ที่มาของโครงการ
ปัจจุบันการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีกิจกรรมที่กระตุ้นการบริโภคของประชาชนในรูปแบบต่างๆ ผู้คนในเมืองอยู่ในสภาพที่เต็มไปด้วยสิ่งจูงใจทางวัตถุและการชักจูงให้เกิดความต้องการบริโภคตลอดเวลา ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงหาทางออกโดยการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนนอกระบบซึ่งสามารถกู้ยืมเงินได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อปัญหาหนี้สิน และปัญหาทางสังคมติดตามมา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจหนี้สินของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจสาเหตุ และรูปแบบวิธีการกู้ยืมเงินนอกระบบ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจพฤติกรรมการกู้ยืมเงินนอกระบบ และทรรศนะต่อนโยบายของรัฐบาลในการลงทะเบียนคนจน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,161 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 31.6 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 13.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 51.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 27.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช.
ร้อยละ 13.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 8.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 0.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 33.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.7 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นนักเรียน/ นักศึกษา
ร้อยละ 6.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 0.9 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานะทางการเงินของตนเอง
ลำดับที่ สถานะทางการเงินของตนเอง ร้อยละ
1 รายได้มากกว่ารายจ่าย 19.3
2 รายได้น้อยกว่ารายจ่าย 50.6
3 รายได้พอๆกับรายจ่าย 30.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาวะหนี้สินของตนเองในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาวะหนี้สินของตนเองในปัจจุบัน ร้อยละ
1 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินในระบบ เช่น ธนาคาร,
สถาบันการเงิน, สหกรณ์, บัตรผ่อนสินค้าต่างๆ 31.6
2 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ 40.7
3 ไม่มีหนี้สินเลย 37.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า 96.0
2 ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 54.1
3 จ่ายค่ารักษาพยาบาล 40.4
4 กู้มาจ่ายหนี้แหล่งอื่น 24.3
5 กู้มาเพื่อปล่อยกู้ต่อ 17.3
6 ลงทุนประกอบอาชีพ 10.8
7 จ่ายค่าเทอม / ค่าเล่าเรียน 10.1
8 อื่นๆ เช่น ซื้อรถยนต์ / รถจักรยานยนต์, กู้มาให้คนใกล้ชิด 9.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ให้กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ บุคคลที่ให้กู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 เพื่อนบ้านใกล้เคียง 36.6
2 เพื่อนร่วมงาน 22.0
3 เพื่อนฝูง 21.8
4 ตั้งโต๊ะปล่อยกู้ 17.5
5 ญาติพี่น้อง 17.5
6 อื่นๆ เช่น ตามประกาศโฆษณาต่างๆ,บ่อนการพนัน/ โต๊ะพนันบอล 16.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินที่กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
อันดับที่ จำนวนเงินที่กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน ร้อยละ
1 ไม่เกิน 5,000 บาท 38.0
2 5,001 - 10,000 บาท 25.1
3 10,001 - 20,000 บาท 16.5
4 20,001 - 50,000 บาท 9.0
5 มากกว่า 50,000 บาท 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
จำนวนเงินกู้เฉลี่ย = 27,307 บาท S.D. = 52,297
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดอกเบี้ยที่จ่ายในการกู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
อันดับที่ ดอกเบี้ยที่จ่ายในการกู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน ร้อยละ
