ผลสำรวจโดยสรุป
จากกรณีข่าวปัญหาเรื่องส่วยอาบอบนวดที่ได้กลายเป็นปัญหาบานปลายในวิกฤตศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชน
ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ได้ดำเนินการหลายอย่างที่จะเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมา อาทิ การดำเนินการเพื่อเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางนาย
ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของส่วยบันเทิง แนวนโยบายของรัฐบาลผ่านทางนายกรัฐมนตรีที่จะปฏิรูปการทำงานของข้าราชการ
ตำรวจทั้งระบบ และความพยายามให้หน่วยงานกลางของรัฐเข้ามาถ่วงดุลอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือการโยกย้ายตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้สอบถามการรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อประเด็นสำคัญดังกล่าว เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ต่อแนวทางการแก้ปัญหาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลในปัญหาเรื่องส่วยสถานบันเทิง และความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ไข
ปัญหาของรัฐบาลในปัญหาเรื่องส่วยสถานบันเทิง
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อแนวทางของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการแก้ปัญหาเรื่องส่วย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2546 พบว่า
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจติดตามข่าวปัญหาส่วยสถานบันเทิง เมื่อเปรียบเทียบกับความสนใจ
ติดตามข่าวในการสำรวจ 3 ช่วงเวลาที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวของประชาชน 9 - 10 ก.ค.46 18 - 19 ก.ค. 31 ก.ค. - 1 ส.ค.
1 สนใจติดตามข่าว 64 81.6 62.8
2 ไม่ได้สนใจติดตาม 36 18.4 37.2
รวมทั้งสิ้น 100 100 100
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 1 จะพบว่า แนวโน้มของสัดส่วนตัวอย่างประชาชนที่สนใจข่าวปัญหาส่วยสถาน
บันเทิงลดลงไปค่อนข้างมากหรือประมาณร้อยละ 20 ของตัวอย่างทั้งหมด จากการเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งล่าสุด
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ปัญหาของนายกรัฐมนตรีที่ประกาศ จะแก้ไขปัญหาส่วย
ในกลุ่มข้าราชการตำรวจทั้งระบบ ร้อยละ 82.9 คิดว่าเห็นด้วย ร้อยละ 4.3 คิดว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.8
ไม่มีความเห็น ทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจว่านายกรัฐมนตรีจะเอาจริงเอาจังแก้ปัญหาเรื่องส่วย
ในกลุ่มข้าราชการตำรวจ ร้อยละ 60.3 คิดว่ามั่นใจ ร้อยละ 13.7 คิดว่าไม่มั่นใจ และร้อยละ 26.0 ไม่มีความเห็น
ส่วนค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อแนวทางของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการแก้ปัญหาส่วยด้วยการ
ดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 42.9 คิดว่าพอใจ ร้อยละ 38.4 คิดว่าไม่พอใจ และร้อยละ 18.7
ไม่มีความเห็น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการแก้ปัญหาส่วย
ด้วยการดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควรให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ถูกกล่าวหา
ควบคู่ไปกับผลงานที่ดีเด่นในอดีตด้วย 38.5
2 ควรดำเนินการเอาผิดอย่างเต็มที่เรื่องส่วยไม่ต้องคำนึงถึงผลงาน
ที่ผ่านมาในอดีตของตำรวจผู้ถูกกล่าวหา 31.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินคดีเอาผิดกับขบวนการรื้อบาร์เบียร์ที่ถนนสุขุมวิท
ร้อยละ 79.4 คิดว่าต้องการให้เร่ง ร้อยละ 8.5 คิดว่าไม่จำเป็นต้องเร่ง และร้อยละ 12.1 ไม่มีความคิดเห็น
ทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ต้องหาค้าประเวณีเด็ก ร้อยละ 89.5
