ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่าปัญหายาเสพติดในสังคมไทยปัจจุบันจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากการดำเนินมาตรการอย่างเด็ดขาดโดยรัฐบาลตามแนวทางประกาศสงครายาเสพติดไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว แต่ก็มิได้หมายความว่ายาเสพติดจะหมดไปจากสังคมไทยอย่างสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้จากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในช่วง 1 - 2 เดือนที่ผ่านมา มีข่าวเรื่องการปรามปรามจับกุมเกี่ยวกับยาเสพติดรายใหญ่ปรากฎอยู่เสมอ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในระดับครัวเรือนจากการสุ่มตัวอย่างประชาชนใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ และสอบถามเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆ ในปัญหายาเสพติด อาทิ สถานการณ์ยาเสพติดจำแนกตามประเภทและกลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่พักอาศัยอยู่ขณะนี้ การเข้มงวดตรวจตราของภาครัฐในเรื่องที่เกี่ยวกับยาเสพติด และความพร้อมในการให้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหายาเสพติดในชุมชนที่พักอาศัย/บริเวณใกล้เคียง
2. เพื่อสำรวจสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในสังคมไทยปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความพร้อมของประชาชนในการให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติดครบรอบ 1 ปี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 - 21 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ครัวเรือนของประชาชนทั่วไปใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ หนองบัวลำพู ยโสธร หนองคาย สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และ สุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากร เป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,023 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 6.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 81.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 25.4 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 9.2 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร / ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัย
ลำดับที่ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่ตัวอย่างพักอาศัยอยู่ ร้อยละ
1 มีปัญหา 54.3
2 ไม่มีปัญหา 34.1
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคนในละแวกชุมชนที่พักอาศัย
เข้าไปเกี่ยวข้อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคนในละแวกชุมชนที่พักอาศัยเข้าไปเกี่ยวข้อง ร้อยละ
1 ยาบ้า 47.9
2 กาว / สารระเหย 36.5
3 กัญชา 27.5
4 ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด / ยากล่อมประสาท 27.5
5 กระท่อม 20.0
6 ยาอี 17.4
7 เฮโรอีน / ผงขาว 15.9
8 ยาเค 14.0
9 ฝิ่น 8.7
10 โคเคน 8.5
11 มอร์ฟีน 7.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติดจำแนกตามรายภาค (ผู้เสพ /ผู้ค้า /ผู้ผลิต)
ประเภทยาเสพติด ค่าร้อยละของการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือ
บริเวณใกล้เคียงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในแต่ละภูมิภาค
(ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
กทม. เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ภาพรวม
1. ยาบ้า 65.3 26.9 22.8 29.1 29.7 47.9
2. กาว / สารระเหย 55.6 15.2 9.0 17.0 12.8 36.5
3. กัญชา 44.1 4.6 3.3 9.4 14.1 27.5
4. ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด /
ยากล่อมประสาท 42.2 9.6 5.4 15.3 8.1 27.5
5. กระท่อม 32.8 0.9 0.6 1.7 16.6 20.0
6. ยาอี 30.0 2.5 1.2 2.7 3.1 17.4
7. เฮโรอีน / ผงขาว 27.8 1.2 0.6 1.5 4.1 15.9
8. ยาเค 24.9 0.6 0.9 1.2 1.6 14.0
9. ฝิ่น 15.1 2.2 0.3 0.7 1.3 8.7
10. โคเคน 15.4 0.3 0.3 0.2 0.3 8.5
11.มอร์ฟีน 13.3 0.6 0.3 0.2 0.3 7.4
