ผลสำรวจโดยสรุป
ในรอบปี 2546 ที่ผ่านมามูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ได้ร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินการสำรวจภาคสนามในประเด็นเรื่องผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อเด็กและเยาวชน เป็นจำนวน 7 เรื่อง ได้แก่
1) การสำรวจเรื่อง "กิจกรรมที่ทำร่วมกันภายในครัวเรือนช่วงปิดภาคเรียน : กรณีศึกษาพ่อแม่ / ผู้ปกครอง ที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 28 มีนาคมถึง 8 เมษายน 2546
2) การสำรวจเรื่อง "อิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก : กรณีศึกษาพ่อแม่/ผู้ปกครองที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 28 มีนาคมถึง 8 เมษายน 2546
3) การสำรวจเรื่อง "ผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศของเด็กอายุ 3-12 ปี : กรณีศึกษาพ่อแม่/ผู้ปกครองที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกัน ในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
4) การสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่มีต่อสื่อโทรทัศน์และพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศของเยาวชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
5) การสำรวจเรื่อง "อิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กอายุ 3-12 ปี : กรณีศึกษาพ่อแม่/ผู้ปกครองที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
6) การสำรวจเรื่อง "โครงการสำรวจอิทธิพลของโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็กอายุ 3-12 ปี : กรณีศึกษาพ่อแม่ / ผู้ปกครอง ที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
7) การสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของเด็กและวัยรุ่น : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 22 กันยายน ถึง 30 กันยายน 2546
จากผลการสำรวจแต่ละเรื่อง คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และจะสรุปภาพรวมประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
1. เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาว่าง "ดูทีวี" มากที่สุด จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียน (ทั้งในช่วงวันธรรมดาและวันหยุด) ของบุตร/หลานวัย 3-12 ปี ตามทัศนะของพ่อแม่/ผู้ปกครองคือการดูโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือ เล่นกับเพื่อน ดูวีดีโอ/วีซีดี ไปห้างสรรพสินค้า และเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย เด็กส่วนใหญ่จะดูโทรทัศน์ทุกวันและเกือบทุกวัน (5-7 วันต่อสัปดาห์) และใช้เวลาในการดูโทรทัศน์ประมาณวันละ 3-5 ชั่วโมง โดยจำนวนชั่วโมงในการดูโทรทัศน์โดยในวันจันทร์-ศุกร์เฉลี่ย 3.49 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่วันเสาร์-อาทิตย์เด็กดูโทรทัศน์เฉลี่ย 5.51 ชั่วโมงต่อวัน ช่วงเวลาในการดูโทรทัศน์พบว่า วันจันทร์-ศุกร์เด็กจะดูโทรทัศน์ในเวลา 4 โมงเย็นถึง 2 ทุ่มมากที่สุด (ร้อยละ 66.0) รองลงมาคือ ช่วงเวลา 2 ทุ่มถึง 4 ทุ่ม (ร้อยละ 36.6) และก่อน 8 โมงเช้า (ร้อยละ 35.1) ขณะที่วันเสาร์-อาทิตย์ ตัวอย่างระบุว่าบุตร/หลานชอบดูโทรทัศน์ในเวลา 8 โมงเช้า ถึงเที่ยง มากที่สุด (ร้อยละ 61.6) รองลงมาคือ ช่วงเวลา 4 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่ม (ร้อยละ 54.3) และก่อน 8 โมงเช้า (ร้อยละ 42.6)
