ที่มาของโครงการ
จากกรณีที่มีกระแสการเตรียมความพร้อมในการลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพ มหานครคนต่อไปในปีพ.ศ. 2547 นี้ พรรคการเมืองต่างๆ ได้มีการทาบทามบุคคลต่างๆ เพื่อลงสมัครชิงชัยเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจปัญหา / ความเดือดร้อนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความนิยมต่อนักการเมืองที่มีอยู่ในใจแล้วว่าอยากให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจปัญหาความเดือดร้อนของคนกรุง และความนิยมต่อนักการเมืองที่อาจลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพ มหานครคนต่อไป : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26 - 27 มกราคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มเลือกตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายในการศึกษา
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,175 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 27.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 18.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 6.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช.
ร้อยละ 28.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 27.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 10.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.1 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.7 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเปิดตัวผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเปิดตัวผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 ติดตาม 80.8
2 ไม่ได้ติดตาม 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ประสบ / ได้รับความเดือดร้อนในปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบ / ได้รับความเดือดร้อนในปัจจุบัน ร้อยละ
1 การจราจร 87.2
2 สิ่งแวดล้อม / มลพิษ 53.4
3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 51.5
4 ขยะ / ความไม่สะอาด 48.3
5 ปัญหาเศรษฐกิจ / อาชีพ / ว่างงาน 34.3
6 ระบบขนส่งมวลชน 31.7
7 การทุจริตคอรัปชั่น / รับส่วยของเจ้าหน้าที่ 31.5
8 ขอทาน / คนเร่ร่อน 29.9
9 ปัญหายาเสพติด 29.3
10 ปัญหาหนี้สิน 22.9
11 ปัญหาการให้บริการของ ก.ท.ม. 16.5
12 สุนัขจรจัด 15.6
13 ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย 15.5
14 ปัญหาด้านสุขภาพ / การรักษาพยาบาล 15.3
15 อื่นๆ เช่น แรงงานต่างด้าว, การขายบริการทางเพศ, ปัญหาครอบครัว 28.8
ตารางที่ 3 แสดงการจัดอันดับคุณสมบัติของผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ต้องการ
(ค่าร้อยละจากการถ่วงน้ำหนักแล้ว)
อันดับที่ คุณสมบัติของผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ต้องการ ร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต / ไม่โกงกิน 23.3
2 มีความรู้ความสามารถ 14.4
3 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 12.5
3 ขยัน / ตั้งใจทำงาน 12.5
5 มีความเป็นผู้นำ / เป็นนักบริหารที่ดี 12.4
6 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 9.9
7 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 9.1
8 อื่นๆ เช่น มีความรวดเร็วในการทำงาน, มีบุคลิกภาพ / หน้าตาดี 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงการจัดอันดับปัจจัยในการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
อันดับที่ อันดับปัจจัยในการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 นโยบายการทำงาน 34.9
2 คุณสมบัติตัวบุคคล 27.9
3 ผลงานในอดีต 23.7
4 พรรคการเมืองที่สังกัด 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นว่า "การที่ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิง ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเกิดจากสาเหตุความขัดแย้งกันภายในพรรคไทยรักไทย"
ลำดับที่ ความเห็นว่า "การที่ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่ง ร้อยละ
ผู้ว่าฯ ก.ท.ม.เกิดจากสาเหตุความขัดแย้งกันภายในพรรคไทยรักไทย"
1 เชื่อว่าขัดแย้งกัน 33.7
2 ไม่เชื่อว่าขัดแย้งกัน 29.3
3 ไม่มีความเห็น 37.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่อภาพพจน์ของพรรคไทยรักไทยจากการที่
ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ผลกระทบต่อภาพพจน์ของพรรคไทยรักไทยจากการที่ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ
ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ก.ท.ม.
1 ส่งผลกระทบ 38.6
2 ไม่ส่งผลกระทบ 35.2
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการให้โอกาส ดร.ปุระชัย ตัดสินใจเลือก
ทีมงานของตนเอง ถ้าตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่า กทม.
ลำดับที่ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 เห็นด้วยที่พรรคไทยรักไทยควรเปิดโอกาสให้ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
เลือกทีมงานของตนเองอย่างอิสระ 57.2
2 ไม่เห็นด้วย 14.5
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า "ท่านมีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้วหรือไม่
ที่อยากให้เป็นผู้ว่า กทม."
ลำดับที่ คำตอบของกลุ่มตัวอย่างต่อคำถามที่ว่า ท่านมีนักการเมืองที่ชอบ ร้อยละ
ไว้ในใจแล้วหรือไม่ ที่อยากให้เป็นผู้ว่า กทม.
