ที่มาของโครงการ
จากกรณีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (ข.ส.ม.ก.) ได้ประกาศขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ที่ผ่านมา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ต่อการขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง: กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถ ข.ส.ม.ก. ครีมแดง" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ ประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,197 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่างร้อยละ 58.5 ระบุเป็นเพศหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.5 ระบุเป็นเพศชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 14.6 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 67.2 ระบุอายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 12.1 ระบุอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 4.3 ระบุอายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 1.8 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 34.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.6 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 16.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 5.9 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการใช้รถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง
ลำดับที่ ความถี่ในการใช้รถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 ทุกวัน 29.8
2 4-6 วัน / สัปดาห์ 19.9
3 1-3 วัน / สัปดาห์ 26.9
4 น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง 23.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก.
ครีมแดง ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 รถแน่นเบียดเสียดกัน 63.2
2 สภาพรถเก่า / ควันดำ 37.3
3 รอรถนาน / มีแต่รถปรับอากาศวิ่ง 36.9
4 ขับรถเร็ว / แซงในที่คับขัน 33.0
5 ภายในรถสกปรก 23.1
6 พนักงานพูดจาไม่สุภาพ 20.9
7 ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารตามป้ายรถเมล์ 18.8
8 ต้องเสียเวลาต่อรถหลายต่อ 18.4
9 ขับช้า / จอดแช่ป้าย 9.9
10 เก็บค่าโดยสารเกินราคาที่กำหนด 0.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก.
ครีมแดง จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท
1 เห็นด้วย 56.7
2 ไม่เห็นด้วย 43.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสาร ให้เหตุผล เพราะ..........
1) จะได้ลดการขาดทุนของ ข.ส.ม.ก.
2) จะได้นำเงินมาพัฒนา/ปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น
3) มีความสะดวกในการจ่ายเงิน-ทอนเงิน ค่าโดยสาร
4) ราคาที่ขึ้นไม่แพงจนเกินไป
5) ไม่สร้างความเดือดร้อนมากนัก ฯลฯ
ตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสาร ให้เหตุผล เพราะ..........
1) การบริการ/สภาพรถไม่เหมาะสมกับค่าโดยสาร/ไม่คุ้ม
2) ต้องต่อรถหลายต่อทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ละวันเพิ่มมากขึ้น
3) เป็นการผลักภาระให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ฯลฯ
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเดือดร้อนจากการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก.
ครีมแดง จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท
อันดับที่ ความเดือดร้อนจากการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 เดือนร้อน 4.0
2 ค่อนข้างเดือดร้อน 10.4
3 ไม่ค่อยเดือดร้อน 45.5
4 ไม่เดือดร้อน 40.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยเฉลี่ยต่อวัน
อันดับที่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยเฉลี่ยต่อวัน ก่อนขึ้นค่าโดยสารค่าร้อยละ หลังขึ้นค่าโดยสาร ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 10 บาท /วัน 31.5 22.9
2 11 - 20 บาท /วัน 28.8 26.6
3 มากกว่า 20 บาท /วัน 39.7 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ค่าเดินทางก่อนขึ้นค่าโดยสาร เฉลี่ยเท่ากับ 23.97 บาท
ภายหลังขึ้นค่าโดยสาร เฉลี่ยเท่ากับ 27.90 บาท
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการของรถโดยสาร
ประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการของรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 ควรปรับปรุงรถโดยสารประจำทางให้มีสภาพดีขึ้น / ปรับปรุงเรื่องความสะอาด 43.5
2 เพิ่มความถี่ในการปล่อยรถออกจากอู่ให้มากขึ้น /ไม่ให้ต้องรอรถนาน 37.3
3 ปรับปรุงเรื่องความประพฤติ มารยาท และการพูดจาของพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร 35.4
4 ควบคุมวินัยในการขับขี่ของพนักงานขับรถ /ความปลอดภัยในการขับขี่ 23.8
5 ควรจอดรถรับส่งผู้โดยสารตามป้ายรถประจำทางทุกป้าย 10.4
6 อื่นๆอาทิ เพิ่มช่วงเวลาในการให้บริการตลอดทั้งคืน /เพิ่มเส้นทางในการเดินรถให้มากขึ้น 5.2