คิดว่าต้องการให้เร่ง ร้อยละ 2.3 คิดว่าไม่จำเป็นต้องเร่ง และร้อยละ 8.2 ไม่มีความคิดเห็น ส่วนค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ
ความต้องการให้รัฐบาลดำเนินการปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล แก้ไขปัญหาส่วย และการปราบปรามยาเสพติด ไปพร้อมๆ กัน
ร้อยละ 90.4 คิดว่าต้องการให้เร่ง ร้อยละ 3.4 คิดว่าไม่ต้องการให้เร่ง และร้อยละ 6.2 ไม่มีความเห็น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุเหตุผลที่ต้องการให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวทำสงครามยาเสพติดและ
การปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ทำให้ตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวทำสงคราม ค่าร้อยละ
ยาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล
1 เพราะ ทำให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องในการปราบปราม
ยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 61.5
2 ประชาชนจะรู้สึกว่ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น
เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้นในสังคม 59.1
3 หน่วยงานต่างๆ ร่วมมือกันมากขึ้นในการแก้ปัญหา 57.7
4 ประชาชนตื่นตัวช่วยกันแก้ไขปัญหามากขึ้น 50.4
5 สังคมจะร่วมต้านทานปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพลมากขึ้น 48.9
6 เยาวชนจะตระหนักถึงปัญหายาเสพติดมากขึ้น 46.5
7 อื่นๆ อาทิ ถ้าสื่อไม่เสนอข่าว ปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง /
ถ้าไม่เสนอข่าว ปัญหายาเสพติดจะกลับมารุนแรงมากขึ้น เป็นต้น 30.2
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีการปรับเปลี่ยนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีการปรับเปลี่ยนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 37.7
2 ไม่เห็นด้วย 40.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.9
รวมทั้งสิ้น 100
กลุ่มตัวอย่างที่ ไม่เห็นด้วย กับการเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ระบุเหตุผลดังนี้
1. ควรช่วยกันแก้ไขปัญหาแบบค่อยเป็นค่อยไปก่อน
2. ให้โอกาสพิสูจน์ตัวเองก่อน
3. คนปัจจุบันสามารถทำงานได้ดีอยู่แล้ว
4. เป็นคนตรงไปตรงมาอยู่แล้ว
5. ยังเชื่อมั่นในคนปัจจุบันอยู่
6. เปลี่ยนไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
7. คนปัจจุบันโดยภาพรวมยังเป็นคนดีอยู่
กลุ่มตัวอย่างที่ เห็นด้วย ได้ระบุเหตุผลดังนี้
1. ผบ.ตร.คนปัจจุบันมีความขัดแย้งกับคนเป็นจำนวนมาก
2. ควรให้โอกาสผู้อื่นเข้ามาทำงานบ้าง
3. ไม่มีความเป็นกลาง
4. ทำงานมานานยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเลย
5. เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเรียก
ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนกลับมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของประชาชนต่อ การทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 ควรเร่งปราบปรามยาเสพติดให้หมดไปตามนโยบายของรัฐบาล 72.5
2 ควรเร่งแก้ปัญหาส่วยในกลุ่มข้าราชการตำรวจและ หน่วยงานราชการอื่นๆ 70.3
3 ควรเร่งปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล เช่น ขบวนการค้าประเวณีเด็ก
ขบวนการค้าแรงงานเถื่อน ขบวนการค้าอาวุธ และขบวนการ
ก่อการร้ายเรียกค่าคุ้มครอง เป็นต้น 68.7
4 ควรเร่งสะสางติดตามคนร้ายในคดีสะเทือนขวัญของประชาชน 64.4
5 เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรมทั่วๆ ไป และความไม่ปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินของประชาชน 57.3
6 เร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการประชาชน ด้วยความรวดเร็ว
และความยินดีต้อนรับ ณ สถานีตำรวจ 50.2
7 อื่นๆ อาทิ การแก้ปัญหาจราจร การเพิ่มกำลังสายตรวจให้มากขึ้น
และการขจัดตำรวจที่ไม่ดีออกไปจากองค์กร เป็นต้น 34.6
