“House Brand ทางเลือกหนึ่งในยุคประหยัดสำหรับคนที่เน้นราคามาก่อนรสชาติ แต่ยังอ่อนการโฆษณา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่มั่นใจ และขาดข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ”
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, ABAC-SIMBA) โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของธนาคารกรุง ศรีฯ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง สำรวจพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand : กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ใช้บริการที่มีอายุ 18-50 ปี ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 536 ตัวอย่าง ดำเนิน โครงการในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลได้ฟรีทั้งหมดที่ www.abacpolldata.au.edu
ผลการสำรวจ พบว่ามีตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75.7 ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand โดยที่นิยมซื้อมากที่สุด ได้แก่ อาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำปลา (ร้อยละ 27.5) รองลง มาคือ ขนมขบเคี้ยว เช่น ข้าวเกรียบทอด คุ้กกี้ (ร้อยละ 27.5) และเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำหวาน (ร้อยละ 19.2) ขณะที่ร้อยละ 24.3 ไม่เคยซื้อ โดยให้เหตุผล อาทิ ไม่มั่นใจคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ (ร้อยละ 52.7) ไม่ มั่นใจคุณภาพการผลิต (ร้อยละ 50.0) ไม่มีประเภทอาหารที่ต้องการ (ร้อยละ 46.4) และกลัวไม่อร่อย (ร้อยละ 44.6)
เฉพาะตัวอย่างที่เคยซื้อ พบว่ากว่าครึ่ง หรือร้อยละ 53.8 ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand เป็นบางครั้งที่ช้อปปิ้ง ขณะที่ร้อยละ 29.0 นานๆ ซื้อที และร้อยละ 17.2 ซื้อทุกครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับ สินค้าแบรนด์ทั่วไปในผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 62.0 ซื้อแบรนด์ทั่วไปมากกว่า House Brand ขณะที่ร้อยละ 20.4 ซื้อในสัดส่วนพอๆ กัน และร้อยละ 17.6 ซื้อ House Brand มากกว่าแบรนด์ทั่วไป ทั้งนี้ เมื่อ วิเคราะห์จำแนกตามรายได้ พบว่ากลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนมีแนวโน้มซื้อ House Brand มากกว่ากลุ่มที่มีรายได้สูงกว่า สอดคล้องกับผลสำรวจที่พบว่าปัจจัยเรื่องราคาถูก (ร้อยละ 34.4) เป็นปัจจัยแรกที่ทำให้คนตัดสิน ใจซื้อ House Brand โดยให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องรสชาติ ความอร่อย และการจัดโปรโมชั่น (ร้อยละ 14.0 และ 12.3 ตามลำดับ)
คณะผู้วิจัยได้สอบถามปัญหาของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่าปัญหาที่พบมากที่สุดได้แก่ ไม่มีการโฆษณาหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้า ทำให้ขาดข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเลือก ซื้อ (ร้อยละ 35.4) รองลงมาคือ ไม่รู้ว่าสินค้านั้นเป็นสินค้า House Brand / ไม่รู้ว่าเป็นตราของห้างใด (ร้อยละ 26.7) และความสับสนในสินค้า / ซื้อผิด เพราะลักษณะของบรรจุภัณฑ์ หรือตราสินค้ามีความคล้ายคลึงกันกับรายอื่นที่ เป็นผู้นำตลาด (ร้อยละ 25.4)
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 53.3 เป็นหญิง
และร้อยละ 46.7 เป็นชาย
ร้อยละ 28.4 มีอายุ 18-24 ปี
ร้อยละ 27.6 มีอายุ 25-33 ปี
ร้อยละ 21.5 มีอายุ 34-39 ปี
และร้อยละ 22.5 มีอายุ 40-50 ปี
ด้านการศึกษา ร้อยละ 52.8
สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 43.2
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
