ที่มาของโครงการ
"ครอบครัว" เป็นหน่วยทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอบรม ขัดเกลาเด็ก และเยาวชน อย่างไรก็ตามจากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ รวมถึงสถิติการหย่าร้างในปัจจุบันกลับสะท้อนให้เห็นถึง แนวโน้มของความเปราะบางที่เพิ่มสูงขึ้น และ "ความซื่อสัตย์ในการใช้ชีวิตคู่" ก็คือปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อความเปราะบางของสถาบันครอบครัว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจ เรื่อง "ความรัก ความซื่อสัตย์กับพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจภรรยา" โดยได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อแสวงหาข้อมูลสำคัญข้างต้น
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมเชิงชู้สาว ตลอดจนการนอกใจภรรยาในปี 2546 ที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจถึงความคิดเห็นของสามีต่อภรรยาในพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจ
3. เพื่อสำรวจถึงเหตุผลตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อการป้องกันพฤติกรรมการนอกใจภรรยา
4. เพื่อสำรวจถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคล และสถาบันทางครอบครัวที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาของผู้ที่สนใจต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง "ความรัก ความซื่อสัตย์กับพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจภรรยา: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนชายที่มีครอบครัวแล้วในเขตกรุงเทพมหานคร" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ชายที่มีครอบครัว (ใช้ชีวิตอยู่กินกับฝ่ายหญิงไม่ว่าจะแต่งงาน จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม) ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (stratified cluster sampling) เพื่อเลือกเขต เป้าหมายจากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ในการเลือกผู้ชายที่มีครอบครัวแล้ว
ขนาดตัวอย่าง 1,069 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ ฑ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ผู้ตอบเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 28.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 27.3 สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย / ปวช.
ร้อยละ 19.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 12.5 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.0 มีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 10,000 บาท / เดือน
ร้อยละ 33.4 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท / เดือน
ร้อยละ 11.7 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท / เดือน
และร้อยละ 7.9 มีรายได้ มากกว่า 30,000 บาท / เดือน
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 35.7 ระบุอาชีพค้าขาย /อิสระ ร้อยละ 23.5 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.9 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน ส่วนที่ระบุอาชีพอื่นๆ เช่นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พ่อบ้าน เกษียณมีอยู่ร้อยละ 17.9 ข้อมูลด้านสถานภาพสมรส
ตัวอย่างที่สำรวจร้อยละ 31.8 ใช้ชีวิตอยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันไม่เกิน 5 ปี รองลงมาร้อยละ 24.5 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมานาน 6-10 ปี ร้อยละ 15.5 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมานาน 11-15 ปี ร้อยละ 12.1 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมานาน 16-20 ปี และร้อยละ 16.1 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมากกว่า 20 ปี นอกจากนี้ร้อยละ 30.9 ระบุเคยแต่งงานอยู่กินกับผู้หญิงอื่นมาก่อนภรรยาคนปัจจุบัน ขณะที่ร้อยละ 69.1 ไม่เคยแต่งงานอยู่กินกับผู้หญิงอื่นมาก่อนภรรยาคนปัจจุบัน ด้านการมีบุตรพบว่า ร้อยละ 74.3 มีบุตรกับภรรยาคนปัจจุบัน และร้อยละ 25.7 ไม่มีบุตรกับภรรยาคนปัจจุบัน
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับหญิงอื่น
"ภายหลังอยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบัน"
ลำดับที่ ประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับหญิงอื่น ร้อยละ
1 จีบ / เกี้ยวพาราสีผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา 59.0
2 จับมือถือแขนกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา 52.8
3 ไปเที่ยวกันสองต่อสอง กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศ) 44.8