1 ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อเดือน 17.1
2 ร้อยละ 6-10 ต่อเดือน 29.2
3 ร้อยละ 11-15 ต่อเดือน 7.5
4 ร้อยละ 16-20 ต่อเดือน 44.1
5 มากกว่าร้อยละ 20 ต่อเดือน 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย = ร้อยละ 14.2 ต่อเดือน S.D. = 6.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักฐานที่ใช้ในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หลักฐานที่ใช้ในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 บัตรประชาชน 32.3
2 สำเนาทะเบียนบ้าน 20.1
3 สลิปเงินเดือน 8.9
4 อื่นๆ เช่น บัตรเอทีเอ็ม , โฉนดที่ดิน 8.0
5 ไม่ต้องใช้อะไรเป็นหลักฐาน 57.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นำมาค้ำประกันในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นำมาค้ำประกันในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 มีบุคคลอื่นค้ำประกัน 22.8
2 บัตรประชาชน 22.4
3 บัตรเอทีเอ็ม 12.3
4 โฉนดที่ดิน 8.2
5 สมุดบัญชีธนาคาร 7.0
6 บัตรผ่อนสินค้าต่างๆ เช่น อิออน เฟิร์สช้อยส์ 3.2
7 อื่นๆ เช่น ทอง, รถยนต์ / รถจักรยานยนต์ ,สิ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้า 3.8
8 ไม่ต้องใช้อะไรค้ำประกัน 48.5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุกู้ยืมเงินนอกระบบ แทนการกู้ยืมเงินในระบบ
เช่นธนาคาร สหกรณ์
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
ลำดับที่ สาเหตุกู้ยืมเงินนอกระบบ แทนการกู้ยืมเงินในระบบ ร้อยละ
1 มีความจำเป็นต้องรีบใช้เงินด่วน / ขั้นตอนการกู้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 77.5
2 สถาบันที่ให้กู้ยืมเงินในระบบไม่อนุมัติปล่อยเงินกู้ 6.4
3 ไม่รู้ระเบียบขั้นตอนการกู้ยืมเงินในระบบ 5.8
4 กู้เงินจำนวนน้อย 5.3
5 อื่นๆ เช่น ไม่มีอะไรค้ำประกันเงินกู้ / ไม่มีเครดิต 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบไม่ตรงเวลา
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
ลำดับที่ การเคยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบไม่ตรงเวลา ร้อยละ
1 เคย 49.7
2 ไม่เคย 50.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เคยจ่ายดอกเบี้ยนอกระบบไม่ตรงเวลาระบุว่า เมื่อจ่ายเงินไม่ตรงเวลาเจ้าหนี้จะทำดังนี้
1) ด่าและตามทวงเงินบ่อยๆ ร้อยละ 34.1
2) คิดดอกเบี้ยเพิ่ม ร้อยละ 29.2
3) ผัดผ่อนเวลาให้ ร้อยละ 14.6
4) ไม่ว่าอะไร ร้อยละ 11.4
5) อื่นๆ เช่น ส่งคนมาข่มขู่, ยึดสิ่งของ, ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 10.7
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินกู้นอกระบบคืนเจ้าหนี้
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
ลำดับที่ การเคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินกู้นอกระบบคืนเจ้าหนี้ ร้อยละ
1 เคย 14.1
2 ไม่เคย 85.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินกู้นอกระบบ ระบุว่า เมื่อเบี้ยวหนี้ เจ้าหนี้จะทำดังนี้
1) ด่าและตามทวงเงินบ่อยๆ ร้อยละ 45.6
2) ส่งคนมาข่มขู่ / ขู่เอาตำรวจมาจับ ร้อยละ 29.2
3) ไม่ว่าอะไร ร้อยละ 8.8
4) ยึดสิ่งของ ร้อยละ 5.3
5) ไม่ให้กู้ยืมเงินอีก ร้อยละ 5.3
6) อื่นๆ เช่น เรียกไปคุย , ผัดผ่อนเวลาให้, ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 5.8
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการปฏิบัติตามคำแนะนำของนายกฯ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ที่ออกมา แนะนำให้ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบชักดาบ ไม่จ่ายเงินคืนแก่เจ้าหนี้ที่ไม่มาขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้
ลำดับที่ การปฏิบัติตามคำแนะนำของนายกฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ
1 ปฏิบัติตาม 35.7
2 ไม่ปฏิบัติตาม 64.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติตามให้เหตุผลเพราะ ........
