ที่มาของโครงการ
ข่าวการเกิดเหตุระเบิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2548 เวลาประมาณ 20.21 น.
บริเวณจุดนัดพบ(Meeting Point) หน้าเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยานหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
และส่งผลให้เกิดความ สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนนั้น สร้างความตื่นตระหนกให้กับ
ประชาชนเป็นอันมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุระเบิดสนามบิน และสนามบินหาดใหญ่ถือเป็น
จุดศูนย์กลางการบินในภาคใต้ของไทย ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการดำเนิน
มาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้เข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการ
สร้างวัฒนธรรมในการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ โดยให้กลุ่มบุคคลสำคัญหรือ วีไอพีที่เคยได้รับการ
ยกเว้นการตรวจตราต่างๆ ก็จะต้องเข้าสู่ระบบการตรวจสอบด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการ
รักษาความปลอดภัยให้เท่าเทียมนานาประเทศ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในแง่มุมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลในการดำเนินงานด้านมาตรการรักษา
ความปลอดภัยในสถานที่สำคัญต่างๆ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เหตุบึ้ม
สนามบินหาดใหญ่ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 — 6 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจาก
การทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,471 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.3 เป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 29.5 ระบุอายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 24.7 ระบุอายุ 50 ปี
ขึ้นไป ร้อยละ 24.0 ระบุอายุ 40 — 49 ปี ร้อยละ 18.6 ระบุอายุ 20 — 29 ปี และร้อยละ 3.2 ระบุ
อายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 75.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.1 ระบุสำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ
30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพพนักงาน
เอกชน ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.1 ระบุเป็นแม่บ้าน /พ่อบ้าน/
เกษียณอายุ ร้อยละ 3.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า
ผลสำรวจเรื่อง “เหตุบึ้มสนามบินหาดใหญ่ในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจาก
ตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,471 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 5 — 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 94.2 ระบุทราบข่าวเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียง
ร้อยละ 5.8 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบข่าวดังกล่าว นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถึงตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวที่
ด.ช.พัชรพล เจริญศิลป์ หรือ น้องฮ่องเต้ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่นั้น พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 90.7 ระบุรับทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 9.3 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 87.5
ระบุควรประณามการกระทำของขบวนการโจรก่อการร้ายดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุว่าไม่ควรประณาม
และร้อยละ 8.9 ไม่ระบุความคิดเห็น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ระบุไม่ควรประณามได้ให้เหตุผลว่า เหตุการณ์ต่างๆ
ควรจะยุติความรุนแรงได้แล้ว /ไม่ควรตอบโต้ซึ่งกันและกัน
เมื่อคณะวิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความหวาดกลัวต่อการเกิดเหตุระเบิดในเขตกรุงเทพมหานครนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.1 ระบุรู้สึกหวาดกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ขึ้นในเขตกรุงเทพฯและ
ปริมณฑล ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ระบุไม่รู้สึกหวาดกลัว
สำหรับความมั่นใจของตัวอย่างต่อระบบการรักษาความปลอดภัยที่สนามบินโดยทั่วไปของประเทศไทยนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.4 ระบุไม่เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยที่สนามบิน ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุ
เชื่อมั่น และร้อยละ 14.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณี ความเชื่อมั่นต่อกลุ่มบุคคลต่างๆ
ในการยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้น ซึ่งพบว่ากลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างเชื่อมั่นว่าจะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจ
ค้น 3 อันดับแรกได้แก่ กลุ่มประชาชนทั่วไป (เชื่อมั่นว่าจะให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น ร้อยละ 93.6) สื่อมวลชน
(เชื่อมั่นฯ ร้อยละ 67.2) ข้าราชการระดับสูงในสังกัดอื่นๆนอกเหนือจากทหารและตำรวจ (เชื่อมั่นฯร้อยละ