4 กอดจูบ ลูบคลำผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ไม่ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์) 34.8
5 ซื้อบริการทางเพศจากหญิงบริการ 27.6
6 มีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราว/ไม่มีความผูกพันกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ไม่ใช่หญิงบริการ) 32.5
7 มีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงอื่นแบบมีความผูกพันเช่นมีการส่งเสียเลี้ยงดู หรือ
ลักษณะเป็นภรรยาแบบลับๆ เป็นต้น 10.4
หมายเหตุ ตัวอย่างที่สำรวจร้อยละ 24.7 ไม่เคยมีพฤติกรรมเชิงชู้สาวในลักษณะใดๆ (7 พฤติกรรมที่สอบถาม) กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับต่อพฤติกรรมเชิงชู้สาวของผู้หญิงที่มีสามีแล้ว
ลำดับที่ พฤติกรรมเชิงชู้สาวกับผู้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามี ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้
1 เปิดโอกาสให้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามี จีบ/เกี้ยวพาราสีโดยไม่บอกให้ทราบว่า
มีครอบครัว / สามีแล้ว 14.6 85.4
2 ไปเที่ยวกันสองต่อสอง กับชายอื่นที่ไม่ใช่สามี (ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศ) 16.1 83.6
3 จับมือถือแขนกับชายอื่นที่ไม่ใช่สามี 18.6 81.4
4 ยอมให้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามีกอดจูบ ลูบคลำ (ไม่ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์) 5.7 94.3
5 ซื้อบริการทางเพศจากผู้ชายที่ขายบริการ 3.9 96.1
6 มีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราว/ไม่มีความผูกพันธ์กับชายอื่น
ที่ไม่ใช่สามี (ไม่ใช่ผู้ชายขายบริการ) 4.7 95.3
7 มีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายอื่นแบบมีความผูกพัน เช่นมีการเลี้ยงดู
ส่งเสีย หรือเป็นสามีแบบลับๆ 4.1 95.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ด้านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
ลำดับที่ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 เคย 33.6
2 ไม่เคย 66.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ปี 2546)
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 ไม่เกิน 5 ครั้ง 53.1
2 6 -10 ครั้ง 15.8
3 11 -15 ครั้ง 7.2
4 16 -20 ครั้ง 2.5
5 มากกว่า 20 ครั้ง 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย หลังจากใช้ชีวิตอยู่กินกับ
ภรรยาคนปัจจุบัน (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ บุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย ร้อยละ
1 หญิงบริการ 61.5
2 ผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง 50.1
3 เพื่อน / หัวหน้า / ลูกน้องที่ทำงาน 28.6
4 นักศึกษา (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา) 24.3
5 นักเรียน (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) 15.3
6 พี่ น้อง / ญาติของภรรยา 3.2
7 อื่น ๆ อาทิ เพื่อนทางอินเตอร์เนต คนรู้จัก เพื่อนบ้านใกล้เคียง 31.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย หลังจากใช้ชีวิตอยู่กินกับภรรยาคน
ปัจจุบันจำแนกตามประเภทความสัมพันธ์(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
กลุ่มบุคคล ส่งเสียเลี้ยงดู / ซื้อบริการ แบบชั่วคราวด้วยความสมัครใจ ไม่เคยมี
แบบภรรยาลับๆ และแยกจากกันหลังมีเพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์ด้วย
หญิงขายบริการ 0.7 51.5 9.1 38.5
ผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง 1.6 20.4 27.6 49.9
เพื่อน / หัวหน้า / ลูกน้องที่ทำงาน 4.1 4.1 20.3 71.4
นักศึกษา (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา) 2.4 3.8 12.0 75.7
นักเรียน (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) 1.6 6.0 7.4 84.7
พี่ น้อง / ญาติของภรรยา 1.2 0.7 1.2 96.8
อื่นๆ อาทิ เพื่อนทางอินเตอร์เนต คนรู้จัก-
เพื่อนบ้านใกล้เคียง เป็นต้น 5.2 6.1 20.3 68.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ประสบ จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบ จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 เงินไม่พอใช้จ่าย 35.3
2 การทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว 35.1
3 การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ 10.0
4 ติดโรคทางเพศสัมพันธ์ 7.6
5 การเรียกร้องสิทธิ หรือทรัพย์สินจากภรรยาน้อย 5.0
6 ภรรยาหลวง / น้อยถูกคุกคามจากอีกฝ่าย 4.1
7 การหย่าร้าง 2.6
8 ถูกพักงาน ถูกตักเตือนจากหัวหน้างาน ถูกทำร้ายร่างกาย 5.2
9 ไม่ประสบปัญหาใด 29.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการป้องกันปัญหาต่างๆ จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยา
เช่นใช้ถุงยาง / ยาคุมกำเนิด (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ การป้องกันปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 ทุกครั้ง 68.2
2 เกือบทุกครั้ง 19.4
3 ไม่ค่อยได้ป้องกัน 7.1
4 ไม่ได้ป้องกันเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลใจ / ไม่กังวลใจ ว่าภรรยาจะรู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความกังวลใจว่าภรรยาจะรู้ ว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น ร้อยละ
1 กังวลใจ 40.4
2 ไม่กังวลใจ 36.4
3 ไม่แน่ใจ 14.3
4 ภรรยาทราบอยู่แล้ว 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุถึงปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น "หากภรรยารู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น"
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ถึงปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น"หากภรรยารู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น" ร้อยละ
1 แค่มีปากเสียงกัน 51.2
2 หย่าร้าง 10.9
3 แยกกันอยู่ (ชั่วคราว) 10.0
4 ทะเลาะถึงขั้นลงไม้ลงมือ 8.0
5 อื่นๆ เช่น เอาถึงตาย เรียกร้องเงินค่าหย่าร้าง 2.4
6 ไม่มีปัญหาอะไร 17.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ทำให้ผู้ชายไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ทำให้ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 เบื่อความซ้ำซากจำเจ / อยากเปลี่ยนรสชาด / ตื่นเต้นดี 41.2
2 เบื่อนิสัยภรรยา เช่น จู้จี้ขี้บ่น หึงหวง หวาดระแวง 19.1
3 มีปัญหาครอบครัว เช่น ทะเลาะไม่เข้าใจกัน มีหนี้สิน 13.9
4 มีความต้องการทางเพศ 13.6
5 สิ่งยั่วยุ / สิ่งแวดล้อมพาไป / ผู้หญิงเปิดโอกาสให้ 10.7
6 ผู้หญิงอื่นนิสัยดีกว่า สวยกว่า อายุน้อยกว่า 9.6
7 เมาเหล้า เที่ยวกลางคืน 9.08 ไม่ได้รับความรัก / ไม่ได้รักภรรยา / แต่งงานเพราะความจำเป็น 6.49 ไม่ได้รับความสุขทางเพศจากภรรยา ภรรยาป่วย 6.710 อื่นๆ อาทิ ตามเพื่อนฝูง มีความเชื่อว่า "เป็นกำไรชีวิต" หรือ
"เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ชาย" ต้องการประชดภรรยา 7.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ในปี 47
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความตั้งใจในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ในปี 47 ร้อยละ
1 จะเลิกมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา 39.4
2 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ แต่มีความถี่น้อยลง / ลดลง 20.0
3 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ ในความถี่เท่าๆ เดิม 6.3
4 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ ในความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น 4.9
5 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ แต่ไม่แน่ใจในความถี่ 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะสำหรับภรรยา / ฝ่ายหญิง เพื่อป้องกันไม่ให้สามีไปมี
เพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ร้อยละ
1 ภรรยาควรประพฤติตัวดี ทั้งการบ้านการเรือน หมั่นเอาใจสามี ไม่จู้จี้ขี้บ่น 77.3
2 ภรรยา ควรปรับปรุงร่างกาย แต่งตัวให้ตัวเองดูดีสวยอยู่เสมอ 16.7
3 ภรรยาควรมีเวลาให้กับครอบครัว สร้างความอบอุ่นในครอบครัว 16.7
4 ภรรยาอย่าแสดงความหึงหวง หวาดระแวงสามีมากเกินไป 13.7
5 ภรรยาควรให้ความสุขทางเพศกับสามีอย่างเต็มที่ เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อมัดใจสามี 6.7
6 อื่นๆ เช่น ภรรยาควรปล่อยให้สามีมีอิสระบ้าง สอดส่องตรวจดูพฤติกรรมต่างๆ ของสามี 8.9
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจ "หากในวันวาเลนไทน์ ภรรยาขอให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับ
ผู้หญิงอื่น" (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความตั้งใจ "หากในวันวาเลนไทน์ ภรรยาขอให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงอื่น" ร้อยละ
1 เลิกตามที่ภรรยาขอร้อง 40.2
2 ไม่เลิก 27.6
3 ยังไม่แน่ใจ 32.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ความรัก ความซื่อสัตย์ กับพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจภรรยา: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนชายที่มีครอบครัวแล้วในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1069 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
