ที่มาของโครงการ
ในขณะที่รัฐบาลเดินหน้านโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. โดยจะมีการกระจายหุ้นให้ประชาชนวันที่ 1 มีนาคม 2547 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 12 พฤษภาคม 2547 นี้ ก็มีกระแสการคัดค้าน โดยเฉพาะจากบรรดาพนักงานของ กฟผ.ที่มาในรูปของสหภาพแรงงาน กฟผ. มาชุมนุมประท้วงการแปรรูปดังกล่าว ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติของการชุมนุมประท้วงระหว่างพนักงาน กฟผ. กับฝ่าย รัฐบาลได้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงาน กฟผ.
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ.ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,147 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5.72
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 32.0 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 17.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช.
ร้อยละ 24.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 20.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 3.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 24.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/ อิสระ
ร้อยละ 13.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.9 ระบุเป็นนักเรียน/ นักศึกษา
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.8 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน/ เกษียณอายุ, เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ของพนักงาน กฟผ.
ลำดับที่ การติดตามข่าวการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ
1 ติดตาม 75.5
2 ไม่ได้ติดตาม 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ของพนักงาน กฟผ.
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.4
2 ไม่เห็นด้วย 33.3
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านของพนักงาน กฟผ. ว่า
เป็นการทำเพื่อส่วนรวม / ประเทศชาติ หรือไม่
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ
ว่าเป็นการทำเพื่อส่วนรวม / ประเทศชาติ หรือไม่
1 เชื่อว่าทำเพื่อส่วนรวม 35.6
2 ไม่เชื่อว่าทำเพื่อส่วนรวม 31.1
3 ไม่มีความเห็น 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ จากการพิจารณาตารางที่ 2 และ 3 จะพบว่า ประชาชนคนกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน มากนัก ระหว่างกลุ่มคนที่เห็นด้วยต่อการชุมนุมประท้วง กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วย และประชาชนที่ไม่มีความเห็น เนื่องจากในทางสถิติผลสำรวจครั้งนี้มีช่วงความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5.72 ดังนั้นอาจกล่าวโดนสรุปว่า ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงของ พนักงาน กฟผ. และเห็นว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ในขณะที่ ประชาชนอีกประมาณ 1 ใน 3 ไม่เห็นด้วยและไม่เชื่อว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ที่เหลือของตัวอย่างทั้งหมดไม่มีความเห็น
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีความวิตกกังวลว่าภายหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. จะทำให้
กลุ่มนายทุนเข้าไปผูกขาดกิจการ
อันดับที่ ความวิตกกังวลว่าภายหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ร้อยละ
จะทำให้กลุ่มนายทุนเข้าไปผูกขาดกิจการ
1 วิตกกังวล 55.4
2 ไม่วิตกกังวล 25.9
3 ไม่มีความเห็น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ.ว่าจะทำ
ให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ร้อยละ
ว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นหรือไม่
1 เชื่อว่าค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้น 61.1
2 เท่าเดิม 14.6
3 ลดลง 5.9
5 ไม่มีความเห็น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า รัฐบาลควรชะลอโครงการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจ กฟผ. ไว้ก่อนหรือไม่
อันดับที่ รัฐบาลควรชะลอโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ไว้ก่อนหรือไม่ ร้อยละ
1 ควรชะลอ 46.0
2 ไม่ควร 17.3
3 ไม่มีความเห็น 36.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เห็นว่า รัฐบาลควรชะลอโครงการดังกล่าวไว้ก่อน เพราะ..........
1) ควรศึกษาถึงผลดี - ผลเสีย ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก่อน
2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติ ต้องตัดสินใจให้รอบคอบ
3) ควรชี้แจงให้ประชาชนรับรู้รับทราบข้อมูลก่อน
4) ไม่ต้องการให้กิจการของรัฐ ตกเป็นของเอกชน / นายทุน
5) ควรทำประชาพิจารณ์ / สอบถามความคิดเห็นของประชาชนก่อน
6) ส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้น
7) อื่นๆ เช่น การยับยั้งโครงการไว้ก่อนทำให้ลดความขัดแย้ง ความรุนแรง , เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของประเทศชาติ
ตัวอย่างที่เห็นว่า รัฐบาลไม่ควรชะลอโครงการดังกล่าว เพราะ..........