1) ไม่ต้องจ่ายเงินคืนเจ้าหนี้ ร้อยละ 23.5
2) ทำให้เจ้าหนี้มาขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้ ทำให้ดอกเบี้ยถูกลง ร้อยละ 23.1
3) เจ้าหนี้เงินกู้เอารัดเอาเปรียบมาตลอด ร้อยละ 18.1
4) เจ้าหนี้ทำผิดกฎหมาย ร้อยละ 12.2
5) ส่งเสริมนโยบายของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 10.5
6) อื่นๆ เช่น อยากให้เจ้าหนี้เสียภาษีให้รัฐ, รัฐบาลจะช่วยแก้ไขให้ ร้อยละ 12.6
กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ปฏิบัติตามให้เหตุผลเพราะ ........
1) หวาดกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 35.0
2) เป็นความรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญา / ไม่อยากโกงใคร / สมัครใจกู้เอง ร้อยละ 34.8
3) เสียเครดิต กลัวเจ้าหนี้จะไม่ให้กู้อีกในคราวต่อไป ร้อยละ 9.6
4) สงสารเห็นใจเจ้าหนี้ ร้อยละ 9.2
5) กลัวบาป ร้อยละ 5.9
6) อื่นๆ เช่น หนี้สินมีจำนวนไม่มาก , เจ้าหนี้เป็นญาติพี่น้อง คนสนิท ร้อยละ 5.5
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงทะเบียนคนจนว่าจะสามารถช่วยแก้ไข
ความยากจนของประชาชนได้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงทะเบียนคนจนว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหา ร้อยละ
ความยากจนของประชาชนได้
1 สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ 50.0
2 ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ 24.1
3 ไม่มีความเห็น 25.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "สำรวจพฤติกรรมการกู้ยืมเงินนอกระบบ และทรรศนะต่อนโยบายของรัฐบาลในการลงทะเบียนคนจน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,161 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.6 มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย รองลงมาร้อยละ 30.1 มีรายได้พอๆกับรายจ่าย และร้อยละ 19.3 มีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยร้อยละ 40.7 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ 31.6 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินในระบบ และร้อยละ 37.9 ไม่มีหนี้สินเลย
เมื่อสอบถามเฉพาะประชาชนที่มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ พบว่า เกือบทั้งหมด คือ ร้อยละ 96.0 กู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อนำไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ รองลงมา ร้อยละ 54.1 กู้เพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 40.4 นำไปใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล และมีเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่กู้ยืมเพื่อนำไปประกอบอาชีพ โดยร้อยละ 36.6 กู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน รองลงมาร้อยละ 22.0 กู้ยืมเงินจากเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 21.8 กู้ยืมเงินจากเพื่อนฝูง ตามลำดับ ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 38.0 กู้ยืมเงินไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 25.1 กู้ยืมเงิน 5,001-10,000 บาท และร้อยละ 16.5 กู้ยืมเงิน10,001-20,000 บาท ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 44.1 จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16-20 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก รองลงมาร้อยละ 29.2 จ่ายในอัตราร้อยละ 6-10 ต่อเดือน และ ร้อยละ 17.1 จ่ายในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 ต่อเดือน
