด อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า การแก้ปัญหายาเสพติดของรัฐบาล เป็นภารกิจที่ยังมีภาพลักษณ์ทั้งในทางบวกและทางลบไม่แตกต่างกัน เพราะเมื่อสอบถามประชาชนถึงสิ่งที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในรอบ 1 ปี 6 เดือน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 46.8 ระบุ ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาอันดับ 1 ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ 42.3 เป็นปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และ ร้อยละ 38.7 เป็นปัญหาที่ตำรวจถูกสังหารในภาคใต้ นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบสารพัดปัญหาสำคัญอื่นๆอีกจำนวนมาก ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ได้แก่ ปัญหาชายแดนไทย | พม่า สินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาว่างงาน ตลอดจนปัญหาการโยกย้ายนายทหาร เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงทัศนคติต่อตำแหน่ง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี” ผลสำรวจพบประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 42.3 ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะมีตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นมา โดยให้เหตุผลว่า เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ / เปิดช่องให้มีการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น / เป็นการเอื้อประโยชน์และต่างตอบแทนทางการเมืองกับพวกพ้อง / จะมีการเล่นพรรคเล่นพวก / อาจเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล / ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการบริหารประเทศ และข้าราชการประจำจะมีผู้บังคับบัญชาหลายคนเกินไป และจะมีการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำมากขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป กับกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในเรื่องทัศนคติต่อรัฐบาลที่จะเพิ่มตำแหน่ง “ผู้ช่วย รัฐมนตรี” ผลสำรวจพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ กลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.0 ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 39.7 ไม่เห็นด้วย
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความพอใจต่อผลงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.6 พอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 16.1 พอใจมาก และร้อยละ 5.0 พอใจมากที่สุด ผลสำรวจที่ตามมาคือ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อแนวทางการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า ตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 39.0 ระบุว่าควรปรับเล็กหรือปรับเท่าที่จำเป็น ในขณะที่ ร้อยละ 21.3 ระบุควรปรับใหญ่หรือปรับหลายตำแหน่ง ในขณะที่ร้อยละ 9.7 ระบุไม่ควรปรับเลย และร้อยละ 30.0 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ทัศนคติที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปกับกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 44.3 ของกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป เห็นว่าควรปรับเล็กหรือปรับคณะรัฐมนตรีที่จำเป็นต้องปรับเท่านั้น และกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีที่เห็นว่าควรปรับเล็ก มีอยู่ร้อยละ 37.5 เพราะกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ร้อยละ 32.1 ไม่มีความเห็น และร้อยละ 21.2 เห็นว่าควรปรับใหญ่
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนยังมีสัดส่วนก้ำกึ่งกันอยู่ เมื่อสอบถามถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากแนวทางการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ระบุความเห็นเป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 25.5 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก ร้อยละ 16.9 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์มาก ร้อยละ 5.0 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 20.7 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 7.4 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์น้อย และร้อยละ 5.8 เชื่อว่าจะไม่ได้ประโยชน์เลย โดยที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.7 ไม่มีความเห็น ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบคือ ผลสำรวจเกี่ยวกับความพอใจของประชาชนต่อผลงานของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า กลุ่มตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.7 พอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 21.8 พอใจมาก และร้อยละ 9.7 พอใจมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 18.3 พอใจค่อนข้างน้อย ร้อยละ 4.7 พอใจน้อย และร้อยละ 3.1 ไม่พอใจเลย ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ยังไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
ผลงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในการรับรู้ของตัวอย่าง ในรอบ 1 ปี 6 เดือน ได้แก่ ลำดับที่ 1 โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 59.5, ลำดับที่ 2 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 56.4, ลำดับที่ 3 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 52.7, ลำดับที่ 4 การจัดระเบียบสังคม ร้อยละ 45.5, ลำดับที่ 5 การแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 43.5, ลำดับที่ 6 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย ร้อยละ 42.3, ลำดับที่ 7 การจัดตั้งธนาคารประชาชน ร้อยละ 34.6, ลำดับที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร้อยละ 28.6, ลำดับที่ 9 การจัดตั้ง TAMC ร้อยละ 13.9
เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในรอบ 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ได้แก่ ลำดับที่ 1 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 46.8, ลำดับที่ 2 การทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 42.3, ลำดับที่ 3 ตำรวจถูกสังหารในภาคใต้ ร้อยละ 38.7, ลำดับที่ 4 ปัญหาชายแดนไทย | พม่า ร้อยละ 37.2, ลำดับที่ 5 สินค้าการเกษตรตกต่ำ ร้อยละ 33.8, ลำดับที่ 6 ปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 31.4, ลำดับที่ 7 ปัญหาตามแนวชายแดน ร้อยละ 30.8, ลำดับที่ 8 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภาคใต้ ร้อยละ 30.1, ลำดับที่ 9 ความขัดแย้งระหว่าง ส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 30.1, ลำดับที่ 10 ผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนในฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 27.3, ลำดับที่ 11 การแทรกแซงสื่อมวลชน ร้อยละ 26.9, ลำดับที่ 12 ความไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 26.5, ลำดับที่ 13 ปัญหาค่าหัวคิวแรงงาน ร้อยละ 26.2, ลำดับที่ 14 ความไม่โปร่งใสในกรณียางพารา ร้อยละ 24.4, ลำดับที่ 15 ปัญหาการก่อการร้ายภายในประเทศ ร้อยละ 24.0, ลำดับที่ 16 รัฐบาลแต่งตั้งคนที่ภาพลักษณ์ไม่ดีเป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 20.9, ลำดับที่ 17 การไม่ควบคุมอารมณ์ของนายกรัฐมนตรีในการตอบโต้ผู้ที่วิจารณ์รัฐบาล ร้อยละ 20.2, ลำดับที่ 18 การขายหุ้น ป.ต.ท. ร้อยละ 19.7, ลำดับที่ 19 การผันงบประมาณลงเฉพาะในพื้นที่ของ ส.ส. ร้อยละ 19.6, ลำดับที่ 20 การโยกย้ายทหาร ร้อยละ 18.2
ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างต่อการที่รัฐบาลจะให้มีตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีนั้น พบว่า เห็นด้วย ร้อยละ 21.3 โดยให้เหตุผลว่า ช่วยกันแบ่งเบาภาระงานของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี / ช่วยกันคิดช่วยกันทำและช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศ / จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ / เพิ่มบทบาทของฝ่ายการเมืองให้มากขึ้น เป็นต้น ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 42.3 เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ / เปิดช่องให้มีการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น / เป็นการเอื้อประโยชน์และต่างตอบแทนทางการเมืองกับพวกพ้อง / จะมีการเล่นพรรคเล่นพวก / อาจเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล / ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการบริหารประเทศและข้าราชการประจำจะมีผู้บังคับบัญชาหลายคนเกินไป / จะมีการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำมากขึ้น เป็นต้น และ ไม่มีความเห็น ร้อยละ 36.4
ข้อสังเกต สำหรับสาเหตุของตัวอย่างที่ระบุว่า “เห็นด้วย” กับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้แก่ ช่วยกันแบ่งเบาภาระงานของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี / ช่วยกันคิดช่วยกันทำและช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศ / จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ / เพิ่มบทบาทของฝ่ายการเมืองให้มากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สำหรับเหตุผลของตัวอย่างที่ระบุ “ไม่เห็นด้วย” กับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้แก่ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ / เปิดช่องให้มีการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น / เป็นการเอื้อประโยชน์และต่างตอบแทนทางการเมืองกับพวกพ้อง / จะมีการเล่นพรรคเล่นพวก / อาจเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล / ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการบริหารประเทศและข้าราชการประจำจะมีผู้บังคับบัญชาหลายคนเกินไป / จะมีการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำมากขึ้น เป็นต้น
ส่วนทัศนคติของตัวอย่างต่อการที่รัฐบาลจะให้มีตำแหน่ง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี” แบ่งเป็น กลุ่มตัวอย่างต่ำกว่าปริญญาตรี เห็นด้วย ร้อยละ 22.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 39.7 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 38.1 และจากกลุ่มตัวอย่างปริญญาตรีขึ้นไป เห็นด้วย ร้อยละ 17.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 53.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 29.2 และยังได้มีการให้ระดับความพอใจต่อผลงานของคณะรัฐมนตรี ว่า พอใจมากที่สุด ร้อยละ 5.0, พอใจมาก ร้อยละ 16.1, ค่อนข้างมาก ร้อยละ 36.6, ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 23.8, น้อย ร้อยละ 4.4, ไม่พอใจเลย ร้อยละ 3.9, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 10.2
ทั้งนี้ยังได้เสนอ แนวทางการปรับคณะรัฐมนตรีในทรรศนะของประชาชนว่า ควรปรับครั้งใหญ่ (ปรับหลายตำแหน่ง) ร้อยละ 21.3 ควรปรับเล็ก (ปรับเท่าที่จำเป็น) ร้อยละ 39.0 ไม่ควรปรับเลย ร้อยละ 9.7 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 30.0 โดยยังคงแบ่งจำแนกได้เป็นความเห็นจาก กลุ่มตัวอย่างต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เห็นว่า ควรปรับครั้งใหญ่ (ปรับหลายตำแหน่ง) ร้อยละ 21.2 ควรปรับเล็ก (ปรับเท่าที่จำเป็น) ร้อยละ 37.5 ไม่ควรปรับเลย ร้อยละ 9.2 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 32.1 และจาก กลุ่มตัวอย่างปริญญาตรีขึ้นไป เห็นว่า ควรปรับครั้งใหญ่ (ปรับหลายตำแหน่ง) ร้อยละ 22.0 ควรปรับเล็ก (ปรับเท่าที่จำเป็น) ร้อยละ 44.3 ไม่ควรปรับเลย ร้อยละ 11.7 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 22.0
ด้านประโยชน์จากการปฏิรูประบบราชการในทรรศนะของตัวอย่าง ผลระบุว่า ได้ประโยชน์มากที่สุด ร้อยละ 5.0, มาก ร้อยละ 16.9, ค่อนข้างมาก ร้อยละ 25.5, ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 20.7, น้อย ร้อยละ 7.4, ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ร้อยละ 5.8, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.7 และยังระบุ ระดับความพอใจต่อผลงานโดยภาพรวมของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า พอใจมากที่สุด ร้อยละ 9.7, มาก ร้อยละ 21.8, ค่อนข้างมาก ร้อยละ 34.7, ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 18.3, น้อย ร้อยละ 4.7, ไม่พอใจเลย ร้อยละ 3.1, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 7.7