การสำรวจครั้งนี้พิจารณาถึงพฤติกรรมเชิงชู้สาวของผู้ชายที่มีครอบครัวแล้วใน 7 ลักษณะ เริ่มตั้งแต่การเกี้ยวพาราสีไปจนถึงขึ้นมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 75.3 มีพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยร้อยละ 59.0 เคยจีบ / เกี้ยวพาราสีผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา รองลงมาร้อยละ 52.8 เคยจับมือถือแขนกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ขณะที่ร้อยละ 33.6 ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์โดยกลุ่มนี้ร้อยละ 32.5 ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราว / ไม่มีความผูกผัน (ไม่ใช่การซื้อบริการ) ร้อยละ 27.6 ระบุว่าซื้อบริการทางเพศ และ ร้อยละ 10.4 ระบุว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะที่มีการส่งเสียเลี้ยงดู หรือเป็นแบบภรรยาลับๆ ที่น่าสนใจ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของฝ่ายชายต่อผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วในพฤติกรรมเดียวกัน พบว่าส่วนใหญ่ไม่ยอมรับถ้าผู้หญิงจะมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกัน
นอกจากนี้เมื่อสอบถามกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ถึงพฤติกรรมที่ผ่านมาในปี 46 ร้อยละ 21.4 ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นเกินกว่า 20 ครั้ง ส่วนบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย พบว่าร้อยละ 61.5 มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงบริการ รองลงมาร้อยละ 50.1 มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง ที่น่าพิจารณา ก็คือ ร้อยละ 28.6 ระบุมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน / หัวหน้า / ลูกน้องที่ทำงาน ส่วนที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับนักศึกษา และนักเรียนมีอยู่ร้อยละ 24.3 และ 15.3 ตามลำดับ
ผลการสำรวจยังพบว่ากลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ใน 2 รูปแบบคือ ซื้อบริการ และแบบชั่วคราวด้วยความสมัครใจ ขณะเดียวกันข้อมูลที่พบยังตั้งเป็นข้อสังเกตได้อีกว่าสถานบันเทิง เป็นแหล่งหรือช่องทางสำคัญอีกแห่งหนึ่งในการซื้อขายประเวณี เนื่องจากตัวอย่างถึงร้อยละ 20.4 ระบุว่าซื้อบริการจากผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง เมื่อพิจารณาต่อไปถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดจากเพศสัมพันธ์ (เช่นใช้ถุงยาง / ยาคุมกำเนิด) ตัวอย่างร้อยละ 5.3 ระบุว่าไม่ได้ป้องกันเลย ขณะที่ร้อยละ 7.1 ระบุว่าไม่ค่อยได้ป้องกัน
ตัวอย่างกลุ่มดังกล่าวยังระบุถึงปัญหาที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นหลายปัญหา โดยที่ระบุถึงมากที่สุดมีอยู่ 2 ปัญหา คือเงินไม่พอใช้จ่าย และการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว เมื่อสอบถามต่อไปว่า "รู้สึกกังวลใจหรือไม่ว่าภรรยาจะรู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น" ร้อยละ 40.4 ระบุว่ากังวลใจ ขณะที่ร้อยละ 36.4 ไม่กังวลใจ และร้อยละ 8.9 ระบุว่าภรรยาทราบอยู่แล้ว ที่น่าสนใจตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นหากภรรยารู้ โดยร้อยละ 51.2 ระบุว่าหากภรรยารู้จะทำให้มี ปากเสียงกัน ขณะที่ร้อยละ 20.0 รับรู้ว่าปัญหาที่จะเกิดอยู่ในระดับที่รุนแรง โดยร้อยละ 10.9 ระบุว่าถึงขึ้นหย่าร้าง และร้อยละ 10.0 ระบุว่าถึงขั้นแยกกันอยู่ (ชั่วคราว)
ส่วนเหตุผลที่ทำให้มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ส่วนใหญ่พบว่าเกี่ยวข้องกับฝ่ายชายเอง ไม่ว่าจะเป็น เบื่อความซ้ำซากจำเจ / อยากเปลี่ยนรสชาด มีความต้องการทางเพศ หรือเกิดจากสิ่งยั่วยุ ส่วนเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายภรรยา เช่น เบื่อนิสัยภรรยา ไม่ได้รับความสุขทางเพศจากภรรยา มีน้อยกว่าอย่างชัดเจน
การสำรวจครั้งนี้ยังสอบถามถึง "ความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาในปี 47" ด้วย ซึ่งพบว่าร้อยละ 39.4 ระบุตั้งใจจะเลิกพฤติกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามร้อยละ 20.0 ระบุว่ายังคงมีอยู่แต่จะให้ลดน้อยลง ส่วนที่ระบุว่าอยู่ในระดับเดิม และบ่อยขึ้นมีอยู่ร้อยละ 6.3 และ 4.9 ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งอีกประการคือ ข้อเสนอแนะจากฝ่ายสามีไปยังฝ่ายหญิงหรือภรรยา ถึงแนวทางป้องกันไม่ให้ฝ่ายชายไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น ซึ่งตัวอย่างถึงร้อยละ 77.3 ระบุว่าภรรยาควรประพฤติตัวดี ทั้งการบ้านการเรือน ไม่จู้จี้ ขี้บ่น ขณะที่รองลงมาร้อยละ 16.7 เท่ากันเสนอว่า ควรปรับปรุงด้านการแต่งตัวให้ดูดีอยู่เสมอ และ ควรมีเวลาให้กับครอบครัว สร้างความอบอุ่นในครอบครัว
สำหรับประเด็นสุดท้ายที่สอบถามคือ "ในโอกาสวันแห่งความรัก (วาเลนไทน์) หากภรรยาขอให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่น จะตัดสินใจอย่างไร" ร้อยละ 40.2 ระบุว่าจะเลิกตามคำขอ ขณะที่ร้อยละ 27.6 ระบุไม่เลิก และร้อยละ 32.2 ยังไม่แน่