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจจากโครงการ "ประชาชนคิดอย่างไรต่อการขึ้นค่ารถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง : กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถ ข.ส.ม.ก. ครีมแดง" ในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาจากตัวอย่างประชาชนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก ครีมแดง จำนวนทั้งสิ้น 1,197 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจภาคสนามในระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง (margin of error ) อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
ผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.8 ระบุใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดงทุกวัน ร้อยละ 19.9 ระบุว่าใช้บริการ 4-6 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 26.9 ระบุใช้บริการ 1-3 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 23.4 ระบุใช้บริการน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง 5 อันดับแรก ได้แก่ รถแน่นเบียดเสียดกัน ร้อยละ 63.2 รองลงมาคือ สภาพรถที่เก่าและมีควันดำ ร้อยละ 37.3 ต้องเสียเวลาในการรอรถนาน/จำนวนรถมีน้อย ร้อยละ 36.9 พนักงานขับรถด้วยความประมาท /ขับรถเร็ว/แซงในที่คับขัน ร้อยละ 33.0 และสภาพภายในรถสกปรก ร้อยละ 23.1
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก.ครีมแดงถึงประเด็นการขึ้นค่าโดยสาร จาก 3.50 บาท เป็น 4.00 บาทนั้น พบว่า ตัวอย่างกว่าร้อยละ 50 ระบุว่าเห็นด้วยต่อการขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว โดยส่วนใหญ่ได้ให้เห็นผลว่า จะได้ช่วยลดการขาดทุนของ ข.ส.ม.ก. และจำได้นำเงินดังกล่าวไปปรับปรุงและพัฒนา คุณภาพการบริการให้ดีขึ้น และราคาที่เพิ่มขึ้นก็ไม่แพงจนเกินไป ไม่ทำให้เดือดร้อนมากนัก ในขณะที่มีตัวอย่างประมาณร้อยละ 40 ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว ซึ่งตัวอย่างกลุ่มนี้ได้ให้เหตุผลว่า ในการเดินทางแต่ครั้งต้องต่อรถหลายต่อทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น และการบริการตลอดจนสภาพรถประจำทางก็ไม่เหมาะสมกับค่าโดยสาร/ ไม่คุ้ม
อย่างไรก็ตามผลสำรวจในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสาร จะมีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่เมื่อสอบถามถึงความเดือดร้อนที่จะได้รับจากการขึ้นค่ารถโดยสารประจำทาง ดังกล่าวนั้นกลับพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 80 ระบุ ไม่เดือดร้อน /ไม่ค่อยเดือดร้อน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นไม่แพงจนเกินไป ทำให้ไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากนัก ซึ่งจากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อวันของตัวอย่างเปรียบเทียบก่อนและหลังการขึ้นค่าโดยสารพบว่า ก่อนขึ้นค่าโดยสารนั้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 23.97 บาท และเมื่อมีการเพิ่มค่าโดยสารขึ้น พบว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 27.90 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 4 บาทต่อวันเท่านั้น
นอกจากนี้ตัวอย่างยังได้ระบุข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงการให้บริการของ รถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ดังนี้คือ ควรมีการปรับปรุงรถโดยสารประจำทางให้มีสภาพที่ดีขึ้น/ปรับปรุงเรื่องความสะอาด ร้อยละ 43.5 ควรเพิ่มความถี่ในการปล่อยรถให้ออกจากอู่มากขึ้น /ไม่ให้ต้องรอรถนาน ร้อยละ 37.3 ปรับปรุงมารยาทในการให้บริการของพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร ร้อยละ 35.4 ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
จากกรณีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (ข.ส.ม.ก.) ได้ประกาศขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ที่ผ่านมา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ต่อการขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง: กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถ ข.ส.ม.ก. ครีมแดง" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ ประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,197 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่างร้อยละ 58.5 ระบุเป็นเพศหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.5 ระบุเป็นเพศชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 14.6 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 67.2 ระบุอายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 12.1 ระบุอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 4.3 ระบุอายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 1.8 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 34.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.6 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 16.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 5.9 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการใช้รถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง
ลำดับที่ ความถี่ในการใช้รถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 ทุกวัน 29.8
2 4-6 วัน / สัปดาห์ 19.9
3 1-3 วัน / สัปดาห์ 26.9
4 น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง 23.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก.