2. "การ์ตูน - ละคร" รายการยอดนิยม จากการสำรวจพบว่า รายการโทรทัศน์ที่เด็กนิยมดูมากที่สุดคือ การ์ตูนไทย และการ์ตูนญี่ปุ่น / ฝรั่ง ส่วนรายการที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือละครก่อน-หลังข่าวภาคค่ำ รายการสำหรับเด็ก รายการตลก และเกมส์โชว์ ตามลำดับ
3. ทีวีมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็ก จากการสังเกตของผู้ปกครองพบว่ารายการโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กในระดับ "ปานกลางค่อนไปทางมาก" ทั้งนี้รายการโทรทัศน์มีผลกระทบต่อเด็กทั้งในทางบวกและทางลบ โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่า "รายการโทรทัศน์" ช่วยให้เกิดความรู้/เสริมสร้างสติปัญญา และให้ความบันเทิง/ผ่อนคลายความตึงเครียดในระดับที่ "มาก" อย่างไรก็ตามผู้ปกครองยังเห็นว่า รายการโทรทัศน์มีกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อขนม/ อาหาร / เครื่องดื่มตามโฆษณา การซื้อของเล่น / สินค้าประเภทต่างๆ ตามหนังการ์ตูน ในระดับ"ปานกลางค่อนไปทางมาก" ส่วนการเลียนแบบท่าทางจากตัวการ์ตูน (เช่น แปลงร่าง กระโดดม้วนตัว เป็นต้น) การเลียนแบบจากตัวละครเรื่องการแต่งตัว การเลียนแบบจากตัวละครในเรื่องคำพูดที่ไม่เหมาะสม (เช่น ใช้คำด่า พูดจาก้าวร้าว เป็นต้น) การเลียนแบบจากตัวละครในกิริยา ท่าทางที่ก้าวร้าว รุนแรง (เช่น ชกต่อย ตบตี ยิงปืน เป็นต้น) มีผลกระทบในระดับ "ปานกลางค่อนไปทางน้อย"
4. ผู้ปกครองมากกว่า 1 ใน 3 เชื่อว่าทีวี "มีผลเสียพอ ๆ กับผลดี" ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการดูโทรทัศน์ของบุตร/หลานวัย 3-12 ปีว่ามีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 42.7 ระบุว่ามีผลดีมากกว่า
ร้อยละ 36.2 ระบุว่ามีผลดี-ผลเสียพอ ๆ กัน
ขณะที่ร้อยละ 8.1 ระบุว่ามีผลเสียมากกว่า
5. เซ็กซ์ล้นจอ : พ่อแม่เป็นห่วง ผู้ปกครองเห็นว่ารายการโทรทัศน์ที่เด็กดูนั้น บางส่วนมี "การแสดงออกเรื่องเพศ" แฝงมากับรายการด้วย โดยรายการโทรทัศน์ที่ผู้ปกครองเห็นว่ามีการแสดงออกทางเพศ และกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อบุตร/ หลานมาก ที่สุด ได้แก่ 1) ภาพยนตร์ต่างประเทศ 2) ละครช่วงก่อน/หลังข่าว 3) การ์ตูนญี่ปุ่น/ ฝรั่ง 4) รายการเพลง/ มิวสิค 5) การแต่งกายของพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ ตามลำดับ
6. เป็นห่วงเรื่อง "การแต่งตัววาบหวิว - วางตนทางเพศไม่เหมาะสม" รูปแบบพฤติกรรรมหรือการกระทำในสื่อโทรทัศน์ที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงออกพฤติกรรมทางเพศของเด็กมาก (ความเห็นของประชาชน) ได้แก่ 1) การแต่งกายวาบหวิว 2) ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร) และ 3) การแสดงออกถึงท่าทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น การกอดจูบ ลูบคลำ
