ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนของข้า ราชการตำรวจและสาธารณชนต่อมาตรฐานจริยธรรมตำรวจ กรณีศึกษาตัวอย่างข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร และระดับประทวน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับ สถานีตำรวจทั่วประเทศใช้การเลือกตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อของสถานีตำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 1,283 นาย และตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน พื้นที่ 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ มุกดาหาร หนองคาย ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น กระบี่ ตรัง และสงขลา ใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน จำนวน 1,741 ตัวอย่าง โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 รวมทั้งสิ้น 3,024 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 27 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา พบว่า
ข้าราชการตำรวจที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ไม่ค่อยได้อ่าน ถึง ไม่ได้อ่านประมวลจริยธรรมตำรวจเลย ในขณะที่ร้อยละ 19.6 อ่านเป็นประจำทุกสัปดาห์ ร้อยละ 15.6 อ่านเดือนละครั้ง และร้อยละ 3.0 อ่านเดือนเว้นเดือน
อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการศึกษาเสียงสะท้อนของข้าราชการตำรวจต่อดัชนีชี้วัดจริยธรรมในกลุ่มข้าราชการตำรวจจำนวน 19 ตัวชี้วัด พบ ว่า เมื่อค่าอ้างอิงมาตรฐานดัชนีจริยธรรมตำรวจอยู่ที่ระดับ 100 จุด ผลการศึกษาปรากฏว่า ดัชนีจริยธรรมตำรวจที่ผ่านค่ามาตรฐานสูงสุดได้แก่ ความ กรุณาปราณีต่อประชาชนของตำรวจได้ 157.92 จุด รองลงมาได้แก่ การรักษาความลับของทางราชการและความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจาก ประชาชนผู้มาติดต่อราชการได้ 155.54 จุด อันดับที่สามได้แก่ การรักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิตของตำรวจได้ 154.52 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ รวดเร็ว กระตือรือร้นต่อการแจ้งเหตุของประชาชนได้ 153.96 จุด การกระทำด้วยปัญญาของตำรวจได้ 153.43 จุด การดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สิน ทางราชการไม่ให้เสียหายและบำรุงรักษาพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเองได้ 153.16 จุด ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่ปัดความรับผิดชอบ ได้ 152.11 จุด มี ความอดทนต่อความเจ็บใจของตำรวจ ได้ 151.39 จุด มีความเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ตำรวจได้ 150.52 จุด การมุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ของตำรวจได้ 150.52 จุด การดำรงตนในความยุติธรรมของตำรวจได้ 150.23 จุด ความไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบากของตำรวจได้ 147.73 จุด และการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีของตำรวจช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาได้ 143.42 จุด เป็นต้น โดยมีค่าจริยธรรม ตำรวจภาพรวมทั้งหมดสูงกว่าค่ามาตรฐานที่ระดับ 145.17 จุด
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีชี้วัดจริยธรรมตำรวจที่ต่ำกว่าค่าอ้างอิงจริยธรรมมาตรฐาน หรือต่ำกว่า 100 จุด ได้แก่ ความเป็นอิสระจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง ที่ได้เพียง 85.89 จุด
ที่น่าสนใจคือ ในมุมมองของประชาชนดัชนีชี้วัดจริยธรรมตำรวจผ่านเกณฑ์มาตรฐานเกือบทุกตัวชี้วัด ยกเว้น ตัวชี้วัด ความไม่มักมากในลาภ ผลของตำรวจ และการมีอิสระขององค์กรตำรวจเป็นอิสระจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในการศึกษาครั้งนี้
โดยพบว่า การรักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิตของตำรวจ มากที่สุด 126.17 จุด รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่น ๆ ในสถานีพื้นที่ พักอาศัย ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินทางราชการไม่ให้เสียหายและบำรุงรักษา พึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเองอยู่ที่ 124.79 จุด นอกจากนี้ การรักษา ความลับของทางราชการและความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากประชาชนผู้มาติดต่อราชการ อยู่ที่ 123.23 จุด ความเคารพเอื้อเฟื้อต่อ ประชาชนของตำรวจอยู่ที่ 121.60 จุด ความไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบากของตำรวจอยู่ที่ 118.61 จุด การกระทำด้วยปัญญาของตำรวจอยู่ที่ 118.03 จุด และการมุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนของตำรวจอยู่ที่ 117.48 จุด