บทสรุปผลสำรวจและอภิปรายผล
จากการพิจารณาผลสำรวจโดยภาพรวมและเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนๆ พบว่า ผลงานของรัฐบาลที่คนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพอใจมากเป็นอันดับที่ 1 หรือร้อยละ 59.5 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ระบุว่า พอใจโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์, รองลงมาคือร้อยละ 56.4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุพอใจโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, ร้อยละ 52.7 พอใจกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, ร้อยละ 45.5 พอใจการจัดระเบียบสังคม, และร้อยละ 43.5 พอใจการแก้ปัญหายาเสพติด อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า การแก้ปัญหายาเสพติดของรัฐบาล เป็นภารกิจที่ยังมีภาพลักษณ์ทั้งในทางบวกและทางลบไม่แตกต่างกัน เพราะเมื่อสอบถามประชาชนถึงสิ่งที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในรอบ 1 ปี 6 เดือน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 46.8 ระบุ ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาอันดับ 1 ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ 42.3 เป็นปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และ ร้อยละ 38.7 เป็นปัญหาที่ตำรวจถูกสังหารในภาคใต้ นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบสารพัดปัญหาสำคัญอื่นๆอีกจำนวนมาก ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ได้แก่ ปัญหาชายแดนไทย | พม่า สินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาว่างงาน ตลอดจนปัญหาการโยกย้ายนายทหาร เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงทัศนคติต่อตำแหน่ง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี” ผลสำรวจพบประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 42.3 ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะมีตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นมา โดยให้เหตุผลว่า เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ / เปิดช่องให้มีการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น / เป็นการเอื้อประโยชน์และต่างตอบแทนทางการเมืองกับพวกพ้อง / จะมีการเล่นพรรคเล่นพวก / อาจเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลและกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล / ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการบริหารประเทศ และข้าราชการประจำจะมีผู้บังคับบัญชาหลายคนเกินไป และจะมีการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำมากขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป กับกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในเรื่องทัศนคติต่อรัฐบาลที่จะเพิ่มตำแหน่ง “ผู้ช่วย รัฐมนตรี” ผลสำรวจพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ กลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.0 ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 39.7 ไม่เห็นด้วย
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความพอใจต่อผลงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.6 พอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 16.1 พอใจมาก และร้อยละ 5.0 พอใจมากที่สุด ผลสำรวจที่ตามมาคือ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อแนวทางการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า ตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 39.0 ระบุว่าควรปรับเล็กหรือปรับเท่าที่จำเป็น ในขณะที่ ร้อยละ 21.3 ระบุควรปรับใหญ่หรือปรับหลายตำแหน่ง ในขณะที่ร้อยละ 9.7 ระบุไม่ควรปรับเลย และร้อยละ 30.0 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ทัศนคติที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปกับกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 44.3 ของกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป เห็นว่าควรปรับเล็กหรือปรับคณะรัฐมนตรีที่จำเป็นต้องปรับเท่านั้น และกลุ่มตัวอย่างที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีที่เห็นว่าควรปรับเล็ก มีอยู่ร้อยละ 37.5 เพราะกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ร้อยละ 32.1 ไม่มีความเห็น และร้อยละ 21.2 เห็นว่าควรปรับใหญ่
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนยังมีสัดส่วนก้ำกึ่งกันอยู่ เมื่อสอบถามถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากแนวทางการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ระบุความเห็นเป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 25.5 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก ร้อยละ 16.9 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์มาก ร้อยละ 5.0 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 20.7 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 7.4 เชื่อว่าจะได้ประโยชน์น้อย และร้อยละ 5.8 เชื่อว่าจะไม่ได้ประโยชน์เลย โดยที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.7 ไม่มีความเห็น ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบคือ ผลสำรวจเกี่ยวกับความพอใจของประชาชนต่อผลงานของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า กลุ่มตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.7 พอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 21.8 พอใจมาก และร้อยละ 9.7 พอใจมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 18.3 พอใจค่อนข้างน้อย ร้อยละ 4.7 พอใจน้อย และร้อยละ 3.1 ไม่พอใจเลย ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ยังไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--