--เอแบคโพลล์--
"ครอบครัว" เป็นหน่วยทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอบรม ขัดเกลาเด็ก และเยาวชน อย่างไรก็ตามจากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ รวมถึงสถิติการหย่าร้างในปัจจุบันกลับสะท้อนให้เห็นถึง แนวโน้มของความเปราะบางที่เพิ่มสูงขึ้น และ "ความซื่อสัตย์ในการใช้ชีวิตคู่" ก็คือปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อความเปราะบางของสถาบันครอบครัว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจ เรื่อง "ความรัก ความซื่อสัตย์กับพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจภรรยา" โดยได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อแสวงหาข้อมูลสำคัญข้างต้น
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมเชิงชู้สาว ตลอดจนการนอกใจภรรยาในปี 2546 ที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจถึงความคิดเห็นของสามีต่อภรรยาในพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจ
3. เพื่อสำรวจถึงเหตุผลตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อการป้องกันพฤติกรรมการนอกใจภรรยา
4. เพื่อสำรวจถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคล และสถาบันทางครอบครัวที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาของผู้ที่สนใจต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง "ความรัก ความซื่อสัตย์กับพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจภรรยา: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนชายที่มีครอบครัวแล้วในเขตกรุงเทพมหานคร" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ชายที่มีครอบครัว (ใช้ชีวิตอยู่กินกับฝ่ายหญิงไม่ว่าจะแต่งงาน จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม) ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (stratified cluster sampling) เพื่อเลือกเขต เป้าหมายจากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ในการเลือกผู้ชายที่มีครอบครัวแล้ว
ขนาดตัวอย่าง 1,069 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ ฑ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ผู้ตอบเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 28.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 27.3 สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย / ปวช.
ร้อยละ 19.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 12.5 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.0 มีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 10,000 บาท / เดือน
ร้อยละ 33.4 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท / เดือน
ร้อยละ 11.7 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท / เดือน
และร้อยละ 7.9 มีรายได้ มากกว่า 30,000 บาท / เดือน
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 35.7 ระบุอาชีพค้าขาย /อิสระ ร้อยละ 23.5 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.9 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน ส่วนที่ระบุอาชีพอื่นๆ เช่นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พ่อบ้าน เกษียณมีอยู่ร้อยละ 17.9 ข้อมูลด้านสถานภาพสมรส
ตัวอย่างที่สำรวจร้อยละ 31.8 ใช้ชีวิตอยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันไม่เกิน 5 ปี รองลงมาร้อยละ 24.5 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมานาน 6-10 ปี ร้อยละ 15.5 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมานาน 11-15 ปี ร้อยละ 12.1 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมานาน 16-20 ปี และร้อยละ 16.1 อยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบันมากกว่า 20 ปี นอกจากนี้ร้อยละ 30.9 ระบุเคยแต่งงานอยู่กินกับผู้หญิงอื่นมาก่อนภรรยาคนปัจจุบัน ขณะที่ร้อยละ 69.1 ไม่เคยแต่งงานอยู่กินกับผู้หญิงอื่นมาก่อนภรรยาคนปัจจุบัน ด้านการมีบุตรพบว่า ร้อยละ 74.3 มีบุตรกับภรรยาคนปัจจุบัน และร้อยละ 25.7 ไม่มีบุตรกับภรรยาคนปัจจุบัน
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับหญิงอื่น
"ภายหลังอยู่กินกับภรรยาคนปัจจุบัน"
ลำดับที่ ประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับหญิงอื่น ร้อยละ
1 จีบ / เกี้ยวพาราสีผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา 59.0
2 จับมือถือแขนกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา 52.8
3 ไปเที่ยวกันสองต่อสอง กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศ) 44.8
