ที่มาของโครงการ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่วิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน จึงควรที่จะศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านพฤติกรรมการบริโภค การทำกิจกรรมต่างๆ ผลกระทบต่อธุรกิจการประกอบอาชีพ ตลอดจนความคิดเห็นต่อมาตรการต่างๆในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้หวัดนก
2. เพื่อสำรวจผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกในประเด็นต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจผลกระทบของปัญหาไข้หวัดนกและความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29 - 30 มกราคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึง ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,077 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 50.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 28.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 13.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช.
ร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 7.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 2.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 25.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.9 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
ลำดับที่ การติดตามข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ร้อยละ
1 ติดตามต่อเนื่อง 53.7
2 ติดตามบางครั้ง 44.9
3 ไม่ได้ติดตาม 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
ลำดับที่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ร้อยละ
1 เข้าใจชัดเจนเพียงพอแล้ว 46.5
2 ยังไม่ชัดเจน 53.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ยังเข้าใจไม่ชัดเจน ต้องการรู้เกี่ยวกับ.......
1) วิธีติดต่อ / การแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 57.1
2) ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 16.3
3) วิธีการหลีกเลี่ยงป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 15.0
4) อื่นๆ เช่น ต้นกำเนิดของโรคไข้หวัดนก, ขั้นตอนการทำลายซากสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี ร้อยละ 11.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดนก
อันดับที่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ร้อยละ
1 วิตกกังวล 55.6
2 ไม่วิตกกังวล 34.1
3 ไม่มีความเห็น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่วิตกกังวลต่อปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก วิตกกังวลเกี่ยวกับ.......
1) กลัวติดเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 67.7
2) เป็นโรคที่ยังรักษาไม่ได้ / ไม่มีวัคซีนป้องกัน ร้อยละ 10.6
3) สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.2
4) ไม่มั่นใจในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ร้อยละ 5.0
5) อื่นๆ เช่น ยังไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน,
ยังไม่ทราบวิธีหลีกเลี่ยงป้องกันการติดเชื้อ ร้อยละ 10.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารภายหลังจากการแพร่ระบาด
ของโรคไข้หวัดนก
ประเภทอาหาร การบริโภคก่อนการแพร่ระบาด การบริโภคหลังการแพร่ระบาด
(เฉพาะตัวอย่างที่บริโภคก่อนการแพร่ระบาด)
บริโภค ไม่บริโภค มากขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1. เนื้อไก่ 90.2 9.8 1.7 13.0 85.3
2. เนื้อเป็ด 77.3 22.7 1.3 27.9 70.8
3. ไข่ไก่ 94.7 5.3 1.5 33.3 65.2
4. ไข่เป็ด 72.2 27.8 1.7 35.4 62.9
5. เนื้อหมู 96.6 3.4 21.5 72.7 5.8
6. เนื้อวัว-ควาย 59.2 40.8 14.4 76.9 8.7
7. เนื้อปลา 97.6 2.4 32.4 65.0 2.6
8. ผักต่าง ๆ 99.8 0.2 34.7 64.7 0.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมภายหลังการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก
(เฉพาะคนที่เคยทำกิจกรรมต่าง ๆ)
กิจกรรม การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1. การไปทานข้าวนอกบ้าน 2.1 81.2 16.7 100.0
2. การไปสังสรรค์ / ดูหนัง / ฟังเพลง 3.2 85.6 11.2 100.0
3. การใช้บริการห้างสรรพสินค้า 2.2 89.1 8.7 100.0
4. การใช้บริการห้องพักโรงแรม 2.3 78.7 19.0 100.0
5. การไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด 3.9 75.0 21.1 100.0
6. การเข้าร่วมประชุมสัมมนา 2.6 85.3 12.1 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่ออาชีพการงานหรือธุรกิจของตนเองในช่วงการแพร่
ระบาดของไข้หวัดนก
อาชีพ มีผลกระทบ ไม่มีผลกระทบ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร 50.0 38.0 12.0 100.0
2. กลุ่มธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น อาหารสัตว์, ค้า
ขาย/เพาะพันธุ์สัตว์ปีก,โรงแรม/การท่องเที่ยว 46.7 42.7 10.6 100.0
3. กลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีอาชีพ/ธุรกิจเกี่ยวข้อง 6.2 85.5 8.3 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกตำหนิรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก
ลำดับที่ ความรู้สึกตำหนิรัฐบาลในการแก้ไขปํญหาไข้หวัดนก ร้อยละ
1 ตำหนิ 15.4
2 ไม่ตำหนิ 76.1
3 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่รู้สึกตำหนิรัฐบาล เพราะ........
