ที่มาของโครงการ
ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการดำเนินนโยบายตามที่ประกาศหาเสียงไว้กับประชาชน โดยมีนโยบายเร่งด่วนหลายประการ เช่น นโยบายการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละหนึ่งล้านบาท โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การจัดตั้งธนาคารประชาชน การพัฒนารัฐวิสาหกิจ การแก้ปัญหายาเสพติด การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง/เล็ก และที่สำคัญคือ การแก้ปัญหาคอรัปชั่น การปราบปรามผู้มีอิทธิพล เป็นต้น
ปัจจุบันรัฐบาลชุดนี้ได้บริหารราชการแผ่นดินมาเป็นเวลาครบ 3 ปี คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการสำรวจวิจัย เพื่อประเมินผลงานของรัฐบาลในความคาดหวังและการรับรู้ต่อผลงานของรัฐบาลรอบ 6 เดือน / 9 เดือน / 1 ปี / 1 ปี 6 เดือน / 2 ปี / 2 ปี 6 เดือน และล่าสุดเมื่อครบรอบ 3 ปี เพื่อติดตามการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและทำการเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้เพื่อค้นหาข้อมูลทางสถิติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์จากประชาชนทั่วไป ครอบคลุม 25 จังหวัดทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ทั้งในชุมชนเมืองและเขตชนบทจากประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและประชาชนผู้สนใจทั่วไปใช้ในการปฏิรูปการเมืองของประเทศต่อไปได้ สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้และความพึงพอใจในผลงานของรัฐบาลในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา
2. เพื่อวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนต่อผลงานในภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะบุคคลในสถาบันการเมืองและประชาชนทั่วไปใช้ตัดสินใจดำเนินการทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศได้
2. เป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานในรอบ 3 ปีของรัฐบาลทักษิณ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3 - 23 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกจังหวัดตัวอย่างได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ เลย กาฬสินธุ์ นครนายก นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สระแก้ว นครศรีธรรมราช ตรัง ชุมพร และ ระนอง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วน โดยให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของตัวอย่าง คือ 4,099 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 3.39 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 28.4 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 16.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่าง
ร้อยละ 86.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 13.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โดยที่ตัวอย่าง
ร้อยละ 47.1 อาชีพเกษตรกร / รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.5 ค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 9.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.3 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เกษียณอายุ / แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ
และร้อยละ 4.9 เป็นนักศึกษา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบของผลสำรวจปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในรอบ 3 ปีที่รัฐบาล
เข้ามาบริหารประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 45.0
2 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 39.4
3 ปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 27.4
4 ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 27.4
5 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 24.8
6 การแก้ปัญหาการว่างงาน 23.5
7 ปัญหาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 23.2
8 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 21.2
9 ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐบาล 19.3
10 ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด 18.9
11 ปัญหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนในฝ่ายรัฐบาล 18.5
12 ปัญหาส่วยสถานบันเทิง 17.6
13 การควบคุมอารมณ์ของนายกรัฐมนตรีที่มักออกมาตอบโต้ผู้ที่วิจารณ์รัฐบาล 16.7
14 การแทรกแซงสื่อมวลชน 15.2
15 การส่งทหารไทยไปประเทศอิรัก 13.7
16 การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 11.8
17 รัฐบาลแต่งตั้งคนที่ภาพลักษณ์ไม่ดีมาเป็นรัฐมนตรี 9.7
18 ความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 8.4
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจต่อผลงานรอบ 3 ปี
ที่ผ่านมาของรัฐบาลจากภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลเคยแถลงต่อรัฐสภา
ลำดับที่ ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลในผลงานรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา ความพึงพอใจ%
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 80.4
2 โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 78.8
3 การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท 64.1
4 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 61.2
5 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี 57.8
6 การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 45.0
7 การจัดตั้งธนาคารประชาชน 43.7
8 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 42.1
9 การจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ 34.7
10 การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง / เล็ก 34.6
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 2 พบว่า มีภารกิจเร่งด่วน 5 โครงการของรัฐบาลที่เคยแถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนเกินร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 80.4 ระบุพอใจต่อการแก้ปัญหายาเสพติดของรัฐบาล รองลงมาคือ ร้อยละ 78.8 พอใจโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ร้อยละ 64.1 พอใจต่อการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ร้อยละ 61.2 พอใจโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และร้อยละ 57.8 พอใจการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี
อย่างไรก็ตาม มีภารกิจเร่งด่วนอีก 5 โครงการของรัฐบาลที่ประชาชนยังไม่ถึงร้อยละ 50 พอใจในผลงาน ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 45.0 พอใจต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 43.7 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารประชาชน ร้อยละ 42.1 พอใจต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 34.7 พอใจต่อการจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ และร้อยละ 34.6 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ตามลำดับ
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 18.2
2 ค่อนข้างมั่นใจ 32.3
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 33.7
4 ไม่มั่นใจ 6.2
5 ไม่มีความเห็น 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยก ร้อยละ
ในพรรคร่วมรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า
1 มั่นใจ 13.0
2 ค่อนข้างมั่นใจ 19.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 38.5
4 ไม่มั่นใจ 15.0
5 ไม่มีความเห็น 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่น ร้อยละ
ได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า
1 มั่นใจ 15.0
2 ค่อนข้างมั่นใจ 22.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 37.7
4 ไม่มั่นใจ 16.2
5 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ
ได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า
1 มั่นใจ 27.3
2 ค่อนข้างมั่นใจ 38.2
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 22.1
4 ไม่มั่นใจ 7.3
5 ไม่มีความเห็น 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบ พรรคการเมืองใดมากกว่ากัน
ระหว่าง พรรคไทยรักไทย กับพรรคประชาธิปัตย์"
ลำดับที่ พรรคการเมือง ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ กทม. ภาพรวม
1 ไทยรักไทย 62.0 56.7 52.6 21.4 51.3 51.2
2 ประชาธิปัตย์ 8.9 11.5 9.7 47.9 19.8 16.3
3 ไม่มีความเห็น 29.1 31.8 37.7 30.7 28.9 32.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการหรือไม่ต้องการที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่างที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ร้อยละ
1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาล 67.7
2 ไม่ต้องการ 4.2
3 ไม่มีความเห็น 28.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานในรอบ3 ปีของรัฐบาลทักษิณ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ ระหว่างวันที่ 3 - 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ 10 อันดับเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยลำดับตามค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชน ได้แก่ อันดับหนึ่ง ประชาชนร้อยละ 45.0 ระบุปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ อันดับสอง ประชาชนร้อยละ 39.4 ระบุปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก อันดับสามมีสองปัญหาที่ได้ค่าร้อยละเท่ากันได้แก่ ประชาชนร้อยละ 27.4 ระบุปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ และ ร้อยละ 27.4 เท่ากันระบุปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันดับห้า ประชาชนร้อยละ 24.8 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อันดับหก ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 23.5 ระบุปัญหาว่างงาน อันดับเจ็ด ประชาชนร้อยละ 23.2 ระบุปัญหาโครงการ 30 บาทรักษา ทุกโรค อันดับแปด ประชาชนร้อยละ 21.2 ระบุปัญหาผู้มีอิทธิพล อันดับเก้า ประชาชนร้อยละ 19.3 ระบุปัญหาความขัดแย้งกันเองภายในรัฐบาล และอันดับสิบ ประชาชนร้อยละ 18.9 ระบุเป็นปัญหายาเสพติด ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความพึงพอใจของประชาชนต่อภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยแถลงต่อรัฐสภาเมื่อประมาณสามปีที่ผ่านมา พบว่า มีภารกิจเร่งด่วน 5 โครงการของรัฐบาลที่เคยแถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนเกินร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 80.4 ระบุพอใจต่อการแก้ปัญหายาเสพติดของรัฐบาล รองลงมาคือ ร้อยละ 78.8 พอใจโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ร้อยละ 64.1 พอใจต่อการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ร้อยละ 61.2 พอใจโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และร้อยละ 57.8 พอใจการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี
อย่างไรก็ตาม มีภารกิจเร่งด่วนอีก 5 โครงการของรัฐบาลที่ประชาชนยังไม่ถึงร้อยละ 50 พอใจในผลงาน ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 45.0 พอใจต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 43.7 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารประชาชน ร้อยละ 42.1 พอใจต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 34.7 พอใจต่อการจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ และร้อยละ 34.6 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงระดับความมั่นใจของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ในอีก 6 เดือนข้างหน้า เอแบคโพลล์พบว่า ประชาชนประมาณหนึ่งในสามหรือร้อยละ 33.7 ไม่ค่อยมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีกหกเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามร้อยละ 32.3 ระบุค่อนข้างมั่นใจและร้อยละ 18.2 มั่นใจ มีเพียงร้อยละ 6.2 ที่ไม่มั่นใจต่อรัฐบาล