เมื่อสอบถามถึงหลักฐานที่ต้องใช้ในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ พบว่า ร้อยละ 32.3 ต้องใช้บัตรประชาชน ในการขอกู้ยืมเงิน รองลงมาร้อยละ 20.1 ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้าน ร้อยละ 8.9 ต้องใช้สลิปเงินเดือนในการขอกู้ และสิ่งที่ต้องนำมาค้ำประกันในการขอกู้ยืมเงิน ได้แก่ ร้อยละ 22.8 จะต้องมีบุคคลอื่นค้ำประกันให้ ร้อยละ 22.4 ใช้บัตรประชาชน และร้อยละ 12.3 ต้องใช้บัตรเอทีเอ็ม โดยสาเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่กู้ยืมเงินนอกระบบ แทนที่จะไปกู้ยืมเงินในระบบ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องรีบใช้เงินด่วนและขั้นตอนในการกู้ยืมไม่ ยุ่งยากเหมือนกู้ยืมเงินในระบบ (ร้อยละ 77.5) สถาบันการเงินในระบบไม่อนุมัติปล่อยเงินกู้ (ร้อยละ 6.4) และไม่รู้ระเบียบขั้นตอนในการขอกู้ยืมเงินในระบบ (ร้อยละ 5.8) ผลสำรวจยังพบอีกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 49.7 ของประชาชนที่กู้ยืมเงินนอกระบบเคยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบไม่ตรงเวลา และร้อยละ 14.1ของประชาชนที่กู้ยืมเงินนอกระบบเคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินคืนเจ้าหนี้
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจอีกว่า ประชาชนจะปฏิบัติตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร หรือไม่ ที่แนะนำให้ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบชักดาบไม่จ่ายเงินคืนแก่เจ้าหนี้ที่ไม่มาขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้ พบว่า มีประชาชนเพียงร้อยละ 35.7 เท่านั้นที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำนายกฯ ทักษิณ ที่เหลือ ร้อยละ 64.3 ไม่ปฏิบัติตามเนื่องจากหวาดกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 35.0) เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญา / ไม่อยากโกงใคร / สมัครใจกู้เอง (ร้อยละ 34.8) และกลัวเสียเครดิต กลัวเจ้าหนี้จะไม่ให้กู้ยืมเงินอีกในคราวต่อไป (ร้อยละ 9.6)
นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของประชาชนทั้งหมดคือร้อยละ 50.0 เชื่อว่า "การลงทะเบียนคนจน" จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนได้ ร้อยละ 24.1 ไม่เชื่อว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ และ ร้อยละ 25.9 ไม่มีความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
ปัจจุบันการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีกิจกรรมที่กระตุ้นการบริโภคของประชาชนในรูปแบบต่างๆ ผู้คนในเมืองอยู่ในสภาพที่เต็มไปด้วยสิ่งจูงใจทางวัตถุและการชักจูงให้เกิดความต้องการบริโภคตลอดเวลา ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงหาทางออกโดยการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนนอกระบบซึ่งสามารถกู้ยืมเงินได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อปัญหาหนี้สิน และปัญหาทางสังคมติดตามมา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจหนี้สินของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจสาเหตุ และรูปแบบวิธีการกู้ยืมเงินนอกระบบ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจพฤติกรรมการกู้ยืมเงินนอกระบบ และทรรศนะต่อนโยบายของรัฐบาลในการลงทะเบียนคนจน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,161 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 31.6 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 13.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 51.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 27.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช.