27.4) ในขณะที่กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างระบุมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดว่าจะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้นได้แก่
รัฐมนตรี ซึ่งมีตัวอย่างเพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้นที่ระบุเชื่อมั่นว่ารัฐมนตรีจะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้น
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงกรณีรัฐมนตรีควรปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างโดยยอมให้เจ้าหน้าที่
สนามบินตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบินนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 90.2 ระบุรัฐมนตรีควรยอมให้ตรวจค้น ในขณะที่
ร้อยละ 4.2 ระบุไม่ควรยอมให้ตรวจค้น และร้อยละ 5.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการเพิ่มมาตรการเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัย
ในสถานที่สำคัญต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 86.1 ระบุควรเพิ่มมาตรเข้มงวดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 7.3
ระบุไม่ควร และร้อยละ 6.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีปัญหาความไม่พร้อมของคนในต่างจังหวัดที่จะ
ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแจ้งเบาะแสนั้นน่าจะเกิดจากเหตุผลต่างๆ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 62.1
กลัวภัยคุกคามถึงตัวผู้แจ้ง รองลงมาคือ ร้อยละ 60.4 ระบุไม่ทราบว่าจะแจ้งที่ไหน ร้อยละ 57.8 ระบุไม่มีช่อง
ทางการแจ้งเบาะแส เช่นไม่มีโทรศัพท์ ร้อยละ 49.3 ระบุต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแจ้ง และร้อยละ 47.6
ระบุการเดินทางไม่สะดวก ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวเหตุระเบิดสนามบินหาดใหญ่
ลำดับที่ การรับทราบข่าวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 94.2
2 ไม่ทราบ 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าว “น้องฮ่องเต้”โดนระเบิดของขบวนการก่อการร้าย
ลำดับที่ การรับทราบข่าวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.7
2 ไม่ทราบ 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การประณามการกระทำของขบวนการโจรก่อการร้าย
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควรประณาม 87.5
2 ไม่ควรประณาม เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ควรจะยุติ
ความรุนแรงได้แล้ว / เพราะไม่ควรตอบโต้ซึ่งกันและกัน 3.6
3 ไม่มีความเห็น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวาดกลัวว่าจะเกิดเหตุระเบิดทำนองเดียวกันขึ้นใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ลำดับที่ ความหวาดกลัวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 หวาดกลัว 56.1
2 ไม่หวาดกลัว 43.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความปลอดภัยที่สนามบิน
โดยทั่วไปของประเทศไทย
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 23.9
2 ไม่เชื่อมั่น 61.4
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่าบุคคลต่อไปนี้
จะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้นหรือไม่
ลำดับที่ กลุ่มบุคคล เชื่อว่ายอมให้ตรวจ ไม่เชื่อว่าจะยอมให้ตรวจ ไม่มีความเห็น
1 คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 13.8 72.2 14.0
2 ผู้ติดตามนายกรัฐมนตรี 16.6 68.1 15.3
3 รัฐมนตรี 5.9 82.7 11.4
4 ผู้ติดตามรัฐมนตรี 20.3 69.4 10.3
5 นายทหารระดับสูง 18.7 61.7 19.6
6 นายตำรวจระดับสูง 15.5 63.0 21.5
7 ข้าราชการระดับสูงในสังกัด อื่นๆ 27.4 57.2 15.4
8 สื่อมวลชน 67.2 21.4 11.4
9 ประชาชนทั่วไป 93.6 4.9 1.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐมนตรีควรปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างโดยยอม
ให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบิน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐมนตรีควรแสดงเป็นตัวอย่างยอมให้ตรวจค้น 90.2
2 ไม่ควรยอมให้ตรวจค้น 4.2
3 ไม่มีความเห็น 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลควรเพิ่มมาตรการเข้มงวดด้าน
การรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ควรเพิ่ม 86.1
2 ไม่ควร 7.3
3 ไม่มีความเห็น 6.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อปัญหาความไม่พร้อมของคนในต่างจังหวัด
ที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแจ้งเบาะแส (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กลัวภัยคุกคามถึงตัวผู้แจ้ง 62.1
2 ไม่รู้ว่าจะแจ้งที่ไหน 60.4
3 ไม่มีช่องทางการแจ้งเบาะแส เช่น ไม่มีโทรศัพท์ 57.8
4 เสียค่าใช้จ่ายในการแจ้ง 49.3
5 เดินทางไม่สะดวก 47.6
6 ถูกครอบงำด้วยอิทธิพล 44.3
7 ไม่อยากยุ่งเกี่ยว 42.1
8 ไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ 38.7
9 อื่นๆ อาทิ ไม่ได้รับประโยชน์อะไร ไม่คิดว่าจะช่วยอะไรได้ เป็นต้น 12.2
--เอแบคโพลล์--
ข่าวการเกิดเหตุระเบิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2548 เวลาประมาณ 20.21 น.