เมื่อสอบถามถึงระดับความมั่นใจของประชาชนต่อการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 38.5 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 15.0 ไม่มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ค่อนข้างมั่นใจต่อรัฐบาลและร้อยละ 13.0 มั่นใจ ที่เหลือร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า เอแบคโพลล์สำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.7 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 16.2 ไม่มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 22.6 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 15.0 มั่นใจ และร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 38.2 ค่อนข้างมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด และร้อยละ 27.3 มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 22.1 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 7.3 ไม่มั่นใจ และร้อยละ 5.1 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อสองพรรคการเมืองใหญ่ระหว่างพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ผลสำรวจพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมจากประชาชนในเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยประชาชนภาคเหนือ ร้อยละ 62.0 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 8.9 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนภาคกลางร้อยละ 56.7 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 11.5 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 52.6 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 9.7 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนภาคใต้ร้อยละ 21.4 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 47.9 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ และประชาชนคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 51.3 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 19.8 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ตามลำดับ
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายก รัฐมนตรี และทำการเปรียบเทียบแนวโน้มตั้งแต่เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2544 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2547 พบว่า ผลสำรวจครั้งล่าสุดแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีมีทิศทางลดต่ำลง จากร้อยละ 64.6 ลดลงมาที่ร้อยละ 60.1 อาจเป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้และปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก สำหรับเหตุการณ์ในอดีตที่มีผลต่อดีต่อแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีคือ ท่าทีที่แข็งกร้าวและปกป้องคนไทยที่ประสบเหตุจลาจลในประเทศกัมพูชา และความสำเร็จในการปราบปรามยาเสพติดในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มความนิยมที่ลดต่ำลงในช่วงที่รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินได้ประมาณหนึ่งและสองเดือน อาจเป็นเพราะความไม่ชัดเจนในผลงานต่างๆ ของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 ยังคงไว้วางใจต้องการให้โอกาสรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานบริหารประเทศต่อไป มีเพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่ไม่ต้องการ และร้อยละ 28.1 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการดำเนินนโยบายตามที่ประกาศหาเสียงไว้กับประชาชน โดยมีนโยบายเร่งด่วนหลายประการ เช่น นโยบายการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละหนึ่งล้านบาท โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การจัดตั้งธนาคารประชาชน การพัฒนารัฐวิสาหกิจ การแก้ปัญหายาเสพติด การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง/เล็ก และที่สำคัญคือ การแก้ปัญหาคอรัปชั่น การปราบปรามผู้มีอิทธิพล เป็นต้น
ปัจจุบันรัฐบาลชุดนี้ได้บริหารราชการแผ่นดินมาเป็นเวลาครบ 3 ปี คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการสำรวจวิจัย เพื่อประเมินผลงานของรัฐบาลในความคาดหวังและการรับรู้ต่อผลงานของรัฐบาลรอบ 6 เดือน / 9 เดือน / 1 ปี / 1 ปี 6 เดือน / 2 ปี / 2 ปี 6 เดือน และล่าสุดเมื่อครบรอบ 3 ปี เพื่อติดตามการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและทำการเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้เพื่อค้นหาข้อมูลทางสถิติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์จากประชาชนทั่วไป ครอบคลุม 25 จังหวัดทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ทั้งในชุมชนเมืองและเขตชนบทจากประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและประชาชนผู้สนใจทั่วไปใช้ในการปฏิรูปการเมืองของประเทศต่อไปได้ สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้และความพึงพอใจในผลงานของรัฐบาลในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา
2. เพื่อวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนต่อผลงานในภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะบุคคลในสถาบันการเมืองและประชาชนทั่วไปใช้ตัดสินใจดำเนินการทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศได้
2. เป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานในรอบ 3 ปีของรัฐบาลทักษิณ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3 - 23 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกจังหวัดตัวอย่างได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ เลย กาฬสินธุ์ นครนายก นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สระแก้ว นครศรีธรรมราช ตรัง ชุมพร และ ระนอง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วน โดยให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของตัวอย่าง คือ 4,099 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 3.39 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 28.4 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 16.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่าง
ร้อยละ 86.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 13.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โดยที่ตัวอย่าง
ร้อยละ 47.1 อาชีพเกษตรกร / รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.5 ค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 9.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.3 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เกษียณอายุ / แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ
และร้อยละ 4.9 เป็นนักศึกษา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบของผลสำรวจปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในรอบ 3 ปีที่รัฐบาล
เข้ามาบริหารประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 45.0
2 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 39.4
3 ปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 27.4
4 ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 27.4
5 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 24.8
6 การแก้ปัญหาการว่างงาน 23.5
7 ปัญหาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 23.2
8 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 21.2
9 ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐบาล 19.3
10 ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด 18.9
11 ปัญหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนในฝ่ายรัฐบาล 18.5
12 ปัญหาส่วยสถานบันเทิง 17.6
13 การควบคุมอารมณ์ของนายกรัฐมนตรีที่มักออกมาตอบโต้ผู้ที่วิจารณ์รัฐบาล 16.7
14 การแทรกแซงสื่อมวลชน 15.2
15 การส่งทหารไทยไปประเทศอิรัก 13.7
16 การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 11.8
17 รัฐบาลแต่งตั้งคนที่ภาพลักษณ์ไม่ดีมาเป็นรัฐมนตรี 9.7
18 ความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 8.4
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจต่อผลงานรอบ 3 ปี
ที่ผ่านมาของรัฐบาลจากภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลเคยแถลงต่อรัฐสภา
ลำดับที่ ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลในผลงานรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา ความพึงพอใจ%
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 80.4
2 โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 78.8
3 การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท 64.1
4 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 61.2
5 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี 57.8
6 การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 45.0
7 การจัดตั้งธนาคารประชาชน 43.7
8 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 42.1
9 การจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ 34.7
10 การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง / เล็ก 34.6
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 2 พบว่า มีภารกิจเร่งด่วน 5 โครงการของรัฐบาลที่เคยแถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนเกินร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 80.4 ระบุพอใจต่อการแก้ปัญหายาเสพติดของรัฐบาล รองลงมาคือ ร้อยละ 78.8 พอใจโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ร้อยละ 64.1 พอใจต่อการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ร้อยละ 61.2 พอใจโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และร้อยละ 57.8 พอใจการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี
อย่างไรก็ตาม มีภารกิจเร่งด่วนอีก 5 โครงการของรัฐบาลที่ประชาชนยังไม่ถึงร้อยละ 50 พอใจในผลงาน ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 45.0 พอใจต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 43.7 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารประชาชน ร้อยละ 42.1 พอใจต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 34.7 พอใจต่อการจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ และร้อยละ 34.6 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ตามลำดับ
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 18.2
2 ค่อนข้างมั่นใจ 32.3
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 33.7
4 ไม่มั่นใจ 6.2
5 ไม่มีความเห็น 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยก ร้อยละ
ในพรรคร่วมรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า
1 มั่นใจ 13.0
2 ค่อนข้างมั่นใจ 19.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 38.5
4 ไม่มั่นใจ 15.0
5 ไม่มีความเห็น 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่น ร้อยละ
ได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า
1 มั่นใจ 15.0
2 ค่อนข้างมั่นใจ 22.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 37.7
4 ไม่มั่นใจ 16.2
5 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ
ได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า
1 มั่นใจ 27.3
2 ค่อนข้างมั่นใจ 38.2
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 22.1
4 ไม่มั่นใจ 7.3
5 ไม่มีความเห็น 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบ พรรคการเมืองใดมากกว่ากัน
ระหว่าง พรรคไทยรักไทย กับพรรคประชาธิปัตย์"
ลำดับที่ พรรคการเมือง ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ กทม. ภาพรวม
1 ไทยรักไทย 62.0 56.7 52.6 21.4 51.3 51.2
2 ประชาธิปัตย์ 8.9 11.5 9.7 47.9 19.8 16.3
3 ไม่มีความเห็น 29.1 31.8 37.7 30.7 28.9 32.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการหรือไม่ต้องการที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่างที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ร้อยละ
1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาล 67.7
2 ไม่ต้องการ 4.2