7. สื่อกระตุ้นความรุนแรงแก่เด็ก ตัวอย่างผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 95.5 ระบุว่า สื่อมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบความรุนแรงของเด็ก ขณะที่มีเพียงร้อยละ 4.5 ระบุว่าสื่อไม่มีส่วนกระตุ้น โดยตัวอย่างได้ระบุสื่อที่มีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่รุนแรงมากที่สุด คือ ภาพยนตร์ / หนังต่างประเทศ (ร้อยละ 23.6) รองลงมาคือ อินเตอร์เน็ต / เกมส์ (ร้อยละ 19.9) รายการทางโทรทัศน์ (ร้อยละ 18.3) และข่าวความรุนแรงจากสื่อโทรทัศน์ (ร้อยละ 16.4) ในส่วนของรายการโทรทัศน์ที่ตัวอย่างระบุว่ามีระดับความรุนแรงมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ภาพยนตร์ต่างประเทศ (ร้อยละ 48.5) รองลงมาคือ รายการกีฬาที่ใช้ความรุนแรง เช่น มวยปล้ำ, มวยสากล, มวยไทย เป็นต้น (ร้อยละ 46.5) การ์ตูนญี่ปุ่น / ฝรั่ง (ร้อยละ 32.5) ละครก่อน-หลังข่าว (ร้อยละ 27.9) และภาพข่าวที่นำเสนอ (ร้อยละ 26.9) เป็นต้น
8. สังคมตระหนัก เยาวชนมีปัญหา "การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย" จากการสำรวจตัวอย่างประชาชนพบว่ากว่าร้อยละ 91.9 มีความเห็นตรงกันว่าปัจจุบันเยาวชนมี พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่ "ฟุ่มเฟือย" (มีเพียงร้อยละ 4.1 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ฟุ่มเฟือย และร้อยละ 4.0 ไม่มีความเห็น) โดยสินค้าที่ตัวอย่างประชาชนเห็นว่าเยาวชนมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากที่สุดอันดับที่หนึ่ง คือ โทรศัพท์มือถือ / อุปกรณ์สื่อสาร(ร้อยละ 39.1) รองลงมาอันดับที่สองคือ เสื้อผ้าจากดีไซน์เนอร์ / เสื้อผ้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศ (ร้อยละ 16.6) อันดับที่สามเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม ลิปสติค แป้ง (ร้อยละ 9.4) อันดับที่สี่เครื่องประดับ เช่น สร้อย แหวน ต่างหู นาฬิกา (ร้อยละ 7.7) และอันดับที่ห้าเกมหรือซอฟท์แวร์ด้านบันเทิงบนคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 6.7)
9. เยาวชนนิยมซื้อสินค้าตามอย่างโฆษณาทีวี จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองร้อยละ 62.8 ระบุเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีที่อยู่ในความปกครองของตนเองนิยมซื้อสินค้าตามโฆษณาในโทรทัศน์ สำหรับจำนวนเงินที่บุตรหลานนำไปซื้อสินค้า (ของเล่น / ขนม)ฟุ่มเฟือยตามโฆษณาโทรทัศน์นั้น เฉลี่ยแล้วใช้เงินไปประมาณ ร้อยละ 46.40 ของจำนวนเงินที่ได้รับ สำหรับการจดจำโฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของบุตรหลานพบว่าร้อยละ 80.2 ระบุว่าสามารถจดจำได้ ร้อยละ 8.6 จดจำไม่ได้ และร้อยละ 11.2 ไม่มีความเห็น ผู้ปกครองร้อยละ 65.7 ระบุว่าบุตรหลานชอบพูดจาเลียนแบบโฆษณาในโทรทัศน์ และร้อยละ 54.6 ร้อยละบุตรหลานชอบทำท่าทาง(กระโดด/ม้วนตัว/ตีลังกา) ตามโฆษณาโทรทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าบุตรหลานส่วนใหญ่นิยมซื้อขนมขบเคี้ยวที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ นิยมซื้อสินค้าตามอย่างเพื่อน
10. ผู้ปกครองมากกว่า 1 ใน 3 ตำหนิผู้ผลิตงานโฆษณา สำหรับความรู้สึกตำหนิต่อผู้ผลิตผลงานโฆษณาทางโทรทัศน์ พบว่าร้อยละ 36.6 ระบุว่ารู้สึกตำหนิ ร้อยละ 29.7 ไม่ตำหนิ และร้อยละ 33.7 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