1) จะได้พัฒนา / เปลี่ยนแปลง กฟผ.ให้ดีขึ้น
2) รัฐบาลทำถูกต้อง / ทำดีที่สุดแล้ว / ไว้ใจรัฐบาล
3) การยับยั้งโครงการดังกล่าวไว้ก่อนส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า
4) รัฐบาลต้องมีความเด็ดขาด
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้าในปัจจุบัน
อันดับที่ ความพึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้าในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 44.0
2 ค่อนข้างพอใจ 39.9
3 ไม่ค่อยพอใจ 14.3
4 ไม่พอใจ 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับความเดือดร้อนเรื่องค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน
อันดับที่ การได้รับความเดือดร้อนเรื่องค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ร้อยละ
1 เดือดร้อน 5.4
2 ค่อนข้างเดือดร้อน 12.0
3 ไม่ค่อยเดือดร้อน 28.7
4 ไม่เดือดร้อน 53.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความโปร่งใสในการขายหุ้นให้กับประชาชน
ถ้าหากมีการแปรรูป กฟผ. แล้ว
อันดับที่ ความมั่นใจต่อความโปร่งใสในการขายหุ้นให้กับประชาชน ร้อยละ
ถ้าหากมีการแปรรูป กฟผ. แล้ว
1 มั่นใจ 13.1
2 ค่อนข้างมั่นใจ 13.1
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 45.2
4 ไม่มั่นใจ 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการให้บริการประชาชน ถ้าหากมีการแปรรูป
กฟผ. แล้ว
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการให้บริการประชาชน ถ้าหากมีการแปรรูป กฟผ. แล้ว ร้อยละ
1 บริการดีขึ้น 52.7
2 เหมือนเดิม 18.6
3 แย่ลง 7.2
4 ไม่มีความเห็น 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เป็นกลางชี้แจง
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อดี ข้อเสียของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้ชัดเจน
อันดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 รัฐบาลและหน่วยงานที่เป็นกลางควรชี้แจงข้อดีข้อเสียให้ชัดเจนก่อน 68.1
2 ไม่ต้องการการชี้แจงเพิ่มเติมแล้ว 11.3
3 ไม่มีความเห็น 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการจัดให้มีการลงประชามติจากประชาชน
ทั่วประเทศว่าควรมีการแปรรูป กฟผ. หรือไม่
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการจัดให้มีการลงประชามติจากประชาชนทั่วประเทศ ร้อยละ
ว่าควรมีการแปรรูป กฟผ. หรือไม่
1 เห็นด้วย 75.6
2 ไม่เห็นด้วย 12.5
3 ไม่มีความเห็น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,147 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.5 ติดตามข่าวการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ 24.5 ไม่ได้ติดตาม
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมคัดค้านของพนักงาน กฟผ. พบว่า ประชาชนคนกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ระหว่างกลุ่มคนที่เห็นด้วยต่อการชุมนุมประท้วง กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วย และประชาชนที่ไม่มีความเห็น เนื่องจากในทางสถิติผลสำรวจครั้งนี้มีช่วงความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5.72 ดังนั้นอาจกล่าวโดนสรุปว่า ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงของ พนักงาน กฟผ. และเห็นว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ในขณะที่ประชาชนอีกประมาณ 1 ใน 3 ไม่เห็นด้วยและไม่เชื่อว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ที่เหลือของตัวอย่างทั้งหมดไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 55.4 วิตกกังวลว่าภายหลังจากการแปรรูป กฟผ. แล้วจะทำให้กลุ่มนายทุนเข้าไปผูกขาดกิจการ ร้อยละ 25.9 ไม่วิตกกังวล และร้อยละ 18.7 ไม่มีความเห็น ในขณะที่ร้อยละ 61.1 เชื่อว่าการแปรรูป กฟผ. จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ร้อยละ 14.6 เชื่อว่าเท่าเดิม ร้อยละ 5.9 เชื่อว่าลดลง และร้อยละ 18.4 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 46.0 เห็นว่ารัฐบาลควรชะลอโครงการแปรรูป กฟผ. ไว้ก่อน ร้อยละ 17.3 ไม่เห็นด้วยที่จะชะลอโครงการ และร้อยละ 36.