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 3 พบว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดยังคงมีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ จากผลสำรวจของเอแบคโพลล์เกี่ยวกับยาเสพติดครั้งล่าสุด พบว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติดมากที่สุด เพราะประชาชนคนกรุงเทพฯ รับรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยในทุกตัวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ยาบ้า" "สารระเหย" "กัญชา" และ "ยานอนหลับ ยาคลายเครียด" ซึ่งประชาชนคนกรุงเทพส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 ระบุว่า ยาบ้า เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยอยู่ในขณะนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ พบว่า ยาบ้า ยังคงเป็นยาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประชาชนในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ที่น่าสังเกตคือ ภาคใต้ ซึ่งนอกจากยาบ้าที่เป็นปัญหาอันดับหนึ่งแล้ว ยังมี "กระท่อม" "กัญชา" และ "สารระเหย" ที่เป็นปัญหาสำคัญที่รองๆ ลงมาเช่นกัน
ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร ยังมีปัญหายาเสพติดอื่นๆ อีก ได้แก่ กระท่อม ยาอี เฮโรอีน ยาเค และโคเคน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(ผู้เสพ/ผู้ค้า /ผู้ผลิต และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างพบเห็นว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือบริเวณใกล้เคียง (ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
ประเภทยาเสพติด นักเรียน / ผู้ใช้แรงงาน/ พนักงานบริษัท ว่างงาน เยาวชนที่ นักศึกษา รับจ้างทั่วไป ไม่ได้เรียนหนังสือ
1. ยาบ้า 32.9 23.1 11.5 43.5 47.9
2. กัญชา 26.4 19.7 9.1 27.6 27.3
3. เฮโรอีน / ผงขาว 6.1 6.6 11.2 13.2 15.9
4. กาว / สารระเหย 12.4 14.0 3.4 31.7 36.5
5. ยาอี 17.4 11.8 14.3 14.7 13.0
6. ยาเค 14.6 11.8 10.2 10.8 14.0
7. ฝิ่น 4.4 6.9 7.2 8.4 8.7
8. โคเคน 8.1 6.8 8.5 3.4 7.8
9. มอร์ฟีน 1.0 7.4 1.0 5.0 6.2
10. ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด /
ยากล่อมประสาท 19.0 22.5 27.5 24.0 20.2
11. กระท่อม 7.1 20.0 8.9 18.5 19.4
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 4 พบว่า ประชาชนระบุ "ยาบ้า" ยังคงเป็นปัญหายาเสพติดในทุกกลุ่มคนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่พักอาศัย ซึ่งร้อยละ 47.9 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 43.5 ระบุกลุ่มคนว่างงาน ร้อยละ 32.9 ระบุกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และร้อยละ 23.1 ระบุกลุ่มคนที่ใช้แรงงาน ตามลำดับ นอกจากนี้ สำหรับปัญหายาเสพติดประเภท กาวหรือสารระเหย ประชาชนร้อยละ 36.5 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ รองลงมาคือร้อยละ 31.7 ระบุเป็นคนว่างงาน และร้อยละ 14.0 ระบุเป็นกลุ่มคนใช้แรงงาน ในขณะที่ปัญหายาเสพติดประเภท กัญชา ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุเป็นกลุ่มคนว่างงานที่เข้าไปเกี่ยวข้อง รองลงมาคือร้อยละ 27.3 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และร้อยละ 26.4 ระบุเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ตามลำดับ
นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ปัญหายาเสพติดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนรับรู้ว่า ยาเสพติดประเภท ยาอี โคเคน และยาเค เป็นยาเสพติดที่ระบาดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษามากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ายาเสพติดจะกลับมาเป็นปัญหาที่สำคัญ
และต้องการให้รัฐบาลเร่งปราบปรามให้หมดไป
ลำดับที่ ยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลควรเร่งปราบปรามให้หมดไปหรือไม่ ร้อยละ
1 เชื่อว่าจะกลับมาเป็นปัญหาสำคัญอีก 96.3
2 ไม่เชื่อว่าจะกลับมาเป็นปัญหาแล้ว 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ร้อยละ
1 ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด 73.5
2 แจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 72.6
3 ช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 67.1
4 เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันยาเสพติด 52.7
5 ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด 49.0
6 ช่วยบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด 35.5
7 ช่วยในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด 31.7
8 ไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือใดๆ 6.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ต้องการให้เข้ามาแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง
และต่อเนื่อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ต้องการให้เข้ามาแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 77.3
2 ตำรวจปราบปรามยาเสพติด 55.6
3 ประชาชนในพื้นที่ 41.9
4 แกนนำชุมชน 41.5
5 ตำรวจกองปราบ 41.0
