ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยโครงการเฝ้าระวังและรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทย ในงานวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รายงานตัวเลขผลประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดทั่วประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่างอายุ 12 — 24 ปี ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ในพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ยโสธร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ขอนแก่น นครราชสีมา ยะลา สุราษฎร์ธานี และสงขลา จากกลุ่มเด็กและเยาวชนเป้าหมายทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 12,253,191 คน ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 15 สิงหาคม — 14 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา โดยการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น สุ่มจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน/หมู่บ้าน ครัวเรือนและเด็กเยาวชนในระดับครัวเรือน จำนวน 2,783 ตัวอย่าง มีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบครั้งนี้ พบว่า
เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 20.7 สูบบุหรี่ โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 15 ปี และสูบครั้งแรกอายุต่ำสุด 5 ขวบ ในขณะที่เด็กและเยาวชนร้อยละ 35.0 ดื่มเหล้า โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 16 ปี และดื่มเหล้าครั้งแรกอายุต่ำสุด 4 ขวบ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าห่วงอย่างยิ่ง คือ ผลวิจัยตามหลักสถิติประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาที่ใช้สารเสพติดทั่วประเทศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ใช้ยาเสพติดประเภทต่างๆ ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่ จำนวนทั้งสิ้น 1,715,447 คน (หนึ่งล้านเจ็ดแสนกว่าคน) โดยจำแนกออกเป็นตัวยาต่างๆ พบว่า เสพกัญชามากที่สุดคือ 894,483 คน โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 17 ปี รองลงมาคือ ยาบ้า จำนวน 649,419 คน โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 17 ปี และที่น่าตกใจคือเสพยาบ้าครั้งแรกที่อายุ 7 ขวบ และอันดับที่สามคือ ยาไอซ์มีจำนวน 563,647 คน มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 16 ปี เป็นต้น
ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อใช้สถิติวิจัยค่า Odds Ratio มาวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชน เปรียบเทียบกับเด็กและเยาวชนที่ไม่สูบบุหรี่ พบว่า เด็กและเยาวชนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสพยาเสพติด มากกว่า 5 เท่า และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ดื่มเหล้ากับไม่ดื่มเหล้า พบว่า เด็กและเยาวชนที่ดื่มเหล้ามีโอกาสเสพยาเสพติดมากกว่าถึง 7 เท่า
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาด้านต่างๆ ในชีวิต พบประเด็นที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่มีปัญหาด้านการเรียนมีโอกาสสูบบุหรี่/ดื่มเหล้าสูงเป็น 2 เท่า และมีโอกาสเสพยาเสพติดมากกว่า 1 เท่า กลุ่มที่มีปัญหาด้านการเงินยังมีโอกาสสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าสูงเป็น 2 เท่า และมีโอกาสเสพยาเสพติดมากกว่า 2 เท่า กลุ่มที่มีปัญหาครอบครัว มีโอกาสสูบบุหรี่ / ดื่มเหล้ามากกว่า 2 เท่า และหันไปใช้ยาเสพติดมากกว่า 2 เท่า แต่ที่น่าเป็นห่วงสุดคือ กลุ่มที่มีปัญหาเรื่องแฟนหรือคู่รักมีโอกาสสูบบุหรี่ / ดื่มเหล้ามากกว่า 3 เท่า และหันไปพึ่งยาเสพติดมากกว่า 3 เท่า เช่นกัน เป็นต้น