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้าในปัจจุบัน พบว่าประชาชนร้อยละ 44.0 พึงพอใจต่อการให้บริการ รองลงมาร้อยละ 39.9 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 14.3 ไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 1.8 ไม่พอใจ โดยประชาชน ร้อยละ 53.9 ไม่เดือดร้อนเรื่องค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ร้อยละ 28.7 ไม่ค่อยเดือดร้อน ร้อยละ 12.0 ค่อนข้าง เดือดร้อน และร้อยละ 5.4 เดือดร้อน
เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อความโปร่งใสในการซื้อขายหุ้นให้กับประชาชนพบว่า ประชาชนร้อยละ 13.1 มั่นใจ ร้อยละ 13.1 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 45.2 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 28.6 ไม่มั่นใจ ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนร้อยละ 52.7 คิดว่าการให้บริการจะดีขึ้น หากมีการแปรรูป กฟผ.แล้ว ร้อยละ 18.6 เห็นว่าคงเหมือนเดิม ร้อยละ 7.2 เห็นว่าจะแย่ลง และร้อยละ 21.5 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 ยังต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เป็นกลางชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อดี ข้อเสียของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างชัดเจนเสียก่อน ในขณะที่ร้อยละ 11.3 ไม่ต้องการ และร้อยละ 20.6 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.6 เห็นด้วยที่จะจัดให้มีการลงประชามติจากประชาชนทั่วประเทศว่าควรมีการแปรรูป กฟผ. หรือไม่ ร้อยละ 12.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 11.9 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในขณะที่รัฐบาลเดินหน้านโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. โดยจะมีการกระจายหุ้นให้ประชาชนวันที่ 1 มีนาคม 2547 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 12 พฤษภาคม 2547 นี้ ก็มีกระแสการคัดค้าน โดยเฉพาะจากบรรดาพนักงานของ กฟผ.ที่มาในรูปของสหภาพแรงงาน กฟผ. มาชุมนุมประท้วงการแปรรูปดังกล่าว ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติของการชุมนุมประท้วงระหว่างพนักงาน กฟผ. กับฝ่าย รัฐบาลได้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงาน กฟผ.
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ.ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,147 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5.72
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 32.0 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 17.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช.
ร้อยละ 24.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 20.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 3.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 24.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/ อิสระ
ร้อยละ 13.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.9 ระบุเป็นนักเรียน/ นักศึกษา
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.8 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน/ เกษียณอายุ, เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ของพนักงาน กฟผ.
ลำดับที่ การติดตามข่าวการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ
1 ติดตาม 75.5
2 ไม่ได้ติดตาม 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ของพนักงาน กฟผ.
