ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความทุกข์ ความเสียสละ และการให้โอกาสรัฐบาลทำงานแก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,457 ตัวอย่าง ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28 - 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 รู้สึกเบื่อหน่าย เครียดและวิตกกังวลเป็นความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในช่วงภัยพิบัติน้ำท่วม รองลงมาคือร้อยละ 76.9 ระบุไม่สะดวกในการเดินทาง ร้อยละ 66.8 ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 58.5 อาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรคมีไม่เพียงพอ และร้อยละ 38.9 กำลังขาดรายได้
เมื่อถามถึงการรับรู้ต่อการสื่อสารการทำงานแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมของรัฐบาลผ่าน ศปภ. ภายหลังปรับเปลี่ยนการทำงานของทีมโฆษก ศปภ. พบว่า ร้อยละ 54.5 ระบุดีขึ้น แต่ร้อยละ 34.2 ระบุเหมือนเดิมและร้อยละ 11.3 ระบุแย่ลง ตามลำดับ ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 ไม่ประสงค์จะอพยพหรือเดินทางออกต่างจังหวัดเพื่อหนีภัยน้ำท่วม เพราะ เป็นห่วงบ้าน ทรัพย์สิน / ไม่ปลอดภัย ไม่สะดวก มีคนเจ็บ คนชราและเด็กเล็กต้องดูแล และไม่มีที่จะไป ไปแล้วก็ลำบาก สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นไปอีก เป็นต้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 ระบุความช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต่อประชาชนผู้ประสบภัยไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามร้อยละ 61.9 ยังให้โอกาสนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมต่อไป แต่สิ่งที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี สั่งการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 ปรับปรุงการทำงานของตำรวจ ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นการเร่งด่วน รองลงมาคือ ร้อยละ 70.2 ช่วยเหลือให้ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ช่วยเฉพาะกลุ่มหัวคะแนนของตน ร้อยละ 68.4 แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ขาดตลาด ร้อยละ 65.0 ติดตามจับกุมมิจฉาชีพ คนร้ายลักทรัพย์ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติให้ได้ ร้อยละ 61.5 เรียกร้องให้ปรับปรุงการทำงานของศูนย์ Hot Line ให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านต่างๆ ร้อยละ 58.1 ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้าน และร้อยละ 52.4 แก้ปัญหาขาดรายได้ การประกอบอาชีพของประชาชน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม สิ่งดีๆ ที่ประชาชนพบเห็นในภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 ระบุความช่วยเหลือเกื้อกูล ความมีน้ำใจของคนในชาติ รองลงมาคือร้อยละ 76.3 ความเสียสละ ร้อยละ 73.5 ความอดทน ร้อยละ 70.9 ความสามัคคี และร้อยละ 69.5 ความรักและการแบ่งปัน ตามลำดับ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 40.6 เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 22.8 เชื่อมั่น ร้อยละ 23.9 ไม่ค่อยเชื่อมั่น และร้อยละ 12.7 ไม่เชื่อมั่น ตามลำดับ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นอันตรายต่อสังคมประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน ถ้าภาพที่ปรากฏในจอทีวีและสื่อต่างๆ ว่ารัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดมช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมไม่ตรงกับความเป็นจริงที่คนในบ้านและหน้าบ้านของประชาชนผู้เป็นเหยื่อ ซึ่งไม่พบหน่วยงานใดเข้าให้การช่วยเหลืออย่างทั่วถึง จึงเสนอให้ 1) รัฐบาลบูรณาการกำลังทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองและภาคประชาชน ตรวจตราดูแลความปลอดภัยสร้างความวางใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ใช้โมเดลเดียวกับการแก้ปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดมาเป็นยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินฝ่าฟันมหาอุทกภัย นำผืนแผ่นดินคืนสู่ประชาชน 2) จำเป็นต้องดูแลกระจายสินค้าให้ถึงมือประชาชนที่อยู่ในราคาปกติและสังคมกำลังเรียกร้องกลุ่มนายทุนใหญ่ให้ร่วมดูแลผู้บริโภคตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ อาจพิจารณาลดราคาในพื้นที่ประสบภัยเป็นพิเศษ และ 3) เสนอให้แกนนำบ้านเลขที่ 111 และผู้ใหญ่ของฝ่ายการเมืองทุกคนแบ่งสายกันลงพื้นที่เข้าถึงทุกชุมชนโดยไม่เลือกสีเลือกข้างเป็นการทำ Political Social Responsibility หรือ PSR ในหมู่ประชาชน ผลที่คาดว่าจะได้รับต่อสังคมไทยคือ จุดตั้งต้นของความรักความสามัคคีความปรองดองของคนในชาติ และน่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของบ้านเมืองตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 53.7 เป็นหญิง ร้อยละ 46.3 เป็นชาย ตัวอย่าง ร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และร้อยละ 23.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.8 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 26.2 ปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขายหรืออาชีพอิสระ ร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.1 เป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ และร้อยละ 3.9 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ประเภทของความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นเมื่อประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ค่าร้อยละ 1 เบื่อหน่าย เครียด วิตกกังวล 77.4 2 ไม่สะดวกในการเดินทาง 76.9 3 ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 66.8 4 อาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรค ไม่เพียงพอ 58.5 5 ขาดรายได้ 38.9 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อการสื่อสารการทำงานแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมของรัฐบาลผ่าน ศปภ. ภายหลังปรับเปลี่ยนการทำงานของทีมโฆษก ศปภ. ลำดับที่ การรับรู้ของประชาชน ค่าร้อยละ 1 ดีขึ้น 54.5 2 เหมือนเดิม 34.2 3 แย่ลง 11.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความประสงค์จะอพยพหรือเดินทางออกต่างจังหวัดเพื่อหนีภัยน้ำท่วม ลำดับที่ ความประสงค์ของประชาชน ค่าร้อยละ 1 ไม่ประสงค์จะอพยพ หรือเดินทางออกต่างจังหวัด เพราะเป็นห่วงบ้าน ทรัพย์สิน / ไม่ปลอดภัย /ไม่สะดวก/ มีคนเจ็บ คนชราและเด็กเล็กต้องดูแล/ ไม่มีที่ไป / ไปแล้วก็ลำบาก/ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นไปอีก เป็นต้น 63.8 2 มีความประสงค์จะอพยพ หรือเดินทางออกต่างจังหวัด 36.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต่อประชาชนผู้ประสบภัย ลำดับที่ ความช่วยเหลือของรัฐบาล ค่าร้อยละ 1 ทั่วถึง 25.1 2 ไม่ทั่วถึง 74.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาส นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมต่อไป ลำดับที่ การให้โอกาสของประชาชน ค่าร้อยละ 1 ให้โอกาส 61.9 2 ไม่คิดเช่นนั้น 38.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่ต้องการจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการจากนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ 1 ปรับปรุงการทำงานของ ตำรวจ ไฟฟ้า น้ำประปา 73.3 2 ช่วยเหลือให้ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ช่วยเฉพาะกลุ่มหัวคะแนนของตน 70.2 3 แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ขาดตลาด 68.4 4 ติดตามจับกุมมิจฉาชีพ คนร้ายลักทรัพย์ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติให้ได้ 65.0 5 ปรับปรุงการทำงานของศูนย์ Hot Line ให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านต่างๆ 61.5 6 ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้าน 58.1 7 แก้ปัญหาขาดรายได้ การประกอบอาชีพของประชาชน 52.4 ตารางที่ 7 แสดง 5 อันดับแรกค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งดีๆ ที่พบเห็นในภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งดีๆ ที่พบเห็น ค่าร้อยละ 1 ความช่วยเหลือเกื้อกูล ความมีน้ำใจของคนในชาติ 89.4 2 ความเสียสละ 76.3 3 ความอดทน 73.5 4 ความสามัคคี 70.9 5 ความรักและการแบ่งปัน 69.5 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมให้ผ่านพ้นไปได้ 22.8 2 เริ่มมีความเชื่อมั่น 40.6 3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 23.9 4 ไม่เชื่อมั่น 12.7 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--