อย่างไรก็ตามในสายตาประชาชนทั่วไป ตัวชี้วัดด้านความไม่มักมากในลาภผลของตำรวจได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 จุด คือได้เพียง 87.23 จุด และความเป็นอิสระจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองได้ต่ำกว่ามาตรฐานเช่นกัน คือ 98.02 จุด
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้มเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสิน ใจพัฒนาองค์กรตำรวจให้เป็นสถาบันที่สาธารณชนเลื่อมใสศรัทธามากยิ่งขึ้น และการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของตำรวจไม่ได้แย่อย่างที่หลายฝ่าย คิดเพราะข้อมูลทั้งจากตำรวจและประชาชนยืนยันสอดคล้องกันว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านจริยธรรม คุณธรรมและอุดมคติของตำรวจเกือบทุกตัว น่าจะเป็น เพราะองค์กรตำรวจเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดประชาชนและถูกตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ที่น่าเป็นห่วงน่าจะเป็นองค์กรหรือหน่วย งานราชการอื่นๆ ที่สังคมและสถาบันสื่อมวลชนยังไม่เข้าไปตรวจสอบอย่างจริงจัง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตำรวจ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 7.2 เป็นหญิง
ร้อยละ92.8 เป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 6.2 อายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ15.9 อายุ 31 — 39 ปี
ร้อยละ45.2 อายุ 40 — 49 ปี
ร้อยละ32.8 อายุ 50 ขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 64.0 ระบุเป็นตำรวจชั้นประทวน
ร้อยละ 36.0 ระบุเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ตัวอย่างร้อยละ 21.3 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานสืบสวน/สอบสวน
ร้อยละ 40.4 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานปราบปราม
ร้อยละ 2.3ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานจราจร
ร้อยละ 0.1 ระบุปฏิบัติหน้าที่เป็นตำรวจท่องเที่ยว
ร้อยละ10.7 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานธุรการ
และร้อยละ 25.2 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานอื่น ๆ อาทิ ฝ่าย
อำนวยการ พนักงานวิทยุสื่อสาร ฝ่ายประชาสัมพันธ์
รักษาความมั่นคงภายใน กองประวัติทะเบียน
อาชญากร เป็นต้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.2 เป็นชาย
ร้อยละ 52.8 เป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 34.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 64.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 30.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 9.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 8.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ การอ่านประมวลจริยธรรมตำรวจ ค่าร้อยละ 1 อ่านเป็นประจำทุกสัปดาห์ 19.6 2 อ่านเดือนละครั้ง 15.6 3 อ่านเดือนเว้นเดือน 3.0 4 ไม่ค่อยได้อ่าน ถึง ไม่ได้อ่านเลย 61.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีจริยธรรมตำรวจในสายตาตำรวจ จำแนกตามตัวชี้วัด (ถ้าค่าต่ำกว่า 100 จุด หมายถึง ต่ำกว่าค่าอ้างอิงมาตรฐานดัชนีจริยธรรม) ลำดับที่ ตัวชี้วัดจริยธรรม ค่าจริยธรรมที่วัดได้ ค่าอ้างอิงจริยธรรม ความหมาย 1 ความกรุณาปราณีต่อประชาชนของตำรวจ 157.92 100 สูงกว่ามาตรฐาน 2 การรักษาความลับของทางราชการและความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือจากประชาชนผู้มาติดต่อราชการ 155.54 100 สูงกว่ามาตรฐาน 3 การรักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิตของตำรวจ 154.52 100 สูงกว่ามาตรฐาน 4 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว กระตือรือร้นต่อการแจ้งเหตุของประชาชน 153.96 100 สูงกว่ามาตรฐาน 5 การกระทำด้วยปัญญาของตำรวจ 153.43 100 สูงกว่ามาตรฐาน 6 การดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินทางราชการไม่ให้เสียหายและบำรุงรักษา พึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง 153.16 100 สูงกว่ามาตรฐาน 7 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่ปัดความรับผิดชอบ เปรียบเทียบในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 152.11 100 สูงกว่ามาตรฐาน 8 ความอดทนต่อความเจ็บใจของตำรวจ 151.39 100 สูงกว่ามาตรฐาน 9 ความเคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ของตำรวจ 150.52 100 สูงกว่ามาตรฐาน 10 การมุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนของตำรวจ 150.52 100 สูงกว่ามาตรฐาน 11 การดำรงตนในความยุติธรรมของตำรวจ 150.23 