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.4
2 ไม่เห็นด้วย 33.3
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านของพนักงาน กฟผ. ว่า
เป็นการทำเพื่อส่วนรวม / ประเทศชาติ หรือไม่
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ
ว่าเป็นการทำเพื่อส่วนรวม / ประเทศชาติ หรือไม่
1 เชื่อว่าทำเพื่อส่วนรวม 35.6
2 ไม่เชื่อว่าทำเพื่อส่วนรวม 31.1
3 ไม่มีความเห็น 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ จากการพิจารณาตารางที่ 2 และ 3 จะพบว่า ประชาชนคนกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน มากนัก ระหว่างกลุ่มคนที่เห็นด้วยต่อการชุมนุมประท้วง กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วย และประชาชนที่ไม่มีความเห็น เนื่องจากในทางสถิติผลสำรวจครั้งนี้มีช่วงความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5.72 ดังนั้นอาจกล่าวโดนสรุปว่า ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงของ พนักงาน กฟผ. และเห็นว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ในขณะที่ ประชาชนอีกประมาณ 1 ใน 3 ไม่เห็นด้วยและไม่เชื่อว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ที่เหลือของตัวอย่างทั้งหมดไม่มีความเห็น
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีความวิตกกังวลว่าภายหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. จะทำให้
กลุ่มนายทุนเข้าไปผูกขาดกิจการ
อันดับที่ ความวิตกกังวลว่าภายหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ร้อยละ
จะทำให้กลุ่มนายทุนเข้าไปผูกขาดกิจการ
1 วิตกกังวล 55.4
2 ไม่วิตกกังวล 25.9
3 ไม่มีความเห็น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ.ว่าจะทำ
ให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ร้อยละ
ว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นหรือไม่
1 เชื่อว่าค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้น 61.1
2 เท่าเดิม 14.6
3 ลดลง 5.9
5 ไม่มีความเห็น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า รัฐบาลควรชะลอโครงการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจ กฟผ. ไว้ก่อนหรือไม่
อันดับที่ รัฐบาลควรชะลอโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ไว้ก่อนหรือไม่ ร้อยละ
1 ควรชะลอ 46.0
2 ไม่ควร 17.3
3 ไม่มีความเห็น 36.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เห็นว่า รัฐบาลควรชะลอโครงการดังกล่าวไว้ก่อน เพราะ..........
1) ควรศึกษาถึงผลดี - ผลเสีย ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก่อน
2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติ ต้องตัดสินใจให้รอบคอบ
3) ควรชี้แจงให้ประชาชนรับรู้รับทราบข้อมูลก่อน
4) ไม่ต้องการให้กิจการของรัฐ ตกเป็นของเอกชน / นายทุน
5) ควรทำประชาพิจารณ์ / สอบถามความคิดเห็นของประชาชนก่อน
6) ส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้น
7) อื่นๆ เช่น การยับยั้งโครงการไว้ก่อนทำให้ลดความขัดแย้ง ความรุนแรง , เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของประเทศชาติ
ตัวอย่างที่เห็นว่า รัฐบาลไม่ควรชะลอโครงการดังกล่าว เพราะ..........
1) จะได้พัฒนา / เปลี่ยนแปลง กฟผ.ให้ดีขึ้น
2) รัฐบาลทำถูกต้อง / ทำดีที่สุดแล้ว / ไว้ใจรัฐบาล
3) การยับยั้งโครงการดังกล่าวไว้ก่อนส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า
4) รัฐบาลต้องมีความเด็ดขาด
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้าในปัจจุบัน
อันดับที่ ความพึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้าในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 44.0
2 ค่อนข้างพอใจ 39.9
3 ไม่ค่อยพอใจ 14.3
4 ไม่พอใจ 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับความเดือดร้อนเรื่องค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน
อันดับที่ การได้รับความเดือดร้อนเรื่องค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ร้อยละ
1 เดือดร้อน 5.4
2 ค่อนข้างเดือดร้อน 12.0
3 ไม่ค่อยเดือดร้อน 28.7
4 ไม่เดือดร้อน 53.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความโปร่งใสในการขายหุ้นให้กับประชาชน
ถ้าหากมีการแปรรูป กฟผ. แล้ว
อันดับที่ ความมั่นใจต่อความโปร่งใสในการขายหุ้นให้กับประชาชน ร้อยละ
ถ้าหากมีการแปรรูป กฟผ. แล้ว
1 มั่นใจ 13.1
2 ค่อนข้างมั่นใจ 13.1
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 45.2