อันดับที่ การเคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ร้อยละ 1 เคยซื้อ 75.7 2 ไม่เคยซื้อ เพราะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 24.3 - ไม่มั่นใจคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ ร้อยละ 52.7 - ไม่มั่นใจคุณภาพการผลิต ร้อยละ 50.0 - ไม่มีประเภทอาหารที่ต้องการ ร้อยละ 46.4 - กลัวไม่อร่อย ร้อยละ 44.6 - ราคาถูกเกินจริง ร้อยละ 25.0 - แพ็คเกจไม่น่าสนใจ ร้อยละ 25.0 - ไม่มั่นใจต่อตราสินค้า ร้อยละ 16.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงการจัดอันดับประเภทผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ที่นิยมซื้อมากที่สุด (เฉพาะตัวอย่างที่เคยซื้อ และเป็นค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว) อันดับที่ ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ที่นิยมซื้อมากที่สุด ร้อยละ
(ถ่วงน้ำหนักแล้ว)
1 อาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำปลา 27.5 2 ขนมขบเคี้ยว เช่น ข้าวเกรียบทอด คุ้กกี้ 24.6 3 เครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำหวาน 19.2 4 อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ซุปกระป๋อง 11.0 5 อาหารแช่แข็ง เช่น อาหารสำเร็จรูป เฟรนซ์ฟราย พิซซ่า 8.9 6 นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมสด เนย อาหารเสริมของเด็ก 8.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ในการช้อปปิ้งแต่ละครั้ง จำแนกตามรายได้ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยซื้อ) ลำดับที่ การซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ในการช้อปปิ้งแต่ละครั้ง รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท รายได้ 10,001-20,000 บาท รายได้มากกว่า 20,000 บาท ภาพรวม 1 ซื้อทุกครั้ง 25.1 10.6 14.3 17.2 2 ซื้อเป็นบางครั้ง 42.6 60.7 61.5 53.8 3 นานๆ ซื้อที 32.3 28.7 24.2 29.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสัดส่วนการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand เมื่อเทียบกับสินค้าแบรนด์ทั่วไปในผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน จำแนกตามรายได้ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยซื้อ) ลำดับที่ สัดส่วนการซื้อ รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท รายได้ 10,001-20,000 บาท รายได้มากกว่า 20,000 บาท ภาพรวม 1 ซื้อ House Brand มากกว่าแบรนด์ทั่วไป 21.6 13.4 17.8 17.6 2 ซื้อแบรนด์ทั่วไปมากกว่า House Brand 61.4 65.1 57.8 62.0 3 ซื้อในสัดส่วนพอๆ กัน 17.0 21.5 24.4 20.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงการจัดอันดับปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand (เฉพาะตัวอย่างที่เคยซื้อ และเป็นค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ร้อยละ
(ถ่วงน้ำหนักแล้ว)
1 ราคาถูก 34.4 2 รสชาติ ความอร่อย 14.0 3 การจัดโปรโมชั่น 12.3 4 มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุระบุอย่างชัดเจน 9.3 5 หาง่ายสะดุดตา 7.8 6 บรรจุภัณฑ์ดูสะอาดปลอดภัย 7.5 7 คุณค่าทางโภชนาการ 5.7 8 คุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ 3.9 9 ชื่อเสียงของร้านค้า ห้างสรรพสินค้าที่จำหน่าย 2.5 10 คนอื่นแนะนำ 1.5 11 มีแพคเกจที่สะดุดตา 1.0 12 สะดวกซื้อ 0.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัญหาของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม House Brand ภาพรวม 1 ไม่มีการโฆษณาหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้า ทำให้ขาดข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อ 35.4 2 ไม่รู้ว่าสินค้านั้นเป็นสินค้า House Brand / ไม่รู้ว่าเป็นตราของห้างใด 26.7 3 ความสับสนในสินค้า / ซื้อผิด เพราะลักษณะของบรรจุภัณฑ์ หรือตราสินค้ามีความคล้ายคลึงกันกับรายอื่นที่เป็นผู้นำตลาด 25.4 4 หาสินค้าไม่เจอ เพราะมีการจัดเรียง เปลี่ยนแปลงตำแหน่งบ่อย 24.0 5 สินค้า House Brand มีขนาดหรือ Size ที่จำกัด ไม่หลากหลาย 16.9 6 สินค้าหมด มีไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า 12.3 7 สินค้าหมดอายุ / ใกล้หมดอายุแต่ไม่เปลี่ยนบนชั้น 11.3 8 ราคาไม่ตรงกับที่ติดไว้ 10.6 9 ความไม่ยุติธรรมที่ห้างผลิตสินค้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตเจ้าอื่น 9.4 10 คุณภาพด้อยกว่าแบรนด์อื่น 5.6
--เอแบคโพลล์--