1 มีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้ว (ตัดสินใจได้ว่าอยากจะเลือกใคร) 48.9
2 ยังไม่มี (ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใคร) 51.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกบุคคลที่อยู่ในข่าวว่าอาจเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เป็นผู้ว่า กทม. (เป็นค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่า มีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้ว
หรือตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกใคร ถ้านักการเมืองที่ชอบนั้นลงสมัคร)
ลำดับที่ บุคคลในข่าวที่กลุ่มตัวอย่างตั้งใจจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ ก.ท.ม.คนต่อไป ร้อยละ
1 ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 36.7
2 นางปวีณา หงส์สกุล 25.9
3 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 16.5
4 ร.ต.ต เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 9.4
5 ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี 6.1
6 อื่นๆ ระบุ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ วรัญชัย โชคชนะ เป็นต้น 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจปัญหาความเดือดร้อนของคนกรุงเทพ และความนิยมในตัวบุคคลที่ตกเป็นข่าวอาจเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป" โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 - 27 มกราคมที่ผ่านมา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,175 ตัวอย่าง ระดับความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.8 ให้ความสำคัญติดตามข่าวการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในขณะที่เพียงร้อยละ 19.2 ยังไม่ได้ให้ความสำคัญ ติดตาม ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 เดือดร้อนกับปัญหาจราจร รองลงมาคือร้อยละ 53.4 เดือดร้อนกับปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม และร้อยละ 51.5 เดือดร้อนปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง ร้อยละ 48.3 เดือดร้อนเรื่องปัญหาขยะ และความไม่สะอาด และร้อยละ 34.3 เดือดร้อนเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ และการว่างงาน เป็นต้น
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน เป็นคุณสมบัติของผู้สมัครที่ประชาชนต้องการเป็นอันดับที่หนึ่ง (ร้อยละ 23.3) รองลงมาคือ มีความรู้ความสามารถ (ร้อยละ 14.4) มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และขยันตั้งใจทำงาน (ร้อยละ 12.5) ที่น่าสนใจคือประชาชนให้ความสำคัญกับความหล่อ บุคลิกหน้าตาดี เป็นอันดับสุดท้าย
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ปัจจัยที่จะทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.9 ระบุว่าปัจจัยที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคือ นโยบายการทำงาน รองลงมาคือร้อยละ 27.9 ระบุเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร ร้อยละ 23.7 ระบุเป็นผลงานในอดีต และเพียงร้อยละ 13.5 ระบุเป็นพรรคการเมืองที่สังกัด
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจถามความคิดเห็นของประชาชนอีกด้วยว่า การที่ ดร.ปุระชัย ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิดจากสาเหตุความขัดแย้งภายในพรรคไทยรักไทย หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 33.7 เชื่อว่ามีความขัดแย้งกัน ในขณะที่ร้อยละ 29.3 ไม่เชื่อ และร้อยละ 37.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า ประชาชนร้อยละ 38.6 เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของพรรคไทยรักไทย ในขณะที่ร้อยละ 35.2 เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 เห็นว่าพรรคไทยรักไทยควรให้อิสระแก่ ดร.ปุระชัย ในการเลือกทีมงานของตนเอง ในขณะที่ร้อยละ 14.5 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 28.3 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประเด็นผลสำรวจที่น่าสนใจคือ ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.1 ระบุยังไม่มีนักการเมืองคนใดที่ชอบไว้ในใจที่อยากให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. (ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใคร) ในขณะที่มีร้อยละ 48.9 ระบุว่ามีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้ว และอยากให้เป็นผู้ว่า กทม (ตัดสินใจได้แล้วว่าอยากจะเลือกใคร)
ในกลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจได้แล้วว่าอยากจะเลือกใคร ถ้าบุคคลนักการเมืองนั้นลงสมัคร ร้อยละ 36.7 ระบุว่าอยากเลือก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รองลงมาคือ ร้อยละ 25.9 ระบุนางปวีณา หงส์สกุล ร้อยละ 16.5 ระบุ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ร้อยละ 9.4 ระบุ ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ร้อยละ 6.1 ระบุดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี และร้อยละ 5.4 ระบุอื่นๆ อาทิ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ นายวรัญชัย โชคชนะ เป็นต้น
ท้ายที่สุด คณะผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อกลุ่มบุคคลนักการเมืองดังกล่าว อาจเปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่มีความชัดเจนมากขึ้นของตัวแปรและปัจจัยต่างๆ อาทิ ความชัดเจนของพรรคไทยรักไทยในการส่งตัวผู้สมัคร นโยบายและคุณสมบัติของนักการเมืองที่ตรงความต้องการของประชาชน ฐานเสียงของนักการเมืองท้องถิ่น เช่น ส.ก. ส.ข. และปัจจัยด้านจิตวิทยาการเมืองอื่นๆ ที่อาจโน้มน้าวการตัดสินใจของประชาชนได้ เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
จากกรณีที่มีกระแสการเตรียมความพร้อมในการลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพ มหานครคนต่อไปในปีพ.ศ. 2547 นี้ พรรคการเมืองต่างๆ ได้มีการทาบทามบุคคลต่างๆ เพื่อลงสมัครชิงชัยเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจปัญหา / ความเดือดร้อนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความนิยมต่อนักการเมืองที่มีอยู่ในใจแล้วว่าอยากให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจปัญหาความเดือดร้อนของคนกรุง และความนิยมต่อนักการเมืองที่อาจลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพ มหานครคนต่อไป : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26 - 27 มกราคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มเลือกตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายในการศึกษา
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,175 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 27.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 18.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 6.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช.