บริเวณจุดนัดพบ(Meeting Point) หน้าเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยานหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
และส่งผลให้เกิดความ สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนนั้น สร้างความตื่นตระหนกให้กับ
ประชาชนเป็นอันมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุระเบิดสนามบิน และสนามบินหาดใหญ่ถือเป็น
จุดศูนย์กลางการบินในภาคใต้ของไทย ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการดำเนิน
มาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้เข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการ
สร้างวัฒนธรรมในการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ โดยให้กลุ่มบุคคลสำคัญหรือ วีไอพีที่เคยได้รับการ
ยกเว้นการตรวจตราต่างๆ ก็จะต้องเข้าสู่ระบบการตรวจสอบด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการ
รักษาความปลอดภัยให้เท่าเทียมนานาประเทศ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในแง่มุมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลในการดำเนินงานด้านมาตรการรักษา
ความปลอดภัยในสถานที่สำคัญต่างๆ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เหตุบึ้ม
สนามบินหาดใหญ่ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 — 6 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจาก
การทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,471 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.3 เป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 29.5 ระบุอายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 24.7 ระบุอายุ 50 ปี
ขึ้นไป ร้อยละ 24.0 ระบุอายุ 40 — 49 ปี ร้อยละ 18.6 ระบุอายุ 20 — 29 ปี และร้อยละ 3.2 ระบุ
อายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 75.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.1 ระบุสำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ
30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพพนักงาน
เอกชน ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.1 ระบุเป็นแม่บ้าน /พ่อบ้าน/
เกษียณอายุ ร้อยละ 3.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า
ผลสำรวจเรื่อง “เหตุบึ้มสนามบินหาดใหญ่ในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจาก
ตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,471 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 5 — 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 94.2 ระบุทราบข่าวเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียง
ร้อยละ 5.8 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบข่าวดังกล่าว นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถึงตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวที่
ด.ช.พัชรพล เจริญศิลป์ หรือ น้องฮ่องเต้ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่นั้น พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 90.7 ระบุรับทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 9.3 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 87.5
ระบุควรประณามการกระทำของขบวนการโจรก่อการร้ายดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุว่าไม่ควรประณาม
และร้อยละ 8.9 ไม่ระบุความคิดเห็น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ระบุไม่ควรประณามได้ให้เหตุผลว่า เหตุการณ์ต่างๆ
ควรจะยุติความรุนแรงได้แล้ว /ไม่ควรตอบโต้ซึ่งกันและกัน
เมื่อคณะวิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความหวาดกลัวต่อการเกิดเหตุระเบิดในเขตกรุงเทพมหานครนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.1 ระบุรู้สึกหวาดกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ขึ้นในเขตกรุงเทพฯและ
ปริมณฑล ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ระบุไม่รู้สึกหวาดกลัว
สำหรับความมั่นใจของตัวอย่างต่อระบบการรักษาความปลอดภัยที่สนามบินโดยทั่วไปของประเทศไทยนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.4 ระบุไม่เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยที่สนามบิน ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุ
เชื่อมั่น และร้อยละ 14.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณี ความเชื่อมั่นต่อกลุ่มบุคคลต่างๆ
ในการยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้น ซึ่งพบว่ากลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างเชื่อมั่นว่าจะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจ
ค้น 3 อันดับแรกได้แก่ กลุ่มประชาชนทั่วไป (เชื่อมั่นว่าจะให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น ร้อยละ 93.6) สื่อมวลชน
(เชื่อมั่นฯ ร้อยละ 67.2) ข้าราชการระดับสูงในสังกัดอื่นๆนอกเหนือจากทหารและตำรวจ (เชื่อมั่นฯร้อยละ