ร้อยละ 13.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 8.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 0.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 33.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.7 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นนักเรียน/ นักศึกษา
ร้อยละ 6.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 0.9 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานะทางการเงินของตนเอง
ลำดับที่ สถานะทางการเงินของตนเอง ร้อยละ
1 รายได้มากกว่ารายจ่าย 19.3
2 รายได้น้อยกว่ารายจ่าย 50.6
3 รายได้พอๆกับรายจ่าย 30.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาวะหนี้สินของตนเองในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาวะหนี้สินของตนเองในปัจจุบัน ร้อยละ
1 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินในระบบ เช่น ธนาคาร,
สถาบันการเงิน, สหกรณ์, บัตรผ่อนสินค้าต่างๆ 31.6
2 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ 40.7
3 ไม่มีหนี้สินเลย 37.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า 96.0
2 ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 54.1
3 จ่ายค่ารักษาพยาบาล 40.4
4 กู้มาจ่ายหนี้แหล่งอื่น 24.3
5 กู้มาเพื่อปล่อยกู้ต่อ 17.3
6 ลงทุนประกอบอาชีพ 10.8
7 จ่ายค่าเทอม / ค่าเล่าเรียน 10.1
8 อื่นๆ เช่น ซื้อรถยนต์ / รถจักรยานยนต์, กู้มาให้คนใกล้ชิด 9.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ให้กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ บุคคลที่ให้กู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 เพื่อนบ้านใกล้เคียง 36.6
2 เพื่อนร่วมงาน 22.0
3 เพื่อนฝูง 21.8
4 ตั้งโต๊ะปล่อยกู้ 17.5
5 ญาติพี่น้อง 17.5
6 อื่นๆ เช่น ตามประกาศโฆษณาต่างๆ,บ่อนการพนัน/ โต๊ะพนันบอล 16.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินที่กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
อันดับที่ จำนวนเงินที่กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน ร้อยละ
1 ไม่เกิน 5,000 บาท 38.0
2 5,001 - 10,000 บาท 25.1
3 10,001 - 20,000 บาท 16.5
4 20,001 - 50,000 บาท 9.0
5 มากกว่า 50,000 บาท 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
จำนวนเงินกู้เฉลี่ย = 27,307 บาท S.D. = 52,297
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดอกเบี้ยที่จ่ายในการกู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
อันดับที่ ดอกเบี้ยที่จ่ายในการกู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบัน ร้อยละ
1 ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อเดือน 17.1
2 ร้อยละ 6-10 ต่อเดือน 29.2
3 ร้อยละ 11-15 ต่อเดือน 7.5
4 ร้อยละ 16-20 ต่อเดือน 44.1
5 มากกว่าร้อยละ 20 ต่อเดือน 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย = ร้อยละ 14.2 ต่อเดือน S.D. = 6.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักฐานที่ใช้ในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หลักฐานที่ใช้ในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 บัตรประชาชน 32.3
2 สำเนาทะเบียนบ้าน 20.1
3 สลิปเงินเดือน 8.9
4 อื่นๆ เช่น บัตรเอทีเอ็ม , โฉนดที่ดิน 8.0
5 ไม่ต้องใช้อะไรเป็นหลักฐาน 57.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นำมาค้ำประกันในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นำมาค้ำประกันในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
1 มีบุคคลอื่นค้ำประกัน 22.8
2 บัตรประชาชน 22.4
3 บัตรเอทีเอ็ม 12.3
4 โฉนดที่ดิน 8.2
5 สมุดบัญชีธนาคาร 7.0
6 บัตรผ่อนสินค้าต่างๆ เช่น อิออน เฟิร์สช้อยส์ 3.2
7 อื่นๆ เช่น ทอง, รถยนต์ / รถจักรยานยนต์ ,สิ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้า 3.8
8 ไม่ต้องใช้อะไรค้ำประกัน 48.5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุกู้ยืมเงินนอกระบบ แทนการกู้ยืมเงินในระบบ
เช่นธนาคาร สหกรณ์
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
ลำดับที่ สาเหตุกู้ยืมเงินนอกระบบ แทนการกู้ยืมเงินในระบบ ร้อยละ