และเมื่อสอบถามถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนที่ต้องการจากรัฐบาลและผู้ใหญ่ในสังคม พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 90.5 ระบุควรเพิ่มพื้นที่ที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชนไทย รองลงมา คือร้อยละ 83.6 ควรปฏิรูปเศรษฐกิจ ร้อยละ 83.3 ระบุควรปฏิรูปสังคม ร้อยละ 82.6 ระบุควรขจัดพื้นที่เสี่ยงทำลายคุณภาพของเยาวชนไทย เช่น สถานบันเทิง บ่อนพนัน ร้อยละ 73.0 ระบุควรปฏิรูปการเมือง และรอง ๆ ลงไปคือ ประชาชนต้องมีอิสระ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกมากเกินไป ไม่รู้จักให้อภัย ไม่มีน้ำใจต่อกัน นักการเมืองเป็นตัวอย่างไม่ดี ยึดถือประโยชน์ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ ต้องการความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง และผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างไม่ดี ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหากัน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลการประมาณการและเสียงสะท้อนจากเด็กและเยาวชนที่ค้นพบครั้งนี้อาจชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ปัญหา ยาเสพติดที่กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยหลายด้านที่เห็นได้ชัดเจนคือ การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ตัวยาบางตัวไปกระตุ้นพฤติกรรมที่ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ไม่มีจิตใจที่เอื้ออาทรต่อผู้อื่น ความเมตตากรุณาจะถูกลบเลือนออกไปจากความรู้สึกของผู้ใช้ยาเสพติด และหากเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้ สังคมไทยจะอยู่ต่อไปไม่ได้อย่างปกติสุข มีผลเสียหายร้ายแรงกว่าความขัดแย้งทางการเมืองหลายเท่าตัว เพราะความขัดแย้งทางการเมืองอาจจะใช้หลักเหตุและผลตกลงกันได้ แต่ฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้หลักการใช้เหตุผลเป็นไปแทบไม่ได้เลย ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ต้องใช้ยาแรงตามแนวยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน แต่น่าจะฟังเสียงสะท้อนโดยตรงจากกลุ่มเด็กและเยาวชนควบคู่ไปด้วย ทางออกที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก เพิ่มพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ ปกป้องคุณภาพของเด็กและเยาวชนให้ได้สัมผัสเรียนรู้โครงการต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ โครงการกองทุนแม่ โครงการสัมผัสหลักปรัชญาชีวิตพอเพียง โครงการทูบีนัมเบอร์วัน โครงการพระดาบส โครงการรักษาพื้นป่าและธรรมชาติ โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ที่อาจพัฒนาเป็น e-book และอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาเคลื่อนที่ในเขตหัวเมืองใหญ่ต่างๆ เพราะโครงการเหล่านี้น่าจะต่อยอดอนาคตที่มีคุณภาพดีในกลุ่มเด็กและเยาวชน
ประการที่สอง รัฐบาลน่าจะนำยุทธศาสตร์จัดระเบียบสังคมมาใช้อย่างจริงจังต่อเนื่องลดพื้นที่เสี่ยงรอบสถาบันการศึกษาและชุมชน เช่น สถานบันเทิงและบ่อนการพนัน และ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ขจัดพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แหล่งมั่วสุมต่าง ๆ รัฐบาลอาจจะเปิดนิมิตใหม่ในภาพลักษณ์ของความปรองดองเชิญชวน ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ลงพื้นที่ร่วมกับ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง กวดขันพื้นที่ตรวจค้นจุดเสี่ยงต่างๆ ในเขตเมือง เหมือนกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว บรรดาผู้นำประเทศเขาจะจับมือทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลช่วยกันทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงในปัญหาสำคัญที่เป็นวาระแห่งชาติหรือ Agenda ของประเทศ
