หลังจากที่มีข่าวว่าบริษัทสายการบิน ปฏิเสธที่จะให้หญิงชาวไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ ขึ้นเครื่องบินจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้มีการยืนยันในรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นออกมาให้ชัดเจน แต่ข่าวกรณีนี้ก็เป็นการสะท้อนว่าคนในสังคมบางส่วน ได้มีความหวั่นวิตกต่อโรคเอดส์จนถึงขั้นที่มองคนเป็นเอดส์ด้วยทรรศนะที่แปลกแยกแตกต่างไปจากคนทั่วไป และบางคนก็แสดงออกถึงขั้นรังเกียจต้องการจะแบ่งแยกผู้ป่วยโรคเอดส์ออกไปจากวิถีชีวิตปกติของสังคม จนทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นเกี่ยวกับทรรศนะต่อการยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ของผู้คนอย่างกว้างขวาง ดังนั้นเพื่อเป็นการศึกษาข้อมูล ความคิดความรู้สึกที่เกิดขึ้นของคนในสังคม สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 24 - 27 สิงหาคม 2545 พบว่า
กลุ่มตัวอย่างระบุการรับทราบข่าว สายการบินปฏิเสธไม่ให้หญิงชาวไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ขึ้นเครื่องบินจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยว่า
ทราบข่าว ร้อยละ 37.1,
ไม่ทราบข่าว ร้อยละ 62.9,
โดยให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า เหมาะสม ร้อยละ 9.7 เพราะ
1. ป้องกันการแพร่กระจายโรค
2. ผู้โดยสารคนอื่น อาจมีความกังวล และไม่สบายใจ
3. เป็นความคิดที่ดีที่ควรแยกผู้ป่วยออกจากบุคคลธรรมดา
4. อื่นๆ อาทิ เกรงว่าจะทำให้ผู้โดยสารไม่กล้าใช้บริการของสายการบิน
และเห็นว่า ไม่เหมาะสม ร้อยละ 61.7 เพราะ
1. เป็นคนเหมือนกัน / เป็นสิทธิที่ควรได้รับ / ควรให้สิทธิเท่าเทียมกัน
2. โรคเอดส์ไม่ได้ติดต่อกันง่าย ๆ ไม่ควรกังวลจนเกินเหตุ
3. ไม่ยุติธรรมกับผู้ป่วย
4. อื่นๆ อาทิ เป็นเรื่องเล็กน้อยมาก ไม่ควรไปตั้งข้อกีดกัน เป็นต้น
และ ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.6
ส่วนความเห็นที่ว่าควรจะสอบสวนเอาผิดกับบริษัทสายการบินหรือไม่ ถ้าหากมีการปฏิเสธไม่ให้ผู้ป่วยโรคเอดส์ขึ้นเครื่องบิน พบว่า
เห็นด้วยที่จะสอบสวนเพื่อเอาความผิด ร้อยละ 44.6,
ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 11.4, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 44.0
ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "เห็นด้วย" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่ควรได้รับการปกป้องสิทธิของตนเอง
เป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม / ควรให้ความเห็นใจเพื่อนร่วมโลก
เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่ยุติธรรมกับผู้ป่วย
อื่น ๆ อาทิ โรคเอดส์ไม่ได้ติดต่อกันง่าย ๆ / เพื่อเป็นการหาลู่ทางเพื่อแก้ปัญหา / เป็นการแบ่งแยกมากเกินไป เป็นต้น
ผู้ที่ระบุว่า "ไม่เห็นด้วย" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
เป็นสิทธิของสายการบินที่จะปกป้องผู้โดยสารคนอื่นๆ
โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่ควรระวัง ควรหาทางแก้ปัญหามากกว่าจะเอาผิดกับสายการบิน
อื่นๆ อาทิ เป็นการก้าวก่ายสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจ , ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายการบิน เป็นต้น
กลุ่มตัวอย่างยังระบุว่า การมีความรู้เพียงพอในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคมกับผู้ป่วยโรคเอดส์นั้น
มีความรู้เพียงพอ ร้อยละ 38.2,
ยังมีความรู้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 53.8,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 8.0
และระบุความรู้สึกกังวล ถ้าหากว่าจะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมในครัวเรือนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ (โดยไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน หรือการถ่ายเลือดกัน)ว่า