6 เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. 37.6
7 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (รองนายกรัฐมนตรี) 37.5
8 ผู้ว่าราชการจังหวัด 24.2
9 เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ เช่น ตำรวจ ทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง 20.6
10 นายประชา มาลีนนท์ (รมช.กระทรวงมหาดไทย) 17.3
11 พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รมว.กระทรวงกลาโหม) 16.7
12 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (รองนายกรัฐมนตรี) 15.8
13 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (รมว.กระทรวงมหาดไทย) 15.6
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติดครบรอบ 1 ปี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 - 21 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 5,023 ครัวเรือน ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดยังคงมีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ จากผลสำรวจของเอแบคโพลล์เกี่ยวกับยาเสพติดครั้งล่าสุด พบว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติดมากที่สุด เพราะประชาชนคนกรุงเทพฯ รับรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยในทุกตัวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ยาบ้า" "สารระเหย" "กัญชา" และ "ยานอนหลับ ยาคลายเครียด" ซึ่งประชาชนคนกรุงเทพส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 ระบุว่า ยาบ้า เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยอยู่ในขณะนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ พบว่า ยาบ้า ยังคงเป็นยาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประชาชนในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ที่น่าสังเกตคือ ภาคใต้ ซึ่งนอกจากยาบ้าก็เป็นปัญหาอันดับหนึ่งแล้ว ยังมี "กระท่อม" "กัญชา" และ "สารระเหย" ก็เป็นปัญหาสำคัญที่รองๆ ลงมาเช่นกัน (ดูตารางที่ 3) ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร ยังมีปัญหายาเสพติดอื่นๆ อีกได้แก่ กระท่อม ยาอี เฮโรอีน ยาเค และโคเคน
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 4 พบว่า ประชาชนระบุ "ยาบ้า" ยังคงเป็นปัญหายาเสพติดในทุกกลุ่มคนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่พักอาศัย ซึ่งร้อยละ 47.9 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 43.5 ระบุกลุ่มคนว่างงาน ร้อยละ 32.9 ระบุกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และร้อยละ 23.1 ระบุกลุ่มคนที่ใช้แรงงาน ตามลำดับ นอกจากนี้ สำหรับปัญหายาเสพติดประเภท กาวหรือสารระเหย ประชาชนร้อยละ 36.5 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ รองลงมาคือร้อยละ 31.7 ระบุเป็นคนว่างงาน และร้อยละ 14.0 ระบุเป็นกลุ่มคนใช้แรงงาน ในขณะที่ปัญหายาเสพติดประเภท กัญชา ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุเป็นกลุ่มคนว่างงานที่เข้าไปเกี่ยวข้อง รองลงมาคือร้อยละ 27.3 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และร้อยละ 26.4 ระบุเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ตามลำดับ
นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัญหายาเสพติดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนรับรู้ ยาเสพติดประเภท ยาอี โคเคน และยาเค เป็นยาเสพติดที่ระบาดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษามากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ และเมื่อพิจารณากลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ จะพบปัญหายาเสพติดระบาดมากในเกือบทุกตัวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาบ้า สารระเหย กัญชา และกระท่อม นอกจากนี้ กระท่อมกลับเป็นปัญหาสำคัญในกลุ่มคนที่ใช้แรงงานอีกด้วย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบผลสำรวจที่จำแนกตามภูมิภาคแล้วจะพบว่าใบกระท่อมเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคใต้ ในระดับเดียวกันกับปัญหายาบ้าที่ยังคงมีอยู่ในบริเวณละแวกใกล้เคียงที่พักอาศัยของประชาชน
คณะผู้วิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มเยาวชนของประเทศ (ทั้งนักเรียน นักศึกษา และที่ไม่ได้เรียนหนังสือ) ยังคงตกเป็นกลุ่มเป้าหมายของขบวนการค้ายาเสพติดอยู่ในขณะนี้ และผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติดครบรอบ 1 ปีแล้วแต่ประชาชนยังคงประสบกับปัญหายาเสพติดในชุมชนที่พักอาศัยอยู่