1 มีความจำเป็นต้องรีบใช้เงินด่วน / ขั้นตอนการกู้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 77.5
2 สถาบันที่ให้กู้ยืมเงินในระบบไม่อนุมัติปล่อยเงินกู้ 6.4
3 ไม่รู้ระเบียบขั้นตอนการกู้ยืมเงินในระบบ 5.8
4 กู้เงินจำนวนน้อย 5.3
5 อื่นๆ เช่น ไม่มีอะไรค้ำประกันเงินกู้ / ไม่มีเครดิต 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบไม่ตรงเวลา
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
ลำดับที่ การเคยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบไม่ตรงเวลา ร้อยละ
1 เคย 49.7
2 ไม่เคย 50.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เคยจ่ายดอกเบี้ยนอกระบบไม่ตรงเวลาระบุว่า เมื่อจ่ายเงินไม่ตรงเวลาเจ้าหนี้จะทำดังนี้
1) ด่าและตามทวงเงินบ่อยๆ ร้อยละ 34.1
2) คิดดอกเบี้ยเพิ่ม ร้อยละ 29.2
3) ผัดผ่อนเวลาให้ ร้อยละ 14.6
4) ไม่ว่าอะไร ร้อยละ 11.4
5) อื่นๆ เช่น ส่งคนมาข่มขู่, ยึดสิ่งของ, ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 10.7
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินกู้นอกระบบคืนเจ้าหนี้
(เฉพาะตัวอย่างที่กู้ยืมเงินนอกระบบ)
ลำดับที่ การเคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินกู้นอกระบบคืนเจ้าหนี้ ร้อยละ
1 เคย 14.1
2 ไม่เคย 85.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินกู้นอกระบบ ระบุว่า เมื่อเบี้ยวหนี้ เจ้าหนี้จะทำดังนี้
1) ด่าและตามทวงเงินบ่อยๆ ร้อยละ 45.6
2) ส่งคนมาข่มขู่ / ขู่เอาตำรวจมาจับ ร้อยละ 29.2
3) ไม่ว่าอะไร ร้อยละ 8.8
4) ยึดสิ่งของ ร้อยละ 5.3
5) ไม่ให้กู้ยืมเงินอีก ร้อยละ 5.3
6) อื่นๆ เช่น เรียกไปคุย , ผัดผ่อนเวลาให้, ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 5.8
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการปฏิบัติตามคำแนะนำของนายกฯ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ที่ออกมา แนะนำให้ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบชักดาบ ไม่จ่ายเงินคืนแก่เจ้าหนี้ที่ไม่มาขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้
ลำดับที่ การปฏิบัติตามคำแนะนำของนายกฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ
1 ปฏิบัติตาม 35.7
2 ไม่ปฏิบัติตาม 64.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติตามให้เหตุผลเพราะ ........
1) ไม่ต้องจ่ายเงินคืนเจ้าหนี้ ร้อยละ 23.5
2) ทำให้เจ้าหนี้มาขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้ ทำให้ดอกเบี้ยถูกลง ร้อยละ 23.1
3) เจ้าหนี้เงินกู้เอารัดเอาเปรียบมาตลอด ร้อยละ 18.1
4) เจ้าหนี้ทำผิดกฎหมาย ร้อยละ 12.2
5) ส่งเสริมนโยบายของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 10.5
6) อื่นๆ เช่น อยากให้เจ้าหนี้เสียภาษีให้รัฐ, รัฐบาลจะช่วยแก้ไขให้ ร้อยละ 12.6
กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ปฏิบัติตามให้เหตุผลเพราะ ........
1) หวาดกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 35.0
2) เป็นความรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญา / ไม่อยากโกงใคร / สมัครใจกู้เอง ร้อยละ 34.8
3) เสียเครดิต กลัวเจ้าหนี้จะไม่ให้กู้อีกในคราวต่อไป ร้อยละ 9.6
4) สงสารเห็นใจเจ้าหนี้ ร้อยละ 9.2
5) กลัวบาป ร้อยละ 5.9
6) อื่นๆ เช่น หนี้สินมีจำนวนไม่มาก , เจ้าหนี้เป็นญาติพี่น้อง คนสนิท ร้อยละ 5.5
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงทะเบียนคนจนว่าจะสามารถช่วยแก้ไข
ความยากจนของประชาชนได้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงทะเบียนคนจนว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหา ร้อยละ
ความยากจนของประชาชนได้
1 สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ 50.0
2 ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ 24.1