ในรอบปี 2546 ที่ผ่านมามูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ได้ร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินการสำรวจภาคสนามในประเด็นเรื่องผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อเด็กและเยาวชน เป็นจำนวน 7 เรื่อง ได้แก่
1) การสำรวจเรื่อง "กิจกรรมที่ทำร่วมกันภายในครัวเรือนช่วงปิดภาคเรียน : กรณีศึกษาพ่อแม่ / ผู้ปกครอง ที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 28 มีนาคมถึง 8 เมษายน 2546
2) การสำรวจเรื่อง "อิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก : กรณีศึกษาพ่อแม่/ผู้ปกครองที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 28 มีนาคมถึง 8 เมษายน 2546
3) การสำรวจเรื่อง "ผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศของเด็กอายุ 3-12 ปี : กรณีศึกษาพ่อแม่/ผู้ปกครองที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกัน ในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
4) การสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่มีต่อสื่อโทรทัศน์และพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศของเยาวชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
5) การสำรวจเรื่อง "อิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กอายุ 3-12 ปี : กรณีศึกษาพ่อแม่/ผู้ปกครองที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
6) การสำรวจเรื่อง "โครงการสำรวจอิทธิพลของโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็กอายุ 3-12 ปี : กรณีศึกษาพ่อแม่ / ผู้ปกครอง ที่ภายในครัวเรือนมีสมาชิกอายุ 3-12 ปี และอาศัยอยู่ร่วมกันในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2546
7) การสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของเด็กและวัยรุ่น : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 22 กันยายน ถึง 30 กันยายน 2546
จากผลการสำรวจแต่ละเรื่อง คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และจะสรุปภาพรวมประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
1. เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาว่าง "ดูทีวี" มากที่สุด จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียน (ทั้งในช่วงวันธรรมดาและวันหยุด) ของบุตร/หลานวัย 3-12 ปี ตามทัศนะของพ่อแม่/ผู้ปกครองคือการดูโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือ เล่นกับเพื่อน ดูวีดีโอ/วีซีดี ไปห้างสรรพสินค้า และเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย เด็กส่วนใหญ่จะดูโทรทัศน์ทุกวันและเกือบทุกวัน (5-7 วันต่อสัปดาห์) และใช้เวลาในการดูโทรทัศน์ประมาณวันละ 3-5 ชั่วโมง โดยจำนวนชั่วโมงในการดูโทรทัศน์โดยในวันจันทร์-ศุกร์เฉลี่ย 3.49 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่วันเสาร์-อาทิตย์เด็กดูโทรทัศน์เฉลี่ย 5.51 ชั่วโมงต่อวัน ช่วงเวลาในการดูโทรทัศน์พบว่า วันจันทร์-ศุกร์เด็กจะดูโทรทัศน์ในเวลา 4 โมงเย็นถึง 2 ทุ่มมากที่สุด (ร้อยละ 66.0) รองลงมาคือ ช่วงเวลา 2 ทุ่มถึง 4 ทุ่ม (ร้อยละ 36.6) และก่อน 8 โมงเช้า (ร้อยละ 35.1) ขณะที่วันเสาร์-อาทิตย์ ตัวอย่างระบุว่าบุตร/หลานชอบดูโทรทัศน์ในเวลา 8 โมงเช้า ถึงเที่ยง มากที่สุด (ร้อยละ 61.6) รองลงมาคือ ช่วงเวลา 4 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่ม (ร้อยละ 54.3) และก่อน 8 โมงเช้า (ร้อยละ 42.6)