100 สูงกว่ามาตรฐาน 12 ความไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบากของตำรวจ 147.73 100 สูงกว่ามาตรฐาน 13 การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีของตำรวจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 143.42 100 สูงกว่ามาตรฐาน 14 การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใดของตำรวจ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 143.27 100 สูงกว่ามาตรฐาน 15 ในหน่วยงานของท่านมีการใช้หลักคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล อย่างเคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีความลำเอียง 142.59 100 สูงกว่ามาตรฐาน 16 การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมืองของตำรวจ 142.34 100 สูงกว่ามาตรฐาน 17 การรักษาสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และความเป็นธรรมของตำรวจ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 136.66 100 สูงกว่ามาตรฐาน 18 ความไม่มักมากในลาภผลของตำรวจ 133.06 100 สูงกว่ามาตรฐาน 19 ความเป็นอิสระจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง 85.89 100 ต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าดัชนีจริยธรรม คุณธรรม และอุดมคติของตำรวจ โดยรวม 145.17 100 สูงกว่ามาตรฐาน ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีจริยธรรมตำรวจในสายตาประชาชน จำแนกตามตัวชี้วัด(ถ้าค่าต่ำกว่า 100 จุด หมายถึง ต่ำกว่าค่าอ้างอิงมาตรฐานดัชนีจริยธรรม) ลำดับที่ ตัวชี้วัดจริยธรรม ค่าจริยธรรมที่วัดได้ ค่าอ้างอิงจริยธรรม ความหมาย 1 การรักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิตของตำรวจ 126.17 100 สูงกว่ามาตรฐาน 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่นๆ ในสถานีพื้นที่พักอาศัย ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สิน ทางราชการไม่ให้เสียหายและบำรุงรักษาพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง 124.79 100 สูงกว่ามาตรฐาน 3 การรักษาความลับของทางราชการและความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้า ที่หรือจากประชาชนผู้มาติดต่อราชการ 123.23 100 สูงกว่ามาตรฐาน 4 ความเคารพเอื้อเฟื้อต่อประชาชนของตำรวจ 121.60 100 สูงกว่ามาตรฐาน 5 ความไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบากของตำรวจ 118.61 100 สูงกว่ามาตรฐาน 6 การกระทำด้วยปัญญาของตำรวจ 118.03 100 สูงกว่ามาตรฐาน 7 การมุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนของตำรวจ 117.48 100 สูงกว่ามาตรฐาน 8 ความกรุณาปราณีต่อประชาชนของตำรวจ 116.78 100 สูงกว่ามาตรฐาน 9 เจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่นๆ ในสถานีโดยรวม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่ปัดความรับผิดชอบ เปรียบเทียบในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 116.36 100 สูงกว่ามาตรฐาน 10 ความอดทนต่อความเจ็บใจของตำรวจ 114.88 100 สูงกว่ามาตรฐาน 11 เจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่นๆ ในสถานีโดยรวม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว กระตือรือร้น ต่อการแจ้งเหตุของประชาชน 110.80 100 สูงกว่ามาตรฐาน 12 การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี ของตำรวจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 110.13 100 สูงกว่ามาตรฐาน 13 การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุ ประการใดของตำรวจ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 108.99 100 สูงกว่ามาตรฐาน 14 ความจริงใจที่จะประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมของตำรวจ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 108.22 100 สูงกว่ามาตรฐาน 15 เจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่นๆ ในสถานีพื้นที่พักอาศัยมีการใช้หลักคุณธรรมในการ บริหารงานบุคคลอย่างเคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีความลำเอียง 108.01 100 สูงกว่ามาตรฐาน 16 การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมืองของตำรวจ 106.47 100 สูงกว่ามาตรฐาน 17 การดำรงตนในความยุติธรรมของตำรวจ 105.38 100 สูงกว่ามาตรฐาน 18 ความไม่มักมากในลาภผลของตำรวจ 87.23 100 ต่ำกว่ามาตรฐาน 19 การมีอิสระขององค์กรตำรวจเป็นอิสระจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง 98.02 100 ต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าดัชนีจริยธรรม คุณธรรม และอุดมคติของตำรวจโดยรวม 112.69 100 สูงกว่ามาตรฐาน
--เอแบคโพลล์--