ครีมแดง ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 รถแน่นเบียดเสียดกัน 63.2
2 สภาพรถเก่า / ควันดำ 37.3
3 รอรถนาน / มีแต่รถปรับอากาศวิ่ง 36.9
4 ขับรถเร็ว / แซงในที่คับขัน 33.0
5 ภายในรถสกปรก 23.1
6 พนักงานพูดจาไม่สุภาพ 20.9
7 ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารตามป้ายรถเมล์ 18.8
8 ต้องเสียเวลาต่อรถหลายต่อ 18.4
9 ขับช้า / จอดแช่ป้าย 9.9
10 เก็บค่าโดยสารเกินราคาที่กำหนด 0.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก.
ครีมแดง จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท
1 เห็นด้วย 56.7
2 ไม่เห็นด้วย 43.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสาร ให้เหตุผล เพราะ..........
1) จะได้ลดการขาดทุนของ ข.ส.ม.ก.
2) จะได้นำเงินมาพัฒนา/ปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น
3) มีความสะดวกในการจ่ายเงิน-ทอนเงิน ค่าโดยสาร
4) ราคาที่ขึ้นไม่แพงจนเกินไป
5) ไม่สร้างความเดือดร้อนมากนัก ฯลฯ
ตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสาร ให้เหตุผล เพราะ..........
1) การบริการ/สภาพรถไม่เหมาะสมกับค่าโดยสาร/ไม่คุ้ม
2) ต้องต่อรถหลายต่อทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ละวันเพิ่มมากขึ้น
3) เป็นการผลักภาระให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ฯลฯ
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเดือดร้อนจากการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก.
ครีมแดง จาก 3.50 บาท เป็น 4 บาท
อันดับที่ ความเดือดร้อนจากการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 เดือนร้อน 4.0
2 ค่อนข้างเดือดร้อน 10.4
3 ไม่ค่อยเดือดร้อน 45.5
4 ไม่เดือดร้อน 40.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยเฉลี่ยต่อวัน
อันดับที่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยเฉลี่ยต่อวัน ก่อนขึ้นค่าโดยสารค่าร้อยละ หลังขึ้นค่าโดยสาร ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 10 บาท /วัน 31.5 22.9
2 11 - 20 บาท /วัน 28.8 26.6
3 มากกว่า 20 บาท /วัน 39.7 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ค่าเดินทางก่อนขึ้นค่าโดยสาร เฉลี่ยเท่ากับ 23.97 บาท
ภายหลังขึ้นค่าโดยสาร เฉลี่ยเท่ากับ 27.90 บาท
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการของรถโดยสาร
ประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการของรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ร้อยละ
1 ควรปรับปรุงรถโดยสารประจำทางให้มีสภาพดีขึ้น / ปรับปรุงเรื่องความสะอาด 43.5
2 เพิ่มความถี่ในการปล่อยรถออกจากอู่ให้มากขึ้น /ไม่ให้ต้องรอรถนาน 37.3
3 ปรับปรุงเรื่องความประพฤติ มารยาท และการพูดจาของพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร 35.4
4 ควบคุมวินัยในการขับขี่ของพนักงานขับรถ /ความปลอดภัยในการขับขี่ 23.8
5 ควรจอดรถรับส่งผู้โดยสารตามป้ายรถประจำทางทุกป้าย 10.4
6 อื่นๆอาทิ เพิ่มช่วงเวลาในการให้บริการตลอดทั้งคืน /เพิ่มเส้นทางในการเดินรถให้มากขึ้น 5.2
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจจากโครงการ "ประชาชนคิดอย่างไรต่อการขึ้นค่ารถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง : กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถ ข.ส.ม.ก. ครีมแดง" ในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาจากตัวอย่างประชาชนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก ครีมแดง จำนวนทั้งสิ้น 1,197 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจภาคสนามในระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง (margin of error ) อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
ผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.8 ระบุใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดงทุกวัน ร้อยละ 19.9 ระบุว่าใช้บริการ 4-6 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 26.9 ระบุใช้บริการ 1-3 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 23.4 ระบุใช้บริการน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งปัญหาที่ประสบจากการใช้บริการรถประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง 5 อันดับแรก ได้แก่ รถแน่นเบียดเสียดกัน ร้อยละ 63.2 รองลงมาคือ สภาพรถที่เก่าและมีควันดำ ร้อยละ 37.3 ต้องเสียเวลาในการรอรถนาน/จำนวนรถมีน้อย ร้อยละ 36.9 พนักงานขับรถด้วยความประมาท /ขับรถเร็ว/แซงในที่คับขัน ร้อยละ 33.0 และสภาพภายในรถสกปรก ร้อยละ 23.1
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก.ครีมแดงถึงประเด็นการขึ้นค่าโดยสาร จาก 3.50 บาท เป็น 4.00 บาทนั้น พบว่า ตัวอย่างกว่าร้อยละ 50 ระบุว่าเห็นด้วยต่อการขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว โดยส่วนใหญ่ได้ให้เห็นผลว่า จะได้ช่วยลดการขาดทุนของ ข.ส.ม.ก. และจำได้นำเงินดังกล่าวไปปรับปรุงและพัฒนา คุณภาพการบริการให้ดีขึ้น และราคาที่เพิ่มขึ้นก็ไม่แพงจนเกินไป ไม่ทำให้เดือดร้อนมากนัก ในขณะที่มีตัวอย่างประมาณร้อยละ 40 ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว ซึ่งตัวอย่างกลุ่มนี้ได้ให้เหตุผลว่า ในการเดินทางแต่ครั้งต้องต่อรถหลายต่อทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น และการบริการตลอดจนสภาพรถประจำทางก็ไม่เหมาะสมกับค่าโดยสาร/ ไม่คุ้ม
อย่างไรก็ตามผลสำรวจในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าโดยสาร จะมีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่เมื่อสอบถามถึงความเดือดร้อนที่จะได้รับจากการขึ้นค่ารถโดยสารประจำทาง ดังกล่าวนั้นกลับพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 80 ระบุ ไม่เดือดร้อน /ไม่ค่อยเดือดร้อน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นไม่แพงจนเกินไป ทำให้ไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากนัก ซึ่งจากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อวันของตัวอย่างเปรียบเทียบก่อนและหลังการขึ้นค่าโดยสารพบว่า ก่อนขึ้นค่าโดยสารนั้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 23.97 บาท และเมื่อมีการเพิ่มค่าโดยสารขึ้น พบว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 27.90 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 4 บาทต่อวันเท่านั้น
นอกจากนี้ตัวอย่างยังได้ระบุข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงการให้บริการของ รถโดยสารประจำทาง ข.ส.ม.ก. ครีมแดง ดังนี้คือ ควรมีการปรับปรุงรถโดยสารประจำทางให้มีสภาพที่ดีขึ้น/ปรับปรุงเรื่องความสะอาด ร้อยละ 43.5 ควรเพิ่มความถี่ในการปล่อยรถให้ออกจากอู่มากขึ้น /ไม่ให้ต้องรอรถนาน ร้อยละ 37.3 ปรับปรุงมารยาทในการให้บริการของพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร ร้อยละ 35.4 ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--