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่าปัญหายาเสพติดในสังคมไทยปัจจุบันจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากการดำเนินมาตรการอย่างเด็ดขาดโดยรัฐบาลตามแนวทางประกาศสงครายาเสพติดไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว แต่ก็มิได้หมายความว่ายาเสพติดจะหมดไปจากสังคมไทยอย่างสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้จากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในช่วง 1 - 2 เดือนที่ผ่านมา มีข่าวเรื่องการปรามปรามจับกุมเกี่ยวกับยาเสพติดรายใหญ่ปรากฎอยู่เสมอ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในระดับครัวเรือนจากการสุ่มตัวอย่างประชาชนใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ และสอบถามเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆ ในปัญหายาเสพติด อาทิ สถานการณ์ยาเสพติดจำแนกตามประเภทและกลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่พักอาศัยอยู่ขณะนี้ การเข้มงวดตรวจตราของภาครัฐในเรื่องที่เกี่ยวกับยาเสพติด และความพร้อมในการให้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหายาเสพติดในชุมชนที่พักอาศัย/บริเวณใกล้เคียง
2. เพื่อสำรวจสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในสังคมไทยปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความพร้อมของประชาชนในการให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติดครบรอบ 1 ปี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 - 21 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ครัวเรือนของประชาชนทั่วไปใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ หนองบัวลำพู ยโสธร หนองคาย สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และ สุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากร เป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,023 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 6.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 81.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 25.4 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 9.2 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร / ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัย
ลำดับที่ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่ตัวอย่างพักอาศัยอยู่ ร้อยละ
1 มีปัญหา 54.3
2 ไม่มีปัญหา 34.1
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคนในละแวกชุมชนที่พักอาศัย
เข้าไปเกี่ยวข้อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคนในละแวกชุมชนที่พักอาศัยเข้าไปเกี่ยวข้อง ร้อยละ
1 ยาบ้า 47.9
2 กาว / สารระเหย 36.5
3 กัญชา 27.5
4 ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด / ยากล่อมประสาท 27.5
5 กระท่อม 20.0
6 ยาอี 17.4
7 เฮโรอีน / ผงขาว 15.9
8 ยาเค 14.0
9 ฝิ่น 8.7
10 โคเคน 8.5
11 มอร์ฟีน 7.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติดจำแนกตามรายภาค (ผู้เสพ /ผู้ค้า /ผู้ผลิต)
ประเภทยาเสพติด ค่าร้อยละของการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือ
บริเวณใกล้เคียงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในแต่ละภูมิภาค
(ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
กทม. เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ภาพรวม
1. ยาบ้า 65.3 26.9 22.8 29.1 29.7 47.9
2. กาว / สารระเหย 55.6 15.2 9.0 17.0 12.8 36.5
3. กัญชา 44.1 4.6 3.3 9.4 14.1 27.5
4. ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด /
ยากล่อมประสาท 42.2 9.6 5.4 15.3 8.1 27.5
5. กระท่อม 32.8 0.9 0.6 1.7 16.6 20.0
6. ยาอี 30.0 2.5 1.2 2.7 3.1 17.4
7. เฮโรอีน / ผงขาว 27.8 1.2 0.6 1.5 4.1 15.9
8. ยาเค 24.9 0.6 0.9 1.2 1.6 14.0
9. ฝิ่น 15.1 2.2 0.3 0.7 1.3 8.7
10. โคเคน 15.4 0.3 0.3 0.2 0.3 8.5
11.มอร์ฟีน 13.3 0.6 0.3 0.2 0.3 7.4