4 ไม่มั่นใจ 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการให้บริการประชาชน ถ้าหากมีการแปรรูป
กฟผ. แล้ว
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการให้บริการประชาชน ถ้าหากมีการแปรรูป กฟผ. แล้ว ร้อยละ
1 บริการดีขึ้น 52.7
2 เหมือนเดิม 18.6
3 แย่ลง 7.2
4 ไม่มีความเห็น 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เป็นกลางชี้แจง
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อดี ข้อเสียของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้ชัดเจน
อันดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 รัฐบาลและหน่วยงานที่เป็นกลางควรชี้แจงข้อดีข้อเสียให้ชัดเจนก่อน 68.1
2 ไม่ต้องการการชี้แจงเพิ่มเติมแล้ว 11.3
3 ไม่มีความเห็น 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการจัดให้มีการลงประชามติจากประชาชน
ทั่วประเทศว่าควรมีการแปรรูป กฟผ. หรือไม่
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการจัดให้มีการลงประชามติจากประชาชนทั่วประเทศ ร้อยละ
ว่าควรมีการแปรรูป กฟผ. หรือไม่
1 เห็นด้วย 75.6
2 ไม่เห็นด้วย 12.5
3 ไม่มีความเห็น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,147 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.5 ติดตามข่าวการชุมนุมคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของพนักงาน กฟผ. ร้อยละ 24.5 ไม่ได้ติดตาม
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมคัดค้านของพนักงาน กฟผ. พบว่า ประชาชนคนกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ระหว่างกลุ่มคนที่เห็นด้วยต่อการชุมนุมประท้วง กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วย และประชาชนที่ไม่มีความเห็น เนื่องจากในทางสถิติผลสำรวจครั้งนี้มีช่วงความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5.72 ดังนั้นอาจกล่าวโดนสรุปว่า ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงของ พนักงาน กฟผ. และเห็นว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ในขณะที่ประชาชนอีกประมาณ 1 ใน 3 ไม่เห็นด้วยและไม่เชื่อว่าทำไปเพื่อส่วนรวม ที่เหลือของตัวอย่างทั้งหมดไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 55.4 วิตกกังวลว่าภายหลังจากการแปรรูป กฟผ. แล้วจะทำให้กลุ่มนายทุนเข้าไปผูกขาดกิจการ ร้อยละ 25.9 ไม่วิตกกังวล และร้อยละ 18.7 ไม่มีความเห็น ในขณะที่ร้อยละ 61.1 เชื่อว่าการแปรรูป กฟผ. จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ร้อยละ 14.6 เชื่อว่าเท่าเดิม ร้อยละ 5.9 เชื่อว่าลดลง และร้อยละ 18.4 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 46.0 เห็นว่ารัฐบาลควรชะลอโครงการแปรรูป กฟผ. ไว้ก่อน ร้อยละ 17.3 ไม่เห็นด้วยที่จะชะลอโครงการ และร้อยละ 36.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจต่อการให้บริการของการไฟฟ้าในปัจจุบัน พบว่าประชาชนร้อยละ 44.0 พึงพอใจต่อการให้บริการ รองลงมาร้อยละ 39.9 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 14.3 ไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 1.8 ไม่พอใจ โดยประชาชน ร้อยละ 53.9 ไม่เดือดร้อนเรื่องค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ร้อยละ 28.7 ไม่ค่อยเดือดร้อน ร้อยละ 12.0 ค่อนข้าง เดือดร้อน และร้อยละ 5.4 เดือดร้อน
เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อความโปร่งใสในการซื้อขายหุ้นให้กับประชาชนพบว่า ประชาชนร้อยละ 13.1 มั่นใจ ร้อยละ 13.1 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 45.2 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 28.6 ไม่มั่นใจ ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนร้อยละ 52.7 คิดว่าการให้บริการจะดีขึ้น หากมีการแปรรูป กฟผ.แล้ว ร้อยละ 18.6 เห็นว่าคงเหมือนเดิม ร้อยละ 7.2 เห็นว่าจะแย่ลง และร้อยละ 21.5 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 ยังต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เป็นกลางชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อดี ข้อเสียของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างชัดเจนเสียก่อน ในขณะที่ร้อยละ 11.3 ไม่ต้องการ และร้อยละ 20.6 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.6 เห็นด้วยที่จะจัดให้มีการลงประชามติจากประชาชนทั่วประเทศว่าควรมีการแปรรูป กฟผ. หรือไม่ ร้อยละ 12.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 11.9 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-