ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยา ลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมหรือ Gross Domestic Happiness (GDH) ด้านเศรษฐกิจ สังคมและ การเมือง เปรียบเทียบระหว่างเดือนกันยายน กับเดือนธันวาคม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ลพบุรี ชัยนาท สระแก้ว ราชบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครพนม นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร จำนวนทั้งสิ้น 2,520 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 — 24 ธันวาคม 2554 ที่ผ่าน มา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนตัวอย่างระดับครัว เรือน ช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
เมื่อค่าอ้างอิงความสุขมวลรวมอยู่ที่ระดับ 100 จุด ผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการเมือง พบว่า ค่าความสุขมวลรวม ของประชาชนในทุกด้านเริ่มดีขึ้นเกือบทุกตัวชี้วัด แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ค่าอ้างอิงซึ่งถือว่ายังไม่มีความสุขในด้านเศรษฐกิจ กับด้านการเมือง ส่วนด้านสังคม นั้นผลสำรวจพบว่าประชาชนมีความสุขโดยเฉพาะเรื่องการแสดงออกของประชาชนในความจงรักภักดีและบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านเศรษฐกิจนั้น แม้มีสัญญาณของผลสำรวจเริ่มดีขึ้นทุกตัวชี้วัดแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ค่าอ้างอิงที่ระดับ 100 จุด ทุกตัวชี้วัด หมายความว่า ประชาชนยังไม่มีความสุขด้านเศรษฐกิจ โดยพบว่า ค่าความสุขต่อรายได้ส่วนตัวสูงขึ้นเพียงเล็ก น้อยจาก 93.1 จุดในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 93.4 จุดในเดือนธันวาคม และรายได้ครัวเรือนสูงขึ้นจาก 83.2 จุดมาอยู่ที่ 91.8 จุด การใช้จ่ายใน ชีวิตประจำวันมีค่าความสุขสูงขึ้นจาก 75.6 จุดมาอยู่ที่ 83.9 จุด การเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภคจากกลุ่มนายทุนผู้ประกอบการธุรกิจสูงขึ้นจาก 74.7 จุดมาอยู่ที่ 77.8 จุด และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศสูงขึ้นจาก 61.3 จุดมาอยู่ที่ 66.1 จุด ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ายังไม่มีตัวชี้วัดใดเลยที่ผ่าน เกณฑ์ค่าอ้างอิงคือ 100 จุด หมายความว่าประชาชนยังไม่มีความสุขมวลรวมด้านเศรษฐกิจ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า แต่ประชาชนมีความสุขมวลรวมด้านสังคมที่คนไทยทุกคนในชาติจำเป็นต้องช่วยกันรักษาไว้เพราะเป็นความสุขที่ เวลานี้เหลือเพียงด้านสังคมเท่านั้นที่ประชาชนมีความสุข โดยพบว่า ค่าความสุขของประชาชนที่เห็นการแสดงความจงรักภักดีของคนในชาติต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์สูงขึ้นจาก 162.7 จุดในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 175.4 จุดในเดือนธันวาคม และบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวสูงขึ้น จาก 135.0 จุดมาอยู่ที่ 146.4 จุด สุขภาพใจในช่วง 30 วันที่ผ่านมาสูงขึ้นจาก 117.6 มาอยู่ที่ 134.0 จุด หน้าที่การงาน อาชีพที่ทำอยู่สูงขึ้นจาก 111.4 มาอยู่ที่ 121.5 จุด การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลในชุมชนสูงขึ้นจาก 110.7 มาอยู่ที่ 115.5 จุด ด้านคุณภาพการศึกษาของบุตรหลาน สูงขึ้นจาก 110.5 มาอยู่ที่ 124.3 จุด ด้านสุขภาพกายในช่วง 30 วันที่ผ่านมาสูงขึ้นจาก 108.8 มาอยู่ที่ 120.3 จุด ด้านบรรยากาศความสัมพันธ์ ของคนในชุมชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมาสูงขึ้นจาก 107.7 มาอยู่ที่ 121.9 จุด ด้านสภาพถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำดื่มน้ำใช้ในชุมชนช่วง 30 วันที่ผ่านมา สูงขึ้นจาก 94.9 จุดมาอยู่ที่ 107.2 จุด