ร้อยละ 28.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 27.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 10.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.1 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.7 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเปิดตัวผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเปิดตัวผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 ติดตาม 80.8
2 ไม่ได้ติดตาม 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ประสบ / ได้รับความเดือดร้อนในปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบ / ได้รับความเดือดร้อนในปัจจุบัน ร้อยละ
1 การจราจร 87.2
2 สิ่งแวดล้อม / มลพิษ 53.4
3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 51.5
4 ขยะ / ความไม่สะอาด 48.3
5 ปัญหาเศรษฐกิจ / อาชีพ / ว่างงาน 34.3
6 ระบบขนส่งมวลชน 31.7
7 การทุจริตคอรัปชั่น / รับส่วยของเจ้าหน้าที่ 31.5
8 ขอทาน / คนเร่ร่อน 29.9
9 ปัญหายาเสพติด 29.3
10 ปัญหาหนี้สิน 22.9
11 ปัญหาการให้บริการของ ก.ท.ม. 16.5
12 สุนัขจรจัด 15.6
13 ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย 15.5
14 ปัญหาด้านสุขภาพ / การรักษาพยาบาล 15.3
15 อื่นๆ เช่น แรงงานต่างด้าว, การขายบริการทางเพศ, ปัญหาครอบครัว 28.8
ตารางที่ 3 แสดงการจัดอันดับคุณสมบัติของผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ต้องการ
(ค่าร้อยละจากการถ่วงน้ำหนักแล้ว)
อันดับที่ คุณสมบัติของผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ต้องการ ร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต / ไม่โกงกิน 23.3
2 มีความรู้ความสามารถ 14.4
3 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 12.5
3 ขยัน / ตั้งใจทำงาน 12.5
5 มีความเป็นผู้นำ / เป็นนักบริหารที่ดี 12.4
6 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 9.9
7 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 9.1
8 อื่นๆ เช่น มีความรวดเร็วในการทำงาน, มีบุคลิกภาพ / หน้าตาดี 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงการจัดอันดับปัจจัยในการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
อันดับที่ อันดับปัจจัยในการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 นโยบายการทำงาน 34.9
2 คุณสมบัติตัวบุคคล 27.9
3 ผลงานในอดีต 23.7
4 พรรคการเมืองที่สังกัด 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นว่า "การที่ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิง ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเกิดจากสาเหตุความขัดแย้งกันภายในพรรคไทยรักไทย"
ลำดับที่ ความเห็นว่า "การที่ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่ง ร้อยละ
ผู้ว่าฯ ก.ท.ม.เกิดจากสาเหตุความขัดแย้งกันภายในพรรคไทยรักไทย"
1 เชื่อว่าขัดแย้งกัน 33.7
2 ไม่เชื่อว่าขัดแย้งกัน 29.3
3 ไม่มีความเห็น 37.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่อภาพพจน์ของพรรคไทยรักไทยจากการที่
ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ผลกระทบต่อภาพพจน์ของพรรคไทยรักไทยจากการที่ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ
ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ก.ท.ม.
1 ส่งผลกระทบ 38.6
2 ไม่ส่งผลกระทบ 35.2
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการให้โอกาส ดร.ปุระชัย ตัดสินใจเลือก
ทีมงานของตนเอง ถ้าตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่า กทม.
ลำดับที่ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 เห็นด้วยที่พรรคไทยรักไทยควรเปิดโอกาสให้ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
เลือกทีมงานของตนเองอย่างอิสระ 57.2
2 ไม่เห็นด้วย 14.5
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า "ท่านมีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้วหรือไม่
ที่อยากให้เป็นผู้ว่า กทม."
ลำดับที่ คำตอบของกลุ่มตัวอย่างต่อคำถามที่ว่า ท่านมีนักการเมืองที่ชอบ ร้อยละ
ไว้ในใจแล้วหรือไม่ ที่อยากให้เป็นผู้ว่า กทม.