3 ไม่มีความเห็น 28.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานในรอบ3 ปีของรัฐบาลทักษิณ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ ระหว่างวันที่ 3 - 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ 10 อันดับเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยลำดับตามค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชน ได้แก่ อันดับหนึ่ง ประชาชนร้อยละ 45.0 ระบุปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ อันดับสอง ประชาชนร้อยละ 39.4 ระบุปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก อันดับสามมีสองปัญหาที่ได้ค่าร้อยละเท่ากันได้แก่ ประชาชนร้อยละ 27.4 ระบุปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ และ ร้อยละ 27.4 เท่ากันระบุปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันดับห้า ประชาชนร้อยละ 24.8 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อันดับหก ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 23.5 ระบุปัญหาว่างงาน อันดับเจ็ด ประชาชนร้อยละ 23.2 ระบุปัญหาโครงการ 30 บาทรักษา ทุกโรค อันดับแปด ประชาชนร้อยละ 21.2 ระบุปัญหาผู้มีอิทธิพล อันดับเก้า ประชาชนร้อยละ 19.3 ระบุปัญหาความขัดแย้งกันเองภายในรัฐบาล และอันดับสิบ ประชาชนร้อยละ 18.9 ระบุเป็นปัญหายาเสพติด ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความพึงพอใจของประชาชนต่อภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยแถลงต่อรัฐสภาเมื่อประมาณสามปีที่ผ่านมา พบว่า มีภารกิจเร่งด่วน 5 โครงการของรัฐบาลที่เคยแถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนเกินร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 80.4 ระบุพอใจต่อการแก้ปัญหายาเสพติดของรัฐบาล รองลงมาคือ ร้อยละ 78.8 พอใจโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ร้อยละ 64.1 พอใจต่อการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ร้อยละ 61.2 พอใจโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และร้อยละ 57.8 พอใจการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี
อย่างไรก็ตาม มีภารกิจเร่งด่วนอีก 5 โครงการของรัฐบาลที่ประชาชนยังไม่ถึงร้อยละ 50 พอใจในผลงาน ได้แก่ ประชาชนร้อยละ 45.0 พอใจต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 43.7 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารประชาชน ร้อยละ 42.1 พอใจต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 34.7 พอใจต่อการจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ และร้อยละ 34.6 พอใจต่อการจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงระดับความมั่นใจของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ในอีก 6 เดือนข้างหน้า เอแบคโพลล์พบว่า ประชาชนประมาณหนึ่งในสามหรือร้อยละ 33.7 ไม่ค่อยมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีกหกเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามร้อยละ 32.3 ระบุค่อนข้างมั่นใจและร้อยละ 18.2 มั่นใจ มีเพียงร้อยละ 6.2 ที่ไม่มั่นใจต่อรัฐบาล
เมื่อสอบถามถึงระดับความมั่นใจของประชาชนต่อการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 38.5 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 15.0 ไม่มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ค่อนข้างมั่นใจต่อรัฐบาลและร้อยละ 13.0 มั่นใจ ที่เหลือร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า เอแบคโพลล์สำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.7 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 16.2 ไม่มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 22.6 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 15.0 มั่นใจ และร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 38.2 ค่อนข้างมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด และร้อยละ 27.3 มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 22.1 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 7.3 ไม่มั่นใจ และร้อยละ 5.1 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อสองพรรคการเมืองใหญ่ระหว่างพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ผลสำรวจพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมจากประชาชนในเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยประชาชนภาคเหนือ ร้อยละ 62.0 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 8.9 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนภาคกลางร้อยละ 56.7 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 11.5 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 52.6 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 9.7 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนภาคใต้ร้อยละ 21.4 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 47.9 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ และประชาชนคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 51.3 นิยมพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 19.8 นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ตามลำดับ
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายก รัฐมนตรี และทำการเปรียบเทียบแนวโน้มตั้งแต่เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2544 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2547 พบว่า ผลสำรวจครั้งล่าสุดแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีมีทิศทางลดต่ำลง จากร้อยละ 64.6 ลดลงมาที่ร้อยละ 60.1 อาจเป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้และปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก สำหรับเหตุการณ์ในอดีตที่มีผลต่อดีต่อแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีคือ ท่าทีที่แข็งกร้าวและปกป้องคนไทยที่ประสบเหตุจลาจลในประเทศกัมพูชา และความสำเร็จในการปราบปรามยาเสพติดในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มความนิยมที่ลดต่ำลงในช่วงที่รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินได้ประมาณหนึ่งและสองเดือน อาจเป็นเพราะความไม่ชัดเจนในผลงานต่างๆ ของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 ยังคงไว้วางใจต้องการให้โอกาสรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานบริหารประเทศต่อไป มีเพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่ไม่ต้องการ และร้อยละ 28.1 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-