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ค่าความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบันลดลงจาก 86.8 จุดมาอยู่ที่ 84.8 จุด หมายความว่า ประชาชนไม่มีความสุข และด้านความเป็นธรรมในสังคม ความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับที่ประชาชนยังไม่มีความสุขเพราะสำรวจพบอยู่ที่ 86.7 จุด ในเดือนกันยายน และ 88.6 จุดในเดือนธันวาคม รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย คนไทย และเด็กไทยที่ประชาชนยังไม่มีความสุขเพราะสำรวจพบ ในเดือนกันยายนอยู่ที่ 78.8 จุด และ 83.2 จุดในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าเกณฑ์อ้างอิงที่ 100 จุด ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่มีความสุขด้านการเมืองในทุกตัวชี้วัด เมื่อค่าอ้างอิงอยู่ที่ระดับ 100 จุด แต่หลายตัวมีทิศทางที่ดีขึ้นได้แก่ นโยบายของรัฐบาลค้นพบในเดือนกันยายนอยู่ที่ 92.5 จุด และ 96.6 จุดในเดือนธันวาคม ด้านการทำงานของรัฐบาลในการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ต่างๆ ค้นพบในเดือนกันยายนอยู่ที่ 91.2 จุดและ 99.3 จุดในเดือนธันวาคม ด้านการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินในช่วง 30 วันที่ผ่านมาสูงขึ้นแต่ประชาชนยังไม่มีความสุขเช่นกัน เพราะค้นพบในเดือนกันยายนอยู่ที่ 90.8 จุด และ 98.9 จุดในเดือน ธันวาคม รวมถึงการทำงานของรัฐบาลโดยภาพรวมในช่วงนี้ประชาชนยังไม่มีความสุขเช่นกันเพราะค้นพบในเดือนกันยายนอยู่ที่ 90.0 จุด และ 98.4 จุดในเดือนนี้
สำหรับการพบเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนยังไม่มีความสุขเช่นกันโดยค้นพบค่าความสุขต่ำ กว่าเกณฑ์อ้างอิงที่ 89.6 จุดในเดือนกันยายนและ 96.9 จุดในการสำรวจล่าสุดนี้ นอกจากนี้ประชาชนยังไม่พอใจการทำงานของนักการเมืองฝ่าย ค้าน ไม่มีความสุขต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในชุมชน ไม่มีความสุขต่อคุณภาพของนักการเมืองระดับชาติ และยังไม่มีความสุขต่อสถานการณ์การเมือง โดยภาพรวมเช่นกัน
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า โดยสรุป แม้ค่าความสุขมวลรวมเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปีนี้หลายตัวชี้วัดโดยเฉพาะด้านสังคมที่คนไทย เห็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนในชาติ บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว แต่คนไทยยังไม่มีความสุขด้านปากท้อง สภาวะ เศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางการเมือง และหากวิเคราะห์ค่าความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศระหว่างเดือนกันยายนกับเดือนธันวาคมพบว่า โดยภาพรวมคนไทย “เกือบ” จะมีความสุขเพราะค่าที่ค้นพบสูงขึ้นจาก 90.5 จุดมาอยู่ที่ 98.3 จุดแต่ยังต่ำกว่าค่าอ้างอิงที่ระดับ 100 จุด ดังนั้น จะ เห็นได้ว่า สิ่งที่ประชาชนทุกคนในชาติต้องช่วยกันคือ ประคับประคองสถานการณ์ทางการเมืองไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายไปกว่านี้อันจะเป็น ตัวบั่นทอนความสุขของคนไทย และรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจด้วยการ “ทำตามสัญญาประชาคม” ต่อสาธารณชนที่เคยให้ไว้เพื่อหนุน เสริมความสุขของประชาชนให้เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกภาคส่วนต้องทำงานหนัก “อย่างจริงจังและต่อเนื่อง” เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นทำให้ “ความสุขสุดท้ายที่เหลืออยู่ด้านสังคม” ของประชาชนกลายเป็นปัจจัยชี้นำให้ความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศคง อยู่ตลอดไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.8 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 32.9 อายุ 50 ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 86.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 11.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 32.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 4.