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 3 พบว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดยังคงมีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ จากผลสำรวจของเอแบคโพลล์เกี่ยวกับยาเสพติดครั้งล่าสุด พบว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติดมากที่สุด เพราะประชาชนคนกรุงเทพฯ รับรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยในทุกตัวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ยาบ้า" "สารระเหย" "กัญชา" และ "ยานอนหลับ ยาคลายเครียด" ซึ่งประชาชนคนกรุงเทพส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 ระบุว่า ยาบ้า เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยอยู่ในขณะนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ พบว่า ยาบ้า ยังคงเป็นยาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประชาชนในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ที่น่าสังเกตคือ ภาคใต้ ซึ่งนอกจากยาบ้าที่เป็นปัญหาอันดับหนึ่งแล้ว ยังมี "กระท่อม" "กัญชา" และ "สารระเหย" ที่เป็นปัญหาสำคัญที่รองๆ ลงมาเช่นกัน
ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร ยังมีปัญหายาเสพติดอื่นๆ อีก ได้แก่ กระท่อม ยาอี เฮโรอีน ยาเค และโคเคน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(ผู้เสพ/ผู้ค้า /ผู้ผลิต และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างพบเห็นว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือบริเวณใกล้เคียง (ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
ประเภทยาเสพติด นักเรียน / ผู้ใช้แรงงาน/ พนักงานบริษัท ว่างงาน เยาวชนที่ นักศึกษา รับจ้างทั่วไป ไม่ได้เรียนหนังสือ
1. ยาบ้า 32.9 23.1 11.5 43.5 47.9
2. กัญชา 26.4 19.7 9.1 27.6 27.3
3. เฮโรอีน / ผงขาว 6.1 6.6 11.2 13.2 15.9
4. กาว / สารระเหย 12.4 14.0 3.4 31.7 36.5
5. ยาอี 17.4 11.8 14.3 14.7 13.0
6. ยาเค 14.6 11.8 10.2 10.8 14.0
7. ฝิ่น 4.4 6.9 7.2 8.4 8.7
8. โคเคน 8.1 6.8 8.5 3.4 7.8
9. มอร์ฟีน 1.0 7.4 1.0 5.0 6.2
10. ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด /
ยากล่อมประสาท 19.0 22.5 27.5 24.0 20.2
11. กระท่อม 7.1 20.0 8.9 18.5 19.4
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 4 พบว่า ประชาชนระบุ "ยาบ้า" ยังคงเป็นปัญหายาเสพติดในทุกกลุ่มคนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่พักอาศัย ซึ่งร้อยละ 47.9 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 43.5 ระบุกลุ่มคนว่างงาน ร้อยละ 32.9 ระบุกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และร้อยละ 23.1 ระบุกลุ่มคนที่ใช้แรงงาน ตามลำดับ นอกจากนี้ สำหรับปัญหายาเสพติดประเภท กาวหรือสารระเหย ประชาชนร้อยละ 36.5 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ รองลงมาคือร้อยละ 31.7 ระบุเป็นคนว่างงาน และร้อยละ 14.0 ระบุเป็นกลุ่มคนใช้แรงงาน ในขณะที่ปัญหายาเสพติดประเภท กัญชา ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุเป็นกลุ่มคนว่างงานที่เข้าไปเกี่ยวข้อง รองลงมาคือร้อยละ 27.3 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และร้อยละ 26.4 ระบุเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ตามลำดับ
นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ปัญหายาเสพติดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนรับรู้ว่า ยาเสพติดประเภท ยาอี โคเคน และยาเค เป็นยาเสพติดที่ระบาดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษามากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ายาเสพติดจะกลับมาเป็นปัญหาที่สำคัญ
และต้องการให้รัฐบาลเร่งปราบปรามให้หมดไป
ลำดับที่ ยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลควรเร่งปราบปรามให้หมดไปหรือไม่ ร้อยละ
1 เชื่อว่าจะกลับมาเป็นปัญหาสำคัญอีก 96.3
2 ไม่เชื่อว่าจะกลับมาเป็นปัญหาแล้ว 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ร้อยละ
1 ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด 73.5
2 แจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 72.6
3 ช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 67.1
4 เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันยาเสพติด 52.7
5 ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด 49.0
6 ช่วยบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด 35.5
7 ช่วยในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด 31.7
8 ไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือใดๆ 6.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ต้องการให้เข้ามาแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง
และต่อเนื่อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ต้องการให้เข้ามาแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 77.3
2 ตำรวจปราบปรามยาเสพติด 55.6
3 ประชาชนในพื้นที่ 41.9
4 แกนนำชุมชน 41.5
5 ตำรวจกองปราบ 41.0