1) รัฐบาลปกปิดข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง
2) ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการป้องกันการแพร่ระบาด
3) การดำเนินการแก้ปัญหาล่าช้าไม่ทันสถานการณ์
4) ไม่ช่วยเหลือประชาชน / เจ้าของธุรกิจที่เดือดร้อน
ตัวอย่างที่ไม่รู้สึกตำหนิรัฐบาล เพราะ........
1) รัฐบาลได้ทำงานเต็มความสามารถแล้ว
2) เป็นปัญหาที่ยากแก่การควบคุมแก้ไข ต้องใช้เวลา
3) เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกในประเด็นต่างๆ
ประเด็นต่างๆ การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1. การที่รัฐบาลกินเนื้อไก่ให้ดูทำให้ท่านเชื่อมั่นที่
จะกินไก่หรือไม่ 17.9 49.7 32.4 100.0
2. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ไข้
หวัดนกอย่างโปร่งใส 28.1 55.2 16.7 100.0
3. เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถกำจัดไก่ที่เป็นโรคไข้
หวัดนกให้หมดไปได้ 42.9 37.7 19.4 100.0
4. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการแพร่
ระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างได้ผล 46.3 32.5 21.2 100.0
5. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถชดเชยความเสียหาย
แก่ผู้เลี้ยงไก่ได้อย่างทั่วถึง 21.9 59.1 19.0 100.0
6. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาผลกระทบ
ต่อการท่องเที่ยวได้ 45.4 29.7 24.9 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
ของบุคคลหรือฝ่ายต่างๆ
ความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหา ความพึงพอใจ รวมทั้งสิ้น
การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1. นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) 52.8 18.0 29.2 100.0
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 37.9 31.4 30.7 100.0
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร 26.8 27.0 46.2 100.0
4. กระทรวงสาธารณสุข 43.9 27.4 28.7 100.0
5. เกษตรกร / กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ 29.8 22.3 47.9 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการเตรียมการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ
โรคระบาดต่างๆ ในอนาคต
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการเตรียมการแก้ปัญหา ร้อยละ
การแพร่ระบาดของโรคระบาดต่างๆ ในอนาคต
1 เชื่อมั่น 41.2
2 ไม่เชื่อมั่น 35.8
3 ไม่มีความเห็น 23.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรค
ไข้หวัดนก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก ร้อยละ
1 รัฐบาลควรมีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา 34.8
2 รัฐบาลควรเสนอข่าวสาร สถานการณ์ปัจจุบันอย่างโปร่งใส 33.0
3 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับอาการ การหลีกเลี่ยงป้องกัน
โรคไข้หวัดนก 29.0
4 เร่งดำเนินการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกทั่วประเทศ 15.2
5 หามาตรการป้องกันเฝ้าระวังโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 13.4
6 กำจัดทำลายสัตว์ปีกทั้งหมดทั่วประเทศ 12.0
7 เร่งชดเชยความเสียหายให้ประชาชน เจ้าของธุรกิจที่เดือดร้อน 11.6
8 อื่นๆ เช่น ตั้งหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน / รับแจ้งข้อมูลจากประชาชน,
ประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก 6.6
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "สำรวจผลกระทบของปัญหาไข้หวัดนกและความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,077 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครร้อยละ 53.7 ติดตามข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 44.9 ติดตามบางครั้ง และร้อยละ 1.4 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย
เมื่อสอบถามเฉพาะประชาชนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกพบว่าร้อยละ 46.5 เข้าใจชัดเจนเพียงพอแล้ว ขณะที่ร้อยละ 53.5 ยังเข้าใจไม่ชัดเจน และต้องการรู้เกี่ยวกับ วิธีติดต่อ / การแพร่กระจาย, ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อ และวิธีหลีกเลี่ยงป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก โดยตัวอย่างร้อยละ 55.6 วิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ร้อยละ 34.1 ไม่วิตกกังวล และ ร้อยละ 10.3 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารภายหลังจากมีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยร้อยละ 85.3 จะบริโภคเนื้อไก่ลดลง ร้อยละ 70.8 บริโภคเนื้อเป็ดลดลง ร้อยละ 65.2 บริโภคไข่ไก่ลดลง ร้อยละ 62.9 บริโภคไข่เป็ดลดลง และประชาชนจะหันไปบริโภคอาหารประเภทอื่นมากขึ้น เช่น ร้อยละ 34.7 จะบริโภคผักต่างๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.4 บริโภคเนื้อปลาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.5 บริโภคเนื้อหมูเพิ่มขึ้น และร้อยละ 14.4 บริโภคเนื้อวัว-ควายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ไปทานข้าวนอกบ้าน , ไปสังสรรค์, ใช้บริการโรงแรม / ห้างสรรพสินค้า, และท่องเที่ยวต่างจังหวัด ตามปรกติ เมื่อสอบถามถึงผลกระทบต่ออาชีพการงานหรือธุรกิจของตนเองในช่วงการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก พบว่า ประชาชนที่ประกอบอาชีพธุรกิจร้านอาหาร ร้อยละ 50.0 ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 38.0 ไม่ได้รับผลกระทบ และร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น ประชาชนที่ประกอบธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อ เช่น อาหารสัตว์ ,ค้าขายเพาะพันธ์สัตว์ปีก, ธุรกิจโรงแรม ได้รับผลกระทบร้อยละ 46.7 ไม่ได้รับผลกระทบร้อยละ 42.7 และไม่มีความเห็น ร้อยละ 10.6 ประชาชนที่ประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบร้อยละ 6.2 ไม่ได้รับผลกระทบร้อยละ 85.5 และไม่มีความเห็นร้อยละ 8.3
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกของรัฐบาลพบว่า ร้อยละ 15.4 รู้สึกตำหนิรัฐบาล เนื่องจาก ปกปิดข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง, ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการป้องกัน, การดำเนินการแก้ไขปัญหาช้าไม่ทันการณ์ ร้อยละ 76.1 รู้สึกไม่ตำหนิรัฐบาลเนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลทำงานเต็มที่แล้ว, เป็นปัญหาที่ยากแก่การควบคุมแก้ไข / ต้องใช้เวลา , เป็นเรื่องของธรรมชาติ และ สุดท้าย ร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 52.8 พึงพอใจในการทำงานแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกของนายกฯทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 18.0 ไม่พึงพอใจ ร้อยละ 37.9 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 31.4 ไม่พึงพอใจ ร้อยละ 26.8 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ว่าฯ ก.ท.ม. ร้อยละ 27.0 ไม่พึงพอใจ ร้อยละ 43.9 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของกระทรวง สาธารณสุข ร้อยละ 27.4 ไม่พึงพอใจ และร้อยละ 29.8 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร / กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ร้อยละ 22.3 ไม่พึงพอใจ นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 41.2 เชื่อมั่นรัฐบาลในการเตรียมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคต่างๆในอนาคต ร้อยละ 35.8 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 23.0 ไม่มีความเห็น
สุดท้ายประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก โดยให้รัฐบาลมีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 34.8) รัฐบาลควรเสนอข่าวสาร สถานการณ์ปัจจุบันอย่างโปร่งใส (ร้อยละ 33.0) และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับอาการ การหลีกเลี่ยงป้องกันโรคไข้หวัดนก อย่างทั่วถึง (ร้อยละ 29.0) ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่วิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน จึงควรที่จะศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านพฤติกรรมการบริโภค การทำกิจกรรมต่างๆ ผลกระทบต่อธุรกิจการประกอบอาชีพ ตลอดจนความคิดเห็นต่อมาตรการต่างๆในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้หวัดนก
2. เพื่อสำรวจผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกในประเด็นต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจผลกระทบของปัญหาไข้หวัดนกและความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29 - 30 มกราคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึง ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,077 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 50.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 28.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 13.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช.