รู้สึกกังวล (เกรงว่าจะติดเชื้อ) ร้อยละ 45.4,
ไม่รู้สึกกังวล ร้อยละ 39.5,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 15.1
ส่วนความรู้สึกกังวลว่าตนเองเสี่ยงจะติดเชื้อเอดส์นั้น
กังวล ร้อยละ 21.2,
ไม่กังวล ร้อยละ 62.9,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 15.9
ความพร้อมที่จะทำใจได้ถ้าหากตนเองติดเชื้อเอดส์นั้น คิดว่า
ทำใจได้ ร้อยละ 33.0,
ทำใจไม่ได้ ร้อยละ 50.0,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 17.0
และระบุ "ความมั่นใจ" ว่าคนในครอบครัวจะยอมรับได้โดยไม่รังเกียจ ถ้าหากว่าตนเองต้องติดเชื้อเอดส์ว่า
มั่นใจ ร้อยละ 31.8,
ไม่มั่นใจ ร้อยละ 50.1,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.1
ทั้งนี้ ร้อยละ 31.2 กล้าบอกให้สังคมรับรู้ถ้าหากตนเองติดเชื้อเอดส์,
ไม่กล้าบอก ร้อยละ 40.5,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.3
ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "กล้าบอก" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
ควรยอมรับความจริง / เปิดโอกาสให้สังคมรับรู้ความจริง จะได้เป็นการให้ข้อมูลต่อคนในสังคมถึงการป้องกันโรคเอดส์
ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ไม่สามารถปิดบังความจริงได้ตลอดไป
จะได้เป็นอุทาหรณ์ต่อบุคคลอื่นๆ
ผู้ที่ระบุว่า "ไม่กล้าบอก" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
กลัวคนรังเกียจ / กลัวคนในสังคมไม่ยอมรับ และตั้งข้อรังเกียจ
ไม่อยากมีปัญหากับบุคคลอื่นๆ
กลัวเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
ไม่อยากมีปัญหาในการดำรงชีวิต
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่สนใจต้องการทราบ
ลำดับที่ ประเด็นข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการทราบ ร้อยละ
1 ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการรักษาโรคเอดส์ 61
2 วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ 53.4
3 วิธีการป้องกันโรคเอดส์ 51
4 ลักษณะอาการของโรคเอดส์ 49.2
5 วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์ 46.1
6 สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเอดส์ 44.6
7 ปัญหาการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ 44.5
8 ทัศนคติของสังคมต่อผู้ป่วยเอดส์ 39.2
--เอแบคโพลล์--
กลุ่มตัวอย่างระบุการรับทราบข่าว สายการบินปฏิเสธไม่ให้หญิงชาวไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ขึ้นเครื่องบินจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยว่า
ทราบข่าว ร้อยละ 37.1,
ไม่ทราบข่าว ร้อยละ 62.9,
โดยให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า เหมาะสม ร้อยละ 9.7 เพราะ
1. ป้องกันการแพร่กระจายโรค
2. ผู้โดยสารคนอื่น อาจมีความกังวล และไม่สบายใจ
3. เป็นความคิดที่ดีที่ควรแยกผู้ป่วยออกจากบุคคลธรรมดา
4. อื่นๆ อาทิ เกรงว่าจะทำให้ผู้โดยสารไม่กล้าใช้บริการของสายการบิน
และเห็นว่า ไม่เหมาะสม ร้อยละ 61.7 เพราะ
1. เป็นคนเหมือนกัน / เป็นสิทธิที่ควรได้รับ / ควรให้สิทธิเท่าเทียมกัน
2. โรคเอดส์ไม่ได้ติดต่อกันง่าย ๆ ไม่ควรกังวลจนเกินเหตุ
3. ไม่ยุติธรรมกับผู้ป่วย
4. อื่นๆ อาทิ เป็นเรื่องเล็กน้อยมาก ไม่ควรไปตั้งข้อกีดกัน เป็นต้น
และ ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.6
ส่วนความเห็นที่ว่าควรจะสอบสวนเอาผิดกับบริษัทสายการบินหรือไม่ ถ้าหากมีการปฏิเสธไม่ให้ผู้ป่วยโรคเอดส์ขึ้นเครื่องบิน พบว่า
เห็นด้วยที่จะสอบสวนเพื่อเอาความผิด ร้อยละ 44.6,
ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 11.4, ไม่มีความเห็น ร้อยละ 44.0
ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "เห็นด้วย" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่ควรได้รับการปกป้องสิทธิของตนเอง