27.4) ในขณะที่กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างระบุมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดว่าจะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้นได้แก่
รัฐมนตรี ซึ่งมีตัวอย่างเพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้นที่ระบุเชื่อมั่นว่ารัฐมนตรีจะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้น
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงกรณีรัฐมนตรีควรปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างโดยยอมให้เจ้าหน้าที่
สนามบินตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบินนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 90.2 ระบุรัฐมนตรีควรยอมให้ตรวจค้น ในขณะที่
ร้อยละ 4.2 ระบุไม่ควรยอมให้ตรวจค้น และร้อยละ 5.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการเพิ่มมาตรการเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัย
ในสถานที่สำคัญต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 86.1 ระบุควรเพิ่มมาตรเข้มงวดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 7.3
ระบุไม่ควร และร้อยละ 6.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีปัญหาความไม่พร้อมของคนในต่างจังหวัดที่จะ
ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแจ้งเบาะแสนั้นน่าจะเกิดจากเหตุผลต่างๆ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 62.1
กลัวภัยคุกคามถึงตัวผู้แจ้ง รองลงมาคือ ร้อยละ 60.4 ระบุไม่ทราบว่าจะแจ้งที่ไหน ร้อยละ 57.8 ระบุไม่มีช่อง
ทางการแจ้งเบาะแส เช่นไม่มีโทรศัพท์ ร้อยละ 49.3 ระบุต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแจ้ง และร้อยละ 47.6
ระบุการเดินทางไม่สะดวก ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวเหตุระเบิดสนามบินหาดใหญ่
ลำดับที่ การรับทราบข่าวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 94.2
2 ไม่ทราบ 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าว “น้องฮ่องเต้”โดนระเบิดของขบวนการก่อการร้าย
ลำดับที่ การรับทราบข่าวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.7
2 ไม่ทราบ 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การประณามการกระทำของขบวนการโจรก่อการร้าย
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควรประณาม 87.5
2 ไม่ควรประณาม เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ควรจะยุติ
ความรุนแรงได้แล้ว / เพราะไม่ควรตอบโต้ซึ่งกันและกัน 3.6
3 ไม่มีความเห็น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวาดกลัวว่าจะเกิดเหตุระเบิดทำนองเดียวกันขึ้นใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ลำดับที่ ความหวาดกลัวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 หวาดกลัว 56.1
2 ไม่หวาดกลัว 43.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความปลอดภัยที่สนามบิน
โดยทั่วไปของประเทศไทย
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 23.9
2 ไม่เชื่อมั่น 61.4
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่าบุคคลต่อไปนี้
จะยอมให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้นหรือไม่
ลำดับที่ กลุ่มบุคคล เชื่อว่ายอมให้ตรวจ ไม่เชื่อว่าจะยอมให้ตรวจ ไม่มีความเห็น
1 คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 13.8 72.2 14.0
2 ผู้ติดตามนายกรัฐมนตรี 16.6 68.1 15.3
3 รัฐมนตรี 5.9 82.7 11.4
4 ผู้ติดตามรัฐมนตรี 20.3 69.4 10.3
5 นายทหารระดับสูง 18.7 61.7 19.6
6 นายตำรวจระดับสูง 15.5 63.0 21.5
7 ข้าราชการระดับสูงในสังกัด อื่นๆ 27.4 57.2 15.4
8 สื่อมวลชน 67.2 21.4 11.4
9 ประชาชนทั่วไป 93.6 4.9 1.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐมนตรีควรปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างโดยยอม
ให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจค้นก่อนขึ้นเครื่องบิน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐมนตรีควรแสดงเป็นตัวอย่างยอมให้ตรวจค้น 90.2
2 ไม่ควรยอมให้ตรวจค้น 4.2
3 ไม่มีความเห็น 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลควรเพิ่มมาตรการเข้มงวดด้าน
การรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ควรเพิ่ม 86.1
2 ไม่ควร 7.3
3 ไม่มีความเห็น 6.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อปัญหาความไม่พร้อมของคนในต่างจังหวัด
ที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแจ้งเบาะแส (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กลัวภัยคุกคามถึงตัวผู้แจ้ง 62.1
2 ไม่รู้ว่าจะแจ้งที่ไหน 60.4
3 ไม่มีช่องทางการแจ้งเบาะแส เช่น ไม่มีโทรศัพท์ 57.8
4 เสียค่าใช้จ่ายในการแจ้ง 49.3
5 เดินทางไม่สะดวก 47.6
6 ถูกครอบงำด้วยอิทธิพล 44.3
7 ไม่อยากยุ่งเกี่ยว 42.1
8 ไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ 38.7
9 อื่นๆ อาทิ ไม่ได้รับประโยชน์อะไร ไม่คิดว่าจะช่วยอะไรได้ เป็นต้น 12.2
--เอแบคโพลล์--