--เอแบคโพลล์--
จากกรณีข่าวปัญหาเรื่องส่วยอาบอบนวดที่ได้กลายเป็นปัญหาบานปลายในวิกฤตศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชน
ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ได้ดำเนินการหลายอย่างที่จะเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมา อาทิ การดำเนินการเพื่อเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางนาย
ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของส่วยบันเทิง แนวนโยบายของรัฐบาลผ่านทางนายกรัฐมนตรีที่จะปฏิรูปการทำงานของข้าราชการ
ตำรวจทั้งระบบ และความพยายามให้หน่วยงานกลางของรัฐเข้ามาถ่วงดุลอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือการโยกย้ายตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้สอบถามการรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อประเด็นสำคัญดังกล่าว เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ต่อแนวทางการแก้ปัญหาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลในปัญหาเรื่องส่วยสถานบันเทิง และความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ไข
ปัญหาของรัฐบาลในปัญหาเรื่องส่วยสถานบันเทิง
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อแนวทางของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการแก้ปัญหาเรื่องส่วย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2546 พบว่า
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจติดตามข่าวปัญหาส่วยสถานบันเทิง เมื่อเปรียบเทียบกับความสนใจ
ติดตามข่าวในการสำรวจ 3 ช่วงเวลาที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวของประชาชน 9 - 10 ก.ค.46 18 - 19 ก.ค. 31 ก.ค. - 1 ส.ค.
1 สนใจติดตามข่าว 64 81.6 62.8
2 ไม่ได้สนใจติดตาม 36 18.4 37.2
รวมทั้งสิ้น 100 100 100
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 1 จะพบว่า แนวโน้มของสัดส่วนตัวอย่างประชาชนที่สนใจข่าวปัญหาส่วยสถาน
บันเทิงลดลงไปค่อนข้างมากหรือประมาณร้อยละ 20 ของตัวอย่างทั้งหมด จากการเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งล่าสุด
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ปัญหาของนายกรัฐมนตรีที่ประกาศ จะแก้ไขปัญหาส่วย
ในกลุ่มข้าราชการตำรวจทั้งระบบ ร้อยละ 82.9 คิดว่าเห็นด้วย ร้อยละ 4.3 คิดว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.8
ไม่มีความเห็น ทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจว่านายกรัฐมนตรีจะเอาจริงเอาจังแก้ปัญหาเรื่องส่วย
ในกลุ่มข้าราชการตำรวจ ร้อยละ 60.3 คิดว่ามั่นใจ ร้อยละ 13.7 คิดว่าไม่มั่นใจ และร้อยละ 26.0 ไม่มีความเห็น
ส่วนค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อแนวทางของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการแก้ปัญหาส่วยด้วยการ
ดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 42.9 คิดว่าพอใจ ร้อยละ 38.4 คิดว่าไม่พอใจ และร้อยละ 18.7
ไม่มีความเห็น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการแก้ปัญหาส่วย
ด้วยการดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควรให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ถูกกล่าวหา
ควบคู่ไปกับผลงานที่ดีเด่นในอดีตด้วย 38.5
2 ควรดำเนินการเอาผิดอย่างเต็มที่เรื่องส่วยไม่ต้องคำนึงถึงผลงาน
ที่ผ่านมาในอดีตของตำรวจผู้ถูกกล่าวหา 31.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินคดีเอาผิดกับขบวนการรื้อบาร์เบียร์ที่ถนนสุขุมวิท
ร้อยละ 79.4 คิดว่าต้องการให้เร่ง ร้อยละ 8.5 คิดว่าไม่จำเป็นต้องเร่ง และร้อยละ 12.1 ไม่มีความคิดเห็น
ทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ต้องหาค้าประเวณีเด็ก ร้อยละ 89.5