4 กอดจูบ ลูบคลำผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ไม่ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์) 34.8
5 ซื้อบริการทางเพศจากหญิงบริการ 27.6
6 มีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราว/ไม่มีความผูกพันกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ไม่ใช่หญิงบริการ) 32.5
7 มีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงอื่นแบบมีความผูกพันเช่นมีการส่งเสียเลี้ยงดู หรือ
ลักษณะเป็นภรรยาแบบลับๆ เป็นต้น 10.4
หมายเหตุ ตัวอย่างที่สำรวจร้อยละ 24.7 ไม่เคยมีพฤติกรรมเชิงชู้สาวในลักษณะใดๆ (7 พฤติกรรมที่สอบถาม) กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับต่อพฤติกรรมเชิงชู้สาวของผู้หญิงที่มีสามีแล้ว
ลำดับที่ พฤติกรรมเชิงชู้สาวกับผู้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามี ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้
1 เปิดโอกาสให้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามี จีบ/เกี้ยวพาราสีโดยไม่บอกให้ทราบว่า
มีครอบครัว / สามีแล้ว 14.6 85.4
2 ไปเที่ยวกันสองต่อสอง กับชายอื่นที่ไม่ใช่สามี (ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศ) 16.1 83.6
3 จับมือถือแขนกับชายอื่นที่ไม่ใช่สามี 18.6 81.4
4 ยอมให้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามีกอดจูบ ลูบคลำ (ไม่ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์) 5.7 94.3
5 ซื้อบริการทางเพศจากผู้ชายที่ขายบริการ 3.9 96.1
6 มีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราว/ไม่มีความผูกพันธ์กับชายอื่น
ที่ไม่ใช่สามี (ไม่ใช่ผู้ชายขายบริการ) 4.7 95.3
7 มีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายอื่นแบบมีความผูกพัน เช่นมีการเลี้ยงดู
ส่งเสีย หรือเป็นสามีแบบลับๆ 4.1 95.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ด้านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
ลำดับที่ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 เคย 33.6
2 ไม่เคย 66.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา (ปี 2546)
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 ไม่เกิน 5 ครั้ง 53.1
2 6 -10 ครั้ง 15.8
3 11 -15 ครั้ง 7.2
4 16 -20 ครั้ง 2.5
5 มากกว่า 20 ครั้ง 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย หลังจากใช้ชีวิตอยู่กินกับ
ภรรยาคนปัจจุบัน (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ บุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย ร้อยละ
1 หญิงบริการ 61.5
2 ผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง 50.1
3 เพื่อน / หัวหน้า / ลูกน้องที่ทำงาน 28.6
4 นักศึกษา (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา) 24.3
5 นักเรียน (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) 15.3
6 พี่ น้อง / ญาติของภรรยา 3.2
7 อื่น ๆ อาทิ เพื่อนทางอินเตอร์เนต คนรู้จัก เพื่อนบ้านใกล้เคียง 31.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย หลังจากใช้ชีวิตอยู่กินกับภรรยาคน
ปัจจุบันจำแนกตามประเภทความสัมพันธ์(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
กลุ่มบุคคล ส่งเสียเลี้ยงดู / ซื้อบริการ แบบชั่วคราวด้วยความสมัครใจ ไม่เคยมี
แบบภรรยาลับๆ และแยกจากกันหลังมีเพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์ด้วย
หญิงขายบริการ 0.7 51.5 9.1 38.5
ผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง 1.6 20.4 27.6 49.9
เพื่อน / หัวหน้า / ลูกน้องที่ทำงาน 4.1 4.1 20.3 71.4
นักศึกษา (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา) 2.4 3.8 12.0 75.7
นักเรียน (ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) 1.6 6.0 7.4 84.7
พี่ น้อง / ญาติของภรรยา 1.2 0.7 1.2 96.8
อื่นๆ อาทิ เพื่อนทางอินเตอร์เนต คนรู้จัก-
เพื่อนบ้านใกล้เคียง เป็นต้น 5.2 6.1 20.3 68.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ประสบ จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบ จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 เงินไม่พอใช้จ่าย 35.3
2 การทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว 35.1
3 การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ 10.0
4 ติดโรคทางเพศสัมพันธ์ 7.6
5 การเรียกร้องสิทธิ หรือทรัพย์สินจากภรรยาน้อย 5.0
6 ภรรยาหลวง / น้อยถูกคุกคามจากอีกฝ่าย 4.1
7 การหย่าร้าง 2.6
8 ถูกพักงาน ถูกตักเตือนจากหัวหน้างาน ถูกทำร้ายร่างกาย 5.2
9 ไม่ประสบปัญหาใด 29.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการป้องกันปัญหาต่างๆ จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยา
เช่นใช้ถุงยาง / ยาคุมกำเนิด (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ การป้องกันปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 ทุกครั้ง 68.2
2 เกือบทุกครั้ง 19.4
3 ไม่ค่อยได้ป้องกัน 7.1
4 ไม่ได้ป้องกันเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลใจ / ไม่กังวลใจ ว่าภรรยาจะรู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความกังวลใจว่าภรรยาจะรู้ ว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น ร้อยละ
1 กังวลใจ 40.4
2 ไม่กังวลใจ 36.4
3 ไม่แน่ใจ 14.3
4 ภรรยาทราบอยู่แล้ว 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุถึงปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น "หากภรรยารู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น"
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ถึงปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น"หากภรรยารู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น" ร้อยละ
1 แค่มีปากเสียงกัน 51.2
2 หย่าร้าง 10.9
3 แยกกันอยู่ (ชั่วคราว) 10.0
4 ทะเลาะถึงขั้นลงไม้ลงมือ 8.0
5 อื่นๆ เช่น เอาถึงตาย เรียกร้องเงินค่าหย่าร้าง 2.4
6 ไม่มีปัญหาอะไร 17.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ทำให้ผู้ชายไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ทำให้ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ร้อยละ
1 เบื่อความซ้ำซากจำเจ / อยากเปลี่ยนรสชาด / ตื่นเต้นดี 41.2
2 เบื่อนิสัยภรรยา เช่น จู้จี้ขี้บ่น หึงหวง หวาดระแวง 19.1
3 มีปัญหาครอบครัว เช่น ทะเลาะไม่เข้าใจกัน มีหนี้สิน 13.9
4 มีความต้องการทางเพศ 13.6
5 สิ่งยั่วยุ / สิ่งแวดล้อมพาไป / ผู้หญิงเปิดโอกาสให้ 10.7
6 ผู้หญิงอื่นนิสัยดีกว่า สวยกว่า อายุน้อยกว่า 9.6
7 เมาเหล้า เที่ยวกลางคืน 9.08 ไม่ได้รับความรัก / ไม่ได้รักภรรยา / แต่งงานเพราะความจำเป็น 6.49 ไม่ได้รับความสุขทางเพศจากภรรยา ภรรยาป่วย 6.710 อื่นๆ อาทิ ตามเพื่อนฝูง มีความเชื่อว่า "เป็นกำไรชีวิต" หรือ
"เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ชาย" ต้องการประชดภรรยา 7.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ในปี 47
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความตั้งใจในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ในปี 47 ร้อยละ
1 จะเลิกมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา 39.4
2 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ แต่มีความถี่น้อยลง / ลดลง 20.0
3 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ ในความถี่เท่าๆ เดิม 6.3
4 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ ในความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น 4.9
5 ยังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นอยู่ แต่ไม่แน่ใจในความถี่ 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะสำหรับภรรยา / ฝ่ายหญิง เพื่อป้องกันไม่ให้สามีไปมี
เพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ร้อยละ
1 ภรรยาควรประพฤติตัวดี ทั้งการบ้านการเรือน หมั่นเอาใจสามี ไม่จู้จี้ขี้บ่น 77.3
2 ภรรยา ควรปรับปรุงร่างกาย แต่งตัวให้ตัวเองดูดีสวยอยู่เสมอ 16.7
3 ภรรยาควรมีเวลาให้กับครอบครัว สร้างความอบอุ่นในครอบครัว 16.7
4 ภรรยาอย่าแสดงความหึงหวง หวาดระแวงสามีมากเกินไป 13.7
5 ภรรยาควรให้ความสุขทางเพศกับสามีอย่างเต็มที่ เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อมัดใจสามี 6.7
6 อื่นๆ เช่น ภรรยาควรปล่อยให้สามีมีอิสระบ้าง สอดส่องตรวจดูพฤติกรรมต่างๆ ของสามี 8.9
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจ "หากในวันวาเลนไทน์ ภรรยาขอให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับ
ผู้หญิงอื่น" (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา)
ลำดับที่ ความตั้งใจ "หากในวันวาเลนไทน์ ภรรยาขอให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงอื่น" ร้อยละ
1 เลิกตามที่ภรรยาขอร้อง 40.2
2 ไม่เลิก 27.6
3 ยังไม่แน่ใจ 32.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ความรัก ความซื่อสัตย์ กับพฤติกรรมเชิงชู้สาว และการนอกใจภรรยา: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนชายที่มีครอบครัวแล้วในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1069 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