1 มีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้ว (ตัดสินใจได้ว่าอยากจะเลือกใคร) 48.9
2 ยังไม่มี (ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใคร) 51.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเลือกบุคคลที่อยู่ในข่าวว่าอาจเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เป็นผู้ว่า กทม. (เป็นค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่า มีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้ว
หรือตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกใคร ถ้านักการเมืองที่ชอบนั้นลงสมัคร)
ลำดับที่ บุคคลในข่าวที่กลุ่มตัวอย่างตั้งใจจะเลือกเป็นผู้ว่าฯ ก.ท.ม.คนต่อไป ร้อยละ
1 ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 36.7
2 นางปวีณา หงส์สกุล 25.9
3 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 16.5
4 ร.ต.ต เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 9.4
5 ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี 6.1
6 อื่นๆ ระบุ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ วรัญชัย โชคชนะ เป็นต้น 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจปัญหาความเดือดร้อนของคนกรุงเทพ และความนิยมในตัวบุคคลที่ตกเป็นข่าวอาจเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป" โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 - 27 มกราคมที่ผ่านมา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,175 ตัวอย่าง ระดับความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.8 ให้ความสำคัญติดตามข่าวการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในขณะที่เพียงร้อยละ 19.2 ยังไม่ได้ให้ความสำคัญ ติดตาม ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 เดือดร้อนกับปัญหาจราจร รองลงมาคือร้อยละ 53.4 เดือดร้อนกับปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม และร้อยละ 51.5 เดือดร้อนปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง ร้อยละ 48.3 เดือดร้อนเรื่องปัญหาขยะ และความไม่สะอาด และร้อยละ 34.3 เดือดร้อนเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ และการว่างงาน เป็นต้น
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน เป็นคุณสมบัติของผู้สมัครที่ประชาชนต้องการเป็นอันดับที่หนึ่ง (ร้อยละ 23.3) รองลงมาคือ มีความรู้ความสามารถ (ร้อยละ 14.4) มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และขยันตั้งใจทำงาน (ร้อยละ 12.5) ที่น่าสนใจคือประชาชนให้ความสำคัญกับความหล่อ บุคลิกหน้าตาดี เป็นอันดับสุดท้าย
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ปัจจัยที่จะทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.9 ระบุว่าปัจจัยที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคือ นโยบายการทำงาน รองลงมาคือร้อยละ 27.9 ระบุเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร ร้อยละ 23.7 ระบุเป็นผลงานในอดีต และเพียงร้อยละ 13.5 ระบุเป็นพรรคการเมืองที่สังกัด
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจถามความคิดเห็นของประชาชนอีกด้วยว่า การที่ ดร.ปุระชัย ปฏิเสธไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิดจากสาเหตุความขัดแย้งภายในพรรคไทยรักไทย หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 33.7 เชื่อว่ามีความขัดแย้งกัน ในขณะที่ร้อยละ 29.3 ไม่เชื่อ และร้อยละ 37.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า ประชาชนร้อยละ 38.6 เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของพรรคไทยรักไทย ในขณะที่ร้อยละ 35.2 เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 เห็นว่าพรรคไทยรักไทยควรให้อิสระแก่ ดร.ปุระชัย ในการเลือกทีมงานของตนเอง ในขณะที่ร้อยละ 14.5 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 28.3 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประเด็นผลสำรวจที่น่าสนใจคือ ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.1 ระบุยังไม่มีนักการเมืองคนใดที่ชอบไว้ในใจที่อยากให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. (ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใคร) ในขณะที่มีร้อยละ 48.9 ระบุว่ามีนักการเมืองที่ชอบไว้ในใจแล้ว และอยากให้เป็นผู้ว่า กทม (ตัดสินใจได้แล้วว่าอยากจะเลือกใคร)
ในกลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจได้แล้วว่าอยากจะเลือกใคร ถ้าบุคคลนักการเมืองนั้นลงสมัคร ร้อยละ 36.7 ระบุว่าอยากเลือก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รองลงมาคือ ร้อยละ 25.9 ระบุนางปวีณา หงส์สกุล ร้อยละ 16.5 ระบุ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ร้อยละ 9.4 ระบุ ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ร้อยละ 6.1 ระบุดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี และร้อยละ 5.4 ระบุอื่นๆ อาทิ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ นายวรัญชัย โชคชนะ เป็นต้น
ท้ายที่สุด คณะผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อกลุ่มบุคคลนักการเมืองดังกล่าว อาจเปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่มีความชัดเจนมากขึ้นของตัวแปรและปัจจัยต่างๆ อาทิ ความชัดเจนของพรรคไทยรักไทยในการส่งตัวผู้สมัคร นโยบายและคุณสมบัติของนักการเมืองที่ตรงความต้องการของประชาชน ฐานเสียงของนักการเมืองท้องถิ่น เช่น ส.ก. ส.ข. และปัจจัยด้านจิตวิทยาการเมืองอื่นๆ ที่อาจโน้มน้าวการตัดสินใจของประชาชนได้ เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--