6 เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. 37.6
7 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (รองนายกรัฐมนตรี) 37.5
8 ผู้ว่าราชการจังหวัด 24.2
9 เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ เช่น ตำรวจ ทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง 20.6
10 นายประชา มาลีนนท์ (รมช.กระทรวงมหาดไทย) 17.3
11 พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รมว.กระทรวงกลาโหม) 16.7
12 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (รองนายกรัฐมนตรี) 15.8
13 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (รมว.กระทรวงมหาดไทย) 15.6
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติดครบรอบ 1 ปี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 - 21 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 5,023 ครัวเรือน ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดยังคงมีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ จากผลสำรวจของเอแบคโพลล์เกี่ยวกับยาเสพติดครั้งล่าสุด พบว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติดมากที่สุด เพราะประชาชนคนกรุงเทพฯ รับรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยในทุกตัวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ยาบ้า" "สารระเหย" "กัญชา" และ "ยานอนหลับ ยาคลายเครียด" ซึ่งประชาชนคนกรุงเทพส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 ระบุว่า ยาบ้า เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่พักอาศัยอยู่ในขณะนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ พบว่า ยาบ้า ยังคงเป็นยาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประชาชนในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ที่น่าสังเกตคือ ภาคใต้ ซึ่งนอกจากยาบ้าก็เป็นปัญหาอันดับหนึ่งแล้ว ยังมี "กระท่อม" "กัญชา" และ "สารระเหย" ก็เป็นปัญหาสำคัญที่รองๆ ลงมาเช่นกัน (ดูตารางที่ 3) ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร ยังมีปัญหายาเสพติดอื่นๆ อีกได้แก่ กระท่อม ยาอี เฮโรอีน ยาเค และโคเคน
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 4 พบว่า ประชาชนระบุ "ยาบ้า" ยังคงเป็นปัญหายาเสพติดในทุกกลุ่มคนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่พักอาศัย ซึ่งร้อยละ 47.9 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 43.5 ระบุกลุ่มคนว่างงาน ร้อยละ 32.9 ระบุกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และร้อยละ 23.1 ระบุกลุ่มคนที่ใช้แรงงาน ตามลำดับ นอกจากนี้ สำหรับปัญหายาเสพติดประเภท กาวหรือสารระเหย ประชาชนร้อยละ 36.5 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ รองลงมาคือร้อยละ 31.7 ระบุเป็นคนว่างงาน และร้อยละ 14.0 ระบุเป็นกลุ่มคนใช้แรงงาน ในขณะที่ปัญหายาเสพติดประเภท กัญชา ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุเป็นกลุ่มคนว่างงานที่เข้าไปเกี่ยวข้อง รองลงมาคือร้อยละ 27.3 ระบุเป็นกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และร้อยละ 26.4 ระบุเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ตามลำดับ
นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัญหายาเสพติดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนรับรู้ ยาเสพติดประเภท ยาอี โคเคน และยาเค เป็นยาเสพติดที่ระบาดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษามากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ และเมื่อพิจารณากลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ จะพบปัญหายาเสพติดระบาดมากในเกือบทุกตัวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาบ้า สารระเหย กัญชา และกระท่อม นอกจากนี้ กระท่อมกลับเป็นปัญหาสำคัญในกลุ่มคนที่ใช้แรงงานอีกด้วย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบผลสำรวจที่จำแนกตามภูมิภาคแล้วจะพบว่าใบกระท่อมเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคใต้ ในระดับเดียวกันกับปัญหายาบ้าที่ยังคงมีอยู่ในบริเวณละแวกใกล้เคียงที่พักอาศัยของประชาชน
คณะผู้วิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มเยาวชนของประเทศ (ทั้งนักเรียน นักศึกษา และที่ไม่ได้เรียนหนังสือ) ยังคงตกเป็นกลุ่มเป้าหมายของขบวนการค้ายาเสพติดอยู่ในขณะนี้ และผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติดครบรอบ 1 ปีแล้วแต่ประชาชนยังคงประสบกับปัญหายาเสพติดในชุมชนที่พักอาศัยอยู่
--เอแบคโพลล์--
-พห-