2. "การ์ตูน - ละคร" รายการยอดนิยม จากการสำรวจพบว่า รายการโทรทัศน์ที่เด็กนิยมดูมากที่สุดคือ การ์ตูนไทย และการ์ตูนญี่ปุ่น / ฝรั่ง ส่วนรายการที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือละครก่อน-หลังข่าวภาคค่ำ รายการสำหรับเด็ก รายการตลก และเกมส์โชว์ ตามลำดับ
3. ทีวีมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็ก จากการสังเกตของผู้ปกครองพบว่ารายการโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กในระดับ "ปานกลางค่อนไปทางมาก" ทั้งนี้รายการโทรทัศน์มีผลกระทบต่อเด็กทั้งในทางบวกและทางลบ โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่า "รายการโทรทัศน์" ช่วยให้เกิดความรู้/เสริมสร้างสติปัญญา และให้ความบันเทิง/ผ่อนคลายความตึงเครียดในระดับที่ "มาก" อย่างไรก็ตามผู้ปกครองยังเห็นว่า รายการโทรทัศน์มีกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อขนม/ อาหาร / เครื่องดื่มตามโฆษณา การซื้อของเล่น / สินค้าประเภทต่างๆ ตามหนังการ์ตูน ในระดับ"ปานกลางค่อนไปทางมาก" ส่วนการเลียนแบบท่าทางจากตัวการ์ตูน (เช่น แปลงร่าง กระโดดม้วนตัว เป็นต้น) การเลียนแบบจากตัวละครเรื่องการแต่งตัว การเลียนแบบจากตัวละครในเรื่องคำพูดที่ไม่เหมาะสม (เช่น ใช้คำด่า พูดจาก้าวร้าว เป็นต้น) การเลียนแบบจากตัวละครในกิริยา ท่าทางที่ก้าวร้าว รุนแรง (เช่น ชกต่อย ตบตี ยิงปืน เป็นต้น) มีผลกระทบในระดับ "ปานกลางค่อนไปทางน้อย"
4. ผู้ปกครองมากกว่า 1 ใน 3 เชื่อว่าทีวี "มีผลเสียพอ ๆ กับผลดี" ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการดูโทรทัศน์ของบุตร/หลานวัย 3-12 ปีว่ามีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 42.7 ระบุว่ามีผลดีมากกว่า
ร้อยละ 36.2 ระบุว่ามีผลดี-ผลเสียพอ ๆ กัน
ขณะที่ร้อยละ 8.1 ระบุว่ามีผลเสียมากกว่า
5. เซ็กซ์ล้นจอ : พ่อแม่เป็นห่วง ผู้ปกครองเห็นว่ารายการโทรทัศน์ที่เด็กดูนั้น บางส่วนมี "การแสดงออกเรื่องเพศ" แฝงมากับรายการด้วย โดยรายการโทรทัศน์ที่ผู้ปกครองเห็นว่ามีการแสดงออกทางเพศ และกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อบุตร/ หลานมาก ที่สุด ได้แก่ 1) ภาพยนตร์ต่างประเทศ 2) ละครช่วงก่อน/หลังข่าว 3) การ์ตูนญี่ปุ่น/ ฝรั่ง 4) รายการเพลง/ มิวสิค 5) การแต่งกายของพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ ตามลำดับ
6. เป็นห่วงเรื่อง "การแต่งตัววาบหวิว - วางตนทางเพศไม่เหมาะสม" รูปแบบพฤติกรรรมหรือการกระทำในสื่อโทรทัศน์ที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงออกพฤติกรรมทางเพศของเด็กมาก (ความเห็นของประชาชน) ได้แก่ 1) การแต่งกายวาบหวิว 2) ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร) และ 3) การแสดงออกถึงท่าทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น การกอดจูบ ลูบคลำ