ประการที่สาม น่าจะมีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพติดตามกลุ่มเด็กและเยาวชนที่หลงผิดติดยาเสพติดผ่านการบำบัดแล้ว ให้เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม มีหน้าที่การงาน มีการศึกษาและมีอนาคตที่ดี โดยเสนอให้ติดตามประเมินผลต่อเนื่องนาน 5 ปี จนมั่นใจว่าพวกเขาเจริญเติบโตอย่างปกติสุขไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและสังคม
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.1 เป็นชาย ร้อยละ 48.9 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 32.2 อายุระหว่าง 12 — 15 ปี ร้อยละ 39.5 อายุระหว่าง 16 — 20 ปี ร้อยละ 28.3 อายุระหว่าง 21—24 ปี ตัวอย่างร้อยละ 1.7 ไม่ได้เรียนหนังสือเลย ร้อยละ 78.5 กำลังศึกษาอยู่ ร้อยละ 19.8 สำเร็จการศึกษาแล้ว
ลำดับที่ บุหรี่ เหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าร้อยละ อายุเฉลี่ยที่สูบ/ดื่ม สูบ/ ดื่มครั้งแรก 1 สูบบุหรี่ 20.7 15 ปี 5 ขวบ 2 เหล้า 35.0 16 ปี 4 ขวบ 3 เบียร์ 35.8 16 ปี 4 ขวบ 4 น้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ 24.2 16 ปี 4 ขวบ ตารางที่ 2 ผลประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนที่ใช้สารเสพติดทั่วประเทศ จำแนกตามตัวยาเสพติด ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ลำดับที่ ประเภท จำนวน (คน) อายุเฉลี่ย (ปี) อายุที่ใช้ครั้งแรก (ปี) 1 ยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่) 1,715,447 2 กัญชา 894,483 17 ปี 3 ยาบ้า 649,419 17 ปี 7 ขวบ 4 ยาไอซ์ 563,647 16 ปี 5 ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด 453,368 17 ปี 6 กระท่อม 428,862 17 ปี 7 สารระเหย 343,089 15 ปี 8 ยาอี/เอ็กซ์ตาซี/ยาเลิฟ 171,545 16 ปี 9 โคเคน 110,279 10 เฮโรอีน 98,026 11 ฝิ่น 85,772
หมายเหตุ จากจำนวนเด็กและเยาวชนไทยในระบบฐานข้อมูลกรมการปกครอง ปี พ.ศ. 2553 จำนวนทั้งสิ้น 12,253,191 คน
ลำดับที่ พฤติกรรม / ปัญหา ในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ค่าสถิติวิจัย Odds Ratio ค่าสถิติวิจัย Odds Ratio
โอกาสสูบบุหรี่/ ดื่มเหล้า โอกาสเสพยาเสพติด
1 สูบบุหรี่ 5 เท่า 2 ดื่มเหล้า 7 เท่า 3 ปัญหาด้านการเรียน/การศึกษา 2 เท่า 1 เท่า 4 ปัญหาทางด้านการเงิน 2 เท่า 2 เท่า 5 ปัญหาครอบครัว 2 เท่า 2 เท่า 6 ปัญหาเรื่องแฟน/คู่รัก 3 เท่า 3 เท่า 7 ปัญหาทางด้านสุขภาพส่วนตัว 2 เท่า 2 เท่า 8 ปัญหาเรื่องเพื่อน 2 เท่า 2 เท่า 9 ปัญหาเรื่องงาน 2 เท่า 2 เท่า ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เสียงสะท้อนต่อ รัฐบาลและผู้ใหญ่ในสังคม ลำดับที่ ประเด็น ร้อยละ 1 ควรเพิ่มพื้นที่ที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชนไทย 90.5 2 ควรปฏิรูปเศรษฐกิจ 83.6 3 ควรปฏิรูปสังคม 83.3 4 ขจัดพื้นที่เสี่ยงทำลายคุณภาพของเยาวชนไทย เช่น สถานบันเทิง บ่อนพนัน 82.6 5 ควรปฏิรูปการเมือง 73.0 6 ประชาชนต้องมีอิสระ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 71.4 7 มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกมากเกินไป ไม่รู้จักให้อภัย ไม่มีน้ำใจต่อกัน 68.4 8 นักการเมืองเป็นตัวอย่างไม่ดี ยึดถือประโยชน์ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ 68.1 9 ต้องการความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง 66.9 10 ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างไม่ดี ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหากัน 64.5
--เอแบคโพลล์--