เอแบคโพลล์: การอภิปรายการทุจริตถุงยังชีพในสายตาประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Sunday November 27, 2011 08:52 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง การอภิปรายการทุจริตถุงยังชีพในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม ฉะเชิงเทรา มุกดาหาร หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ เลย อุตรดิตถ์ เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบุรี ยะลา นราธิวาส และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,303 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในช่วง 24 — 26 พฤศจิกายน 2554 ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์

เมื่อสอบถามถึง ความสนใจที่จะติดตามฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่า ร้อยละ 66.7 ระบุสนใจที่จะติดตาม และร้อยละ 33.3 ระบุไม่สนใจที่จะติดตาม

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความคิดเห็นว่ามีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการทุจริตถุงยังชีพหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 คิดว่ามีนักการเมืองเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง มีเพียงร้อยละ 19.7 ที่ไม่คิดว่ามีนักการเมืองเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานและคณะบุคคลในการตรวจสอบถุงยังชีพ พบว่าร้อยละ 66.3 เชื่อมั่นต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รองลงมาคือ ร้อยละ 61.7 เท่ากัน คือ ระบุเชื่อมั่นต่อ DSI : (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) และ ปปช ภาคประชาชน ร้อยละ 60.9 ระบุเชื่อมั่นต่อปปง : (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) และสื่อมวลชน ในขณะที่หน่วยงานที่ตรวจสอบการทุจริตถุงยังชีพโดยตรงอย่างปปช : (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ได้ร้อยละ 60.2 และ ร้อยละ 54.2 ระบุเชื่อมั่นต่อป.ป.ท. : (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ) ตามลำดับ

แต่ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.1ระบุต้องการให้มีการเปิดเผยรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่ต่อสาธารณะชน ในขณะที่ร้อยละ 2.9 ระบุไม่ต้องการ

เมื่อสอบถามถึงปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ประชนไม่กล้าออกมาแจ้งเบาะแสการทุจริตคอรัปชั่น พบว่า ร้อยละ 76.1 ระบุกลัวไม่ปลอดภัยในชีวิตของตนเองและคนในครอบครัว รองลงมาคือ ร้อยละ 58.1 กลัวถูกเปิดเผยข้อมูล เช่น ชื่อคนแจ้ง ร้อยละ 56.3 กลัวไม่ได้รับความช่วยเหลือ ร้อยละ 53.5 ระบุไม่เคยเห็นการลงโทษที่ชัดเจน ร้อยละ 46.0 ระบุคิดว่าไม่เกิดประโยชน์ในการแจ้ง ร้อยละ 28.2 ระบุคิดว่าการทุจริตเป็นเรื่องปกติใครๆ ก็ทำกัน และ ร้อยละ 22.3 ระบุคิดว่าไม่ใช่ธุระของตนเอง ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้จะมีผลต่อการเปลี่ยนรัฐบาลหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 78.4 ระบุว่าไม่มีผลถึงขั้นเปลี่ยนรัฐบาล และร้อยละ 21.6 ระบุว่ามีผลถึงขั้นเปลี่ยนรัฐบาล

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจระบุชัดเจนว่าประชาชนเชื่อว่ามีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริต ถุงยังชีพ ดังนั้นกระแสข่าวที่ออกมาว่าเป็นความผิดของข้าราชการเพียงฝ่ายเดียวนั้นอาจส่งผลให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในหมู่ประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลได้ ประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นในขณะนี้กับไม่ได้อยู่ในอันดับแรกๆในความเชื่อมั่นของประชาชน จะเห็นได้ว่าการรวมตัวกันของกลุ่มประชาชนบางกลุ่มที่ออกมาคัดค้านในเรื่องนี้มีอยู่ไม่กี่กลุ่มกับได้รับความเชื่อมั่นมากกว่า ทางออกคือ ผู้มีอำนาจ ผู้ใหญ่ในสังคมและประชาชนทั่วไปที่มีจิตอาสาและกล้าหาญต้องแสดงตนเป็นตัวอย่างให้สาธารณะชนเห็นประจักษ์ และกลุ่มข้าราชการที่รู้เห็นควรออกมาแสดงพลังต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นกล้าที่จะออกมาลบข้อครหา เพื่อช่วยลบ “ทัศนคติอันตราย ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์” หมดไปจากสังคมไทย

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง

ร้อยละ 48.4 เป็นชาย

ร้อยละ 5.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 33.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ในขณะที่ ร้อยละ 28.6 ปริญญาตรีขึ้นไป

ร้อยละ 32.8 อาชีพเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 25.1 ค้าขายส่วนตัว/อาชีพอิสระ

ร้อยละ 15.9 พนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.2 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.4 นักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 5.9 แม่บ้าน เกษียณอายุ

และร้อยละ 3.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา   ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                                  73.8
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                                  12.4
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                                   5.8
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                                4.2
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                                    3.8
          รวมทั้งสิ้น                                                        100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจที่จะติดตามฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ลำดับที่          ความสนใจที่จะติดตามฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ               ค่าร้อยละ
1          สนใจ                                                     66.7
2          ไม่สนใจ                                                   33.3
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ว่ามีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการทุจริตถุงยังชีพ
ลำดับที่          มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการทุจริตถุงยังชีพ              ค่าร้อยละ
1          มี                                                        80.3
2          ไม่มี                                                      19.7
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานและคณะบุคคลในการตรวจสอบการทุจริตถุงยังชีพ
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานและคณะบุคคลในการตรวจสอบการทุจริตถุงยังชีพ            เชื่อมั่น        ไม่เชื่อมั่น
1          สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน                                                  66.3          33.7
2          DSI : (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)                                               61.7          38.3
3          ปปช ภาคประชาชน                                                        61.7          38.3
4          ปปง : (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)                              60.9          39.1
5          สื่อมวลชน                                                               60.9          39.1
6          ปปช : (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)                60.2          39.8
7          ป.ป.ท. : (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ)            54.2          45.8

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้มีการเปิดเผยรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่ต่อสาธารณะชน
ลำดับที่          ความต้องการให้มีการเปิดเผยรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณช่วยเหลือผ้ประสบภัย        ค่าร้อยละ
1          ต้องการ                                                                      97.1
2          ไม่ต้องการ                                                                     2.9
          รวมทั้งสิ้น                                                                     100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ประชนไม่กล้าออกมาแจ้งเบาะแสการทุจริตคอรัปชั่น     (ตอบได้มากกว่า1)
ลำดับที่          ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ประชนไม่กล้าออกมาแจ้งเบาะแสการทุจริตคอรัปชั่น             ค่าร้อยละ
1          กลัวไม่ปลอดภัยในชีวิตและคนในครอบครัว                                        76.1
2          กลัวถูกเปิดเผลข้อมูล เช่น ชื่อคนแจ้ง                                           58.1
3          กลัวไม่ได้รับความช่วยเหลือ                                                  56.3
4          ไม่เคยเห็นการลงโทษที่ชัดเจน                                                53.5
5          คิดว่าไม่เกิดประโยชน์ในการแจ้ง                                              46.0
6          คิดว่าการทุจริตเป็นเรื่องปกติใคร ๆ ก็ทำกัน                                      28.2
7          คิดว่าไม่ใช่ธุระของตนเอง                                                   22.3

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้มีผลต่อการเปลี่ยนรัฐบาล
ลำดับที่          การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้มีผลต่อเปลี่ยนรัฐบาล          ค่าร้อยละ
1          มีผล                                                  21.6
2          ไม่มีผล                                                78.4
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