เป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม / ควรให้ความเห็นใจเพื่อนร่วมโลก
เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่ยุติธรรมกับผู้ป่วย
อื่น ๆ อาทิ โรคเอดส์ไม่ได้ติดต่อกันง่าย ๆ / เพื่อเป็นการหาลู่ทางเพื่อแก้ปัญหา / เป็นการแบ่งแยกมากเกินไป เป็นต้น
ผู้ที่ระบุว่า "ไม่เห็นด้วย" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
เป็นสิทธิของสายการบินที่จะปกป้องผู้โดยสารคนอื่นๆ
โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่ควรระวัง ควรหาทางแก้ปัญหามากกว่าจะเอาผิดกับสายการบิน
อื่นๆ อาทิ เป็นการก้าวก่ายสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจ , ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายการบิน เป็นต้น
กลุ่มตัวอย่างยังระบุว่า การมีความรู้เพียงพอในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคมกับผู้ป่วยโรคเอดส์นั้น
มีความรู้เพียงพอ ร้อยละ 38.2,
ยังมีความรู้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 53.8,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 8.0
และระบุความรู้สึกกังวล ถ้าหากว่าจะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมในครัวเรือนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ (โดยไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน หรือการถ่ายเลือดกัน)ว่า
รู้สึกกังวล (เกรงว่าจะติดเชื้อ) ร้อยละ 45.4,
ไม่รู้สึกกังวล ร้อยละ 39.5,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 15.1
ส่วนความรู้สึกกังวลว่าตนเองเสี่ยงจะติดเชื้อเอดส์นั้น
กังวล ร้อยละ 21.2,
ไม่กังวล ร้อยละ 62.9,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 15.9
ความพร้อมที่จะทำใจได้ถ้าหากตนเองติดเชื้อเอดส์นั้น คิดว่า
ทำใจได้ ร้อยละ 33.0,
ทำใจไม่ได้ ร้อยละ 50.0,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 17.0
และระบุ "ความมั่นใจ" ว่าคนในครอบครัวจะยอมรับได้โดยไม่รังเกียจ ถ้าหากว่าตนเองต้องติดเชื้อเอดส์ว่า
มั่นใจ ร้อยละ 31.8,
ไม่มั่นใจ ร้อยละ 50.1,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.1
ทั้งนี้ ร้อยละ 31.2 กล้าบอกให้สังคมรับรู้ถ้าหากตนเองติดเชื้อเอดส์,
ไม่กล้าบอก ร้อยละ 40.5,
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.3
ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "กล้าบอก" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
ควรยอมรับความจริง / เปิดโอกาสให้สังคมรับรู้ความจริง จะได้เป็นการให้ข้อมูลต่อคนในสังคมถึงการป้องกันโรคเอดส์
ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ไม่สามารถปิดบังความจริงได้ตลอดไป
จะได้เป็นอุทาหรณ์ต่อบุคคลอื่นๆ
ผู้ที่ระบุว่า "ไม่กล้าบอก" ให้เหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
กลัวคนรังเกียจ / กลัวคนในสังคมไม่ยอมรับ และตั้งข้อรังเกียจ
ไม่อยากมีปัญหากับบุคคลอื่นๆ
กลัวเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
ไม่อยากมีปัญหาในการดำรงชีวิต
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่สนใจต้องการทราบ
ลำดับที่ ประเด็นข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการทราบ ร้อยละ
1 ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการรักษาโรคเอดส์ 61
2 วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ 53.4
3 วิธีการป้องกันโรคเอดส์ 51
4 ลักษณะอาการของโรคเอดส์ 49.2
5 วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์ 46.1
6 สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเอดส์ 44.6
7 ปัญหาการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ 44.5
8 ทัศนคติของสังคมต่อผู้ป่วยเอดส์ 39.2
--เอแบคโพลล์--