3 ไม่มีความเห็น 25.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "สำรวจพฤติกรรมการกู้ยืมเงินนอกระบบ และทรรศนะต่อนโยบายของรัฐบาลในการลงทะเบียนคนจน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,161 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.6 มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย รองลงมาร้อยละ 30.1 มีรายได้พอๆกับรายจ่าย และร้อยละ 19.3 มีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยร้อยละ 40.7 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ 31.6 มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินในระบบ และร้อยละ 37.9 ไม่มีหนี้สินเลย
เมื่อสอบถามเฉพาะประชาชนที่มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ พบว่า เกือบทั้งหมด คือ ร้อยละ 96.0 กู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อนำไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ รองลงมา ร้อยละ 54.1 กู้เพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 40.4 นำไปใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล และมีเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่กู้ยืมเพื่อนำไปประกอบอาชีพ โดยร้อยละ 36.6 กู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน รองลงมาร้อยละ 22.0 กู้ยืมเงินจากเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 21.8 กู้ยืมเงินจากเพื่อนฝูง ตามลำดับ ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 38.0 กู้ยืมเงินไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 25.1 กู้ยืมเงิน 5,001-10,000 บาท และร้อยละ 16.5 กู้ยืมเงิน10,001-20,000 บาท ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 44.1 จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16-20 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก รองลงมาร้อยละ 29.2 จ่ายในอัตราร้อยละ 6-10 ต่อเดือน และ ร้อยละ 17.1 จ่ายในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 ต่อเดือน
เมื่อสอบถามถึงหลักฐานที่ต้องใช้ในการขอกู้ยืมเงินนอกระบบ พบว่า ร้อยละ 32.3 ต้องใช้บัตรประชาชน ในการขอกู้ยืมเงิน รองลงมาร้อยละ 20.1 ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้าน ร้อยละ 8.9 ต้องใช้สลิปเงินเดือนในการขอกู้ และสิ่งที่ต้องนำมาค้ำประกันในการขอกู้ยืมเงิน ได้แก่ ร้อยละ 22.8 จะต้องมีบุคคลอื่นค้ำประกันให้ ร้อยละ 22.4 ใช้บัตรประชาชน และร้อยละ 12.3 ต้องใช้บัตรเอทีเอ็ม โดยสาเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่กู้ยืมเงินนอกระบบ แทนที่จะไปกู้ยืมเงินในระบบ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องรีบใช้เงินด่วนและขั้นตอนในการกู้ยืมไม่ ยุ่งยากเหมือนกู้ยืมเงินในระบบ (ร้อยละ 77.5) สถาบันการเงินในระบบไม่อนุมัติปล่อยเงินกู้ (ร้อยละ 6.4) และไม่รู้ระเบียบขั้นตอนในการขอกู้ยืมเงินในระบบ (ร้อยละ 5.8) ผลสำรวจยังพบอีกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 49.7 ของประชาชนที่กู้ยืมเงินนอกระบบเคยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบไม่ตรงเวลา และร้อยละ 14.1ของประชาชนที่กู้ยืมเงินนอกระบบเคยเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเงินคืนเจ้าหนี้
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจอีกว่า ประชาชนจะปฏิบัติตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร หรือไม่ ที่แนะนำให้ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบชักดาบไม่จ่ายเงินคืนแก่เจ้าหนี้ที่ไม่มาขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้ พบว่า มีประชาชนเพียงร้อยละ 35.7 เท่านั้นที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำนายกฯ ทักษิณ ที่เหลือ ร้อยละ 64.3 ไม่ปฏิบัติตามเนื่องจากหวาดกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 35.0) เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญา / ไม่อยากโกงใคร / สมัครใจกู้เอง (ร้อยละ 34.8) และกลัวเสียเครดิต กลัวเจ้าหนี้จะไม่ให้กู้ยืมเงินอีกในคราวต่อไป (ร้อยละ 9.6)
นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของประชาชนทั้งหมดคือร้อยละ 50.0 เชื่อว่า "การลงทะเบียนคนจน" จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนได้ ร้อยละ 24.1 ไม่เชื่อว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ และ ร้อยละ 25.9 ไม่มีความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--