7. สื่อกระตุ้นความรุนแรงแก่เด็ก ตัวอย่างผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 95.5 ระบุว่า สื่อมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบความรุนแรงของเด็ก ขณะที่มีเพียงร้อยละ 4.5 ระบุว่าสื่อไม่มีส่วนกระตุ้น โดยตัวอย่างได้ระบุสื่อที่มีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่รุนแรงมากที่สุด คือ ภาพยนตร์ / หนังต่างประเทศ (ร้อยละ 23.6) รองลงมาคือ อินเตอร์เน็ต / เกมส์ (ร้อยละ 19.9) รายการทางโทรทัศน์ (ร้อยละ 18.3) และข่าวความรุนแรงจากสื่อโทรทัศน์ (ร้อยละ 16.4) ในส่วนของรายการโทรทัศน์ที่ตัวอย่างระบุว่ามีระดับความรุนแรงมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ภาพยนตร์ต่างประเทศ (ร้อยละ 48.5) รองลงมาคือ รายการกีฬาที่ใช้ความรุนแรง เช่น มวยปล้ำ, มวยสากล, มวยไทย เป็นต้น (ร้อยละ 46.5) การ์ตูนญี่ปุ่น / ฝรั่ง (ร้อยละ 32.5) ละครก่อน-หลังข่าว (ร้อยละ 27.9) และภาพข่าวที่นำเสนอ (ร้อยละ 26.9) เป็นต้น
8. สังคมตระหนัก เยาวชนมีปัญหา "การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย" จากการสำรวจตัวอย่างประชาชนพบว่ากว่าร้อยละ 91.9 มีความเห็นตรงกันว่าปัจจุบันเยาวชนมี พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่ "ฟุ่มเฟือย" (มีเพียงร้อยละ 4.1 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ฟุ่มเฟือย และร้อยละ 4.0 ไม่มีความเห็น) โดยสินค้าที่ตัวอย่างประชาชนเห็นว่าเยาวชนมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากที่สุดอันดับที่หนึ่ง คือ โทรศัพท์มือถือ / อุปกรณ์สื่อสาร(ร้อยละ 39.1) รองลงมาอันดับที่สองคือ เสื้อผ้าจากดีไซน์เนอร์ / เสื้อผ้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศ (ร้อยละ 16.6) อันดับที่สามเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม ลิปสติค แป้ง (ร้อยละ 9.4) อันดับที่สี่เครื่องประดับ เช่น สร้อย แหวน ต่างหู นาฬิกา (ร้อยละ 7.7) และอันดับที่ห้าเกมหรือซอฟท์แวร์ด้านบันเทิงบนคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 6.7)
9. เยาวชนนิยมซื้อสินค้าตามอย่างโฆษณาทีวี จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองร้อยละ 62.8 ระบุเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีที่อยู่ในความปกครองของตนเองนิยมซื้อสินค้าตามโฆษณาในโทรทัศน์ สำหรับจำนวนเงินที่บุตรหลานนำไปซื้อสินค้า (ของเล่น / ขนม)ฟุ่มเฟือยตามโฆษณาโทรทัศน์นั้น เฉลี่ยแล้วใช้เงินไปประมาณ ร้อยละ 46.40 ของจำนวนเงินที่ได้รับ สำหรับการจดจำโฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของบุตรหลานพบว่าร้อยละ 80.2 ระบุว่าสามารถจดจำได้ ร้อยละ 8.6 จดจำไม่ได้ และร้อยละ 11.2 ไม่มีความเห็น ผู้ปกครองร้อยละ 65.7 ระบุว่าบุตรหลานชอบพูดจาเลียนแบบโฆษณาในโทรทัศน์ และร้อยละ 54.6 ร้อยละบุตรหลานชอบทำท่าทาง(กระโดด/ม้วนตัว/ตีลังกา) ตามโฆษณาโทรทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าบุตรหลานส่วนใหญ่นิยมซื้อขนมขบเคี้ยวที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ นิยมซื้อสินค้าตามอย่างเพื่อน
10. ผู้ปกครองมากกว่า 1 ใน 3 ตำหนิผู้ผลิตงานโฆษณา สำหรับความรู้สึกตำหนิต่อผู้ผลิตผลงานโฆษณาทางโทรทัศน์ พบว่าร้อยละ 36.6 ระบุว่ารู้สึกตำหนิ ร้อยละ 29.7 ไม่ตำหนิ และร้อยละ 33.7 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--