ผลสำรวจโดยสรุป
เศรษฐกิจครัวเรือนถือว่าเป็นเศรษฐกิจหน่วยย่อยระดับรากหญ้าที่มีผลโดยตรงต่อฐานของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ดังนั้นถ้าหากสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนมีความอ่อนแอและเปราะบางโดยกลุ่มธุรกิจต่างๆ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลไม่รับรู้รับทราบถึงสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจครัวเรือนในรายละเอียดและระดับความคมชัดของสัญญาณ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาคือวิกฤตการณ์ซ้ำซากทางเศรษฐกิจของประเทศ
สำนักวิจัยฯ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนของประชาชนจากตัวอย่างหัวหน้าครัวเรือนทั่วประเทศ สำหรับใช้เป็นข้อมูลสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปีพ.ศ. 2546
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยภาคสนามเรื่อง โครงการวิจัยสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจ เรื่อง ผลสำรวจสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2546 และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของหัวหน้าครัวเรือน : กรณีศึกษาตัวอย่างหัวหน้าครัวเรือนจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 7 ตุลาคม 2546 พบว่า
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับรายได้ของครัวเรือน ไตรมาส 3 / 2546 ร้อยละ 14.9 รายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.4 รายได้เท่าเดิม ร้อยละ 27.7 รายได้ลดลง
ตาราง การเปรียบเทียบแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ในค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับรายได้ของครัวเรือนเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละไตรมาส
ลำดับที่ ระดับรายได้ของครัวเรือน ไตรมาส 1/46 ร้อยละ ไตรมาส 2/46 ร้อยละ ไตรมาส 3/46 ร้อยละ
1 รายได้เพิ่มขึ้น 14.5 14.5 14.9
2 รายได้เท่าเดิม 59.1 59.2 57.4
3 รายได้ลดลง 26.4 26.3 27.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์รายได้ของครอบครัวในอีก 3 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 27.7 คาดว่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.0 คาดว่าเท่าเดิม ร้อยละ 15.3 คาดว่าลดลง ทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 55.6 การรับรู้ดีขึ้น ร้อยละ 31.2 การรับรู้ทรงตัว ร้อยละ 13.2 การรับรู้แย่ลง ส่วนค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หัวข้อข่าวสารที่ได้ยิน / ได้ฟังมา และคาดว่าถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจะทำให้ เศรษฐกิจของประเทศแย่ลงไปอีก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ร้อยละ 56.7 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ร้อยละ 42.8 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ ร้อยละ 40.1 ราคาสินค้าที่สูงขึ้น ร้อยละ 33.3 การทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 31.6 ภาวะเสี่ยงต่อการก่อการร้าย และทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการคาดการณ์ ต่อการว่างงานของประชาชนในปี 2546 นี้ ร้อยละ 28.8 เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 32.0 เหมือนเดิม ร้อยละ 14.7 ลดลง ร้อยละ 24.5 ไม่มีความเห็น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการคาดการณ์ต่ออัตราดอกเบี้ย "เงินฝาก" ธนาคารในปี 2546 นี้
ลำดับที่ การคาดการณ์ของตัวอย่าง ต่ออัตราดอกเบี้ย “เงินฝาก” ธนาคารในปีนี้ ร้อยละ
1 สูงขึ้น 6.7
2 เหมือนเดิม 21.1
3 ลดลง 43.6
4 ไม่มีความเห็น 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์ต่อราคาสินค้าทั่วไปในปี 2546 นี้
ลำดับที่ การคาดการณ์ต่อราคาสินค้าทั่วไปในปี 2546 นี้ ร้อยละ
1 ราคาจะแพงขึ้นเกินกำลังซื้อของผู้บริโภค 58.3
2 เท่าเดิม 19.7
3 ลดลง 7.0
4 ไม่ทราบ 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 25.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 40.6
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 15.6
4 ไม่เชื่อมั่น 3.6
5 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