ร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 7.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 2.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 25.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.9 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
ลำดับที่ การติดตามข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ร้อยละ
1 ติดตามต่อเนื่อง 53.7
2 ติดตามบางครั้ง 44.9
3 ไม่ได้ติดตาม 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
ลำดับที่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ร้อยละ
1 เข้าใจชัดเจนเพียงพอแล้ว 46.5
2 ยังไม่ชัดเจน 53.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ยังเข้าใจไม่ชัดเจน ต้องการรู้เกี่ยวกับ.......
1) วิธีติดต่อ / การแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 57.1
2) ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 16.3
3) วิธีการหลีกเลี่ยงป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 15.0
4) อื่นๆ เช่น ต้นกำเนิดของโรคไข้หวัดนก, ขั้นตอนการทำลายซากสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี ร้อยละ 11.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดนก
อันดับที่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ร้อยละ
1 วิตกกังวล 55.6
2 ไม่วิตกกังวล 34.1
3 ไม่มีความเห็น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่วิตกกังวลต่อปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก วิตกกังวลเกี่ยวกับ.......
1) กลัวติดเชื้อไข้หวัดนก ร้อยละ 67.7
2) เป็นโรคที่ยังรักษาไม่ได้ / ไม่มีวัคซีนป้องกัน ร้อยละ 10.6
3) สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.2
4) ไม่มั่นใจในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ร้อยละ 5.0
5) อื่นๆ เช่น ยังไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน,
ยังไม่ทราบวิธีหลีกเลี่ยงป้องกันการติดเชื้อ ร้อยละ 10.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารภายหลังจากการแพร่ระบาด
ของโรคไข้หวัดนก
ประเภทอาหาร การบริโภคก่อนการแพร่ระบาด การบริโภคหลังการแพร่ระบาด
(เฉพาะตัวอย่างที่บริโภคก่อนการแพร่ระบาด)
บริโภค ไม่บริโภค มากขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1. เนื้อไก่ 90.2 9.8 1.7 13.0 85.3
2. เนื้อเป็ด 77.3 22.7 1.3 27.9 70.8
3. ไข่ไก่ 94.7 5.3 1.5 33.3 65.2
4. ไข่เป็ด 72.2 27.8 1.7 35.4 62.9
5. เนื้อหมู 96.6 3.4 21.5 72.7 5.8
6. เนื้อวัว-ควาย 59.2 40.8 14.4 76.9 8.7
7. เนื้อปลา 97.6 2.4 32.4 65.0 2.6
8. ผักต่าง ๆ 99.8 0.2 34.7 64.7 0.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมภายหลังการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก
(เฉพาะคนที่เคยทำกิจกรรมต่าง ๆ)
กิจกรรม การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง
1. การไปทานข้าวนอกบ้าน 2.1 81.2 16.7 100.0
2. การไปสังสรรค์ / ดูหนัง / ฟังเพลง 3.2 85.6 11.2 100.0
3. การใช้บริการห้างสรรพสินค้า 2.2 89.1 8.7 100.0
4. การใช้บริการห้องพักโรงแรม 2.3 78.7 19.0 100.0
5. การไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด 3.9 75.0 21.1 100.0
6. การเข้าร่วมประชุมสัมมนา 2.6 85.3 12.1 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่ออาชีพการงานหรือธุรกิจของตนเองในช่วงการแพร่
ระบาดของไข้หวัดนก
อาชีพ มีผลกระทบ ไม่มีผลกระทบ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร 50.0 38.0 12.0 100.0
2. กลุ่มธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น อาหารสัตว์, ค้า
ขาย/เพาะพันธุ์สัตว์ปีก,โรงแรม/การท่องเที่ยว 46.7 42.7 10.6 100.0
3. กลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีอาชีพ/ธุรกิจเกี่ยวข้อง 6.2 85.5 8.3 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกตำหนิรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก
ลำดับที่ ความรู้สึกตำหนิรัฐบาลในการแก้ไขปํญหาไข้หวัดนก ร้อยละ
1 ตำหนิ 15.4
2 ไม่ตำหนิ 76.1
3 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่รู้สึกตำหนิรัฐบาล เพราะ........