คิดว่าต้องการให้เร่ง ร้อยละ 2.3 คิดว่าไม่จำเป็นต้องเร่ง และร้อยละ 8.2 ไม่มีความคิดเห็น ส่วนค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ
ความต้องการให้รัฐบาลดำเนินการปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล แก้ไขปัญหาส่วย และการปราบปรามยาเสพติด ไปพร้อมๆ กัน
ร้อยละ 90.4 คิดว่าต้องการให้เร่ง ร้อยละ 3.4 คิดว่าไม่ต้องการให้เร่ง และร้อยละ 6.2 ไม่มีความเห็น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุเหตุผลที่ต้องการให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวทำสงครามยาเสพติดและ
การปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ทำให้ตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวทำสงคราม ค่าร้อยละ
ยาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล
1 เพราะ ทำให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องในการปราบปราม
ยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 61.5
2 ประชาชนจะรู้สึกว่ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น
เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้นในสังคม 59.1
3 หน่วยงานต่างๆ ร่วมมือกันมากขึ้นในการแก้ปัญหา 57.7
4 ประชาชนตื่นตัวช่วยกันแก้ไขปัญหามากขึ้น 50.4
5 สังคมจะร่วมต้านทานปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพลมากขึ้น 48.9
6 เยาวชนจะตระหนักถึงปัญหายาเสพติดมากขึ้น 46.5
7 อื่นๆ อาทิ ถ้าสื่อไม่เสนอข่าว ปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง /
ถ้าไม่เสนอข่าว ปัญหายาเสพติดจะกลับมารุนแรงมากขึ้น เป็นต้น 30.2
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีการปรับเปลี่ยนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีการปรับเปลี่ยนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 37.7
2 ไม่เห็นด้วย 40.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.9
รวมทั้งสิ้น 100
กลุ่มตัวอย่างที่ ไม่เห็นด้วย กับการเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ระบุเหตุผลดังนี้
1. ควรช่วยกันแก้ไขปัญหาแบบค่อยเป็นค่อยไปก่อน
2. ให้โอกาสพิสูจน์ตัวเองก่อน
3. คนปัจจุบันสามารถทำงานได้ดีอยู่แล้ว
4. เป็นคนตรงไปตรงมาอยู่แล้ว
5. ยังเชื่อมั่นในคนปัจจุบันอยู่
6. เปลี่ยนไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
7. คนปัจจุบันโดยภาพรวมยังเป็นคนดีอยู่
กลุ่มตัวอย่างที่ เห็นด้วย ได้ระบุเหตุผลดังนี้
1. ผบ.ตร.คนปัจจุบันมีความขัดแย้งกับคนเป็นจำนวนมาก
2. ควรให้โอกาสผู้อื่นเข้ามาทำงานบ้าง
3. ไม่มีความเป็นกลาง
4. ทำงานมานานยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเลย
5. เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเรียก
ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนกลับมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของประชาชนต่อ การทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 ควรเร่งปราบปรามยาเสพติดให้หมดไปตามนโยบายของรัฐบาล 72.5
2 ควรเร่งแก้ปัญหาส่วยในกลุ่มข้าราชการตำรวจและ หน่วยงานราชการอื่นๆ 70.3
3 ควรเร่งปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล เช่น ขบวนการค้าประเวณีเด็ก
ขบวนการค้าแรงงานเถื่อน ขบวนการค้าอาวุธ และขบวนการ
ก่อการร้ายเรียกค่าคุ้มครอง เป็นต้น 68.7
4 ควรเร่งสะสางติดตามคนร้ายในคดีสะเทือนขวัญของประชาชน 64.4
5 เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรมทั่วๆ ไป และความไม่ปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินของประชาชน 57.3
6 เร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการประชาชน ด้วยความรวดเร็ว
และความยินดีต้อนรับ ณ สถานีตำรวจ 50.2
7 อื่นๆ อาทิ การแก้ปัญหาจราจร การเพิ่มกำลังสายตรวจให้มากขึ้น
และการขจัดตำรวจที่ไม่ดีออกไปจากองค์กร เป็นต้น 34.6
--เอแบคโพลล์--