การสำรวจครั้งนี้พิจารณาถึงพฤติกรรมเชิงชู้สาวของผู้ชายที่มีครอบครัวแล้วใน 7 ลักษณะ เริ่มตั้งแต่การเกี้ยวพาราสีไปจนถึงขึ้นมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 75.3 มีพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยร้อยละ 59.0 เคยจีบ / เกี้ยวพาราสีผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา รองลงมาร้อยละ 52.8 เคยจับมือถือแขนกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ขณะที่ร้อยละ 33.6 ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์โดยกลุ่มนี้ร้อยละ 32.5 ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราว / ไม่มีความผูกผัน (ไม่ใช่การซื้อบริการ) ร้อยละ 27.6 ระบุว่าซื้อบริการทางเพศ และ ร้อยละ 10.4 ระบุว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะที่มีการส่งเสียเลี้ยงดู หรือเป็นแบบภรรยาลับๆ ที่น่าสนใจ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของฝ่ายชายต่อผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วในพฤติกรรมเดียวกัน พบว่าส่วนใหญ่ไม่ยอมรับถ้าผู้หญิงจะมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกัน
นอกจากนี้เมื่อสอบถามกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ถึงพฤติกรรมที่ผ่านมาในปี 46 ร้อยละ 21.4 ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นเกินกว่า 20 ครั้ง ส่วนบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย พบว่าร้อยละ 61.5 มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงบริการ รองลงมาร้อยละ 50.1 มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง ที่น่าพิจารณา ก็คือ ร้อยละ 28.6 ระบุมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน / หัวหน้า / ลูกน้องที่ทำงาน ส่วนที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับนักศึกษา และนักเรียนมีอยู่ร้อยละ 24.3 และ 15.3 ตามลำดับ
ผลการสำรวจยังพบว่ากลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ใน 2 รูปแบบคือ ซื้อบริการ และแบบชั่วคราวด้วยความสมัครใจ ขณะเดียวกันข้อมูลที่พบยังตั้งเป็นข้อสังเกตได้อีกว่าสถานบันเทิง เป็นแหล่งหรือช่องทางสำคัญอีกแห่งหนึ่งในการซื้อขายประเวณี เนื่องจากตัวอย่างถึงร้อยละ 20.4 ระบุว่าซื้อบริการจากผู้หญิงที่รู้จักในสถานบันเทิง เมื่อพิจารณาต่อไปถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดจากเพศสัมพันธ์ (เช่นใช้ถุงยาง / ยาคุมกำเนิด) ตัวอย่างร้อยละ 5.3 ระบุว่าไม่ได้ป้องกันเลย ขณะที่ร้อยละ 7.1 ระบุว่าไม่ค่อยได้ป้องกัน
ตัวอย่างกลุ่มดังกล่าวยังระบุถึงปัญหาที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นหลายปัญหา โดยที่ระบุถึงมากที่สุดมีอยู่ 2 ปัญหา คือเงินไม่พอใช้จ่าย และการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว เมื่อสอบถามต่อไปว่า "รู้สึกกังวลใจหรือไม่ว่าภรรยาจะรู้ว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น" ร้อยละ 40.4 ระบุว่ากังวลใจ ขณะที่ร้อยละ 36.4 ไม่กังวลใจ และร้อยละ 8.9 ระบุว่าภรรยาทราบอยู่แล้ว ที่น่าสนใจตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นหากภรรยารู้ โดยร้อยละ 51.2 ระบุว่าหากภรรยารู้จะทำให้มี ปากเสียงกัน ขณะที่ร้อยละ 20.0 รับรู้ว่าปัญหาที่จะเกิดอยู่ในระดับที่รุนแรง โดยร้อยละ 10.9 ระบุว่าถึงขึ้นหย่าร้าง และร้อยละ 10.0 ระบุว่าถึงขั้นแยกกันอยู่ (ชั่วคราว)
ส่วนเหตุผลที่ทำให้มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ส่วนใหญ่พบว่าเกี่ยวข้องกับฝ่ายชายเอง ไม่ว่าจะเป็น เบื่อความซ้ำซากจำเจ / อยากเปลี่ยนรสชาด มีความต้องการทางเพศ หรือเกิดจากสิ่งยั่วยุ ส่วนเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายภรรยา เช่น เบื่อนิสัยภรรยา ไม่ได้รับความสุขทางเพศจากภรรยา มีน้อยกว่าอย่างชัดเจน
การสำรวจครั้งนี้ยังสอบถามถึง "ความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาในปี 47" ด้วย ซึ่งพบว่าร้อยละ 39.4 ระบุตั้งใจจะเลิกพฤติกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามร้อยละ 20.0 ระบุว่ายังคงมีอยู่แต่จะให้ลดน้อยลง ส่วนที่ระบุว่าอยู่ในระดับเดิม และบ่อยขึ้นมีอยู่ร้อยละ 6.3 และ 4.9 ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งอีกประการคือ ข้อเสนอแนะจากฝ่ายสามีไปยังฝ่ายหญิงหรือภรรยา ถึงแนวทางป้องกันไม่ให้ฝ่ายชายไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่น ซึ่งตัวอย่างถึงร้อยละ 77.3 ระบุว่าภรรยาควรประพฤติตัวดี ทั้งการบ้านการเรือน ไม่จู้จี้ ขี้บ่น ขณะที่รองลงมาร้อยละ 16.7 เท่ากันเสนอว่า ควรปรับปรุงด้านการแต่งตัวให้ดูดีอยู่เสมอ และ ควรมีเวลาให้กับครอบครัว สร้างความอบอุ่นในครอบครัว
สำหรับประเด็นสุดท้ายที่สอบถามคือ "ในโอกาสวันแห่งความรัก (วาเลนไทน์) หากภรรยาขอให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่น จะตัดสินใจอย่างไร" ร้อยละ 40.2 ระบุว่าจะเลิกตามคำขอ ขณะที่ร้อยละ 27.6 ระบุไม่เลิก และร้อยละ 32.2 ยังไม่แน่
--เอแบคโพลล์--