1) รัฐบาลปกปิดข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง
2) ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการป้องกันการแพร่ระบาด
3) การดำเนินการแก้ปัญหาล่าช้าไม่ทันสถานการณ์
4) ไม่ช่วยเหลือประชาชน / เจ้าของธุรกิจที่เดือดร้อน
ตัวอย่างที่ไม่รู้สึกตำหนิรัฐบาล เพราะ........
1) รัฐบาลได้ทำงานเต็มความสามารถแล้ว
2) เป็นปัญหาที่ยากแก่การควบคุมแก้ไข ต้องใช้เวลา
3) เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกในประเด็นต่างๆ
ประเด็นต่างๆ การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
1. การที่รัฐบาลกินเนื้อไก่ให้ดูทำให้ท่านเชื่อมั่นที่
จะกินไก่หรือไม่ 17.9 49.7 32.4 100.0
2. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ไข้
หวัดนกอย่างโปร่งใส 28.1 55.2 16.7 100.0
3. เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถกำจัดไก่ที่เป็นโรคไข้
หวัดนกให้หมดไปได้ 42.9 37.7 19.4 100.0
4. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการแพร่
ระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างได้ผล 46.3 32.5 21.2 100.0
5. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถชดเชยความเสียหาย
แก่ผู้เลี้ยงไก่ได้อย่างทั่วถึง 21.9 59.1 19.0 100.0
6. เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาผลกระทบ
ต่อการท่องเที่ยวได้ 45.4 29.7 24.9 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
ของบุคคลหรือฝ่ายต่างๆ
ความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหา ความพึงพอใจ รวมทั้งสิ้น
การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1. นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) 52.8 18.0 29.2 100.0
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 37.9 31.4 30.7 100.0
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร 26.8 27.0 46.2 100.0
4. กระทรวงสาธารณสุข 43.9 27.4 28.7 100.0
5. เกษตรกร / กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ 29.8 22.3 47.9 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการเตรียมการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ
โรคระบาดต่างๆ ในอนาคต
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการเตรียมการแก้ปัญหา ร้อยละ
การแพร่ระบาดของโรคระบาดต่างๆ ในอนาคต
1 เชื่อมั่น 41.2
2 ไม่เชื่อมั่น 35.8
3 ไม่มีความเห็น 23.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรค
ไข้หวัดนก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก ร้อยละ
1 รัฐบาลควรมีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา 34.8
2 รัฐบาลควรเสนอข่าวสาร สถานการณ์ปัจจุบันอย่างโปร่งใส 33.0
3 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับอาการ การหลีกเลี่ยงป้องกัน
โรคไข้หวัดนก 29.0
4 เร่งดำเนินการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกทั่วประเทศ 15.2
5 หามาตรการป้องกันเฝ้าระวังโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 13.4
6 กำจัดทำลายสัตว์ปีกทั้งหมดทั่วประเทศ 12.0
7 เร่งชดเชยความเสียหายให้ประชาชน เจ้าของธุรกิจที่เดือดร้อน 11.6
8 อื่นๆ เช่น ตั้งหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน / รับแจ้งข้อมูลจากประชาชน,
ประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก 6.6
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "สำรวจผลกระทบของปัญหาไข้หวัดนกและความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,077 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครร้อยละ 53.7 ติดตามข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 44.9 ติดตามบางครั้ง และร้อยละ 1.4 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย
เมื่อสอบถามเฉพาะประชาชนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกพบว่าร้อยละ 46.5 เข้าใจชัดเจนเพียงพอแล้ว ขณะที่ร้อยละ 53.5 ยังเข้าใจไม่ชัดเจน และต้องการรู้เกี่ยวกับ วิธีติดต่อ / การแพร่กระจาย, ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อ และวิธีหลีกเลี่ยงป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก โดยตัวอย่างร้อยละ 55.6 วิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ร้อยละ 34.1 ไม่วิตกกังวล และ ร้อยละ 10.3 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารภายหลังจากมีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยร้อยละ 85.3 จะบริโภคเนื้อไก่ลดลง ร้อยละ 70.8 บริโภคเนื้อเป็ดลดลง ร้อยละ 65.2 บริโภคไข่ไก่ลดลง ร้อยละ 62.9 บริโภคไข่เป็ดลดลง และประชาชนจะหันไปบริโภคอาหารประเภทอื่นมากขึ้น เช่น ร้อยละ 34.7 จะบริโภคผักต่างๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.4 บริโภคเนื้อปลาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.5 บริโภคเนื้อหมูเพิ่มขึ้น และร้อยละ 14.4 บริโภคเนื้อวัว-ควายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ไปทานข้าวนอกบ้าน , ไปสังสรรค์, ใช้บริการโรงแรม / ห้างสรรพสินค้า, และท่องเที่ยวต่างจังหวัด ตามปรกติ เมื่อสอบถามถึงผลกระทบต่ออาชีพการงานหรือธุรกิจของตนเองในช่วงการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก พบว่า ประชาชนที่ประกอบอาชีพธุรกิจร้านอาหาร ร้อยละ 50.0 ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 38.0 ไม่ได้รับผลกระทบ และร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น ประชาชนที่ประกอบธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อ เช่น อาหารสัตว์ ,ค้าขายเพาะพันธ์สัตว์ปีก, ธุรกิจโรงแรม ได้รับผลกระทบร้อยละ 46.7 ไม่ได้รับผลกระทบร้อยละ 42.7 และไม่มีความเห็น ร้อยละ 10.6 ประชาชนที่ประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบร้อยละ 6.2 ไม่ได้รับผลกระทบร้อยละ 85.5 และไม่มีความเห็นร้อยละ 8.3
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกของรัฐบาลพบว่า ร้อยละ 15.4 รู้สึกตำหนิรัฐบาล เนื่องจาก ปกปิดข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง, ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการป้องกัน, การดำเนินการแก้ไขปัญหาช้าไม่ทันการณ์ ร้อยละ 76.1 รู้สึกไม่ตำหนิรัฐบาลเนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลทำงานเต็มที่แล้ว, เป็นปัญหาที่ยากแก่การควบคุมแก้ไข / ต้องใช้เวลา , เป็นเรื่องของธรรมชาติ และ สุดท้าย ร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 52.8 พึงพอใจในการทำงานแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกของนายกฯทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 18.0 ไม่พึงพอใจ ร้อยละ 37.9 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 31.4 ไม่พึงพอใจ ร้อยละ 26.8 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ว่าฯ ก.ท.ม. ร้อยละ 27.0 ไม่พึงพอใจ ร้อยละ 43.9 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของกระทรวง สาธารณสุข ร้อยละ 27.4 ไม่พึงพอใจ และร้อยละ 29.8 พึงพอใจในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร / กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ร้อยละ 22.3 ไม่พึงพอใจ นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 41.2 เชื่อมั่นรัฐบาลในการเตรียมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคต่างๆในอนาคต ร้อยละ 35.8 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 23.0 ไม่มีความเห็น
สุดท้ายประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก โดยให้รัฐบาลมีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 34.8) รัฐบาลควรเสนอข่าวสาร สถานการณ์ปัจจุบันอย่างโปร่งใส (ร้อยละ 33.0) และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับอาการ การหลีกเลี่ยงป้องกันโรคไข้หวัดนก อย่างทั่วถึง (ร้อยละ 29.0) ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--