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ตัวชี้วัดความสุข ด้านเศรษฐกิจ ค่าอ้างอิงความสุข กันยายน ธันวาคม ความหมาย 1 รายได้ส่วนตัว 100 93.1 93.4 ไม่มีความสุข 2 รายได้ครัวเรือน 100 83.2 91.8 ไม่มีความสุข 3 การใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน 100 75.6 83.9 ไม่มีความสุข 4 การร้องเรียกสิทธิของผู้บริโภคจากกลุ่มนายทุนผู้ประกอบการธุรกิจ 100 74.7 77.8 ไม่มีความสุข 5 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 100 61.3 66.1 ไม่มีความสุข ค่าความสุขมวลรวมโดยรวม ด้านเศรษฐกิจ 100 77.5 82.6 ไม่มีความสุข ตารางที่ 2 แสดงค่าเปรียบเทียบดัชนีความสุข ด้านสังคม จำแนกตามตัวชี้วัด (ถ้าค่าต่ำกว่า 100 จุด หมายถึง ไม่มีความสุข) ระหว่างเดือนกันยายน กับ เดือนธันวาคม ลำดับที่ ตัวชี้วัดความสุข ด้านสังคม ค่าอ้างอิงความสุข กันยายน ธันวาคม ความหมาย 1 เห็นประชาชนแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 100 162.7 175.4 มีความสุข 2 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 135.0 146.4 มีความสุข 3 สุขภาพทางใจ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 117.6 134.0 มีความสุข 4 หน้าที่การงาน อาชีพที่ทำอยู่ 100 111.4 121.5 มีความสุข 5 การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลในชุมชน 100 110.7 115.5 มีความสุข 6 คุณภาพด้านการศึกษาของบุตรหลาน 100 110.5 124.3 มีความสุข 7 สุขภาพทางกาย ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 108.8 120.3 มีความสุข 8 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 107.7 121.9 มีความสุข 9 สภาพถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำดื่มน้ำใช้ ในชุมชนช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 94.9 107.2 มีความสุข 10 วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบัน 100 86.8 84.8 ไม่มีความสุข 11 ความเป็นธรรมในสังคม/ความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ 100 86.7 88.6 ไม่มีความสุข 12 ภาพลักษณ์ของประเทศไทย คนไทย เด็กไทย 100 78.8 83.2 ไม่มีความสุข ค่าความสุขโดยรวม ด้าน สังคม 100.0 109.3 118.6 มีความสุข ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุข ด้านการเมือง จำแนกตามตัวชี้วัด (ถ้าค่าต่ำกว่า 100 จุด หมายถึง ไม่มีความสุข) ลำดับที่ ตัวชี้วัดความสุข ด้านการเมือง ค่าอ้างอิงความสุข กันยายน ธันวาคม ความหมาย 1 นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 100 92.5 96.6 ไม่มีความสุข 2 การทำงานของรัฐบาลในการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยภิบัติต่าง ๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 91.2 99.3 ไม่มีความสุข 3 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 90.8 98.9 ไม่มีความสุข 4 การทำงานของรัฐบาลโดยภาพรวมในช่วงเวลานี้ 100 90.0 98.4 ไม่มีความสุข 5 การพบเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 89.6 96.9 ไม่มีความสุข 6 การทำงานของนักการเมืองฝ่ายค้าน 100 87.2 84.8 ไม่มีความสุข 7 นักการเมืองระดับท้องถิ่นในชุมชน 100 80.4 93.4 ไม่มีความสุข 8 คุณภาพของนักการเมืองระดับชาติในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 100 71.1 87.6 ไม่มีความสุข 9 สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม 100 68.2 87.0 ไม่มีความสุข ค่าความสุขมวลรวม ด้านการเมือง 100 84.5 93.7 ไม่มีความสุข ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุข ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (ถ้าค่าต่ำกว่า 100 จุด หมายถึง ไม่มีความสุข) ลำดับที่ ตัวชี้วัดความสุข ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยรวม ค่าอ้างอิงความสุข กันยายน ธันวาคม ความหมาย 1 ความสุขมวลรวมด้าน เศรษฐกิจ 100 77.5 82.6 ไม่มีความสุข 2 ความสุขมวลรวมด้าน สังคม 100 109.3 118.6 มีความสุข 3 ความสุขมวลรวม ด้านการเมือง 100 84.5 93.7 ไม่มีความสุข ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ 100 90.5 98.3 ไม่มีความสุข
--เอแบคโพลล์--