เศรษฐกิจครัวเรือนถือว่าเป็นเศรษฐกิจหน่วยย่อยระดับรากหญ้าที่มีผลโดยตรงต่อฐานของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ดังนั้นถ้าหากสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนมีความอ่อนแอและเปราะบางโดยกลุ่มธุรกิจต่างๆ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลไม่รับรู้รับทราบถึงสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจครัวเรือนในรายละเอียดและระดับความคมชัดของสัญญาณ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาคือวิกฤตการณ์ซ้ำซากทางเศรษฐกิจของประเทศ
สำนักวิจัยฯ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนของประชาชนจากตัวอย่างหัวหน้าครัวเรือนทั่วประเทศ สำหรับใช้เป็นข้อมูลสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปีพ.ศ. 2546
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยภาคสนามเรื่อง โครงการวิจัยสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจ เรื่อง ผลสำรวจสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2546 และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของหัวหน้าครัวเรือน : กรณีศึกษาตัวอย่างหัวหน้าครัวเรือนจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 7 ตุลาคม 2546 พบว่า
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับรายได้ของครัวเรือน ไตรมาส 3 / 2546 ร้อยละ 14.9 รายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.4 รายได้เท่าเดิม ร้อยละ 27.7 รายได้ลดลง
ตาราง การเปรียบเทียบแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ในค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับรายได้ของครัวเรือนเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละไตรมาส
ลำดับที่ ระดับรายได้ของครัวเรือน ไตรมาส 1/46 ร้อยละ ไตรมาส 2/46 ร้อยละ ไตรมาส 3/46 ร้อยละ
1 รายได้เพิ่มขึ้น 14.5 14.5 14.9
2 รายได้เท่าเดิม 59.1 59.2 57.4
3 รายได้ลดลง 26.4 26.3 27.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์รายได้ของครอบครัวในอีก 3 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 27.7 คาดว่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.0 คาดว่าเท่าเดิม ร้อยละ 15.3 คาดว่าลดลง ทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 55.6 การรับรู้ดีขึ้น ร้อยละ 31.2 การรับรู้ทรงตัว ร้อยละ 13.2 การรับรู้แย่ลง ส่วนค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หัวข้อข่าวสารที่ได้ยิน / ได้ฟังมา และคาดว่าถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจะทำให้ เศรษฐกิจของประเทศแย่ลงไปอีก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ร้อยละ 56.7 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ร้อยละ 42.8 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ ร้อยละ 40.1 ราคาสินค้าที่สูงขึ้น ร้อยละ 33.3 การทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 31.6 ภาวะเสี่ยงต่อการก่อการร้าย และทางด้านค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการคาดการณ์ ต่อการว่างงานของประชาชนในปี 2546 นี้ ร้อยละ 28.8 เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 32.0 เหมือนเดิม ร้อยละ 14.7 ลดลง ร้อยละ 24.5 ไม่มีความเห็น
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการคาดการณ์ต่ออัตราดอกเบี้ย "เงินฝาก" ธนาคารในปี 2546 นี้
ลำดับที่ การคาดการณ์ของตัวอย่าง ต่ออัตราดอกเบี้ย “เงินฝาก” ธนาคารในปีนี้ ร้อยละ
1 สูงขึ้น 6.7
2 เหมือนเดิม 21.1
3 ลดลง 43.6
4 ไม่มีความเห็น 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์ต่อราคาสินค้าทั่วไปในปี 2546 นี้
ลำดับที่ การคาดการณ์ต่อราคาสินค้าทั่วไปในปี 2546 นี้ ร้อยละ
1 ราคาจะแพงขึ้นเกินกำลังซื้อของผู้บริโภค 58.3
2 เท่าเดิม 19.7
3 ลดลง 7.0
4 ไม่ทราบ 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตาราง ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 25.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 40.6
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 15.6
4 ไม่เชื่อมั่น 3.6
5 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--